นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ชนชั้น พรรค และแนวร่วม

สังคมไทยแบ่งเป็นชนชั้นอย่างชัดเจน มี “ผู้ใหญ่” กับ “ผู้น้อย” คนรวย กับคนจน และมีนายทุน กษัตริย์ ทหาร ผู้ประกอบการรายย่อย กรรมาชีพลูกจ้าง และเกษตรกร

คนที่สนใจเรื่องชนชั้น มักจะเป็นคนที่สนใจที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่มันมีหลายวิธีที่จะจำแนกชนชั้นต่างๆ เช่นอาจดูรายได้ ลักษณะงาน หรือรสนิยม

นักมาร์คซิสต์จำแนกชนชั้น ตามความสำพันธ์กับระบบการผลิต เพราะระบบการผลิตเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ทุกคนดำรงชีวิตในโลกได้ และความสัมพันธ์กับระบบนี้ที่แตกต่างกัน นำไปสู่อำนาจที่แตกต่างกันในสังคม

อำนาจของชนชั้นปกครอง(ชนชั้นนายทุน)มาจากอำนาจที่จะควบคุมทรัพยากรและมูลค่าต่างๆ อำนาจในการคุมระบบการผลิตกับชีวิตงาน และอำนาจในการคุมกองทัพและสื่อ ส่วนประชาชนธรรมดาก็มีอำนาจเช่นกัน อำนาจหลักมาจากการที่เราเป็นผู้ทำงานสร้างมูลค่าทั้งปวง ที่สำคัญคือความสัมพันธ์กับระบบการผลิตที่ต่างกัน นำไปสู่ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่นนายจ้างต้องการกำไรมากที่สุด แต่ลูกจ้างต้องการเพิ่มค่าจ้างเพื่อชีวิตที่ดีเป็นต้น  

ในระบบทุนนิยมมีชนชั้นดังนี้คือ
1. นายทุน ผู้ควบคุมหรือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เช่นโรงงาน บริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ ในโลกสมัยใหม่อำนาจในการควบคุมปัจจัยการผลิตเป็นเรื่องหลัก เพราะนายทุนไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทั้งบริษัทก็ได้ แค่ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็พอ และในกรณีรัฐวิสาหกิจ นายทุนคือข้าราชการชั้นสูง หรือทหาร ที่ถือตำแหน่งในกรรมการบริหาร นายทุนทั้งชนชั้นมีอำนาจมาก เพราะควบคุมเศรษฐกิจ และทุกอย่างที่ทำให้เราดำรงชีพได้ โดยไม่มีประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้งแต่อย่างใด เขาสามารถตัดสินใจเรื่องการลงทุน การถอนทุน การจ้างงาน หรือการเลิกจ้างได้ นอกจากนี้ชนชั้นนายทุนคุมอำนาจรัฐในส่วนที่ไม่มีการเลือกตั้งอีกด้วย เช่นกองทัพ ตำรวจ สื่อ หรือศาล และใช้สถาบันเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของตน แต่ชนชั้นนายทุนเป็นคนส่วนน้อยของสังคม  

2. กรรมาชีพ คือผู้ที่เป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรในโรงงาน พนักงานในออฟฟิส ข้าราชการชั้นผู้น้อย แรงงานรับจ้างในภาคเกษตร พยาบาล ครู อาจารย์ และรวมทั้งทนายหรือหมอที่เป็นลูกจ้างอีกด้วย ชนชั้นกรรมาชีพไม่มีอำนาจในการคุมปัจจัยการผลิต บริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ แต่มีพลังต่อรองสูง ถ้ารวมตัวกันตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อทวงคืนมูลค่าที่ตนเองผลิต ยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพมีพลังซ่อนเร้นมหาศาล เพราะเป็นผู้ทำงานในใจกลางระบบทุนนิยม การนัดหยุดงานหรือการยึดสถานที่ทำงานโดยชนชั้นกรรมาชีพโดยประสานกันทั้งประเทศ อาจนำไปสู่การล้มอำนาจนายทุนและการสร้างสังคมใหม่ได้ แต่กรรมาชีพต้องพัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองและมีพรรคเป็นองค์กรจัดตั้ง ถึงจะล้มนายทุนได้ ในสังคมไทยชนชั้นกรรมาชีพเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม

3. ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางในสังคมเรา เป็น “กลุ่มชนชั้น” มีความหลากหลายและกระจัดกระจาย เป็นคนที่ไม่ใช่นายทุน และไม่ใช่ลูกจ้างระดับธรรมดา เช่นเกษตรกรผู้ผลิตเองรายย่อย พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ผู้ประกอบการเอง หรือหัวหน้างาน และผู้บริหารที่เป็นลูกจ้างนายทุนแต่มีอำนาจให้คุณให้โทษ ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มชนชั้นที่ไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ บางส่วนขยายจำนวน บางส่วนเริ่มมีน้อยลงเพราะล้มละลาย และชนชั้นนี้มีปัญหาในการรวมตัวกัน เพราะไม่เป็นปึกเป็นแผ่น มีผลประโยชน์ต่างกัน และอาจเป็นคู่แข่งกันด้วย บ่อยครั้งชนชั้นกลางต้องไปเกาะติดกับชนชั้นที่มีอำนาจมากกว่า เช่นชนชั้นนายทุนหรืออำมาตย์ หรือบางครั้งอาจเกาะติดกับชนชั้นล่างเมื่อมีการต่อสู้ ดังนั้นจุดยืนทางการเมืองของชนชั้นกลางจะไม่คงที่ ชนชั้นกลางมีจำนวนน้อยกว่ากรรมาชีพในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะเกษตรกรรายย่อยกำลังล้มละลาย และคนส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง

นักมาร์คซิสต์ให้ความสำคัญกับกรรมาชีพเป็นพิเศษเนื่องจากมีอำนาจซ่อนเร้นทางเศรษฐกิจ และการต่อสู้ของกรรมาชีพจะเน้นการรวมตัวกันเพื่อประโยชน์คนจำนวนมาก เพราะกรรมาชีพในสถานที่ทำงานถูกบังคับโดยสถานการณ์ให้ต่อสู้แบบรวมหมู่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถ้าสู้แบบปัจเจกจะต่อรองกับนายจ้างไม่ได้ แต่กรรมาชีพไทยยังต้องจับมือสร้างแนวร่วมกับคนจนในชนบทอีกด้วย เช่นลูกจ้างภาคเกษตรและเกษตรกรรายย่อย คนเสื้อแดงส่วนใหญ่เป็นกรรมาชีพหรือเกษตรกรรายย่อย แต่อาจมีผู้ประกอบการเองเข้ามาร่วมอีกด้วย ประเด็นที่น่าสนใจคือคนเสื้อแดงชื่นชมนายทุนอย่างทักษิณ เพราะพรรคไทยรักไทยให้ประโยชน์กับคนธรรมดามากมาย แต่ถ้าคนเสื้อแดงพัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองมากขึ้น จะมีการนำตนเอง และผลักดันการต่อสู้ที่ไปไกลกว่าขั้นตอนการประนีประนอมกับอำมาตย์ ที่คนอย่างทักษิณหรือพรรคการเมืองของเขาต้องการ
ชนชั้นกลางบางส่วน โดยเฉพาะพวกพ่อค้าแม่ค้าที่มีธุรกิจขนาดเล็กในเมือง หรือที่เป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหาร มักจะเป็นพวกล้าหลังที่เกลียดชังคนจนและไม่ชอบประชาธิปไตย ในอดีตพวกนี้จะสนับสนุนฮิตเลอร์กับพวกฟาสซิสต์ และในปัจจุบันเราจะเห็นพวกนี้เข้าไปร่วมกับพันธมิตรฯ ที่ต่อสู้เพื่อช่วยให้อำมาตย์ครองเมือง
นอกจากนี้ในกลุ่มเสื้อเหลืองยังมีนักสหภาพแรงงานบางส่วนที่ถูกชักจูงไปรับใช้อำมาตย์ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสังกัดชนชั้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่าใครจะมีความคิดทางการเมืองแบบไหนอย่างอัตโนมัติ นี่คือสาเหตุที่นักมาร์คซิสต์พยายามจัดตั้งพรรค ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งทางการเมือง ที่พยายามเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์กับคนจน เพื่อแข่งแนวและช่วงชิงการนำในหมู่ประชาชน
 
พรรคปฏิวัติ พรรคปฏิวัติตามแนวคิดนักมาร์คซิสต์ เป็นที่รวมของนักเคลื่อนไหวที่มีจิตสำนึกก้าวหน้าพอที่จะเข้าใจว่าเราต้องปฏิวัติล้มระบบทุนนิยม พรรคอาจประกอบไปด้วยกรรมาชีพ เกษตรกร นักศึกษา หรือคนชั้นกลาง แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนสังคมคือส่วนที่เป็นกรรมาชีพ เพราะกรรมาชีพคือพลังหลักทางเศรษฐกิจ พรรคปฏิวัติจึงถือได้ว่าเป็นแหล่งรวมของกรรมาชีพที่ก้าวหน้าที่สุด และมีเป้าหมายเพื่อขยายความคิดไปสู่กรรมาชีพส่วนใหญ่ที่อาจยังไม่เป็นมาร์คซิสต์

เนื่องจากการสร้างสังคมนิยมต้องมาจากการปลดแอกตนเองของกรรมาชีพส่วนใหญ่ พรรคต้องเป็นองค์กรที่มีประชาธิปไตยภายใน และเป็นองค์กรที่ช่วยให้คนธรรมดานำตนเอง ต้องเสริมสร้างความมั่นใจกับทุกคนและพัฒนาให้สมาชิกเป็นปัญญาชน พรรคจะต้องเปิดโอกาสให้ถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเสรี เพื่อให้ทุกคนนำประสบการณ์โลกจริงเข้ามาพิจารณาเสมอ พรรคมาร์คซิสต์จะต้องไม่ใช่พรรคเผด็จการที่สั่งการมวลชน อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเป็น  

สหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานคือองค์กรที่สร้างขึ้นจากการรวมตัวกันแบบพื้นฐานของชนชั้นกรรมาชีพ สหภาพแรงงานจะสู้เพื่อปกป้องสภาพการทำงาน เช่นเรื่องเงินเดือนหรือสวัสดิการ และทั้งๆ ที่เป็นเรื่องปากท้องที่สำคัญยิ่ง แต่การต่อสู้แบบนี้เป็นแค่การหาทางอยู่รอดในระบบทุนนิยม ถ้าเราจะปลดแอกตนเอง เราจะต้องพัฒนาจิตสำนึกและความคิดจากระดับสหภาพแรงงานไปสู่จิตสำนึกทางการเมืองโดยรวม โดยสร้างพรรคและสู้กับระบบทุนนิยม นี่คือสาเหตุที่ชนชั้นปกครองไทยพยายามห้ามไม่ให้สหภาพแรงงานยุ่งเรื่องการเมืองเสมอ  

การสร้างแนวร่วม
การทำแนวร่วมภายในชนชั้น ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซีย นักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี ได้เสนอยุทธวิธีสำคัญในการต่อสู้ของนักสังคมนิยม ยุทธวิธีนั้นคือการทำ “แนวร่วมภายในชนชั้นกรรมาชีพ” และในยุคของสงครามระหว่างชนชั้นที่กำลังขยายตัวทุกวันนี้ในประเทศไทย เราควรศึกษาศิลปะการทำแนวร่วมแบบนี้ให้ดี

นิยามของแนวร่วม ในมุมมองของนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี คือ “แนวร่วมระหว่างกลุ่มนักปฏิวัติสังคมนิยม กับกลุ่มหรือมวลชนกรรมาชีพหรือคนจนที่ต้องการสู้เพื่อผลประโยชน์ชนชั้นตนเอง แต่ยังไม่พร้อมหรือไม่มั่นใจว่าจะต้องปฏิวัติสู่สังคมนิยม .... ในแนวร่วมนี้ นักปฏิวัติสังคมนิยมต้องรักษาอุดมการณ์ไว้ ไม่ปิดบังจุดยืน แต่ต้องพร้อมจะร่วมสู้กับมวลชนด้านกว้าง” แนวร่วมแบบนี้เป็นแนวร่วมระหว่างสองจุดยืนภายในชนชั้นกรรมาชีพ และใช้เป็นอาวุธสำคัญในการปกป้องคนชั้นล่างจากการคุกคามของฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมหรือการโจมตีของชนชั้นปกครอง ในขณะที่กลุ่มหรือพรรคของนักปฏิวัติร่วมสู้กับคนที่ไม่อยากไปไกลเกินไป นักปฏิวัติจะต้องพยายามแนะแนวกับมวลชนด้านกว้าง ที่สำคัญการแนะแนวและร่วมสู้ถือว่าเป็นการช่วงชิงการนำจากผู้นำเดิมที่กำลังนำมวลชนให้ประนีประนอม  

แนวร่วมแบบแย่ๆ ในขณะที่ เลนิน กับ ตรอทสกี เสนอแนวร่วมแบบที่กล่าวถึงไปแล้ว คนอย่าง สตาลิน หรือ เหมาเจ๋อตุง ได้เสนอให้พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกสร้างแนวร่วมข้ามชนชั้น ซึ่งเป็นแนวร่วมระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์/กรรมาชีพ/เกษตรกร กับชนชั้นนายทุนผู้เป็นศัตรู สาเหตุเพราะ สตาลิน กับ เหมา อยากหาทางฉวยโอกาสปกป้องเผด็จการที่เกิดขึ้นในประเทศของตนเองภายใต้แนวชาตินิยม โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์คนจนทั่วโลก เผด็จการเหล่านี้ใช้ธงแดงแต่กดขี่ประชาชนของตนเอง จุดยืนแบบนี้คือสาเหตุที่รัฐบาลจีนหักหลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ค.ท.) และไปผูกมิตรกับรัฐบาลไทยหลัง ๖ ตุลาคม ซึ่งนำไปสู่การไล่สถานีวิทยุเสียงประชาชนไทยออกจากดินแดนจีน

ประเด็นปัญหาการทำแนวร่วมกับพรรคนายทุนยังท้าทายนักสังคมนิยมอยู่เรื่อยๆ เช่นกรณีพรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM) ที่ทำข้อตกลงไม่ลงสมัครแข่งกันเองในหมู่พรรคฝ่ายค้านมาเลเซีย ซึ่งเปิดช่องให้พรรคนี้ได้ ส.ส. มาสองคน โดยที่ต้องทำข้อตกลงกับพรรคคาดิลัน ของ อันวาร์ พรรคมุสลิม PAS และพรรค DAP ของคนจีน ซึ่งล้วนแต่เป็นพรรคของชนชั้นนายทุน

อีกกรณีหนึ่งที่ท้าทายเราอยู่คือ ท่ามกลางวิกฤติการเมืองปัจจุบันในไทย เมื่อเราเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดง เพื่อยืนอยู่เคียงข้างมวลชนจำนวนมากที่อยากปกป้องประชาธิปไตยและคัดค้านพันธมิตรฯฟาสซิสต์ เราควรมีท่าทีอย่างไรต่อ ทักษิณ และนักการเมืองนายทุนในพรรคเพื่อไทย

ที่มา redthaisocialist

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น