นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปรองดองกับฆาตกร...ทักษิณทรยศประชาชนหรือไม่?.....



โดย วิญญาณวีรชน 



หลังการวีดีโอลิงค์ เมื่อ 19 พ.ค.2555 กลางมวลชนหลายหมื่นคนที่ราชประสงค์  ได้ตอกย้ำให้ผู้ที่ลังเลว่า "ทักษิณต้องการประชาธิปไตยแบบของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนหรือไม่"  เพราะคำตอบคือ "ทักษิณ คนคนนี้ไม่ได้มีประชาธิปไตยเพื่อประชาชนมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน"   เพราะทักษิณคือ "นายทุนผูกขาดกลุ่มใหม่ที่หิวจัดคนหนึ่ง"  


ทักษิณพลิกชีวิตจากคนทำธุรกิจขนาดกลาง ไปสู่คนผูกขาดด้านการสื่อสารแพคลิ้ง มือถือ และ ดาวเทียม ด้วยการติดสินบนเพื่อได้สัมปทาน 600 ล้านบาท แก่พลเอกสุนทร  ประธาน รสช. วิถีชีวิตทางธุรกิจ ที่ใช้เงิน สินบน อำนาจ เพื่อสัมปทานเป็นวิถีการหากินที่ติดตัวมาจนถึงปัจจุบัน


การที่ทักษิณกล่าวในพิธีเปิดอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อ พ.ศ.2544 ด้วยคำกล่าวดูถูกวีรชน และคนที่ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่า "เป็นคนที่จมอยู่กับอดีต เมื่อได้อนุสาวรีย์มาบำบัดจิตใจแล้ว ก็จงพัฒนาประเทศได้แล้ว"


ซึ่งคำกล่าวนี้ ตรงกับ พ.ศ. 2555 ที่ "ทักษิณประณามแม่น้องเกด และคนเสื้อแดง ที่ไม่ยอมยกโทษให้กับฆาตกรฆ่าลูกสาวและฆ่าประชานคนเสื้อแดง"

ขบวนการหลอกลวงคนเสื้อแดง และการเสริมกำลังให้กับฆาตกร เป็นสันดานของทักษิณ ที่มีสันดาน "ละโมบโลภมากและเห็นแก่ตัว"

ทักษิณได้ตกลงปรึกษาและให้เกียรติฝ่ายฆาตกรมา ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งที่บรูไน รักเคารพฆาตกรมากกว่าคนเสื้อแดง และยังแสดงความหิวกระหายในลาภ ในวันเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ยังไม่สิ้นสุดการนับคะแนนโดยกล่าวว่า "ถ้าตนไม่รักเทิดทูนศักดินา ยินดีให้ประชาทัณฑ์" 


นี่คือสัญญาณ ที่ตรงไปตรงมา และตรงกับคำพูดล่าสุด ที่ด่าคนเสื้อแดงว่า “ปัญญาอ่อนที่ยังขัดแย้งกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง” และกล่าวสับปลับว่า “เปรมและศักดินาไม่เกี่ยวกับการเมือง”

ความหิวละโมบ คือ ตัวตนของทักษิณและของตระกูลชินวัตร หาใช่ "ทักษิณกลัวศักดินาอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ"

ทักษิณหิวเงินและความมั่งคั่ง จนไม่ใส่ใจว่าประชาชนจะถูกฆ่าและจะถูกขูดรีด กดขี่ภายใต้ระบอบผูกขาดอำมาตย์ศักดินาอีกนานเท่าใด  เพราะทักษิณรอดพ้นและขึ้นฝั่งที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แล้ว ก็ถีบหัวเรือให้ประชาชนลอยเรือห่างออกไป

ทักษิณจะไม่ลืมบุญคุณ แต่วันนี้ทักษิณขอกราบไหว้ศักดินาและหากินร่วมกับฆาตกรให้อิ่มหนำก่อน พรบ.ปรองดองและการบีบให้เหยื่อรับเงินและสละสิทธิ์ทางแพ่ง คือสิ่งที่ทักษิณ เพื่อไทยและแกนนำ นปช. ร่วมกันสร้างสรรค์และปูทางไปสู่การลดระดับการต่อสู้ของคนเสื้อแดง และหวังดับสลายไปในที่สุด


ฉะนั้น คนเสื้อแดง จะควรทบทวนคำพูดทักษิณ "จงประชาทัณฑ์ผมถ้าไม่รักศักดินากว่าประชาชน" โดยคนเสื้อแดง ต้องเตรี ยมพร้อมระวังการชี้เป้าและไล่ล่าจากทักษิณ เหมือนดั่ง คนเสื้อแดงที่หนีไปอยู่เขมร ที่ตำรวจไทยภายใต้เฉลิมและเพรียวพันธ์  ได้ส่งหมายจับไล่ล่าไปยังรัฐบาลเขมร


การชี้เป้าและปกป้องฆาตกรให้ฆ่าประชาชนรูปแบบต่างๆต่อไป คือ "คนทรยศที่สมบูรณ์แบบแล้ว"

"การประชาทัณฑ์ทักษิณ ในฐานะผู้ทรยศประชาชนคือสิ่งที่ควรตระเตรียมกระทำการไว้ เพราะทักษิณบอกว่าถ้าไม่รักศักดินาจงประชาทัณฑ์เขา ดังนั้นประชาชนได้เห็นจริงประจักษ์แล้วว่าเขารักและอยู่ข้างศักดินาจริง


ประชาทัณฑ์ คือสิ่งที่ทักษิณ เพื่อไทยและแกนนำนปช. สมควรจะได้รับ พร้อมๆกันไปกับอำมาตย์ศักดินา เพราะฝ่ายหนึ่งศักดินาคือหัวโจก  และฝ่ายทักษิณคือผู้ทรยศประชาชน

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : ทักษิณหลงตนเอง มองว่าวิกฤตไทยเกี่ยวกับเขาคนเดียว



ในวันครอบรอบสองปีการนองเลือดที่ราชประสงค์ ทักษิณโฟนอินและชวนให้เสื้อแดงยอมจำนนต่ออำมาตย์บนซากศพวีรชน แต่ที่ตลกร้ายคือทักษิณคิดว่า "ความตาย 91 ศพ บาดเจ็บ 2 พันกว่าและติดคุกไม่มีครั้งไหนกระบวนการยุติธรรมเสียหายขนาดนี้ ...สิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีต 6 ปี เพื่ออย่างเดียว คือเพื่อไล่ล่าผมและผู้สนับสนุนผม"

ทักษิณกำลังอาศัย “อีโก้” อันยิ่งใหญ่ของตนเอง เพื่อบิดเบือนประวัติศาสตร์คนเสื้อแดงอย่างรุนแรง เพราะถึงแม้ว่าคนเสื้อแดงส่วนใหญ่จะรักทักษิณ แต่คนเสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้กับทหารและประชาธิปัตย์เพื่อทักษิณ เขาออกมาสู้เพื่อให้เขามีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกรัฐบาลที่ตนเองต้องการโดย ไม่มีการแทรกแซงจากทหารหรือคนอื่นๆ เขาออกมาสู้เพื่อยุติอำนาจมืดในสังคมของอำมาตย์ เขาออกมาสู้เพื่อให้มีเสรีภาพในการพูด เขียน และแสดงความเห็น และเขาออกมาสู้เพื่อให้ตนเองดำรงอยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรม ทั้งทางเศรษฐกิจและทางกฏหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการที่จะมี “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” แทนการเป็น “ไพร่”

ทักษิณพูดต่อว่า "ถ้ามีการปรองดองเมื่อไหร่ ผมก็คงได้มีโอกาสกลับไปตอบแทนบุญคุณพี่น้อง" และเขามองว่าโฟนอินครั้งนี้ "คงจะเป็นครั้งสุดท้าย หวังว่าบ้านเมืองจะกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วเพื่อเราจะได้ไปร่วมกันรักษา สถาบันชาติ ศาสนา และกษัตริย์ และสถาบันประชาธิปไตยของเรา" ประเด็นสำคัญคือ ทักษิณคงจะได้กลับบ้าน แต่คนที่จะต้อง “จ่าย” หรือ “เสียสละ” คือนักโทษการเมือง และคนที่เสียชีวิตไป ซึ่งไม่มีโอกาสกลับบ้านเหมือนทักษิณ ยิ่งกว่านั้น ถ้าไม่มีการแก้หรือยกเลิก 112 และถ้าไม่มีการลบผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยา ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยเสรีไม่ได้เลย

การปรองดองบนซากศพวีรชน คือการรับประกันว่าทหารและนักการเมืองจะเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าในประเทศไทย อีกในอนาคต เพราะทุกครั้งพวกฆาตกรลอยนวลเสมอ ทักษิณพูดกล่อมให้เสื้อแดงสลายตัวว่า "พี่น้องใจเย็นๆ ลองดูสิว่า ประธานาธิบดีไลบีเรียขึ้นศาลโลกวันนี้ คดีเกี่ยวกับฆ่าคนเป็นอาชญากรสงคราม ก็ใช้เวลาหลายสิบปี ....กระบวนการให้ความเป็นธรรมต้องใช้เวลา ต้องอดทน" แต่ในคำสัมภาษณ์ที่เขมรเมื่อเดือนที่แล้ว ทักษิณพูดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าประชาชนที่ราชประสงค์จะไม่ต้องขึ้น ศาล และอันนี้เป็นเงื่อนไขของการปรองดองที่เขาสนับสนุน สรุปแล้วทักษิณอยากยุบเสื้อแดงและให้เราลืมฆาตกรกับวีรชน

สาเหตุหนึ่งที่ทักษิณสามารถอ้างได้ว่าเสื้อแดงทำทุกอย่างเพื่อเขาคนเดียว ก็เพราะว่าเสื้อแดงก้าวหน้า หรือเสื้อแดงอิสระ ไม่มีการจัดตั้งและประสานการเคลื่อนไหวเข้มแข็งพอ เพราะจะต้องมีการช่วงชิงการนำจาก นปช. และ เพื่อไทย เพื่อไม่ให้มีการหักหลังวีรชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยคณะอำมาตย์ใหม่ที่ เชิญพรรคเพื่อไทยและทักษิณเข้ามาร่วมกับทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ

คนเสื้อแดงที่ไม่ยอมจำนนต่อเผด็จการน่าจะตาสว่างและเข้าใจภารกิจของตนเองในปัจจุบัน

ที่มา prachatai

บทความสายลมรัก : เมื่อคืนนี้ .. ผมปร่าแปร่งในความรู้สึกกับ (นปช.) เหลือเกิน

โดย สามลมรัก
ที่มา ประชาทอล์ค
20 พฤษภาคม 2555

ร้อนหรือหนาว เบียดเสียด ยัดเยียด ลำบากลำบนมวลชนไม่เคยถอย เหมือนทุกครั้ง

อย่ามาถามว่า มวลชนมามากหรือน้อย ภาพที่เห็นมันปรากฏแก่สายตาผู้คนไปทั่วโลกแล้วว่า เรายังต้องการทวงถามความยุติธรรมกลับคืนให้กับ วิณญาณวีรชนของพวกเรา อย่างล้นเปี่ยม

"พี่ ๆ เต๊นท์เรายังไม่แน่นอนนะพี่" ยังเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง กับการทำงานของผู้ช่วยแกนนำทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ช่วยแกนนำทั้งหลายกับการไล่ที่ ทั้งๆที่สถานที่เหล่านั้นไม่ว่าเต๊นท์ กำลังคน กำลังเงิน จุดมุ่งหมายในการทำกิจกรรม "ร้อยละร้อย มันมาจากคำว่า ไม่ต้องจ้างกูมาเอง ทั้งนั้น"

กริยาวาจา กร่างยิ่งใหญ่ ยังคงอยู่ครบตามแบบฉบับ กับการทำงานด้านมวลชนไม่เห็น สับปะรดขลุ่ย เหมือนเดิมทั้งๆ อดีตก็มีบทเรียนที่ควรจดจำ และทราบได้ดีเลยว่า อาสาสมัครต่างๆ เขาสู้เพื่ออะไร จะจัดที่ขายของหาเงินเข้ากระเป๋าใคร ก็หัดสะกดคำว่าเกรงใจมวลชนบ้าง

ขนาดงานจะเริ่มอยู่แล้ว เต๊นท์ทุกเต๊นท์ ไม่ว่า "ประชาทอล์ค" "บ้านราษร์" ยังไม่รู้เลยว่า จะตั้งตรงไหน หรืออาจต้องย้ายหนี เพื่อหลบเต๊นท์ ขายของ (ไม่ฮา)

"เรามีมวลชนที่เหนียวแน่น แต่เราขาดนักพูด" ผมไม่เข้าใจว่า เราจะตะโกน ๆ ๆ ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าบนเวทีทำไม เพราะ ฟังไม่รู้เรื่อง ไฟฟ้าไม่มี รถห้องน้ำไม่มา ทุกอย่างคือตัวใครตัวมัน ครั้นจะขอพ่วงรถถ่ายทอด สดของสถานีต่าง ๆ เขาก็ไม่ให้ เพราะหากไฟกระชาก เขาก็จะส่งสัญญาณไม่ได้

สุดท้าย ไฟจากแบตเตอ์รี่ รถใครรถมัน สถานที่ซึ่งแออัดไปด้วยมวลชนอยู่แล้วก็ดมควันจากท่อไอเสียกันเพลิน "เบาหวิวราวปุยนุ่น"

เมื่อวานนี้ นักพูดระดับแม่เหล็กของเรา คือจตุพร กับณัฐวุฒิ เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปจนผมต้องนั่งนึกทบทวนบทบาทการสนับสนุน ประเด็นที่พูด ไม่มีอะไรเลยเหมือนกับการ ขออนุญาตยืมคำพูดของพี่ Mosy มาใช้หน่อยที่แกพูดว่า "เหมือนมาพูดพอเป็นพิธีเท่านั้น"

บอกตรงๆว่า ผมไม่เคยเห็นมวลชนลุกทะยอย เดินกลับ ขณะณัฐวุฒิกำลังพูดปราศรัย แต่เมื่อคืนนี้ผมเห็น "ผมได้แต่บอกกับตัวเองว่า มันเกิดอะไรขึ้น"

ความผิดพลาดของกิจกรรมภาคสนาม เรื่องนี้ไม่ต้องโทษใคร ผมขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เราวาดหวังไว้สวยหรู ถึง 4 กิจกรรม แต่เราสามารถทำได้ดี แค่ 1 กิจกรรมครึ่งเท่านั้น คือ แจกขนม (ปรองดอง) คลายร้อน แบบจัดหนัก กับกิจกรรมนิทรรศการภาพถ่าย ที่มวลชนไม่ยอมไหล ปักหลักอยู่กับที่แถมยังเอาภาพกิจกรรมเป็น ที่กำบังหลบแดด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่เอาเก้าอี้มาตั้งประชิด จนบางทีบอร์ดภาพเอียงตามแรงดัน

หมุดคณะราษฏร์ และหมุดประชาชน ไม่สามารถวางลงที่พื้นได้เลย เราพยายามทดลองวางอยู่หลายๆ ครั้ง แต่มวลชนก็เหยียบทุกครั้ง ชนิดที่ประเมินได้เลยว่า หากวางบนพื้นถนนจริง ๆ รับรองสะดุดหน้าทิ่มกันเป็นแถว ผมกับน้อง ๆ มองหน้ากันเลิกลั่กต้องเปลี่ยนแผนเป็นวางบนโต๊ะแทน

สรุปบทเรียน

บางที หากเราจะทำกิจกรรมแบบนี้ คงต้องพิจารณากับหลายอย่าง ไม่ว่า ใกล้เวทีไปไหม ชิดมวลชนมากไปไหม อุปกรณ์ที่จำเป็น เราต้องจัดหามาเก็บไว้ใช้แบบจริงจังหรือไม่

เราอยู่ใกล้เวทีมากไป ก็จะมีปัญหาเป็นธรรมชาติของมวลชน คือไม่สามาถจะแบ่งปันพื้นที่ได้เลย หากต้องการทำกิจกรรมภาคสนาม

ครั้งต่อไป (หากมี) เราจะท่องคาถา อัตตาหิอัตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน และคงตั้งออกไปห่างจากจุดเดิมมากพอสมควร

สำหรับ นปช. ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย


พวกคุณเดินมาถึงทางสามแพร่งที่สำคัญแล้ว กิจกรรมครั้งนี้ ผมมองไม่เห็นทางออกที่ชัดเจนเลยว่า คุณจะดำเนินคดีทวงถามความยุติธรรมได้เมื่อไหร่ คุณจะเยียวยา ช่วยเหลือประกันตัวพี่น้องเราที่ยังโดนจองจำ อย่างเป็นรูปธรรมเมือใด หรือคุณจะซื้อเวลาทำเพื่อตัวเองไปเรื่อยๆ เคยมีคำจำกัดความคำหนึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อคุณพูดเราจะฟัง แต่เมื่อคุณลงมือทำเราจะเชื่อ ทักษิณ นปช. และพรรคเพื่อไทยก็เช่นกัน

ผมอยากให้พึงสำเหนียก อย่ารู้ตัวเมื่อสาย หากมวลชนหันหลังให้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นคุณจะโดนพวกมันขยี้จนไม่มีที่ยืนอีกต่อไป

ความคิดนี้ เป็นความคิดส่วนตัวของผมคนเดียว เป็นการสะท้อนจากมวลชนคนหนึ่ง หากเห็นว่าเป็นประโยชน์นำไปปรับปรุง ยุทธศาสตร์ ผมก็ดีใจ แต่หากคิดว่าก็แค่เสียงนกเสียงกา ผมก็ขออวยพรให้ท่านโชคดี

ปล. ขอบคุณ TAN 007 แห่งประชาทอล์ค ขอบคุณลูฟฟี่ ขอบคุณมดดำ ขอบคุณน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่อดตาหลับขับตานอนผลักดันกิจกรรมไปลุล่ง พี่รู้สึกละอายใจจริง ๆ ที่ไปหลังแต่กลับก่อน และฝากบอกไปที่มดดำด้วว่า เอ็งไม่ต้องขอโทษพี่ พี่สิที่ต้องเป็นฝ่ายขอโทษ

ที่มา thaienews

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : ยิ่งลักษณ์ตบหน้าวีรชนเสื้อแดงสองปีหลังราชประสงค์เลือด



15 พฤษภาคม 2555
ใจ อึ๊งภากรณ์


การที่นายกยิ่งลักษณ์เดินทางไปเยือน ประเทศบาห์เรนและการจับมือกับทรราชเผด็จการที่ประเทศนั้น ถือว่าเป็นการตบหน้าดูถูกวีรชนเสื้อแดงที่สละชีพเพื่อประชาธิปไตยใน เหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์เมื่อสองปีก่อน เพราะที่บาห์เรนรัฐบาลเผด็จการของกษัตริย์ นาบีล ราจับ ได้เข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยถึง 60 กว่าศพ บาห์เรนจึงขึ้นอันดับความป่าเถื่อนในตะวันออกกลางรองจากประเทศซิเรีย

งานศพอากงยังไม่ทันเสร็จสิ้น นายกยิ่งลักษณ์ก็ไปค้าขายบนซากศพวีรชนบาห์เรน และที่บ้านก็ปรองดองบนซากศพวีรชนเสื้อแดง สรุปแล้วรัฐบาลเพื่อไทยและนายกยิ่งลักษณ์ไม่มีศีลธรรมหรืออุดมการณ์ ประชาธิปไตยเหลืออยู่เลย

เวลารัฐมนตรีมหาดไทย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ พูดต่อว่าเสื้อแดงที่ไปยื่นหนังสือเรื่องการแก้ไข 112 ให้ “รักษาหน้านายกยิ่งลักษณ์หน่อย” มันเป็นเรื่องตลกร้าย เพราะไม่มีหน้าอะไรจะรักษาหลังจากที่จับมือทรราชมือเปื้อนเลือดทั้งในและนอก ประเทศ

 องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch รายงานว่ารัฐบาลบาห์เรนทรมานนักโทษการเมืองอย่างเป็นระบบ รวมถึงเด็กและสตรีด้วย มีการข่มขู่แพทย์ที่รักษาคนที่ถูกยิงหรือบาดเจ็บ และมีการทุบทิ้ง “อนุสาวรีย์วงเวียนไข่มุก” กลางเมืองมานามา เพราะกลายเป็นสัญญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถ้าเป็นในไทยก็เท่ากับรัฐบาลทุบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยทิ้ง

 การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยที่บาห์เรน ได้รับแรงบันดาลใจจากการลุกฮือที่อียิปต์และที่อื่น แต่รัฐบาลกษัตริย์ใช้ทหารและรถถังจากเผด็จการประเทศ ซาอุ อาเรเบีย เพื่อปราบปรามประชาชนอย่างเลือดเย็นเมื่อปีที่แล้ว

อับดุลฮาดี อัลคาวาจา เป็นหนึ่งในนักโทษการเมือง 8 คนที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในศาลทหารในฐานะที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ตอนนี้ อับดุลฮาดี อัลคาวาจา อดอหารประท้วงมา 3 เดือนแล้ว เขาและนักโทษอื่นๆ ถูกทรมานให้สารภาพผิด

 ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกวิจารณ์เผด็จการซิเรียที่เข่นฆ่าประชาชนหมื่นกว่า คน ตะวันตกเงียบเรื่องบาห์เรน เพราะสหรัฐมีฐานทัพเรือที่สำคัญที่นั้น และเมื่อเดือนที่แล้วพวกนายทุนแข่งรถ “ฟอร์มูล่าวัน” ก็เพิกเฉยต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดงานแข่งรถท่ามกลางคราบเลือดของ วีรชน

คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งชอบออกมาแก้ตัวแทนยิ่งลักษณ์ ด้วยการพูดเท็จว่า “รัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะแก้ไข 112” ซึ่งไม่จริง แต่สิ่งที่เราเห็นชัดตอนนี้คือนายยิ่งลักษณ์เลือกที่จะไปบาห์เรนเพื่อไปจับ มือกับทรราช โดยเน้นผลประโยชน์ธุรกิจมากกว่าความถูกต้อง เหมือนกับที่เคยเลือกไปกราบพลเอกเปรม

หลังเหตุการณ์นองเลือดราชประสงค์ที่ทหารไทยจงใจยิงประชาชนเสื้อแดงตายไป เกือบ 90 ศพ เมื่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศว่าจะมาเยี่ยมประเทศไทยและอาจมาเยี่ยม อภิสิทธิ์ พวกเรา ทั้งชาวไทยและชาวอังกฤษ ร่วมกันรณรงค์ไม่ให้ไป จนเขาต้องยกเลิกการเดินทาง การเงียบเฉยของคนไทยและสื่อไทยจำนวนมากต่อการเดินทางครั้งนี้ เสี่ยงกับการทำให้ชาวโลกที่รักประชาธิปไตย คิดว่าคนไทย “ตื้นเขิน” ไม่สนใจหลักการอะไร หรือปัญหารอบตัวในโลกปัจจุบัน

Protests in Bahrain are ongoing, despite a deadly crackdown by the government.
การประท้วงที่บาห์เรนยังดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจากรัฐบาลจนมีประชาชนเสียชีวิตก็ตาม
ที่มา Spineless Liberal 


ที่มา thaienews

รายงาน: ตอบทุกประเด็น “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ทำไมไทยไม่เป็นภาคี?

โดย วรางคณา อุ๊ยนอก  รายงาน

เมื่อ ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเรื่องบทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่าง ประเทศ(ICC) ในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยกับกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ” มีวิทยากรรวม 5 คน ได้แก่ วารุณี ปั้นกระจ่าง ผู้อำนายการกองกฎหมายจากกระทรวงการต่างประเทศ, พนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.และนักกฎหมาย,  ปิยบุตร แสงกนกนกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สุดสงวน สุธีสร อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

สุนัย จุลพงศธร สส.และประธานการกรรมาธิการฯ กล่าวถึงการสลายการชุมนุมในช่วงเม.ย.- พ.ค. 53 ว่ามีการฆ่าประชาชนในที่สาธารณะ ทั้งๆ ที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการเมืองของไทยได้พัฒนาไปมากแล้ว ดังนั้นจึงต้องหากติกามาคุ้มครองชีวิตคนไทย แต่กติกาในประเทศมีความซับซ้อนมาก จึงต้องหันมองต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงเข้ามาศึกษาเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้นายแพทย์เหวง โตจิราการ ก็ได้ล่ารายชื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไปตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 55 เพื่อขอให้พิจารณาธรรมนูญแห่งกรุงโรม มาตรา12 (3) ที่ใช้มติคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการในคดีใดคดีหนึ่ง โดยไม่ได้มีเจตนาเอาผิดกับใคร แต่เพื่อลดทอนความรุนแรงลง เพราะแน่นอนว่าญาติผู้เสียชีวิตซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมรู้สึกโกรธ ดังนั้นจึงต้องลดความรุนแรงทางจิตใจลง
          

ประเด็นการสัมมนามี 5 ข้อ ได้แก่
            1. ศาลICCคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
            2. บทบาทอำนาจหน้าที่ ฐานความผิดกว้างขวางเพียงใด
            3. เงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการใช้เขตอำนาจศาลมีอะไรบ้าง
            4. ผู้ที่เสียหายคือใคร และมีแนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยุติธรรมอย่างไร การร้องทุกข์กล่าวโทษ  กระบวนการสืบสวน การพิจารณา การพิพากษา การอุทรหรือทบทวนคำพิพากษา ตลอดจนความร่วมมือด้านต่างๆระหว่างภาคีสมาชิกต้องทำอย่างไร
            5. การให้สัตยาบรรณของไทยมีผลดีหรือผลเสียในภาพรวมด้านใดบ้าง



1. ศาลอาญาระหว่างประเทศ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
วารุณีกล่าวว่าธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court: ICC) เป็นสนธิสัญญาที่เกิดขึ้นจากการประชุม ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อจัดตั้งศาลที่มีลักษณะถาวรสำหรับพิจารณาความผิดของบุคคลธรรมดาที่ก่อ อาชญากรรมร้ายแรงสูงสุด เนื่องจากก่อนหน้านี้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีในลักษณะนี้เป็นเพียงศาลเฉพาะ ธรรมนูญกรุงโรม ได้รับการรับรองเมื่อปี2541 โดยสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ160 ประเทศ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่1 ก.ค. 2545 ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมและได้ลงนามเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2543

การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ผู้ก่ออาชญากรรม ร้ายแรงที่สุดถูกปล่อยไปโดยไม่ได้รับการลงโทษ เป็นการยับยั้งการก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่อาจจะเกิดในอนาคต ส่งเสริมความยุติธรรมในระดับสากลและเสริมความยุติธรรมของรัฐภาคี

ปิยบุตรขยายความ ความหมายของศาลอาญาระหว่างประเทศ ว่าไม่ใช่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก การดำเนินคดีมุ่งไปที่ตัวคน ไม่ใช่รัฐกับรัฐ มีลักษณะพิเศษคือเป็นศาลถาวร ไม่เฉพาะเจาะจงกับคดีใดคดีหนึ่ง เป็นศาลเสริมอำนาจศาลภายในคือ ต้องให้มีกระบวนการยุติธรรมในประเทศก่อน และศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะความสมัครใจของแต่ละรัฐเอง แม้ว่าจะลงนามแล้วแต่ก็ต้องให้สัตยาบรรณด้วยจึงจะมีผลใช้บังคับ ปัจจุบันมี 121 ประเทศ ที่ลงนามแล้ว และให้สัตยาบรรณแล้ว และมี 32 ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบรรณ ประเทศที่ลงแล้วถอนก็มีเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ไม่ลง เช่น จีน อินเดีย

2. บทบาทอำนาจหน้าที่ ฐานความผิดกว้างขวางเพียงใด
วารุณีให้ข้อมูลว่า ความผิดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจพิจารณาคดี ไม่ใช่อาชญากรรมทั่วไป แต่มีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมร้ายแรงที่สุด4ประเภท คือการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน

สำหรับอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน  มีการประชุมทบทวนเพื่อกำหนดคำนิยาม องค์ประกอบความผิดและเงื่อนไขที่ให้ศาลใช้เขตอำนาจในภายหลัง คือเมื่อ 31พ.ค.- 11 มิ.ย. 2553 ที่ประเทศอูกันดา ซึ่งตามกำหนดต้องแก้ไขทบทวนธรรมนูญเมื่อครบ 7 ปีหลังจากที่ธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ผลการประชุม สามารถกำหนดคำนิยามและองค์ประกอบความผิดที่ค้างอยู่ได้ กำหนดเงื่อนไขที่ให้ศาลใช้เขตอำนาจ เพิ่มฐานความผิดย่อยเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามจากเดิมที่ได้กำหนดไว้แล้ว และเลื่อนเวลาสำหรับเขตอำนาจศาล

พนัสกล่าวว่านอกจากกรณีการฆ่าสังหาร การเอาคนไปลงโทษจำคุกก็เข้าข่ายอาชญากรรมร้ายแรง เพราะการดำเนินคดีไม่ได้เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม ทำให้คนติดคุกจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผิดต่อมนุษยชาติซึ่งเป็นการกระทำที่เป็น ระบบ  ในส่วนของประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ก็เข้าข่ายด้วย ถ้ามีการรับดำเนินคดี การบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้มีความผิดแน่นอน

3. เงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการใช้เขตอำนาจศาลมีอะไรบ้าง
วารุณีกล่าวถึงการใช้เขตอำนาจศาลว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเฉพาะกับอาชญากรรมที่กระทำขึ้นหลังจากที่ ธรรมนูญมีผลบังคับใช้ คือวันที่1 ก.ค. 2545 ดังนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันดัง กล่าว  ส่วนรัฐที่เข้าเป็นภาคีภายหลังที่ธรรมนูญมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจใช้อำนาจได้เฉพาะกับอาชญากรรมที่กระทำขึ้นหลังจาก ที่ธรรมนูญมีผลบังคับใช้ในประเทศที่เข้าเป็นภาคีนั้น

สำหรับเงื่อนไขการใช้เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ การที่รัฐใดรัฐหนึ่งเข้าเป็นภาคีธรรมนูญถือเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในอาชญากรรม 4 ประเภท ที่กล่าวมา ศาลฯ อาจใช้เขตอำนาจ ตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

(1)เมื่อรัฐภาคีเป็นรัฐเจ้าของดินแดนที่อาชญากรรมถูกกระทำขึ้น หรือเป็นรัฐที่จดทะเบียนเรือหรืออากาศยานในกรณีที่อาชญากรรมกระทำขึ้นบนเรือ หรืออากาศยาน

(2)รัฐภาคีนั้นเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรม

(3)สำหรับรัฐที่ไม่ใช่ภาคี รัฐนั้นๆ อาจตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะกรณีได้ เมื่ออาชญากรรมกระทำขึ้นในดินแดนของตน บนเรือ หรืออากาศยานของตนหรือโดยคนชาติของตน ด้วยการส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียน และรัฐดังกล่าวต้องให้ความร่วมมือแก่ศาลโดยไม่ชักช้าและโดยไม่มีข้อยกเว้นใด

อย่างไรก็ตามศาลอาญาระหว่างประเทศมีฐานะเสริมอำนาจศาลภายในของรัฐภาคีเท่า นั้น ดังนั้นก่อนอื่นเป็นหน้าที่ของรัฐภาคีที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับอาชญากรรมมากที่ สุดจะต้องใช้อำนาจศาลภายในก่อน แต่เมื่อศาลภายในไม่สามารถ หรือไม่สมัครใจพิจารณาคดี ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเข้ามาใช้เขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้

วารุณีขยายความของคำว่าไม่สามารถและไม่สมัครใจว่า ไม่สามารถ(unable)  หมายถึงรัฐไม่สามารถดำเนินกระบวนการยุติธรรมภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถใช้อำนาจตุลาการได้ เช่นในประเทศที่มีการสู้รบอย่างรุนแรง หรือเกิดอาชญากรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง รัฐไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และไม่สมัครใจ(unwilling) หมายถึงรัฐมีความมุ่งประสงค์ที่จะปกป้องผู้กระทำความผิด ทำให้กระบวนการพิจารณาล่าช้า ไม่เป็นอิสระหรือไม่เป็นกลาง แต่ศาลฯจะไม่รับพิจารณาในกรณีที่ ศาลในประเทศรับพิจารณาคดีอยู่ หรือคดีไม่มีน้ำหนักเพียงพอ

ด้านปิยบุตร กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของธรรมนูญนี้ว่า หลักกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องสนธิสัญญามีว่า รัฐใดแม้ลงนามแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบรรณ ก็ห้ามกระทำการที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของธรรมนูญ  เช่น หากประเทศไทยจะเขียนรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ให้สัตยาบรรณกับธรรมนูญ ถือว่าทำไม่ได้ นั่นคือธรรมนูญยังไม่ผูกมัด แต่ก็ห้ามเขียนกฎหมายภายในต่อต้าน หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับธรรมนูญนี้

เงื่อนไขของการรับคำร้อง แบ่งตามเขตอำนาจดังนี้

1. เขตอำนาจในทางเวลา
สำหรับรัฐที่ลงนามและให้สัตยาบรรณแล้ว ธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 45 ไม่มีการย้อนหลัง และสำหรับรัฐที่ให้สัตยาบรรณหลังจากนั้น ธรรมนูญก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่หลังให้สัตยาบรรณ 60 วัน ดังนั้นสมติว่าประเทศไทยให้สัตยาบรรณวันนี้ ก็ไม่สามารถนำความผิดที่เกิดก่อนหน้านี้มาเข้าสู่ศาลฯได้

ในประเด็นนี้ปิยบุตรได้เสนอช่องทางการเอาผิดต่อผู้กระทำอาชญากรรมโดยที่ไม่ต้องให้สัตยาบรรณว่า รัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคี สามารถทำคำประกาศฝ่ายเดียวเพื่อยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีได้ ซึ่งมีประเทศที่ทำสำเร็จมาแล้ว คือ อูกันดา และไอวอรีโคสต์ ในกรณีไอวอรีโคสต์ไม่ได้ให้สัตยาบรรณ ก็ได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลในวันที่ 18 เม.ย. 46 แต่ขอยอมรับเขตอำนาจศาลตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 45 เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศจัดการกับความผิดที่เกิดก่อนหน้าการประกาศ หมายความว่าสามามารถถอยหลังกลับไปได้ แต่ถอยได้ไม่เกินวันที่ 1 ก.ค. 45 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง เพราะได้ลงนามกับธรรมนูญกรุงโรมไว้แล้ว

ทั้งนี้การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลก็ไม่ได้หมายความว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศจะเข้ามาจัดการกับคดีได้ทันที แต่มีเงื่อนไขอื่นๆ อีกมาก กระนั้นก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 คือ คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้และไม่ต้องจัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา แต่นายกรัฐมนตรีสามารถลงนามได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ พนัสเห็นว่า น่าจะเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักว่าต้องทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ เพราะการกระทำต่างๆ ต้องเข้าสู่สภา จึงต้องมีการทบทวนกันให้ถ่องแท้ว่าทำกันได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการให้สัตยาบรรณก็น่าจะผ่านสภาไปได้ยากมาก

2. เขตอำนาจในทางเนื้อหา คือความผิด 4 ประเภทที่กล่าวมา

3. เขตอำนาจในทางพื้นที่ คือความผิดเกิดในดินแดนของรัฐภาคี

4. เขตอำนาจในทางบุคคล คือ ผู้ที่ถูกกล่าวหามีสัญชาติของรัฐภาคี

แต่เงื่อนไขสุดท้ายคือต้องปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศทำหน้าที่ ก่อน เพื่อไม่ให้ขัดต่อหลักอำนาจอธิปไตย และที่สำคัญต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงเพียงพอ ซึ่งสามารถดูได้จากเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเสียหาย และดูผู้เสียหายว่าได้รับความทุกข์ทรมานมากเพียงใด และสุดท้ายผู้ที่ถูกกล่าวหาจะต้องไม่ถูกศาลพิพากษาซ้ำในการกระทำเดียวกัน

ในกรณีของซูดาน ประชาชนไม่เชื่อในกระบวนการยุติธรรม และจะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่กระทำความผิด ซึ่งก็หมายความว่ารัฐไม่สมัครใจ(unwilling)ที่จะดำเนินคดี ฉะนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเข้ามาได้

เช่นเดียวกับพ.ร.บ.ปรองดอง ของไทยซึ่งจะมีการนิรโทษกรรมก็มีความชัดเจนว่า จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาดำเนินการกับนาย อภิสิทธิ์ได้ ส่วนที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ยื่นฟ้องไปก่อนหน้านี้ก็อาจอาศัยช่องทางที่นายอภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีให้จัดการได้ แต่เมื่อดูที่ตัวเลขของการร้องเรียน มีคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศมากกว่า 3000 คำร้อง แต่มีคดีอยู่ในศาลเพียงแค่ 15 คดี และมีเพียง 7 คดี ที่มีการสืบสวนสอบสวนอย่

างเป็นทางการแล้ว และมีเพียง 1 คดีที่ตัดสินไปแล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมากและการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องใช้เวลานาน

พนัสได้เสนอ ว่า ในกรณีการประกาศรับรองเขตอำนาจศาล น่าจะศึกษากรณีฮอนดูรัส ซึ่งมีการรัฐประหารและมีการประกาศภาวะฉุกเฉินคล้ายกับไทย คนที่ฝ่าฝืนการประกาศถูกจับไปเป็นพันคน แต่ส่วนใหญ่ถูกขังในช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 12ชั่วโมง มีการกระทำทารุณกรรมเกิดขึ้นไม่มาก การรัฐประหารมีความรุนแรงทำให้คนเสียชีวิตไป 20 คน ที่เจตนาฆ่าจริงๆ  มีเพียง 8 คน นอกนั้นเป็นการทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งแน่นอนว่าการสลายการชุมนุมของไทยรุนแรงกว่า

นอกจากนี้ปิยบุตรยังเสนอช่องทางในการร้องเรียน การถูกกระทำจากรัฐอีกช่องทางหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นไปได้มากกว่า คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)  ที่ประเทศไทยลงนามไว้แล้ว มีการรับรองสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง ถ้าเอกชนเห็นว่ารัฐละเมิดสิทธิตัวเองก็จะร้องเรียนไปที่คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนประจำสหประชาชาติ แล้วจะมีการดำเนินการต่อไป หากเห็นว่ารัฐกระทำการขัดกับหลักสิทธิตามที่ระบุไว้ ก็จะมีการออกมาตรการ เช่น ให้แก้กฎหมายภายใน หรือชี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการถูกดำเนินคดีตามาตรา112 ก็สามารถไปร้องเรียนได้ แต่ทุกกรณีจะร้องเรียนได้ต่อเมื่อรัฐได้ลงนามพิธีสารอีกฉบับหนึ่งที่เสริม ขึ้นมา แต่ไทยยังไม่ได้ลง แต่ประชาชนสามารถกดดันให้รัฐบาลไปลงได้

          
4. ผู้ที่เสียหายคือใคร และมีแนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยุติธรรมอย่างไร การร้องทุกข์กล่าวโทษ  กระบวนการสืบสวน การพิจารณา การพิพากษา การอุทธรณ์หรือทบทวนคำพิพากษา ตลอดจนความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างภาคีสมาชิกต้องทำอย่างไร
ในส่วนของการริเริ่มคดี วารุณีกล่าวว่ากำหนดให้ รัฐภาคี คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เสนอต่ออัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศหรืออัยการเป็นผู้ริเริ่มคดีเองก็ได้ หลังจากนั้นก็จะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศต่อไป  โดยที่
            - รัฐภาคี ต้องเสนอข้อมูลต่ออัยการ ให้เอกสารสนับสนุน มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
            - คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นตัวอย่างการสังหารประชาชนโดยรัฐบาลในเขตดาฟู เพราะมองว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลระหว่างปี ค.ศ.2003-2008 กรณีนี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้เสนอเรื่องต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หลังจากตรวจสอบพยานหลักฐานสืบพยานผู้เชี่ยวชาญกว่า 50 ปาก ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีค.ศ.2005
            - อัยการเป็นผู้ริเริ่มคดีเอง โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรัฐ องค์กรสหประชาชาติ องค์การระหว่างรัฐบาลหรือองค์การที่ไม่ใช่รัฐบาลหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆที่น่า เชื่อถือ

เมื่ออัยการพิจารณาแล้วลงความเห็นว่ามีหลักฐานสมเหตุผลที่จะดำเนินการสืบสวน สอบสวนต่อไป หรือผู้เสียหายอาจยื่นคำให้การต่อองคณะพิจารณาคดีเบื้องต้นได้  เมื่อองค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้นพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเหตุที่สม เหตุผลที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อและกรณีดังกล่าวดูเหมือนว่าจะอยู่ภายใน เขตอำนาจศาล จึงจะอนุญาตให้อัยการเริ่มการสืบสวนสอบสวนได้ หากองค์คณะฯ ปฏิเสธคำร้องขอของอัยการที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อ อัยการก็มีสิทธิ์ยื่นคำร้องในภายหลังได้ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใหม่

เมื่ออัยการยื่นสืบสวนสอบสวนข้อมูลด้วยตัวเองและวิเคราะห์ความถูกต้องของ ข้อมูลที่ได้รับแล้วเห็นว่าข้อมูลนั้นไม่มีพื้นฐานที่สมเหตุผลสำหรับการสืบ สวนสอบสวน อัยการจะต้องแจ้งแก่ผู้ให้ข้อมูลได้ทราบ แต่ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิ์อัยการในการพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติม

สุดสงวน  กล่าวถึงบุคคลที่สามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาลได้ ได้แก่ ผู้เสียหายหรือเหยื่อเอง องค์กรเอ็นจีโอ เช่น Human right watch และAmnesty  หลังจากนั้นอัยการจะพิจารณาว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจหรือไม่ ต่อมาอัยการจะจะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงพอหรือไม่ เช่นในกรณีของประเทศไทย 90 กว่าศพมากพอหรือไม่ ซึ่งไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องมีการตายเยอะๆ การสั่งฆ่าประชาชนเพียงคนเดียวก็ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ว ต่อมาอัยการจะสืบสวนสอบสวนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจะยื่นหลักฐานทั้งหมดที่ควรจะดำเนินคดีไปที่หน่วยการพิจารณาคดีเบื้อง ต้น แล้วผู้พิพากษาจะพิจารณาสิ่งที่อัยการทำขึ้นมา ซึ่งมีสิทธิ์ที่จะรับหรือปฏิเสธคดีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจ โดยส่วนตัว สุดสงวนเชื่อว่าผู้พิพากษามีความเป็นกลางและไม่มีส่วนได้เสียกับประเทศไทย และหากผู้พิพากษารับแล้วก็จะมีหมายจับไปยังบุคคลที่ต้องถูกดำเนินคดี ในระหว่างการสอบสวน ไม่สามารถประกันตัวผู้ต้องหาได้ และจะถูกควบคุมตัวไว้ที่ศูนย์ควบคุมประเทศเนเธอแลนด์ จนกระทั่งการพิจารณาคดีจนเสร็จ ในขั้นตอนก่อนการตัดสิน จะมีผู้พิพากษา 3 คนที่จะฟังกรณีและตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด   หากผิดจะถูกจำคุกตามคำสั่งผู้พิพากษาซึ่งอาจมากถึง 30 ปีหรือตลอดชีวิต แต่ไม่มีโทษประหารชีวิต

อย่างไรก็ตาม ICC ไม่มีคุกเป็นของตัวเอง ดังนั้นจะส่งนักโทษกลับไปยังประเทศสัญชาติ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดอ่อนของ ICC หากจำเลยถูกตัดสินว่าไม่ผิด ก็ไม่ได้หมายความว่าความผิดจบลง แต่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้องได้อีก ซึ่งเมื่อถูกพิพากษาว่ามีความผิดและถูกออกหมายจับแล้ว จำเลยยังอยู่ที่ประเทศสัญชาติของตน ICC ก็ไม่มีอำนาจเข้าไปจับกุมตัว เว้นแต่บุคคลนั้นจะเดินทางออกนอกประเทศ แต่พนัสกล่าวว่าต้องไปดูในธรรมนูญภาค10 การบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในข้อ103 ศาลจะต้องตั้งรับ ว่ารัฐใดซึ่งเป็นภาคสมาชิกจะสมัครรับเอานักโทษไป ส่วนเรื่องการจับกุม รัฐภาคีที่มีตัวผู้กระทำผิดอยู่ในพื้นที่ก็ต้องให้ความร่วมมือ ถ้าพบตัวผู้กระทำความผิดในรัฐใด รัฐก็ต้องส่งตัวให้กับศาล ไม่ว่ารัฐนั้นจะให้สัตยาบรรณแล้วหรือไม่ก็ตาม

พนัสให้ข้อมูลว่าโครงสร้างของศาลประกอบด้วยอัยการ 1 คน ผู้ช่วย 1 คน และผู้พิพากษาหรือตุลาการ รวม 18 คน โดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือฝ่ายไต่สวนก่อนพิจารณาคดี ฝ่ายพิจารณาคดี และฝ่ายรับเรื่องอุทธรณ์ ซึ่งอัยการเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะกลั่นกรองว่าคดีมีมูลหรือไม่ ตรงนี้แตกต่างกับอัยการของไทย เพราะทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนและฟ้องคดีอยู่ในตัว ขั้นตอนที่ว่าจึงเป็นการใช้อำนาจร่วมกันระหว่างอัยการกับศาล ต่อเมื่ออัยการเห็นว่าคดีมีมูลจึงขอให้ฝ่ายไต่สวนก่อนพิจารณาสอบสวนคดีนี้ อย่างเป็นทางการ เมื่อฝ่ายไต่สวนก่อนพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่อัยการส่งมามีหลักฐานเพียงพอที่จะ สอบสวน ศาลก็จะอนุมัติให้อัยการทำการสอบสวนได้ เมื่ออัยการสอบสวนแล้ว ก็จะได้ข้อสรุปว่าต้องเอาผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีหรือไม่ ถ้าสมควรก็ขอให้ศาลออกหมายเรียก โดยที่ศาลก็มีดุลพินิจคานกันอยู่ จะไม่ถูกผูกพันโดยการตัดสินหรือวินิจฉัยของขั้นตอนก่อนหน้า นี่คือระบบที่แตกต่างกับศาลไทย ดังนั้นการพิจารณาคดีแต่ละขั้นจึงมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะข้อพิจารณาว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่
          

5. การให้สัตยาบรรณของไทยมีผลดีหรือผลเสียในภาพรวมด้านใดบ้าง
วารุณีชี้ว่าประเทศไทยลงนามธรรมนูญกรุงโรมเมื่อวันที่ 2  ต.ค.2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบรรณ จึงยังไม่ได้เป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม คณะกรรมการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ จัดการประชุมแล้ว สรุปว่าหากประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมนูญกรุงโรม ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ให้กำหนดฐานความผิด ครอบคลุมความผิดที่เป็นอาชญากรรม 4 ประเภทที่ระบุในธรรมนูญกรุงโรม รวมทั้งกำหนดบทลงโทษ จะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติส่งผู้ร่ายข้ามแดน พ.ศ.2542 ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนิน การตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ.2527 ต้องแก้ไขพ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 เป็นต้น

“ตอบคำถามที่ว่า เหตุใดประเทศไทยจึงไม่เข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ข้อ27 ของธรรมนูญกรุงโรม กำหนดให้ประมุขของรัฐไม่ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญศาล นี้ ไม่ว่ากรณีใดและจะไม่เป็นมูลเหตุให้ลดหย่อนโทษ หมายความว่าถ้าไทยเข้าเป็นภาคีก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อนี้ด้วย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 8 ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ นี่เป็นข้อติดขัดประการหนึ่ง ซึ่งหากไทยจะเข้าเป็นภาคี ก็จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อรองรับพันธกรณีตามข้อ27  ซึ่งไทยจะต้องคำนึงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีสถานะพิเศษในบริบททางสังคม การเมืองและกฎหมายของไทย จะต้องมีการศึกษาพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา”

แต่ในกรณีนี้ปิยบุตรเสนอว่า  ธรรมนูญกรุงโรม ในมาตรา27เขียนไว้ว่า เอกสิทธิ์ความคุ้มกันต่างๆ ที่ให้กับประมุขของรัฐทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ให้เอามาใช้กับธรรมนูญกรุงโรม ประเทศไทยน่าจะกังวลเรื่องนี้ และน่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ไม่ยอมให้สัตยาบรรณ แต่ใน 121 ประเทศที่ให้สัตยาบรรณไปมีหลายประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ และมีตัวบทเหมือนมาตรา 8 ของไทย คือองค์พระมหากษัตริย์ละเมิดมิได้ แต่หมายถึงว่า องค์พระมหากษัตริย์จะไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีไม่ว่าในทางใดๆ ทั้งวินัย แพ่งหรืออาญา ซึ่งไม่รวมถึงการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กระนั้นประเทศเหล่านี้ก็สามารถให้สัตยาบรรณได้ ไม่ว่าจะเป็น สเปน สวีเดน อังกฤษ เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น แต่ของไทยกลับยังเป็นปัญหา ทั้งที่ในความจริงแล้ว มาตรา 8 จะบังคับใช้ไม่ได้ในทันที แต่ต้องเข้าเงื่อนไขว่าพระมหากษัตริย์จะไม่กระทำการใดๆ ตามลำพัง คนที่กระทำและรับผิดชอบผลของการกระทำคือผู้รับสนองพระบรมราชองโองการ จึงไม่ต้องกังวลเลยว่าพระมหากษัตริย์จะถูกนำตัวไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะคนที่รับผิดชอบคือผู้ลงนามรับสนองฯ

ก่อนเข้าสู่การซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วารุณีกล่าวว่าในเร็วๆ นี้กระทรวงการต่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาล อาญาระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาตัวธรรมนูญกรุงโรมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาการเข้าเป็นภาคี โดยที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย มิใช่ของกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายเดียว ต้องผ่านครม. รัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา190 โดยคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมนูญนี้และจัดให้มีการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนต่อไป


ที่มา prachatai