นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

เสวนา “มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมายสู่ข้อถกเถียงทางสังคม”






เสวนา รำลึก ดร. หยุด แสงอุทัย วรเจตน์ระบุ ปัญหาใหญ่ 112 คือปัญหาอุดมการณ์ที่กำกับการตีความตัวบท และไม่มีบทยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด ถาวร เสนเนียม เผย ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแก้มาตรา 112 โดยเพิ่มโทษ ของพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค สมชาย หอมลออ กรรมการ คอป.ระบุปัญหาการใช้ 112 เป็นอุปสรรค จำกัดเสรีภาพการแสดงความเห็น

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงานวิชาการรำลึก ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย โดยเสวนาวิชาการหัวข้อ “มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมายสู่ข้อถกเถียงทางสังคม” ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ภาคใต้ สมชาย หอมลออ กรรมการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ผศ. ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดำเนินการโดย สาวตรี สุขศรี หัวหน้าภาควิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มธ.

สุ รศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวเปิดการเสวนาว่า หัวข้อเสวนานี้ เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมากและดูเหมือนจะสร้างความร้าวฉาน แต่เป็นหัวข้อที่สำคัญ และอยากให้คิดว่าในบ้านเมืองต้องหลอมรวมความคิดที่แตกต่างกันให้ได้ โดยไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ทั้งนี้ ดร.หยุด แสงอุทัยก็เขียนงานวิชาการแล้วถูกกล่าวหาว่าเขียนบทความที่เป็นการหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ แต่ข้อเท็จจริงไม่มีการสอบสวนและดำเนินการต่อ

ปูน เทพ ศิรินุพงศ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายเพิ่มเติมกรณีที่ ดร.หยุด แสงอุทัยถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดย ส.ส. ผู้หนึ่ง จากกรณีที่ ดร.หยุด อ่านบทความผ่านทางสถานีวิทยุประจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 7 ก.พ. 2499 โดยข้อความที่ถูกกล่าวหาคือ..”องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงรัสสิ่งใดอันเป็น ปัญหาหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศ โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ” โดยครั้งนั้น ส.ส. คนหนึ่งส่งบันทึกด่วนถึงอธิบดีกรมตำรวจว่า ดร.หยุดไม่มีสิทธิจะวิจารณ์ แต่ตำรวจให้ความเห็นว่า การวิจารณ์ดังกล่าวไม่เป็นการผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพียงแต่แนะประชาชนให้รู้ฐานะของกษัตริย์ไม่บังควรไปรบกวนให้ปฏิบัติการใด ทั้งจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีคณะนั้นก็ได้ให้ความเห็นว่า ดร. หยุดไม่ได้ทำผิดด้วย

000

ถาวร เสนเนียม: อยากให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ช่วยขับเคลื่อนผลักดันพฤติกรรมอันน่า รังเกียจของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย ขณะที่ถ้าจะมีการผลักดันให้มีการแก้มาตรา 112 ก็น่าจะเอามาตราอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาประกอบกันด้วย



ถาวร เสนเนียม กล่าวว่าตลอดมา ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งทุกประเทศต้องมีประมุข แต่แบ่งเป็นสองประเภท คือ เป็นพระมหากษัตริย์กับไม่ใช่กษัตริย์ คือประธานาธิบดี สำหรับมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ นั้นบัญญัติว่ากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ละเมิดมิได้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางไม่แพ้มาตรา 112 ว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่

เขา ตั้งประเด็นว่า ปัจจุบันนี้มีการกระทำผิดมาตรา 112 มากกว่าปกติเพราะอะไร ประการต่อไปคือมีการวิพากษ์วิจารณ์ให้แก้ไข 112 ต้องถามว่าบัญญัติไว้เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนญไหม ขัดขวางในการแสดงความเห็นและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่

โดย ที่มาตราดังกล่าวห้ามดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ซึ่งการหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายคนอย่างถาวร เสนเนียม ก็ผิดกฎหมายเช่นกัน

ประเด็น ต่อมาคือ การทำผิดที่หลายคนพูดกันติดปากว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นคือ มีองค์ประกอบความผิด 3 ประการ คือ ห้ามดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย กับคน 3 กลุ่มคือ พระมหากษัตริย์ ราชินี และองค์รัชทายาทนั้น ต้องดูหลักคิดที่นำมาใช้บัญญัติกฎหมายดังกล่าว และเทียบเคียงกับกรณีต่างประเทศด้วยว่ามีกฎหมายลักษณะเช่นเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้เขาระบุว่ากฎหมายนั้นแก้ไขได้ และมาตรา 112 ไม่มีใครห้ามแก้ แต่ต้องดูบรรยากาศที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ใช่แก้ด้วยอารมณ์ต้องแก้ด้วยเหตุผล

เมื่อ พูดถึงหลักกฎหมาย มาตรานี้คำนึงถึงหลักนิติธรรม ว่าไม่ต้องการให้เกิดผลร้ายกับผู้เสียหายหรือเหยื่อ ความไม่สงบ ความมั่นคงและเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ ด้วย

ประการต่อมา คือประมุขของรัฐต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษ รัฐไทยก็ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษเช่นเดียวกับต่างชาติ และประมุขของรัฐนั้นได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นสถาบัน ประการหนึ่ง และในฐานะบุคคลอีกประการหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างกับต่างประเทศมากนัก

ถาวร ระบุด้วยว่า กฎหมายอาญามาตรา 113 ยังได้บัญญัติคุ้มครองประมุขต่างประเทศด้วย ขณะที่กฎหมายอาญามาตรา 134 ยังบัญญัติคุ้มครองเป็นพิเศษ ต่อผู้แทนรัฐต่างประเทศจากการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถามว่านี่เป็นสิทธิพิเศษเขียนไว้คุ้มครองกษัตริย์ไทยหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่เป็นพิเศษ เพราะเป็นไปตามลักษณะวัฒนธรรมไทยและสอดคล้องกับต่างประเทศ

ขณะ ที่มีผู้อ้างว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นขัดกับปฏิญญาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แต่ภายใต้ปฏิญญาดังกล่าวก็ยังระบุว่าบุคคลทุกคนย่อมอยู่ภายใต้ข้อจำกัดตาม กฎหมาย จึงไม่ใช่ทุกคนจะลุกขึ้นมาหมิ่นประมาทใคร แสดงความอาฆาตมาดร้ายใครก็ทำได้

เขาตั้งคำถามว่า ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการห้ามหรือการจำกัดสิทธิเสรีภาพในบางเรื่องนั้น ใครถูกใครผิด โดยยกตัวอย่างประเทศมาเลเซีย จะดูหมิ่นพระเจ้า หรือมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ไม่ได้ เป็นความผิด ขณะที่สามารถแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ในอเมริกาได้ ดังนั้น ในประเทศประชาธิปไตย การระบุว่าใครถูกใครผิดต้องคำนึงถึงศีลธรรมอันดีและความสงบเรียบร้อยของ ประเทศนั้นๆ เป็นหลักด้วย

“การจะแก้ไขมาตรา 112 นั้นผมยังไม่เห็นด้วยเพราะส่งผลกระทบไม่ว่าจะต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี” นายถาวรกล่าวย้ำ จากนั้นได้อ้างถึงพระราชดำรัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และแสดงความเห็นว่า “การจะแก้กฎหมายนั้นยังยืนยันว่าแก้ได้ แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสังคม วัฒนธรรมประเพณี การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นถูกจำกัดสิทธิมีในทุกประเทศไม่ใช่เฉพาะ ประเทศไทย”

ถาวรกล่าวต่อไปด้วยว่าระหว่างตัวกฎหมายและการ บังคับใช้กฎหมายนั้นเราสับสน เช่นกรณียาเสพติด ที่คนมักอ้างว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ ดร.คณิต ณ นคร เคยกล่าวว่ากระบวนการยุติธรรมไทยมีพฤติกรรมน่ารังเกียจสามอย่าง ประการแรกคือ มักทำงานสบายๆ ประการที่สอง มักกลัวไปหมดทุกอย่าง วันที่ประชาธิปัตย์ทำงาน ก็กลัวว่าสิ่งนั้นผิดสิ่งนี้ผิด พอวันที่ประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำงานสิ่งนั้นไม่ผิดเสียแล้ว ประการที่สามมักจะชอบประจบ

โดยเขากล่าวว่า จากประสบการณ์ของตนเองในฐานะที่เคยเป็นอัยการมาก่อน เขาพบว่าหลักดุลพินิจของอัยการในการสั่งฟ้องสั่งไม่ฟ้องนั้นไม่ค่อยได้ใช้ ดังนั้น กรณีการแก้ไขมาตรา 112 นั้น เป็นเรื่องของการใช้กฎหมายเพื่อตอบเป้าหมายในการทำลายคู่แข่งทางการเมือง หรือไม่

ในส่วนของข้อเสนอของพรรค ปชป. ที่พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นผู้จัดทำและเสนอนั้น ถาวระบุว่า ไม่เห็นด้วยทั้งสองประด็น คือการขยายความคุ้มครองไปยังราชวงศ์และการเพิ่มโทษ ทั้งนี้เขาเห็นว่าแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มโทษใน พ.ศ. 2519 แต่ที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่ามีการพระราชทานอภัยโทษ ดังนั้นมาตรา 112 ไม่น่าจะเป็นปัญหาของการบัญญัติแต่น่จะเป็นปัญหากระบวนการยุติธรรมของสังคม ไทย ดังนั้นก็อยากให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ช่วยขับเคลื่อนผลักดันพฤติกรรมอัน น่ารังเกียจของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย ขณะที่ถ้าจะมีการผลักดันให้มีการแก้มาตรา 112 ก็น่าจะเอามาตราอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาประกอบกันด้วย

ทั้งนี้เขาอธิบายว่า ส.ส. มีอิสระที่จะเสนอแก้กฎหมาย ส.ส. คนหนึ่ง รวบรวมคนได้ 20 คน ก็สามารถเสนอแก้ไขกฎหมายได้


สม ชาย หอมลออ: ในฐานะนักสิทธิมนุษยชน มาตรา 112 นั้นถูกนำไปใช้และเป็นอุปสรรค จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นระดับหนึ่ง และในภาวะที่มีความขัดแย้งเป็นขั้วทางการเมืองแล้วก็ถูกนำไปใช้มาก

สม ชาย หอมลออ แสดงความเห็นในฐานะกรรมการ คอป. ว่า 112 นี้ตกอยูในสภาวะที่แก้ก็ไม่ได้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ เป็นภาวะที่อิหลักอิเหลื่อมาก ประเด็น 112 กลายเป็นประเด็นทางการเมืองและเกือบจะเป็นประเด็นที่จะแบ่งขั้วทางการเมือง ของคนในสังคมด้วย ซึ่งหากถูกผลักดันเป็นขั้วขัดแย้งในสังคมแล้วจะลึกและรุนแรงกว่าความขัดแย้ง ในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังจากที่มีคนกลุ่มหนึ่งมีความพยายามที่จะทำอย่างนั้นก็ไม่สำเร็จในการ ใช้มาตรา 112 มาแบ่งขั้วการเมืองในสังคมไทย แต่ถือเป็นความโชคดีที่ทำไม่สำเร็จ
การถกเถียงทางวิชาการด้วยเหตุด้วยผลจะทำให้การแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้ คือทำให้สภาวะที่แก้ก็ไม่ได้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ นั้นหมดไป

ใน ส่วนของ คอป. นั้นมีภาระหน้าที่ในการตรวจสอบค้นหาความจริงและพยายามเสนอแนะต่อรัฐ สังคมและคู่ขัดแย้งต่างๆ เพื่อจะขจัดขวากหนามหรืออุปสรรคที่จะสร้างความปรองดอง ทำให้ คอป.พบปมขัดแย้งประการหนึ่งที่ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ คือ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีผู้ถูกดำเนินคดีมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในช่วงที่มีการชุมนุมเมื่อปี 2553 ซึ่งเขาเองได้ดูสำนวนคดีหลายสำนวนและพฤติกรรมในการดำเนินคดี ก็พบว่าปัญหา 112 เป็นปัญหาทั้งตัวกฎหมาย การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายโดยศาล คือไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะการบังคับใช้ แต่เป็นปัญหาที่ตัวบทกฎหมายด้วย จึงเสนอให้แก้ไขในสองประเด็นคือผู้ฟ้อง (เสนอให้ผู้ฟ้องคือสำนักพระราชวัง) และลดโทษลง

ในฐานะนักสิทธิมนุษยชน มาตรา 112 นั้นถูกนำไปใช้และเป็นอุปสรรค จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นระดับหนึ่ง และในภาวะที่มีความขัดแย้งเป็นขั้วทางการเมืองแล้วก็ถูกนำไปใช้มาก ในขณะที่หลักสิทธิมนุษยชนนั้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่มีความสำคัญมากในสังคม ประชาธิปไตย

ทั้งนี้ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการพูด หรือการโฆษณา นั้นมีความสำคัญมาก และแม้จะสามารถจำกัดได้ ไม่ได้สัมบูรณ์แต่การจำกัดนั้นจะต้องอยู่ในภาวะที่จำเป็นและด้วยเหตุผลบาง ประการเท่านั้น คือการรักษาดุลยภาพระหว่างสังคมกับบุคคล

แต่ เสรีภาพในการแสดงความเห็นนั้นเกี่ยวโยงอย่างชัดเจนและแยกไม่ออกกับเสรีภาพ อีกสองประการ คือเสรีภาพทางวิชาการ ถ้ามีการค้นคว้ามากมายแต่เผยแพร่ไม่ได้ ก็เป็นวิชาการแบบสมัยกาลิเลโอ ไม่สามารถพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ และเสรีภาพอีกประการคือ เสรีภาพทางความคิดความเชื่อ ซึ่งยังถูกจำกัดมาก ยกตัวอย่างเช่น การไปจดทะเบียนพรรคการเมืองในปัจจุบันแม้กฎหมายคอมมิวนิสต์จะเลิกไปนานแล้ว แต่ถ้าจะตั้งพรรคสังคมนิยมก็ตั้งไม่ได้ ซึ่งถ้าความคิดของคนไม่สามรารถเผยแพร่ได้เสียแล้ว ความคิดนั้นย่อมจะมืดบอด ตายไปในที่สุด ทั้งนี้เสรีภาพในทางความเชื่อเป็นเสรีภาพที่สัมบูรณ์ห้ามกันไม่ได้

ประการ ที่สำคัญอีกประการคือ โดยหลักแล้วเราต้องสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกเพราะในประวัติศาสตร์ได้ พิสูจน์แล้วว่าสังคมที่แตกต่างหลากหลายเป็นสังคมที่สามารถพัฒนาเจริญและ ยั่งยืน ถ้าสังคมนั้นไม่มีพื้นที่สำหรับความแตกต่างแล้ว สังคมนั้น ถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอนอยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นจะรุนแรง การจัดพื้นที่ให้ความแตกต่างจะทำให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นลดความเจ็บปวดลง ไม่รุนแรงหรือสุดขั้ว

การที่ถูกจำกัดเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นต่อสถาบันต่างๆ นั้นจะทำให้สถาบันไม่สามารถไปได้ตลอดรอดฝั่ง

สำหรับ การใช้บังคับมาตรา 112 ในสภาวะปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ หรืออัยการ ก็จะเตะลูกขึ้นไปข้างบนเพราะไม่กล้า ทั้งๆ ที่มีอำนาจทางกฎหมาย เช่นอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองคดี จะโทษผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูสังคมด้วย เพราะถ้าบอกว่าไม่ฟ้องโดนแน่ ทั้งการวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบ พนักงานสอบสวนและอัยการต้องมีความเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพ แต่ต้องยอมรับว่าแรงกดดันทำให้บุคคลเหล่านี้หวั่นไหวได้ การตีตราก็เกิดตลอดเวลา และเคยเกิดภาวะเช่นนี้เมื่อ 30-40 ปีที่แล้วซึ่งสังคมไทยน่าจะได้เรียนรู้เพื่อไม่ให้เกิดสภาพเช่นนั้นอีก

สม ชาย กล่าวต่อไปถึงการตีความว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีร้ายแรงแต่เมื่อเทียบกับโทษ อื่นๆ เช่นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ผู้ถูกกล่าวหากลับได้รับการประกันตัว ขณะที่คดี 112 มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี เมื่อเทียบแล้วยังเป็นคดีที่ร้ายแรงน้อยกว่า โทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต

กรรมการ คอป. กล่าวถึงกรณี อากง SMS เปรียบเทียบการส่ง SMS กับการออกอากาศทีวี ศาลตัดสินกรณีส่ง SMS ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 3 ปี เพราะกฎหมายกำหนดว่าอย่างต่ำคือ 3 ปี นี่คือตัวอย่างว่ากฎหมายไม่ได้มีช่องว่างให้ศาลใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมเลย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตรานี้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์รุนแรงปี 2519 คอป. จึงเสนอให้แก้ไข ลดจำนวนโทษ และไม่ใช่ใครก็ได้ไปกล่าวหาเป็นความผิด แล้วพนักงานสอบสวนจะไม่ดำเนินการก็ไม่ได้ เพราะการกดดันทางสังคม การวิพากษ์วิจารณ์จับจ้อง ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีที่ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะไปแจ้งความ เพราะลักษณะนี้เป็นผลเสียต่อสังคมและสถาบันด้วย และกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไป

ส่วนที่กำหนดว่าทำไม ต้องเป็นสำนักพระราชวัง เพราะอ้างอิงจากกรณีที่กฎหมายบัญญัติว่าถ้าจะมีการค้นพระราชฐานต้องได้รับ ความยินยอมจากสำนักพระราชวัง แต่อาจจะมีหน่วยงานอื่นที่มีความเป็นมืออาชีพในการกลั่นกรองก็ได้

กิตติ ศักดิ์ ปรกติ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ยังสอนเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์น้อยเกินไป และการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์นั้นควรจะเฉลิมพระเกียรติด้วยความ ยุติธรรม

กิตติศักดิ์ ปรกติ ระบุว่าปัญหามาตรา 112 นั้นเป็นปัญหาทั้งตัวกฎหมายและการปรับใช้ตัวกฎหมาย แต่เขาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของนิติราษฎร์เรื่องการแยกความผิดระหว่างความ ผิดที่กระทำต่อกษัตริย์กับราชินี

เขากล่าวว่า ปัญหามาตรา 112 หรือความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นเส้นแบ่งที่สำคัญระหว่างการคุ้ม ครององค์พระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นปัจจัยความมั่นคง ในฐานะเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น

การ ดูหมิ่นเป็นการแสดงความเห็นล้วนๆ แต่การหมิ่นประมาทเป็นการแสดงความเห็นประกอบการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่นด้วย แต่มันไม่ใช่เส้นแบ่งแค่ความมั่นคงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเขาเห็นว่า มาตรา 112 ยังเป็นเส้นแบ่งของสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยด้วย คือจะคุ้มครองกษัตริย์ในฐานะสถาบันทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่มายาวนาน เป็นคำมั่นสัญญาที่มีมาตั้งแต่ 2475 ว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย เป็นการต่อสู้แสวงหาคำนิยามที่พยายามช่วงชิงกันว่า กษัตริย์จะมีสถานะอย่างไรในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ 2475 เป็นต้นมากำหนดชัดแจ้งว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

และ ยังมีการระบุในรัฐธรรมนูญว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นซึ่งต่างกับประเทศอื่นที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยนั้น ที่ไทยเขียนแบบนี้ ก็ตอบได้อย่างเดียวว่าเป็นการประนีประนอมระหว่างผู้ถืออำนาจแต่ดั้งเดิมที่ เป็นชุมชนทางการเมืองอันประกอบด้วยกษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ และบรรดาผู้ที่สถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้น ว่าจะหาทางใช้ระบอบประชาธิปไตยนี้ภายใต้กฎหมายอย่างไร

คำ ถามคือ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แล้วประชาชนให้อำนาจกษัตริย์ใช้อำนาจตั้งแต่เมื่อไหร่ คำตอบคือ ตกลงกันไว้ตั้งแต่ 2475 อย่างไรก็ตาม ชาติกำเนิดไม่ก่อเกิดอภิสิทธิ์ ดังนั้นการคุ้มครองจึงไม่ครอบคลุมถึงราชวงศ์ด้วย การใช้ราชาศัพท์กับพระบรมวงศานุวงศ์นั้นเป็นการแสดงความสุภาพ ดังนั้นหากการแก้มาตรา 112 จึงไม่ควรขยายความคุ้มครองไปยังพระบรมวงศานุวงศ์

กิตติ ศักดิ์กล่าวต่อไปว่า อีกประเด็นหนึ่งคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับปวงชนชาวไทย ซึ่งปวงชนชาวไทยนั้นมีผู้แทน คือ ส.ส. แต่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ คือกษัตริย์นั้นเป็นประมุขและเป็นสัญลักษณ์ ขณะที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยกลับไม่เป็นที่นิยม

กษัตริย์ใน ฐานะสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในทางข้อเท็จจริง เมื่อมีผู้ทำผิดเกี่ยวกับกษัตริย์ ชาวบ้านก็นินทา แต่นินทาแล้วจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ก็อีกเรื่อง ค่านิยมทางวัฒนธรรมนั้นผูกอยู่กับทศพิธราชธรรม คือ ถ้ามีพฤติกรรมที่ขัดกับหลักทศพิธราชธรรมก็จะถูกนินทาเป็นธรรมดา แต่รู้กันว่าจะไม่ทำในที่สาธารณะ เมื่อเกิดการนินทาในทางสาธารณะขณะที่มีความเห็นที่หลากหลาย ก็เกิดความรุนแรงและกระทบต่อความมั่นคงได้ เพราะความเกี่ยวพันระหว่างกษัตริย์ ความเป็นชาติ รัฐ และความมั่นคง ทั้งนี้คำพิพากษาจำนวนไม่น้อยก็โคลงเคลงแกว่งไปมา โดยยกตัวอย่าง นักวิชาการไปกล่าวในวันสิทธิมนุษยชน นักวิชาการกล่าวว่าคนที่เรียกพระเจ้าอยู่หัวเป็นพ่อนั้นไม่ถูกเพราะกษัตริย์ ไม่ใช่พ่อ และคนที่กล่าวอ้างนั้นผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพราะอ้างตัวเป็นพระองค์ เจ้า โดยคนที่กล่าวนั้นถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ ตำรวจวินิจฉัยว่าการกล่าวเช่นนั้นไม่ผิด ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้และการตีความมาตรา 112

กิตติ ศักดิ์ ระบุว่าถ้าไม่ทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนก็จะมีการ “ตู่” กันไปมา อีกประการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ว่าเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย เขากล่าวว่า กษัตริย์ใช้อำนาจในฐานะที่เป็นองค์กรที่เป็นบูรณาการ ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ ส่วนจะพึงใช้อย่างไรก็เห็นอยู่

กิตติศักดิ์ กล่าวด้วยว่าองค์กรต่างๆ ได้ใช้พระมหากษัตริย์แสวงประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ทางการเมือง อ้างว่าจงรักภักดี แล้วกล่าวหาคนอื่น ตัวอย่างง่ายๆ ในมหาวิทยาลัย เวลาเสด็จอย่ากราบได้ไหม เพราะตามพระราชบัญญัติสมัย ร. 5 ห้ามกราบ ยังไม่ได้ยกเลิกไป คือห้ามทอดตัวลงบนผืนดินแล้วกราบ เพราะเป็นหลักฐานแสดงการดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีของคน แต่ยังมีผู้ไปหูไปนาเอาตาไม่ไร่ มีผู้ทักท้วงว่าอย่าพูดเดี๋ยวจะกลายเป็นไม่จงรักภักดี แต่ผมพูดด้วยความจงรักภักดี กฎหมายเขากำหนดไว้ก็ทำไปตามกฎหมาย ไม่มีข้อที่จะไปกล่าวหาได้ว่าไม่จงรักภักดี

โดยกิตติ ศักดิ์ ย้ำว่าทุกวันนี้มีคนทำตัวเป็นราชายิ่งกว่าองค์ราชันย์เสียอีก นี่จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ต้องแก้มาตรา 112 ทั้งตัวบทและการปรับใช้กฎหมายให้ชอบด้วยเหตุผล และในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัย นายวรเจตน์ได้เสนอแก้กฎหมายแล้ว แม้เขาจะไม่เห็นด้วยบางอย่าง แต่ก็มีประเด็นที่เขาเห็นด้วยคือ ต้องลดโทษลง แต่ตัวเขาเสนอให้กลับไปใช้โทษสมัยสมบูรณาญาสิทธิ์ คือไม่เกิน 3 ปี

กิตติ ศักดิ์กล่าวในช่วงท้ายว่าประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ยังสอนเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์น้อยเกินไป และการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์นั้นควรจะเฉลิมพระเกียรติด้วยความ ยุติธรรม


วรเจตน์ ภาคีรัตน์: มาตรา 112 นั้นมีปัญหาในหลายระดับทั้งระดับการบังคับใช้ ตัวบท แต่ที่เห็นว่ามีปัญหามากที่สุดคือระดับของอุดมการณ์ที่กำกับการบังคับใช้ตัว บทกฎหมาย

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ระบุว่ามาตรา 112 นั้นมีปัญหาในหลายระดับทั้งระดับการบังคับใช้ ตัวบท แต่ที่เห็นว่ามีปัญหามากที่สุดคือระดับของอุดมการณ์ที่กำกับการบังคับใช้ตัว บทกฎหมาย การแก้ 112 อาจจะไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมด เพียงแต่บรรเทาลง

โดย เขากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า เมื่อมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ตำรวจต้องรับเรื่องและทำคดี ไม่สามารถใช้ดุลพินิจ ทุกกระบวนการจะผลักออกจากตัว ในแง่การบังคับใช้กฎหมายนี้มีปัญหาในตัวเอง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบทกฎหมายอย่างเดียว แต่เป็นบรรยากาศ สภาพแวดล้อมทางสังคม

ตัว บทนั้น ใครๆ ก็สามารถจะดำเนินคดี และโทษที่กำหนดไว้นั้นเกินสมควรกว่าเหตุ หลักการนี้เป็นหลักสำคัญในรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยที่สุดโทษในมาตรานี้ ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ เพราะการกำหนดโทษไม่สามารถกำหนดโทษได้ตามอำเภอใจของผู้บัญญัติ และปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือโทษที่เป็นผลพวงโดยตรงจากการรัฐประหาร 2519 และไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียว แต่ยังพ่วงเรื่องการหมิ่นศาลและดูหมิ่นประมุขของต่างประเทศด้วย ดังนั้นการแก้ 112 ต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวพันกันด้วย เช่น การดูหมิ่นของประมุขของรัฐต่างประเทศ เวลาที่มีการเสนอจึงต้องเป็นไปโดยปริยายในการปรับแก้โทษของกฎหมายที่เกี่ยว ข้องกัน และเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

บางคนบอกว่าตัว บทกฎหมายนี้มีมาเป็นสิบๆ ปี ทำไมเพิ่งจะมาแก้กันตอนนี้ ซึ่งเขาเห็นว่ากฎหมายนี้มีปัญหามาตั้งแต่ตอนที่แก้ปี 2519 และมีปัญหามาตั้งแต่มีการบัญญติขึ้นในปี พ.ศ.2500 แต่มันไม่ได้เป็นประเด็นทางสังคม ถ้าพูดก็จะเหมือนกับที่เจอตอนนี้ เพราะมีการรณรงค์บอกว่า แก้ 112 เท่ากับล้มเจ้า ทั้งๆ ที่นี่เป็นตัวบทกฎหมายมาตราหนึ่งเท่านั้น

วรเจตน์กล่าวว่า ประเด็นมาตรา 112 ต้องพูดไปอีกหลายเวที และหากทาง คอป. จะจัดการพูดคุยเรื่องนี้ก็จะยินดีอย่างยิ่ง โดยเขาระบุว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของมาตรา 112 คือไม่มีการกำหนดเหตุยกเว้นความผิดหรือเหตุยกเว้นโทษกรณีที่เป็นการติชมโดย สุจริตและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งต่างกับกฎหมายหมิ่นทั่วไป การไม่เอาหลักเรื่องนี้มาใช้เป็นผลจาการตีความของศาลด้วย

โดย วรเจตน์ได้ยกเอาคำสอนของอาจารย์กฎหมายรายหนึ่งระบุว่าเมื่อมีการกระทำที่ เป็นการหมิ่นประมาทแล้วจะอ้างข้อแก้ตัวตามที่บัญญัติสำหรับคนธรรมดาหาได้ไม่ เพราะกษัตริย์นั้นเป็นที่เคารพสักการะอยู่เหนือการติชม ขณะที่รัชทายาทและราชินีนั้นเป็นเครื่องประกอบ วรเจตน์เห็นว่าการตีความแบบนี้ทำให้ไม่สามารถนำเอาเหตุยกเว้นความผิดหรือยก เว้นโทษได้ วรเจตน์กล่าวว่านี่เป็นการตีความที่เกินตัวบท ดังนั้นหากบุคคลธรรมดาตีความอย่างไร การดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทกษัตริย์ก็ต้องตีความอย่างเดียวกัน ความเข้าใจแบบนี้ ทำให้เกิดการตีความอย่างกว้างและบิดเบือนตัวบท

วรเจตน์ ยกตัวอย่างคำพิพากษา จ.นครสวรรค์ อัยการบรรยายฟ้องว่าการหมิ่นพระเทพฯ ผิดตาม 112 ขณะที่ตัวบทคุ้มครอง กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ โดยศาลชั้นต้น ขยายความคุ้มครองไปถึงพระบรมวงศ์ที่อาจสืบสัตติวงศ์ โดยระบุว่ารัชทายาทแห่งบทบัญญัติมาตรา 112 หมายรวมถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ทีอาจสืบสันตติวงศ์ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าพระเทพฯ นั้นไม่ใช่รัชทายาทตามมาตรา 112 เพราะตามกฎมณเฑียรบาลมีตำแหน่งเดียวคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

วรเจตน์ กล่าวว่าการตีความตัวบทในกรณีของศาลชั้นต้น จ.นครสวรรค์นี้ ก็น่าสงสัยว่าผู้พิพากษาตีความกฎหมายในระบอบการปกครองใด ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การตีความมีเกณฑ์ ผู้พิพากษาจะเอาทัศนะต่างระบอบกันมาตีความไม่ได้

วรเจตน์ กล่าวว่า การคุ้มครองสถานะไม่ใช่เรื่องสถาบัน การตีความต้องชัดเจนว่าตำแหน่งกษัตริย์หมายถึงใคร ซึ่งต้องหมายถึงกษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน เพราะถ้าไม่ตีความให้ดีก็อาจจะเกินเลยไปถึงกษัตริย์ในประวัติศาสตร์ได้ ดังนั้นการคุ้มครองจึงต้องเป็นกษัตริย์ที่เป็นประมุขของรัฐ และในความเห็นของตนเองเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายว่ากษัตริย์เป็นตัวแทนของปวง ชนชาวไทย เพราะกษัตริย์เป็นการกำหนดคอนเซ็ปท์รูปของรัฐ ว่าจะเป็นสาธารณรัฐ หรือเป็นราชอาณาจักร เมื่อเราตัดสินใจเป็นราชอาณาจักรก็ให้กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ การคุ้มครองกษัตริย์จึงคุ้มครองในฐานะประมุขไม่ใช่เจ้า

อีก ประเด็นที่โยงกับมาตราดังกล่าว คือประเด็นเรื่องความมั่นคง ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะความมั่นคงนั้นต้องเกี่ยวข้องกับการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของรัฐ และจะดีมากหากอธิบายให้เห็นว่ามันคือความมั่นคงของนิติรัฐ

ข้อ โต้แย้งที่ว่าประเทศไทยมีวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมเป็นพิเศษ ผมคิดว่าข้อโต้แย้งแบบนี้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง หากย้อนกลับไปสมัยที่ใช้กฎหมายตราสามดวงอยู่ ท่านก็จะเห็นว่าโทษนั้นมีอย่างไร เช่น การเปิดกะโหลกเอาถ่านร้อนๆ ใส่เข้าไป ท่านจะยอมรับโทษแบบนี้ได้ไหม คือเราอาจจะมีลักษณะบางอย่างที่เป็นคุณค่าเช่น การแต่งกาย อาหารการกิน แต่เรื่องบางเรื่องก็เป็นเรื่องคุณค่าสากล ที่ไม่ควรจะเอาลักษณะเฉพาะไปอ้างให้มีการกดขี่ เช่นการขว้างหินในประเทศอื่นๆ ก็กำลังมีการต่อสู้กันอยู่ ลักษณะเฉพาะเช่นนั้นก็ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะเอามาอ้างเพื่อปกป้องสถาบัน กษัตริย์ การปกป้องกษัตริย์ควรปกป้องด้วยความจริง เพื่อให้สถาบันอยู่กับประเทศไปอย่างยาวนาน

วรเจตน์ กล่าวย้ำถึงประเด็นสำคัญที่เห็นต่างกับกิตติศักดิ์เรื่องกษัตริย์เป็นผู้แทน ปวงชน เพราะเขาเห็นว่ากษัตริย์นั้นเป็นผู้แทนรัฐ แต่ไม่สามารถเป็นตัวแทนปวงชนได้ เพราะการใช้อำนาจอธิปไตยคือ ประชาชนใช้อำนาจโดยตรง หรือใช้อำนาจผ่านองค์กรรัฐ การใช้อำนาจโดยตรงคือการเลือกตั้งและการลงประชามติ การเลือกตั้งจึงสำคัญเพราะเป็นวันที่เจ้าของอำนาจใช้อำนาจของตัวเอง องค์กรนิติบัญญัติ หรือบริหารนั้นจะมีความชอบธรรมเพราะเชื่อมโยงกับประชาชน ส่วนองค์กรตุลาการนั้นมีปัญหาความเชื่อมโยงกับประชาชน และกรณีคำพิพากษาศาลนครสวรรค์นั้นควรจะเป็นกรณีใหญ่ แต่สำหรับสังคมไทยกลับเป็นเรื่องที่ลืมๆ กันไป


อภิปรายเพิ่มเติม
ถาวร เสนเนียม กล่าวย้ำว่าปัญหาหลักของมาตรา 112 คือปัญหาการใช้การตีความตัวบทมากกว่า การกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยติธรรมต้องผลักประเด็นนี้ต่อไปยังกระบวน การขั้นสูงขึ้นเพราะแรงกดดันทางสังคมนั้นเป็นเพียงข้ออ้างและขาดความกล้าหาญ โดยได้กล่าวตำหนิกลุ่มนิติราษฎร์ว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายนั้นต้องเสนอบริบท กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย โดยการแถลงของนิติราษฎร์ในช่วงแรกนั้นไม่ได้เสนอให้รอบด้าน

ถาวร ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ คอป. ว่าการเสนอให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ฟ้องนั้นจะยิ่งทำให้ระคายเคืองเบื้องพระ ยุคลบาทเพราะเป็นองค์กรที่ใกล้ชิด และได้เรียกร้องให้คณะนิติราษฎร์ขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยเขายืนยันว่ากฎหมายแก้ไขได้เสมอ เมื่อไหร่ที่มีความจำเป็นสังคมจะเป็นตัวชี้ตัวกำหนด

วรเจตน์ ตอบถาวรว่า กรณีข้อเสนอของนิติราษฎร์เมื่อ 18 ก.ย. แล้วมาทำเพิ่มเติมทีหลัง คือวันที่18 ก.ย. นั้นเป็นการเสนอเรื่องลบล้างผลพวงการรัฐประหารแต่มีมาตรา 112 พ่วงมาด้วย แต่ข้อเสนอเรื่องมาตรา 112 นั้นนิติราษฎร์ได้เสนอมาก่อนแล้ว

สม ศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. กล่าวว่า เวลาที่เราพูดกันเรื่องข้อตกลงระหว่างกษัตริย์กับราษฎร หรือพระมหากษัตริย์มีความรับชอบ การอภิปรายเรื่องนี้เป็นการอภิปรายแบบจอมปลอมเพราะเวลาที่เราพูดเรื่องสัญญา และความรับชอบ โดยพื้นฐานต้องมีคอมมอนเซนส์คือการจะกล่าวหาว่าใครผิดสัญญาด้วย ถ้าคุณสามารถพูดว่ารัฐบาลทำผิดสัญญาอย่างไร แต่พูดอีกกรณีหนึ่งไม่ได้ ยังไงก็พูดไม่ได้ ความตลกของเรื่องนี้ทั้งหมด คือคนอย่างอาจารย์กิตติศักดิ์น่าจะรู้ดี เพราะมันพูดในฝ่ายเดียว เกิดผมจะพูดในทางตรงข้ามออกไปก็โดนจับทันที คือการยกนามธรรมอย่างไรก็ได้ ผมฟังแล้วก็ไม่รู้จะเถียงยังไง เถียงก็โดนจับ

ประเด็น สั้นๆ ที่อาจารย์ธีรยุทธพูดและผมเห็นด้วยคือ 112 ไม่ใช่เรื่อง 112 แต่เป็นเรื่องภาพสถาบันกษัตริย์ แต่ประเด็นใหญ่ที่อยากจะพูดคือ ถึงที่สุดแล้วยังมีประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยกับ 112 เพราะข้อเสนอของผมคือยกเลิกไปเลย แต่หัวใจของเรื่องจริงๆ คือเราต้องตั้งคำถามว่า มันมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีกฎหมายพิเศษที่ต้องคุ้มครองประมุขในกรณี หมิ่นประมาท เหตุผลในการตอบคำถามนี้ตรงกันโดยยกกรณีว่านี่เป็นบรรทัดฐานทั่วไปว่าต้อง คุ้มครอง แต่ผมไม่เห็นด้วย คนชอบพูดว่าเป็นมาตรฐานสากล นิติราษฎร์เองก็ยกมาตรฐานสากล แต่การยกเรื่องนั้มันไม่มีความหมาย เพราะถ้ายกตัวอย่างนั้นจริงๆ ตองถามว่าประเทศอื่นเขามีอย่างเราไหม เช่นมีการอนุญาตให้ประมุขพูดสดๆ สามารถควบคุมทรัพย์สินของรัฐเป็นหมื่นๆ ล้านได้ไหม และมีการโปรแกรมด้านดีด้านเดียวของสถาบันกษัตริย์ นี่เป็นประเด็นสำคัญเลยว่ามันชี้ขาดอย่างไร

สอง ญี่ปุ่น อเมริกา สหรัฐ ไม่มีกฎหมายแบบนี้

สาม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี แต่ปัญหาที่ต้องตั้งคำถามคือควรใช้บรรทัดฐานอะไรในการพูดถึงประมุข และถามว่าเอาหลักการมาจากไหน นี่ผมถามอย่างซีเรียส

อย่าง การยกกรณีตัวอย่างการขู่ประธานาธิบดีอเมริกา ต้องโทษ 5 ปี แต่ถ้าคุณขู่ FBI ต้องโทษ 10 ปีนะ ฉะนั้นการอ้างประมุขต้องได้รับความคุ้มครองมากกว่าปกติจึงไม่จริงเสมอไป

ที่ สุดแล้ว เป็นเรื่องบรรทัดฐานของนักวิชาการ คุณต้องเอาบรรทัดฐานที่แท้จริง คือ ทุกวันนี้ใครเกลียดมาร์คเอารูปมาร์คไปใส่หัวควาย ใครเกลียดทักษิณก็ตัอรูปทักษิณไปใส่หัวหมา ถามว่าแล้วมีใครฟ้องไหม ประเด็นคือ ต้องใช้บรรทัดฐานเดียวกับประชาชนทั่วไป ไม่ใช่บรรทัดฐานของนักวิชาการ

กิตติศักดิ์ ตอบประเด็นของสมศักดิ์ ว่าต้องเสนอไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่เยอรมนีนั้นประธานาธิบดีสามารถพูดได้โดยไม่ต้องให้สภาตรวจสอบ ก่อน ส่วนการเฉลิมพระเกียรติโดยเกินพอดีนั้นควรแก้ไขไหม ก็ต้องแก้ไขโดยการวิพากษ์วิจารณ์ไปตามขอบเขต

วรเจตน์ ตอบประเด็นสมศักดิ์ ว่าการเทียบประธานาธิบดีกับกษัตริย์อาจจะเทียบได้ลำบากเพราะประธานาธิบดีของ เยอรมนีมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยเพราะมีการเข้าสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีนั้นมีสายโซ่ทีเชื่อมโยงกับประชาชนไม่ขาดตอน

สำหรับ ประเด็นการคุ้มครองประมุขของรัฐนั้น เขาเห็นว่า เกณฑ์ในการวิจารณ์ในระบบทั่วไปไม่ยอมให้มีการด่าหยาบคาย ดูหมิ่น แม้แต่บุคคลธรรมดาก็เป็นสิ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถาจะยอมให้มีการดูหมิ่น หมิ่นประมาท ก็ต้องเลิกความผิดต่อบุคคลธรรมดาแล้วเลิกความผิดต่อกษัตริย์

สำหรับ กรณีประธานาธิบดีของสหรัฐ เป็นทั้งประมุขของรัฐและฝ่ายบริหาร ดังนั้นการวิจารณ์นั้นแยกยาก และอเมริกาก็เป็นประเทศที่มีความอดทนต่อคำพูดที่ไม่ดีสูงมาก มากกว่าคนอื่นในโลกจนเขาไม่แน่ใจว่าควรจะใช้เกณฑ์ของอเมริกาเป็นมาตรฐานหรือ เปล่า

ส่วนกรณีที่คุณทักษิณ หรือมาร์คถูกดูหมิ่นแล้วไม่แจ้งความ “อย่างผมหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเอาหน้าผมไปใส่หน้าลิง แล้วพาดหัววรเจี๊ยก ลิงหลอกเจ้า ผมก็ไม่ได้ฟ้อง แต่ผมไม่ทำแล้วจะใช้เป็นบรรทัดฐานกับคนทั้งสังคมหรือเปล่า คือเข้าใจว่าควรจะทำเกณฑ์แบบเดียวกันคือเลิกไปเลย แต่ตราบเท่าที่คนในสังคมยังมองเป็นอีกแบบหนึ่ง จะทำอย่างไร”

สำหรับ รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ทำโดยฐานที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้วอเมริกาเข้ามาจัดการกฎหมาย ส่วนอังกฤษนั้นเขายอมรับว่ายังไม่ได้ศึกษาให้ชัดเจน

คำถาม ว่าทำไมประมุขของรัฐถึงถูกคุ้มครองมากกว่าคนธรรมดา เพราะว่าประมุขของรัฐนั้นเป็นตัวแทนรัฐ เป็นสิ่งที่ represent รัฐ ในบริบทของบ้านเราอาจจะมีปัญหาอยู่ แต่ในการทำกฎหมายต้องเอาหลักการเป็นตัวตั้ง

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวปิดงานว่า ความคิดเห็นที่หลากหลายต้องได้รับการรับฟังไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และวิธีการแสดงออกนั้นต้องเคารพผู้อื่นด้วย ถ้าเราจะมีความคิดเห็นร่วมกันต้องแสวงหาความเห็นที่รับฟังกันด้วย เวทีวิชาการอย่างนี้จะทำให้ได้รับความรู้ วันหนึ่งทุกคนก็จะคิดได้เอง และสังคมเราอ่านน้อย และเขาต่อต้านความรุนแรงส่าด้วยวาจาหรือกำลัง แต่สังคมจะเจริญด้วยวัฒนธรรมพลเมือง

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : พ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทย เกี้ยเซียะ



ใน โอกาสวันสงกรานต์ พ.ศ.2555 นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมายังประเทศลาว และพบปะกับคนเสื้อแดงจำนวนมาก ที่ข้ามพรมแดนไปเยี่ยม ในระหว่างนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่โรงแรมกรีน ปาร์ค บูติก โฮเต็ล นครเวียงจันทน์ โดยกล่าวอวยพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ขอให้ พล.อ.เปรม มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พล.อ.เปรม เป็นผู้ใหญ่ที่เคารพรัก ตอนที่อยู่เมืองไทยจะไปกราบคารวะเป็นประจำ แม้ พล.อ.เปรม จะอายุมาก แต่ยังแข็งแรง จึงอยากฝากความปรารถนาดีไปถึง และตั้งแต่เดินทางออกนอกประเทศ ไม่มีโอกาสได้พูดคุยหรือหารือปรึกษากันเลย

การแถลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีต่อ พล.อ.เปรม อย่างมาก เพราะนับตั้งแต่ เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ท่าทีของขบวนการฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แสดงการต่อต้าน พล.อ.เปรม เสมอมา ด้วยเหตุผลว่า พล.อ.เปรมและองคมนตรีทั้งหลายเป็นกลุ่มสำคัญในการสนับสนุนการรัฐประหารทำลาย ประชาธิปไตย พ.ต.ท.ทักษิณเองก็เคยระบุในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2552 ว่า พล.อ.เปรม คือผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญตัวจริง และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร สำหรับ พล.อ.เปรมก็แสดงท่าทีหลายครั้งที่ชี้ให้เห็นแนวคิดอันสวนทางกับฝ่ายพรรค เพื่อไทยและขบวนการเสื้อแดง เช่น การแสดงความชื่นชมและสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เมื่อ พ.ศ.2550 ต่อมา ตั้งแต่ พ.ศ.2552 ก็ได้กล่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหลายครั้ง โดยเฉพาะที่เคยระบุว่า “คนไทยโชคดีที่ได้นายกฯชื่ออภิสิทธิ์” ในทางตรงข้าม ในกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย พล.อ.เปรม กล่าวว่า เป็นการ “ทรยศชาติ” ดัง นั้น การที่เป้าหมายในการเคลื่อนไหวของแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (นปช.) และขบวนการคนเสื้อแดงในระยะที่ผ่านมา ที่มุ่งจะต่อต้านอำมาตยาธิปไตย และถือกันว่า พล.อ.เปรม เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายอำมาตย์จึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้


ปัญหาคือ การปรับเปลี่ยนท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณเช่นนี้ สะท้อนสถานการณ์อย่างไร และจะส่งผลกระทบต่อขบวนการประชาชนอย่างไร

ก่อนอื่นคงต้องอธิบายว่า การเปลี่ยนท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประนีประนอม ที่ดำเนินมาแล้วนับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยได้เข้าเป็นรัฐบาล และเป็นท่าทีเดียวกับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ได้ไปร่วมงานงานเลี้ยงรับรองเนื่องในวันกองทัพบก ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  รายงานข่าวแจ้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ได้ยกมือไหว้ พล.อ.เปรม 2 ครั้ง โดยที่ พล.อ.เปรม รับไหว้ และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ระหว่างกลาง ทั้ง 2 ได้พูดคุยกันประมาณ 2-3 นาที ก่อนที่ พล.อ.เปรมจะเดินไปลงนามในสมุดอวยพร โดยมี น.ส. ยิ่งลักษณ์ เดินประกบคู่ไปด้วย จากนั้น พล.อ.เปรมได้เดินย้อนกลับมาและพูดคุยกับนายกฯ พร้อมใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ในครั้งนั้นเป็นที่ฮือฮาของสื่อมวลชนอย่างมาก


ต่อมา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ รัฐบาลได้จัดงาน ’รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย“ ที่ตึกสันติไมตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับเชิญมาเป็นประธานในงาน ในครั้งนี้ พล.อ.เปรมและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้สนทนากัน เดินเคียงคู่กันอย่างชื่นมื่น ซึ่งเห็นได้ว่าการจัดงานครั้งนี้เป็นความตั้งใจของฝ่ายรัฐบาลที่จะสร้างภาพ แห่งความปรองดอง

ถ้าจะให้วิจารณ์กระบวนการเหล่านี้ คงไม่อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์กระทำผิด เพราะต้องเข้าใจกันว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่รัฐบาลปฏิวัติโค่นล้มอำมาตย์ แต่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีแนวทางประนีประนอม ยิ่งกว่านั้น เป้าหมายแห่งการปรองดองเพื่อความสามัคคีภายในชาติ น่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกฝ่าย ดังนั้น พรรคเพื่อไทย และ นปช.จึงยุติการโจมตี พล.อ.เปรมมานานแล้ว เพราะอาจจะถือได้ว่า การมุ่งกล่าวถึงการล้มล้างฝ่ายอำมาตย์จะไม่เป็นผลดีต่อความสามัคคีที่รัฐบาล จะต้องสร้างขึ้น เพียงแต่ว่าการปรองดองที่เกิดขึ้นนั้น ต้องมีการดำเนินการอีกหลายอย่างซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยน เช่น

การที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีท่าทีไม่แตะต้องกองทัพบกเลย ในกรณีปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป้าหมายของการโจมตีกรณีนี้ มุ่งไปที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เท่านั้น การไม่แตะต้องกองทัพ ไม่ขัดแย้งกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะผ่อนปรนไม่ให้เป็นศัตรูกับกองทัพ
   
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย แสดงท่าทีชัดเจนในการไม่สนับสนุนข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ เคยขอต่อฝ่ายนิติราษฎร์เสียด้วยซ้ำ ให้ยุติการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ ทั้งที่ การที่รัฐบาลไม่ดำเนินการเรื่องนี้ หมายถึงการละเลยปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ผลักดันในเรื่องเสรีภาพทางความคิด และเมินเฉยต่อคำตัดสินอันละเมิดหลักยุติธรรมของผู้พิพากษาทั้งหลาย
   

รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ดำเนินการอย่างเชื่องช้าในการช่วยเหลือประชาชนคนเสื้อแดงจำนวนมากที่ร่วม ต่อสู้มาด้วยกัน และยังคงติดอยู่ในคุก ในขณะนี้ ทั้งที่รัฐบาลบริหารประเทศมาแล้วถึง 8 เดือน ก็ยังมีมิตรสหายที่ถูกคุมขังอยู่เกือบ 60 คน
   
แม้ว่าจะมีกระแสในการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แต่การดำเนินการของพรรคเพื่อไทยในขั้นนี้ ก็มีเพียงแค่การผลักดันให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. โดยไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาแห่งการแก้ไข ซึ่งหมายถึงว่า พรรคเพื่อไทยกำลังและเขียน ”เช็คเปล่า” ให้แก่คณะบุคคลที่จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันข้างหน้า หลักประกันที่จะสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทยจึงไม่ชัดเจน

ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองเช่นนี้ ฝ่ายขบวนการประชาชนคงจะต้องพิจารณาบทบาทของพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นจริง และคงต้องยอมรับว่า การผลักดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงท่าทีเชิงปฏิวัติสังคมคงจะเป็นการยาก ในส่วนรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็คงต้องแสดงบทบาทเป็นรัฐบาลสมานฉันท์ต่อไป แต่ยังน่าจะต้องถือว่า รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยังคงเป็นมิตรในแนวร่วม จึงยังไม่จำเป็นถึงขนาดที่จะต้องคว่ำบาตรหรือต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคงต้องเข้าใจสถานะของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ไม่สามารถชูธงต้านอำมาตย์ได้เหมือนเดิม


ท่าทีของฝ่ายประชาชนในขณะนี้ คือ ควรจะต้องเป็นอิสระจากพรรคเพื่อไทย สามารถที่จะเลือกสนับสนุนนโยบายบางด้าน และแสดงท่าทีไม่สนับสนุนนโยบายบางด้านได้ การปรองดองหรือการประนีประนอมกับฝ่ายอำมาตย์อย่างไร้หลักการ เราก็คงจะต้องไม่เห็นด้วย และยังต้องเรียกร้องผลักดันให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไปต่อสู้ในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชน การต่อสู้กับพวกขวาจัด หรือผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญให้นำมาซึ่งหลักการที่เป็นประชาธิปไตยแท้จริง เป็นต้น

แต่การสนับสนุนข้อเสนอของนิติราษฎร์ ทั้งในเรื่องการลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร และการปฏิรูปกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 คงต้องดำเนินต่อไป ไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะมีท่าทีอย่างไร เพราะบทบาทในการสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในสังคมไทยอยู่ในมือของประชาชน ยิ่งเสียกว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย

ที่มา prachatai

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เบรกครม.ดำหัว "เปรม" ชี้ไม่จำเป็นทางกฎหมาย - นิติรัฐ - รธน.

อ้างอิง : "ป๋าเปรม"ไฟเขียวนายกฯ นำคณะรัฐมนตรีรดน้ำดำหัวเทศกาลสงกรานต์ 26 เม.ย. "ลูกป๋า"ชี้เป็นขนบธรรมเนียมไทย


"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ชี้ ครม.ดำหัวเปรมคือ "ส่งเสริมการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง"

ต่อ ข่าวดังกล่าว นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. วันนี้ (22 เม.ย.) ต่อกรณีนายกรัฐมนตรีและ ครม. เตรียมเข้ารดน้ำดำหัว พล.อ.เปรม โดยนายสมศักดิ์ ได้โพสต์แสดงความในเฟซบุค ตั้งค่าการเข้าถึงสาธารณะ มีรายละเอียดดังนี้

ตำแหน่งองคมนตรี เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีกำหนดไว้เลยให้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงใดๆ กับคณะรัฐมาล

อัน ที่จริง องคมนตรีควรไม่มีบทบาททางสาธารณะใดๆ เลยด้วยซ้ำ เพราะถ้ามี แล้วมีปัญหาใดๆ ขึ้นมา ย่อมกระทบถึงสถาบันกษัตริย์ (อันทีจริง ทางกฎหมายต้องถือว่าองคมนตรีเป็นส่วนหนึงของสถาบันกษัตริย์)

ตำแหน่งประธานองคมนตรี ก็ไม่ได้มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ต้องถือเป็นตำแหน่งพิเศษอะไร

การที่ รัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จะเลิกวิพากษ์วิจารณ์โจมตี พล.อ.เปรม นั้น ก็แล้วแต่

แต่ อันที่จริง ถ้าพูดในแง่ของกฎหมาย หลักทางนิติรัฐ และรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีความจำเป็นต้อง มีการนำคณะรัฐมนตรีไปแสดงความเคารพอะไร พล.อ. เปรม ในลักษณะทางการเช่นนี้

คือต่อให้หยุดโจมตี พล.อ.เปรมแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเชิงหลักการ เชิงกฎหมาย หรือนิติธรรม อะไร ที่ต้องให้ความสำคัญพิเศษ หรือแสดงการเคารพเป็นพิเศษต่อตัว พล.อ.เปรม

จะ ว่าไปแล้ว ในประวัติศาสตร์ ก็มีแต่ พล.อ.เปรม ที่วางตัวไม่เหมาะสมกับการเป็นประธานองคมนตรี คือออกมามีบทบาทสาธารณะ และการเมือง อย่างโจ่งแจ้ง โดยไม่เกรงต่อข้อกำหนด รัฐธรรมนูญ (แสดงการฝักใฝ่พรรคการเมืองไม่ได้) และความเหมาะสม เชิงมารยาท และการปฏิบัติทางการเมือง (คนอื่นมีบทบาทแทรกแซงการเมือง ไมใช่ไม่มี แต่อย่างน้อย ยังรู้จักทำแบบหลบๆสายตาคนทั่วไป ไมใช่ทำแบบโจ่งแจ้งเช่นนี้)

พูดง่ายๆ คือ ไม่โจมตี เปรม ก็แล้วไป แต่ไม่มีความจำเป็นใดๆ ทีต้องไปส่งเสริมการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องเช่นนี้

หมาย เหตุ: ตามรายงานข่าวนี้ ที่ "ลูกป๋า" อ้างว่า "เป็นขนบธรรมเนียมไทย" นั้น เป็นการพูดแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว "ขนบธรรมเนียม" ของการมีองคมนตรี (ตั้งแต่ 2492 เป็นต้นมา) ไม่เคยมีการให้ความสำคัญกับตำแหน่งประธานองคมนตรีในลักษณะนี้เลย และจะอ้างว่า นี่เป็นเรื่อง "ส่วนบุคคล" ก็ไม่ได้ เพราะที่จะไปกัน ไปในฐานะ คณะรัฐมนตรี ทั้งคณะ และที่ไป ก็ไมใช่เพราะ พล.อ.เปรม คือ นาย เปรม ที่ไหน"

ที่มา prachatai

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : ทักษิณจับมือกับทหารบนซากศพวีรชนแล้วเล่นละครค้านพรรคประชาธิปัตย์



โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ใน บทสัมภาษณ์ทักษิณ โดยจอม เพชรประดับ ในวันที่ 17 เมษายนปีนี้ที่เขมร ทักษิณยืนยัน (ในนาทีที่ 7) ว่า “คนที่ฆ่าคน 91 ศพไม่ต้องเข้าคุก” แค่คำพูดสั้นๆ อันนี้เป็นการหักหลังวีรชนเสื้อแดงที่เสียสละเพื่อประชาธิปไตย และเป็นการถุยน้ำลายใส่คนเสื้อแดงที่ติดคุก แต่เสื้อแดงก้าวหน้าคงไม่แปลกใจเพราะเรารู้มานานแล้วว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีทักษิณเป็นที่ปรึกษา มีข้อตกลงกับทหารอำมาตย์ตั้งแต่การเลือกตั้งปีที่แล้ว ข้อตกลงนี้เห็นชัดจากการที่รัฐบาลเร่งใช้กฎหมาย 112 เพื่อปิดปากคนก้าวหน้าอย่างบ้าคลั่ง และไม่ดำเนินเรื่องอะไรทั้งสิ้นในการจับฆาตกรจากปี ๒๕๕๓ มาขึ้นศาล ฆาตกรดังกล่าวคือ ประยุทธ์ อนุพงษ์ อภิสิทธิ์ และสุเทพ พร้อมกันนั้นเราเห็นภาพยิ่งลักษณ์กอดคอกับประยุทธ์และอ่อนน้อมต่อเปรม ในกรณีเปรม ซึ่งเคยโดนทักษิณ นักการเมืองเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ด่าแล้วด่าอีก ตอนนี้ทักษิณกลับลำพูดว่า “เปรมไม่เคยยุ่งการเมือง” (ดูประมาณนาทีที่ 11 ในวิดีโอ)

การไม่ยอมนำฆาตกรของรัฐ อำมาตย์มาขึ้นศาลในกรณีที่ส่งทหารสไนเปอร์ไปฆ่าคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์และ ผ่านฟ้า เป็นการผลิตซ้ำวัฒนธรรมเลวทรามของอำมาตย์ไทยที่ฆ่าประชาชนมือเปล่าใน เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๖ ตุลา พฤษภา ๓๕ และตากใบ ๔๗ แล้วลอยนวลเสมอ มันเป็นการผลิตซ้ำ “สิทธิ” อันไร้ความชอบธรรมของทหารที่จะแทรกแซงการเมืองต่อไปอีกนาน มันตรงข้ามกับกระแส “นิติราษฎร์” และกระแสปฏิรูปกฎหมายอำมาตย์ 112 ที่หวังสร้างสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย และเราไม่ควรลืมว่าทักษิณเองน่าจะถูกลงโทษในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีตอนที่ ชายมือเปล่าจำนวนมากโดนทหารและตำรวจฆ่าที่ตากใบในภาคใต้

เป้า หมายหลักของทักษิณและเพื่อไทยคือการกลับไปสู่ความ “ปกติ” ของระบบอำมาตย์ที่มีการเลือกตั้งเป็นฉากบังหน้า และมีลัทธิ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไว้ให้ความชอบธรรมกับความโลภและความชั่วทุกอย่างของชนชั้นปกครอง ทักษิณและพรรคพวกเป็นคนจงรักภักดีมาตั้งแต่แรก และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายสำคัญอีกอันคือการกลับสู่ประเทศไทยของทักษิณ ทักษิณพูดว่าหวังจะได้กลับในปี “มหามงคล” และทั้งหมดนี้กระทำบนซากศพวีรชนเสื้อแดง พร้อมกับถุยน้ำลายใส่นักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษ 112

ใน ขณะที่ทักษิณและเพื่อไทยกอดคอกับทหาร มีการเล่นละครรัฐสภา เพื่อสร้างภาพความขัดแย้งระหว่างเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยหวังว่าคนเสื้อแดงจะลืมอาชญากรรมของทหาร และทักษิณโกหกสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ของวิกฤตการเมืองไทยว่าเป็นแค่ “ความขัดแย้งระหว่างสองพรรคการเมืองและผู้ที่สนับสนุน” (ดูวิดีโอนาทีที่ 11) แต่วิกฤตไทยนำไปสู่การแบ่งขั้วอย่างรุนแรงระหว่างคนเสื้อแดงที่รัก ประชาธิปไตยและอยากเห็นเสรีภาพ กับฝ่ายที่สนับสนุนอำมาตย์และระบบกึ่งเผด็จการกึ่งเลือกตั้ง ทักษิณโกหกอีกว่าชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา “แสดงว่าประชาชนต้องการการปรองดอง” และทักษิณตีความต่อไปอย่างตอแหลว่า ประชาชนต้องการการปรองดองที่ไม่นำทหารและนักการเมืองที่ฆ่าเสื้อแดงเข้าคุก

เรา จะสังเกตเห็นว่าคนเสื้อแดงที่ชื่นชมยิ่งลักษณ์เหลือเกิน มักด่าแต่อภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์ แต่ไม่ด่าทหาร... ประยุทธ์ อนุพงษ์ หรือแม้แต่เปรม ก็เพราะตอนนี้ทักษิณ และเพื่อไทย จับมือปรองดองกับทหารแล้ว และแกล้งเล่นละครคัดค้านประชาธิปัตย์เพื่อเบี่ยงเบนประเด็น แต่ที่สำคัญคือพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยมีอำนาจอะไร เป็นแค่หุ่นหรือของเล่นของทหารอำมาตย์เท่านั้นเอง

การที่ นปช. มัดตัวเข้าไปใกล้ชิดกับรัฐบาลเพื่อไทย จนกลายเป็นแค่กองเชียร์ให้รัฐบาล และเสนอแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในการแก้รัฐธรรมนูญ ในขณะที่มีการมองข้ามประเด็นใหญ่ในสังคม เช่น 112 ทำให้ นปช. หมดสภาพในการเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่อิสระ ดังนั้นบทบาท นปช. ตอนนี้คือการสลายและสกัดกั้นไม่ให้เสื้อแดงเคลื่อนไหวอย่างเดียว

นี่ คือสาเหตุที่คนเสื้อแดงก้าวหน้าทุกคนต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดตั้ง องค์กรที่อิสระจาก นปช. และเพื่อไทย แค่เครือข่ายหลวมๆ จะไม่พอกับภาระอันยิ่งใหญ่ในการปลดแอกประเทศไทยจากอำมาตย์

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : วิจารณ์ทักษิณกรณีไม่เอาฆาตกรฆ่า 91 ศพเข้าคุก


ทักษิณ ชินวัตร?ก็ลูกสาวคุณไม่ได้ตายนี่ครับ
คุณทักษิณ คุณเคยมีความรู้สึกแบบนี้บ้างมั๊ย...
ผมไม่เคยเห็นลูกคุณ หรือคนในครอบครัวคุณมาร่วมเป็นร่วมตายกับพวกเราเลย แล้วคุณถือดีอย่างไรมาพูดเช่นนั้น!!

สำหรับผมในเวลานี้ ตระกุลชินวัตร คุณมันแค่ "ขยะ" เท่านั้น ไม่ต่างไปจากพวกระยำที่ทำเพื่ออำนาจตัวเองเลย แม้แต่น้อย

โดย ปีกสีชาด
                ................................................



มีประเด็นอะไรที่ คนที่ออกมาดีเฟนด์ ทักษิณ-เพื่อไทย-นปช. จะยอมรับว่า วิจารณ์ได้ มีน้ำหนัก เป็นจุดอ่อนจริงๆ?

คือ ผมจะยกตัวอย่างรูปธรรมล่าสุดอันหนึ่ง

หลายคนคงเห็นคลิปสัมภาษณ์ ทักษิณ โดย จอม เพชรประดับ
ที่ทักษิณพูดถึงการที่ยุทธศาสตร์ปรองดอง หมายถึง การไม่เอาผิด "คนที่ฆ่าคน 91 คน"

อันนี้ จริงๆ เป็นอะไรที่ผมไม่เซอร์ไพรส์ เพราะพูดแบบนี้มาเป็นปีแล้ว

แต่ที่ผมว่า น่าเซอร์ไพรส์ มากๆคือ

ในห้องปิดห้องหนึ่ง ที่มีคนที่ดีเฟนด์ ทักษิณ-เพื่อไทย-นปช. อยู่กันมากๆ

พอมีคนโพสต์คลิปนี้ และคำพูดนี้ ก็ยังอุตส่าห์ มีพวกดีเฟนด์ หลายคน มาแย้งในทำนองที่ว่า ไมใช่อย่างนั้น คือ ราวกับว่า นี่ไมใช่ทักษิณพูดจริงๆด้วยซ้ำ

คือ แม้แต่ความจริง (ที่ทักษิณ คอนเฟิร์ม เอง) ว่า ยุทธศาสตร์ปรองดอง หมายถึง จะไม่มีการเอาผิด "คนสั่งฆ่า"

ก็ไม่ยอมรับกันว่าเป็นความจริง

ผมจึงตั้งเป็นคำถาม เปรียบเทียบให้คิดว่า สถานการณ์มันเหมือนกับ กรณีรอยัลลิสต์ มากๆ

คือ ไม่ว่าประเด็นอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ที่เห็นกันโจ่งแจ้งมากๆก็ตาม (เช่น เจ้าฟ้าเพ็ชรัตน์ เป็นเจ้าที่แทบไม่มีคนรู้จัก หรือแคร์) ก็ต้องยืนยัน ไม่ยอมรับ ว่าเป็นความจริง

ที่มา fb สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

 .........................................

ผมใช้ความคิดพอสมควร ในการตัดสินใจเขียนกระทู้นี้ ผมขออนุญาต ไม่เล่ารายละเอียด แบ็กกราวน์เบื้องหลัง ประเด็นเรื่อง การสร้าง "แรงกดดัน" ที่พูดถึงในกระทู้ แต่ยืนยันว่า ได้เกิดขึ้นจริงๆ

ผมหวังว่า ข้อความนี้ จะถึงหู แกนนำ เพื่อไทย-นปช. อันที่จริง ถ้าสามารถถึงหูคุณทักษิณได้จะยิ่งดีมาก

ประเด็นเรื่องที่ผม หรือหลายคน ไม่เห็นด้วยกับการเอาอิสรภาพของคนที่ยังอยู่ในคุก ไปผูกอยู่กับเรื่องการช่วย "ปลดคดี" และนำคุณทักษิณกลับนั้น (เราเห็นว่า ควรช่วยคนในคุกนั้นออกมาทันที เพื่อความยุติธรรมต่อพวกเขา)

เป็นอะไรที่ ถ้าทาง พรรค-นปช. ไม่เห็นด้วย ก็คงไม่ทำอยู่แล้ว อย่างที่เห็นๆกัน

แต่ที่ผมอยากขอร้อง เรียกร้อง อย่างมากคือ
ไม่ควรเอาเรื่องอิสรภาพของคนเหล่านั้น มาสร้าง "แรงกดดัน" ต่อคนจำนวนหนึ่ง ที่สูญเสียญาติไปในระหว่างการปราบปราม และรับไม่ได้กับการที่ พรรค กำลังดำเนินนโยบาย "ปรองดอง" ที่จะยกเว้นความผิดให้ "คนสังฆ่า" ด้วย (ดังที่คุณทักษิณยืนยันต่อ จอม เพ็ชรประดับ อีกครั้ง ไมกี่วันก่อน)

คือ ไป "กดดัน" ว่า ถ้าคนที่เสียญาติเหล่านั้น ยังคงเคลื่อนไหว เรียกร้องเรื่อง "เอาผิด คนสังฆ่า" อยู่ จะพลอยทำให้ กระบวนการ "ปรองดอง" ล่าช้า แล้วเลยทำให้อิสรภาพของคนคุกเหล่านั้น ล่าช้า

การทำแบบนี้ ไม่ถูกต้องอย่างแรงมากๆ

พวกท่าน จะเดินหน้า ยุทธศาสตร์ปรองดองเช่นนี้ ก็ทำไป ไม่มีใคร มีอำนาจพอจะไปห้ามได้

แต่คนที่เขาเสียญาติไปกับเหตุการณ์ เขามีความชอบธรรม เต็มที่ ที่จะยืนยันเคลื่อนไหวต่อไป

และการที่ คนคุกตอนนี้ ไม่ได้อิสรภาพ หรือ อาจจะได้อิสรภาพ ช้าไป ก็ไม่เกียวกับการเคลื่อนไหวของพวกเขาเลย

เพราะจริงๆ มีหนทางที่จะช่วยคนคุกออกมาได้ทันที แต่พรรค "เลือกที่จะไม่ทำเอง" และเอาไปผูกกับเรื่องคุณทักษิณ ที่ทำให้ ยากลำบากขึ้นมาก
ดังนั้น ถ้าคนคุกเหล่านั้น ต้องออกจากคุกล่าช้า (ตามความลำบากของกระบวนการช่วย "ปลดคดี" - นำกลับบ้าน คุณทักษิณ)

ก็ต้องถือว่า เป็นความรับผิดชอบของพรรค-นปช. เอง
ที่มา fb สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

..............................................

กระทู้นี้ ต่อเนื่องจากกระทู้ที่เพิ่งโพสต์เมื่อครู่ข้างล่าง

วันก่อนที่คุณทักษิณ พูดต่อสาธารณะว่า
""แม้แต่แม่ของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตระหว่างสลายชุมนุมราชประสงค์ แม้ยังไม่หายโกรธที่ลูกถูกทหารยิง และไม่อยากให้มีนิรโทษกรรม ก็เป็นเรื่องธรรมดาแต่เราต้องฟังประโยชน์ส่วนใหญ่ และให้ส่วนน้อยยอมเสียสละ ...""

ผมเห็นว่า ไม่ถูกต้องหรอก เพราะจริงๆ เรื่องที่คุณ "แม่น้องเกด" เรียกร้องนี้ ไม่ใช่ ท้้ง "เรื่องส่วนตัว" และไม่ใช่เรื่อง "คนส่วนน้อย" (ที่ต้องมา "เสียสละ" ให้ "คนส่วนใหญ") แต่อ่ย่างใด ทั้งสิ้น

แต่เป็นการพยายามสร้าง "บรรทัดฐาน" ของ "นิติรัฐ" ให้เกิดขึ้นในประเทศนี้ 

 
ว่าการฆ่าคนบริสุทธิ์จำนวนมากโดยรัฐ โดยไม่มีใครจะรับผิดชอบเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ควรยอมรับเลย ในประเทศประชาธิปไตย

นี่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ที่สุด เป็นเรื่องของอนาคตของประเทศ และประชาธิปไตย

และอย่างน้อยๆที่สุด ในระยะเฉพาะหน้า ในปัจจุบัน ต่อให้ไม่มีผลทางปฏิบัติขึ้นมา ก็ยังเป็นการริเริ่มสร้าง "วัฒนธรรมการเมือง" ที่ถูกต้อง ขึั้น

พูดกันจริงๆ จะว่าไปแล้ว การที่คนที่มีฐานะและอำนาจมหาศาลอย่างคุณทักษิณ พูดสาธารณะแบบนี้ ก็ไม่ค่อย "แฟร์" ต่อ คุณ "แม่น้องเกด" ที่เป็นคนตัวเล็กๆ ไม่มีกลไก ไม่มีอำนาจอะไรจะไปโต้แย้ง วิจารณ์ได้นัก

แต่เอะเถอะ ในเมื่อคุณทักษิณพูดไปแล้ว

ผมก็ขอเรียกร้องให้ เพื่อไทย-นปช. โดยเฉพาะเรียกร้องไปยัง คุณตู่ คุณเต้น และแกนนำ นปช คนอื่นๆ ที่เป็นผู้นำการชุมนุม ที่นำไปสู่เหตุการณ์การเสียชีวิตของ "น้องเกด" เอง
ได้โปรด "อย่าไปสร้างการกดดัน ให้คนอย่าง แม่น้องเกด" หรือ ญาติผู้เสียชีวิตคนอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับทิศทาง "ปรองดอง" ที่พวกท่านกำลังดำเนินอยู่ ที่จะเป็นการยกเว้นความผิดให้ "คนสั่งฆ่า"

จะ "ปรองดอง" ยังไงก็ทำไป ไมมีใครห้ามได้

แต่ได้โปรดอย่าสร้างการกดดัน ขัดขวาง ไม่ให้คนที่เขาไม่เห็นด้วยกับทิศทาง "ปรองดอง" นี้ ไม่ให้เคลื่อนไหว เรียกร้องต่อไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรเอาข้ออ้าง เรื่องอิสรภาพของคนที่ยังอยู่ในคุก มาใช้

อันนี้ ขอร้อง อย่างจริงใจว่า ได้โปรดเถิด

เท่าที่ พรรค-นปช. เลือกเดินทิศทาง "ปรองดอง" นี้ ก็สร้างความเจ็บปวดให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตเหล่านั้น มากเกินไปแล้ว

โปรดอย่าได้กดดัน กีดกัน ผลักไส พวกเขา ให้ "ไม่มีที่ยืน ไปมากกว่านี้"

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์สั้น : ทักษิณรับงานมาจากศักดินา ในการจัดงานสงกรานต์ที่ลาวและเขมร




โดย แดง ตาดี

1. ทักษิณได้ขออนุญาตและชี้แจงเหตุผลต่อจ้าวนายล่วงหน้าแล้ว

2. ทักษิณรับงานมารวบรวมเสื้อแดงมิให้แตกแถวหรือไปก้าวร้าวต่อศักดินา

3. ทักษิณเป็นคนมานำขบวนแดง โดยทักษิณประกาศนำแบบองอาจ โดยมี แดง นปช.เป็นกระเป๋ารถเชียร์แขก ทักษิณกุมพวงมาลัย เพื่อค่อยๆพาคนไปไหว้จ้าว

4. นปช.และทักษิณ ไม่มีข้อเรียกร้องหรือคำขวัญต่อสู้ใดๆอีก

5. การลดอุณหภูมิเสื้อแดง ทำมาตั้งแต่โบนันซ่า โดยศักดินาเรียกร้องให้ดูแลคนเสื้อแดงมิให้ด่าจ้าว และให้ทักษิณนำโดยมิให้เสื้อแดงตกไปอยู่ในการนำของแดงใต้ดิน

6. ทักษิณแลกเปลี่ยนคดีกับจ้าวโดยการ ให้ฝ่ายจ้าวห้ามปรามพันธมิตร ปปช.ทหารและตุลาการ มิให้ล้ำเส้นมากนัก ให้สาวกแต่ละฝ่ายแค่แหย่ๆ

7. ทักษิณได้ทำหน้าที่ลดความแข็งกร้าวคนเสื้อแดงเป็นหลัก แต่กลับขานรับ "ข้อกำหนดของศักดินาอย่างจริงจัง" 

8. จุดยืนของทักษิณ คือพ่อค้า ลงทุนและเก็งกำไร มิใช่นักปฏิวัติ มิใช่นักประชาธิปไตยโดยการกระทำแม้แต่น้อย

9. งานต่อไปที่ทักษิณจะทำถวายจ้าว คือ "ชี้เป้า คนที่ต่อสู้แบบปฏิวัติ และจะปราบเมื่อแดงปฏิวัติพัฒนาขึ้นมา" การทรยศคนทั่วไปจะมองเห็นชัดเจนขึ้นกว่านี้

10. ทักษิณ รักษา ระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา แปรรูปทรัพย์ส่วนรวมเป็นของเอกชน และแจกค่าแรงหรือสวัสดิการบ้าง โดยรักษาระบบสูบโกยกลับคืนอย่างแข็งขัน

ทักษิณ คือ คนที่อ้างว่า
"ตนเองถูกรังแกมากกว่าคนที่ตายราชประสงค์ และคนเสื้อแดงทุกคนรวมกัน" ทักษิณถูกรังแกมากกว่าใครยังให้อภัยได้ ใครไม่ยอมปรองดองคือ "คนค้าอาวุธ"

ทักษิณดูถูกคนเสื้อแดงปฏิวัติและกล่าวหาญาติวีรชนที่ต้องการจับ ฆาตกรมาลงโทษว่าเป็น "คนที่ค้าอาวุธเพราะไม่ยอมปรองดอง" ทักษิณ คือนักการเมืองค้ากำไร และพร้อมหยุดต่อสู้เสมอเมื่อตนเองได้สัมปทานและกำไรพอใจแล้ว

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย 14 ครั้ง ในสมัย ร.1 - ร.9






"เสียครั้งแรกเกาะหมากจากแผนผัง
เขาเปลี่ยนเป็นปีนังจำได้ไหม
นั่นแหละจากขวานทองเล่มของไทย
หนึ่งร้อยกว่าตารางไมล์หลักฐานมี "

ครั้งที่ 1 เกาะหมาก(ปีนัง) เสียให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ 11 สิงหาคม 2329 พื้นที่ 375 ตร.กม. ในสมัย ร.1 เกิดจาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมากเพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพ ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป


"ครั้งที่สองเสียซ้ำยังจำได้
เสียมะริดและทวายตะนาวศรี
ปีสองพันสามร้อยยี่สิบหกโชคไม่ดี
เสียเนื้อที่กว่าสองหมื่นตารางไมล์ "

ครั้งที่ 2 มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ 16 มกราคม 2336 พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ในสมัย ร.1 แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป


"ครั้งที่สามบันทายมาศถูกตัดเฉือน
แล้วเปลี่ยนเป็นฮาเตียนตั้งชื่อใหม่
ปีสองพันสามร้อยหกสิบสามแสนช้ำใจ
เสียเนื้อที่เท่าไรไม่ปรากฎในบทความ "

ครั้งที่ 3 บันทายมาศ(ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2336 ในสมัยรัชกาลที่ 2


"ครั้งที่สี่เจ็บแค้นเสียแสนหวี
กินเนื้อที่ถึงเชียงตุงเหนือกรุงสยาม
ตั้งหกหมื่นตารางกิโลโถมันทำ
ใครสร้างกรรมเดี๋ยวนี้เห็นดีกัน"

ครั้งที่ 4 แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.2368 พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ 3    แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ 20 ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ห่างไกลประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และ เกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้(กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง


"ครั้งที่ห้ามาเสียรัฐเปรัค
เขาหาญหักผลักล้มเชือดคมขวาน
ปีสองพันสามร้อยหกสิบเก้าแสนร้าวราน
ต่างหยิบขวานขึ้นถือกู้ชื่อไทย "

ครั้งที่ 5 รัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการสูญเสียที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปี


"ครั้งที่หกอกตรมเดินก้มหน้า
เสียสิบสองพันนาน้ำตาไหล
ตั้งเก้าหมื่นกิโลโถทำได้
แทบขาดใจต่อสู้ศัตรูมา"

ครั้งที่ 6 สิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2397 พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน  มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป


"ครั้งที่เจ็ดเสียดินแดนแคว้นเขมร
เกิดพิเรนเพราะฝรั่งกำลังบ้า
เที่ยวออกล่าเมืองขึ้นชื่นอุรา
เสียอีกหนึ่งแสนกว่าตารางกิโล"

ครั้งที่ 7 เขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410 พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัย ร.4 ฝรั่งเศส บังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดนเขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจากฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.5 ที่ไปประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป


"ครั้งที่แปดเสียแคว้นดินแดนใหม่
ชื่อสิบสองจุไทยก็ใหญ่โข
เป็นเนื้อที่อีกแปดหมื่นตารางกิโล
ต้องร้องโฮใจระเหี่ยเพราะเสียดาย"

ครั้งที่ 8 สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ  22 ธันวาคม 2431 พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อ ก่อกบฏ ไทยจัดกำลังไปปราบ 2 กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง(เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษาเมืองไลและเมืองเชียงค้อ


"ครั้งที่เก้าเศร้าแสนแค้นไม่สิ้น
เสียลุ่มน้ำสาละวินด้านฝั่งซ้าย
สิบสามหัวเมืองต้องจำเหมาให้เขาไป
ใครที่ทำช้ำใจไทยต้องจำ "

ครั้งที่ 9 ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 5 ในห้วงปี 2433 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง


"ครั้งที่สิบเลียบลำแม่น้ำโขง
ถูกเขาโกงฝั่งซ้ายเพราะไทยถลำ"

ครั้งที่ 10 ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 3 ตุลาคม 2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก 3 ล้านบาท และยังไม่พอฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุดของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่อง แต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.5  เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้


"ครั้งที่สิบเอ็ดเสียฝั่งขวานั่งหน้าดำ
มันเจ็บช้ำฝังจำอยู่กลางใจ"

ครั้งที่ 11 ฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน,จำปาศักดิ์   ,มโนไพร)ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2446 พื้นที่ 25,500 ตร.กม. ในสมัย.ร.5ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึดเมืองตราดแทนอีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำบ้านนาดี,ด่านซ้าย จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย


"ครั้งที่สิบสองใจรันทดเพราะหมดท่า
เสียมณฑลบูรพาอีกจนได้
เขามาพรากจากแหลมทองถิ่นของไทย
อีกสองหมื่นตารางไมล์โดยประมาณ "


ครั้งที่ 12 มลฑลบูรพา(พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 23 2449 พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ 6 กรกฎาคม 2450 กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย


"ครั้งที่สิบสามเสียตรังกานูไทรบุรี
ในแผนที่มองเห็นเป็นหลักฐาน
ไปถึงปะลิสติดรัฐกลันตัน
อีกสามหมื่นโดยประมาณตารางไมล์"

ครั้งที่ 13 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียหัวเมืองมลายู
(รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี) เมื่อ พ.ศ. 2451 ให้กับอังกฤษ
จำนวนพื้นที่ 80,000 ตารางกิโลเมตร
เพื่อแลกกับอังกฤษยกเลิกสิทธิภาพนอกอาณาเขต
และให้ไทยกู้เงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันเป็นของมาเลเซีย


"ครั้งที่สิบสี่เสียเขาพระวิหาร
ปัจจุบันเป็นของเขมรท่านเห็นไหม"

ครั้งที่ 14 เขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9 ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจากหลักฐานสำคัญของเขมร   ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพจะเสด็จเขาพระวิหาร จึงไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก



รวมพื้นที่ที่เสียไป 782,877 ตร.กม.
จากพื้นที่ 1,294,992 ตร.กม. ในอดีต
ปัจจุบันเรามีพื้นที่ให้เหยียบกันอยู่เพียง 512,115 ตร.กม.
เหลือน้อยกว่าที่เราเสียไปซะอีก









ที่มา zone-it

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

แถลงการณ์ คณะราษฎร์ ฉบับที่1


                             ประกาศคณะราษฎร  ฉบับที่  ๑
                                         ราษฎรทั้งหลาย


                เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น  ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่ม เย็น  แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่  กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม  ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ  ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร  ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต  มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ  หากำไรในการเปลี่ยนเงิน  ผลาญเงินของประเทศ  ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร  กดขี่ข่มเหงราษฎร  ปกครองโดยขาดหลักวิชา  ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม  ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว  รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้


                  การที่แก้ไข ไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาล อื่นๆ  ได้กระทำกัน  รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส  (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง  ข้าบ้าง)  เป็นสัตว์เดียรัจฉาน  ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์  เหตุฉะนั้น  แทนที่จะช่วยราษฎร  กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร  จะเห็นได้ว่า  ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น  กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน  ส่วนราษฎรสิ  กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย  เลือดตาแทบกระเด็น  ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ  ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา  แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข  ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้  นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน  ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว


                รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร  มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้  แต่ครั้นคอยๆ  ก็เหลวไป  หาได้ทำจริงจังไม่  มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน  ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้  เพราะราษฎรโง่  คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้  ถ้าราษฎรโง่  เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน  ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้ เรียนเต็มที่  เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา  ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้  และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป


                ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า  ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร  ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง  บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกรู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก  พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน  เงินเหล่านี้เอามาจากไหน?  ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง  บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง  ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา  เพราะทำนาไม่ได้ผล  รัฐบาลไม่บำรุง  รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด  นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ  จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม  เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย  บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย  นายสิบ  และเสมียน  เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ  ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงาน ทำ  จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน  แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่  คงสูบเลือดกันเรื่อยไป  เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ  คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม  ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก  การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย


                เหตุฉะนั้น  ราษฎร  ข้าราชการ  ทหาร  และพลเรือน  ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว  จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น  และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว  คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครอง โดยมีสภา  จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ  ความคิดดีกว่าความคิดเดียว  ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น  คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ  ฉะนั้น  จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป  แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน  จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้  นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร  คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว  เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ  ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจ ลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ  และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย  กล่าวคือ  ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น  อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา  ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด  ทุกๆ  คนจะมีงานทำ  เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ  เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว  ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น  การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ  จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา  ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด  เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว  เป็นหลักใหญ่ๆ  ที่คณะราษฎรวางไว้  มีอยู่ว่า

                ๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย  เช่นเอกราชในทางการเมือง  ในทางศาล  ในทางเศรษฐกิจ  ฯลฯ  ของประเทศไว้ให้มั่นคง

                ๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ  ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

                ๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ  โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ  จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ   ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

                ๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน  (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)

                ๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ  มีความเป็นอิสระ  เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก  ๔  ประการดังกล่าวข้างต้น

                ๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร


                ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้ สำเร็จ  คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือ กฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน  อย่าทำการใดๆ  อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร  การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้  เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร  บุตร  หลาน  เหลน  ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์  ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย  ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย  ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน  และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่  เป็นข้า  เป็นทาสพวกเจ้า  หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร  สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ  ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า  “ศรีอาริยะ”  นั้น  ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า


                                                                          คณะราษฎร
                                                                     ๒๔  มิถุนายน  ๒๔๗๕




ที่มา
http://www.newskythailand.com/board/index.php/topic,3691.msg13432/topicseen.html#new

 http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=19&d_id=19

ที่มา thinnuanews

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลย้อนปมผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จี้ปฏิรูป ยกต้นแบบฝรั่งเศส


เมื่อ วันที่ 1 เม.ย. 55 เสวนาบาทวิถีหน้าศาลอาญาของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลหยิบประเด็น “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร?” มาแลกเปลี่ยนในมุมมองของทนายผู้ว่าความคดีเสื้อแดง อาคม ศิริพจนารถ  ทนายนักสิทธิมนุษยชน, ภาวิณี ชุมศรี ผู้มีประสบการณ์ว่าความคดีความรุนแรงภาคใต้ และเหยื่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, เจียม ทองมาก ซึ่งติดคุกในคดีปล้นทรัพย์เซ็นทรัลเวิลด์มานาน 1 ปี 6 เดือน ก่อนศาลชั้นต้นยกฟ้อง

อาคม  ศิริพจนารถ เท้าความว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศใช้ในปี 2548 เพื่อใช้บริหารสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงให้กลับสู่ความสงบโดยเร็ว  แต่การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงทั่วโลกก็รู้ว่าชุมนุมด้วย มือเปล่า ซึ่งผิด พ.ร.บ.จราจรเท่านั้น โทษปรับอย่างสูง 1,000 บาท การที่อภิสิทธิ์อ้างว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงและเขาต้องรักษากฎหมาย เป็นข้ออ้างที่ผิด  คนเสื้อแดงชุมนุมเป็นเดือนไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรง แต่ทุกครั้งที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ กระชับพื้นที่ต้องมีคนตาย การสั่งให้ทหารเรือนหมื่นพร้อมอาวุธสงครามและรถถังออกมาในเมืองหลวงนั้นยาก ต่อการควบคุม คุณควบคุมให้ทหารยิงเอ็ม 16 ตั้งแต่หัวเข่าลงไปไม่ได้หรอก นั่นหมายความว่ารัฐบาลมีเจตนาฆ่าประชาชน

ทนายอาคมเสนอว่า ควรมีการรวบรวมรายชื่อ เสนอให้พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลทำการทบทวนและตรวจสอบการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่ามีเหตุที่สมควรหรือไม่  และเมื่อมีคนเสียชีวิตแล้ว ทำไมจึงไม่ยกเลิก

เจียม ทองมาก เล่าเหตุการณ์ในวันที่ 19 พ.ค.53 หลังแกนนำประกาศสลายการชุมนุม มีระเบิดลงหลังเวที ต่างคนต่างหนีกระจัดกระจาย เวลานั้นความเป็นความตายอยู่ในที่เดียวกัน เราจะทราบได้อย่างไรว่าที่ไหนจะปลอดภัย ตนเองหนีลูกปืนที่ไล่ยิงอย่างหมาเข้าไปในเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่ได้คิดเข้าไปลักทรัพย์ ตอนนั้นคิดแค่ว่าจะได้เห็นหน้าลูกอีกไหม ไม่ได้แตะต้องของในห้าง ตนเองคลานลงไปถึงชั้นล่างสุด ได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงตัว จึงร้องขอความช่วยเหลือ แต่พอออกมา ตำรวจให้นั่งลงแล้วนอนคว่ำ เอาเชือกมัดมือไพล่หลัง แล้วจับคอเสื้อตนเองขึ้น โดยหัวเข่าตำรวจกดหน้าขาทั้งสองข้างของตนเองไว้  มือข้างหนึ่งจับปืนอยู่ตลอดเวลา มีลูกกระสุนปืนซึ่งทราบจากศาลว่าเป็นเอ็ม 60 สะพายอยู่  แล้วขู่ถามว่าปืนอยู่ไหน เธอเป็นผู้หญิงต้องรู้ว่าปืนอยู่ไหน ตนเองตอบว่าไม่ทราบ คนเสื้อแดงหลายคนที่ถูกฉุดกระชากออกมาแล้วซ้อม บ้างก็ถูกไฟช็อต  ได้แต่นั่งมองกันอย่างปวดร้าว จากนั้นก็ถูกจับไปติดคุกแล้วยัดข้อหา ถูกย่ำยีหัวใจในเรือนจำ ที่อยู่ได้เพราะต้องการสู้เพื่อความบริสุทธิ์ของตัวเอง

ภา วิณี ชุมศรี  อธิบายถึงตัว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าในกรณีที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ภัยธรรมชาติ หรือความมั่นคงต่อรัฐ รัฐธรรมนูญให้อำนาจฝ่ายบริหารคือ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีมาตรการพิเศษมาจัดการกับปัญหาในช่วงนั้นได้เป็นการชั่วคราว เช่น ปิดสื่อ ห้ามใช้เส้นทาง ห้ามออกนอกเคหสถาน  ดังนั้นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต้องมีเหตุ ซึ่งในวันที่ 7 เมษายน รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งกฎหมายให้ทำได้หากมีการประทุษร้ายหรือก่อการร้าย และให้อำนาจมากขึ้น เช่น เรียกให้มารายงานตัว หรือควบคุมตัวได้ 30 วัน  รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศโดยอ้างเหตุมีการยุยงปลุกปั่น ทำให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง  ประเด็นปัญหาคือ เหตุเหล่านั้นมีอยู่จริง หรือร้ายแรงพอที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงหรือไม่ เป็นการก่อการร้ายหรือแค่ใช้สิทธิในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น  นอกจากนี้ ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่มีใครตรวจสอบได้  เพราะนายกฯ ประกาศแล้ว ไม่ต้องรายงานต่อรัฐสภา ตุลาการก็เข้าไปตรวจสอบไม่ได้ จึงง่ายมากที่ฝ่ายบริหารจะใช้อำนาจโดยบิดเบือนกฎหมาย  เช่น กรณีปิดเว็บไซต์ประชาไท  ศอฉ.ให้เหตุผลว่าจะทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นอีก  และเนื่องจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินตัดอำนาจศาลปกครอง   ทางประชาไทจึงต้องฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งเป็นศาลยุติธรรม และมีอุดมการณ์ต่างจากศาลปกครอง  ศาลปกครองมีอุดมการณ์ในการตรวจสอบการใช้อำนาจบริหารของรัฐว่าชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ แต่ศาลยุติธรรมพิจารณาแค่ว่าการใช้อำนาจเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาว่าการใช้อำนาจนั้นชอบหรือไม่ชอบ  ดังนั้น ในกรณีประชาไทศาลจึงยกฟ้องโดยไม่มีการสืบพยาน และให้เหตุผลว่า ศอฉ.มีอำนาจในการปิดเว็บไซต์  ไม่ได้พิจารณาว่ามีเหตุที่เพียงพอในการปิดหรือไม่ ศอฉ.ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติในกระบวนการยุติธรรมไทย

ทนาย นักสิทธิฯ กล่าวอีกว่า อำนาจอีกอันหนึ่งของ พ.ร.ก. คืออำนาจในการจับและควบคุมตัวบุคคลได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานว่ากระทำความผิด เพียงแต่เป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน  ประเด็นปัญหาก็คือ กรณี บก.ลายจุด และคนเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก. และขยายระยะเวลาควบคุมตัว โดยที่ไม่ได้เป็นตัวแปรว่าจะทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินมากขึ้น ดังนั้น การควบคุมตัวดังกล่าวจึงเป็นการจำกัดสิทธิที่มากเกินไป และง่ายต่อการที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจควบคุมตัวตามอำเภอใจ  นอกจากนี้ การฝ่าฝืน พ.ร.ก.ยังมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ในช่วงแรกที่มีการจับกุม ศาลก็ตัดสินจำคุก 2 ปี ถึงแม้จะมีการรับสารภาพและลดโทษเหลือ 1 ปี ก็ถือว่าเป็นโทษที่สูงมากสำหรับประเทศประชาธิปไตย อีกทั้ง ไม่มีการรอลงอาญา และไม่ได้ประกันตัว  ซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับโทษ   ดังนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารโดยแท้   รัฐบาลสามารถอ้างได้ว่าการชุมนุมเป็นภัยต่อความมั่นคง ทั้งๆ ที่เป็นความมั่นคงของรัฐบาลเอง ไม่ใช่รัฐ  รัฐบาลก็ประกาศใช้กฎหมาย ใช้อำนาจในการสลายการชุมนุม จำกัดสิทธิ ทำให้คนกลัว ดำเนินคดี ทำร้ายร่างกาย ถามว่าการที่คนออกมาชุมนุมแล้วใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างนี้มันได้สัดส่วนกัน หรือไม่ พอสมควรแก่เหตุหรือไม่  เช่นเดียวกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงต่อเนื่องกันมากว่า 6 ปี แล้ว โดยการขยายระยะเวลา 27 ครั้ง อ้างเหตุผลเหมือนเดิมทุกอย่าง  อำนาจตาม พ.ร.ก.อย่างเดียวที่รัฐใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ อำนาจในการจับกุมและควบคุมตัว 30 วัน  จากนั้นก็ซ้อมเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารและคำรับสารภาพ  แล้วนำไปดำเนินคดีอาญา  ไม่ได้ใช้เพื่อคุ้มครองความสงบสุขของประชาชน  สุดท้าย คดีเหล่านั้น 70-80% ศาลยกฟ้อง  ศาลจึงได้ตระหนักว่าไม่ควรออกหมายควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ง่ายๆ  การใช้อำนาจเช่นนี้แก้ไขปัญหาความไม่สงบก็ไม่ได้  เป็นเพียงการใช้อำนาจที่มากขึ้นกว่าปกติเท่านั้น

ทนายภาวิ ณี กล่าวสรุปว่า แม้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะให้อำนาจแก่รัฐบาล แต่การใช้อำนาจต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย คือพอสมควรแก่เหตุ เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพของบุคคลไม่ได้   และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปี 53 ต้องมีการพูดคุยให้ชัดเจนว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  หากชัดเจนว่าไม่ชอบ ก็ต้องเป็นบรรทัดฐานว่าไม่ควรมีการใช้ต่อไป  แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการตั้งคำถามและทำให้ชัดเจนว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับผู้ชุมนุมชอบหรือไม่ชอบแค่ไหน อย่างไร  ถ้าเป็นเช่นนี้ก็มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะใช้อำนาจในการละเมิดสิทธิประชาชนได้ อีก  แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายความมั่นคง 3 ฉบับ คือ กฎอัยการศึก พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน   ควรจะต้องมีการยกเลิกหรือแก้ไขในบางฉบับ และมีกฎหมายที่บูรณาการใหม่ มีมาตรการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น  กฎหมายความมั่นคงในฝรั่งเศส ซึ่งให้ประกาศใช้ได้ 12 วัน เกินกว่านั้นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ให้รัฐสภาตรวจสอบความจำเป็น  และประชาชนสามารถไปฟ้องศาลปกครองได้ เพื่อให้ศาลปกครองตรวจสอบว่าการใช้อำนาจถูกต้องหรือไม่

อ.สุดา รังกุพันธ์ ผู้ดำเนินรายการกล่าวเน้นถึงความต้องการของคนเสื้อแดงที่ต้องการเห็นการ ปฏิรูปกฎหมายความมั่นคงอย่างชัดเจน เพื่อที่ประชาชนจะไม่ต้องเผชิญอาชญากรรมโดยรัฐอีก  จากนั้น ผู้เข้าร่วมการเสวนากว่า 50 คน ร่วมกันกล่าวคำปฏิญญาประจำวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2555 “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 53 ต้องไม่มีผลทางกฎหมาย ปล่อยนักโทษการเมือง ผู้ประกาศใช้ต้องได้รับโทษ“  และยืนไว้อาลัยให้นายสุรชัย นิลโสภา อดีตผู้ต้องขังคดียิง ฮ.ซึ่งศาลยกฟ้อง แต่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา

กลุ่ม ปฏิญญาหน้าศาลจะจัดกิจกรรมเสวนาบาทวิถี หน้าศาลอาญารัชดา ทุกวันอาทิตย์ เพื่อรณรงค์ให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และปล่อยตัวนักโทษการเมือง

ที่มา prachatai

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : ข้อเสนอ 8 ข้อ เพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์



23 มกราคม 2553
อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา – ชุมชนคนเหมือนกัน

ข้อเสนอ 8 ข้อ เพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

ปฏิบัติ ตาม 8 ข้อนี้ ผลลัพท์ ไม่ใช่การล้มสถาบันกษัตริย์ แต่ทำให้สถาบันฯมีลักษณะเป็นสถาบันฯสมัยใหม่ ในลักษณะไม่ต่างจากยุโรป เช่น สวีเดน, เนเธอร์แลนด์ (ผมตระหนักในความแตกต่างบางอย่างของข้อเสนอนี้ กับยุโรปอยู่ เช่น ผมเข้าใจว่า เรื่องมาตราแบบ รธน. 2475 ในข้อแรก ไม่มีในยุโรปเหมือนกัน แต่นี่เป็นข้อเสนอที่อิงอยู่บนความเฉพาะของไทยทีผ่านมา)

1. ยกเลิก รธน. มาตรา 8 เพิ่มมาตรา ในลักษณะเดียวกับ รธน.27 มิย 2475 (สภาพิจารณาความผิดของกษัตริย์)
2. ยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญา ม.112
3. ยกเลิก องคมนตรี
4. ยกเลิก พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491
5. ยกเลิก การประชาสัมพันธ์ด้านเดียวทั้งหมด การให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันทั้งหมด
6. ยกเลิก พระราชอำนาจ ในการแสดงความเห็นทางการเมืองทั้งหมด (4 ธันวา, 25 เมษา “ตุลาการภิวัฒน์” ฯลฯ)
7. ยกเลิก พระราชอำนาจ ในเรื่อง โครงการหลวง ทั้งหมด
8. ยกเลิก การบริจาค / รับบริจาค โดยเสด็จพระราชกุศล ทั้งหมด

หมาย เหตุ: กระทู้นี้ ความจริงเป็น “ของเก่า” ที่ผมเคยเขียนในบริบทของกระทู้อื่นๆมาก่อน แต่ผมขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ต่างหากชัดๆแบบนี้ เผื่อสำหรับประโยชน์ของการอ้างอิงโดยสะดวกในอนาคต อย่างน้อยสำหรับผมเอง (หรือสำหรับคนอยาง ส.ว.คำนูญ ที่นำความคิดผมเรื่องนี้ไปเขียนถึงหลายครั้งในระยะหลัง โดยไม่ระบุชื่อและไม่มีการอ้างอิงชัดเจน คราวหน้า เผื่อท่าน ส.ว.จะได้สามารถทำ “เชิงอรรถ” ได้ชัดๆ – ฮา)

ที่มา liberalthai