นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

สยามพารากอน ห้างเดียว ใช้ไฟฟ้ามากกว่าแม่ฮ่องสอน 2 เท่า



►สยามพารากอน ห้างเดียว ใช้ไฟฟ้ามากกว่าแม่ฮ่องสอน 2 เท่า◄

►ห้าง สรรพสินค้าใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เพียง 3 ห้างใช้ไฟฟ้ารวมกันเทียบเท่ากับปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อน 3 เขื่อนรวมกัน มากกว่าการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึง 4 เท่า◄

(ที่ มา : - กลุ่มพลังไท, การไฟฟ้านครหลวง 2549- รายงานการใช้ไฟฟ้า 2549 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย- การไฟฟ้านครหลวง)

การลดลง ของพื้นที่ป่าไม้ในรอบ 40 ปีป่าไม้ เมืองไทย ปี พ.ศ.2504 มีพื้นที่รวมกัน 273,629 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 53% ของพื้นที่ประเทศป่าไม้เมืองไทย ปี พ.ศ.2547 มีพื้นที่รวมกัน 167,590 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 32% ของพื้นที่ประเทศตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ป่าไม้เมืองไทยถูกทำลายไปประมาณ 1 แสนกว่าตารางกิโลเมตร หรือ 66 ล้านไร่ คิดเป็น 1 ใน 5 ของพื้นที่ประเทศไทย (ที่มา : กรมป่าไม้)


ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปี 2549

ภาคครัวเรือนใช้ไฟฟ้า 27,005 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 4,893 ล้านหน่วยในช่วง 5 ปี

ภาคธุรกิจใช้ไฟฟ้า 40,535 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 8,894 ล้านหน่วย


ในช่วง 5 ปีปริมาณการใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าเปรียบเทียบกับจังหวัดและการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน


► ปี 2549 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของ 3 ห้างใหญ่ ◄

สยามพารากอน 123 ล้านหน่วย

มาบุญครอง 81 ล้านหน่วย

เซ็นทรัลเวิลด์ 75 ล้านหน่วย

รวม 279 ล้านหน่วย



► ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละจังหวัด ◄

แม่ฮ่องสอน 65 ล้านหน่วย

อำนาจเจริญ 110 ล้านหน่วย

มุกดาหาร 128 ล้านหน่วย

น่าน 175 ล้านหน่วย

อุทัยธานี 193 ล้านหน่วย

เลย 246 ล้านหน่วย

นราธิวาส 278 ล้านหน่วย

ระนอง 278 ล้านหน่วย


►► ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้า 3 แห่งรวมกัน มากกว่าหรือเท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบางจังหวัด เปรียบเทียบปริมาณการ ผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าในปี 2549 (ล้านบาท) ◄◄


เขื่อนปากมูล กำลังผลิต = 140 >>> ห้างสยามพารากอน ใช้ไฟฟ้า = 123 ล้านหน่วย

เขื่อนสิรินธร กำลังผลิต = 87 >>> ห้างมาบุญครอง ใช้ไฟฟ้า = 81 ล้านหน่วย

เขื่อนอุบลรัตน์ กำลังผลิต = 39 >>> ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ใช้ไฟฟ้า = 75

รวม 3 เขื่อนกำลังผลิต = 266 ล้านหน่วย >>> 3 ห้างใช้ไฟฟ้ารวม = 279 ล้านหน่วย

ที่มา gimyong

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ไต่สวนการตาย 10 เมษา ตร.สายสืบคาดกระสุนสังหารฮิโรยูกิมาจากฝั่งทหาร



วาน นี้ (4 ก.ย.55) ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ (ผู้ตายที่ 1) สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 รวมทั้ง นายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)  อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า (ผู้ตายที่ 3) อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิต ในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน จากการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร

โดยในวันนี้ได้มีประจักษ์พยาน ในเหตุการณ์ 2 ปากมาเบิกความ คือ ร.ต.ต.ชาตรี อุตสาหรัมย์ (ยศขณะเกิดเหตุคือ ด.ต.) อายุ 52 ปี จากกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะตำรวจที่ได้รับมอบหมายเข้าไปติดตามและหาข่าวในที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุ ส่วนอีกปากคือ นายอุดร วรรณสิงห์ แนวร่วม นปช. มีอาชีพทำนา จากจังหวัดร้อยเอ็ด



ร.ต.ต.ชาตรี เบิกความโดยสรุปได้ว่า วันเกิดเหตุ (10 เม.ย. 53) ได้รับมอบหมายให้ไปติดตามกลุ่มผู้ชุมนุม กลุ่มนักรบพระองค์ดำ ที่ราชประสงค์ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุม และ 18.00 น. กลับไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้วออกไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 19.00 น. เศษ ซึ่งขณะนั้นมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมระหว่างทหารกับ นปช. หลังจากนั้นทราบว่าบริเวณสี่แยกคอกวัวมีการปะทะกันเช่นกันจึงได้เดินไป และเดินกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอีกครั้ง เมื่อเดินมาถึงร้านแมคโดนัลด์ซึ่งอยู่บริเวณหัวมุมถนนก่อนเลี้ยวเข้าถนน ดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา พบว่าบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการนำศพคลุมธงชาติ 2 ศพ ในขณะนั้นได้ยินเสียงคลายระเบิดและเสียงปืนในลักษณะต่อเนื่อง แต่ไม่ถี่ จากประสบการณ์ เสียงปืนที่ได้ยินเป็นเสียงปืนยาว ส่วนเสียงคลายประทัดเห็นว่าเกิดจากการที่กลุ่ม นปช. ใช้ระเบิดขวดที่ทำจากขวดเครื่องดื่มชูกำลังใส่น้ำมันขว้างไปยังที่ทหาร ปฏิบัติการอยู่ จากการสังเกตการณ์ไม่พบมีกลุ่ม นปช. ยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหาร

ร.ต.ต.ชาตรี เบิกความต่อว่าจากนั้นได้เดินไปฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาโดยเดินตาม กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีประมาณ 30 กว่าคน บริเวณนั้นมีรถทหารจอดขวางประมาณ 2 คันในลักษณะป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านไปได้ ขณะที่กลุ่ม นปช.ขว้างระเบิดขวดข้ามแนวรถที่ขวางนั้น ก็มีเสียงปืนยาวดังจากแนวหลังรถของทหารที่เป็นลักษณะตอบโต้กันไปมา เห็นกลุ่ม นปช. แบกร่างผู้บาดเจ็บย้อนออกมาทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 2 คน โดยร่างผู้บาดเจ็บทั้ง 2 คนนั้นเห็นหน้าแต่ไม่ชัดเจน ส่วนผู้บาดเจ็บถูกยิงด้วยอาวุธปืนที่บริเวณขา ส่วนบริเวณอื่นนั้นจำไม่ได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกกระสุนที่ยิงมาจากหลังแนวรถของทหาร หลังจากนั้นพยานได้เดินกลับไปบริเวณฝั่งหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา โดยยืนบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นกลุ่ม นปช. ได้เดินผลักดันไปถึงกลางถนนดินสอ พยานเห็นเจ้าหน้าที่แต่งกายทหาร โดยเห็นครั้งละ 1 คน ทหารชะโงกหน้าดูเหตุการณ์อยู่บนบาทวิถีข้างถนน ฝั่งไปทางสะพานวันชาติและถืออาวุธปืนยาวที่ปากกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้า ขณะนั้นมีแสงสว่างจากหลอดไฟหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

ร.ต.ต.ชาตรี ให้ความเห็นว่าเสียงอาวุธปืนยาวนั้นไม่น่าจะออกมาจากทางด้านข้าง แต่เป็นลักษณะที่พุ่งตรงมายัง นปช. หลังจากที่กลุ่ม นปช.ได้เดินผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา ได้มีเสียงปืนยาวยิงตอบโต้กลับมาทำให้ กลุ่ม นปช. ต้องถอยร่นกลับที่บริเวณหัวถนนดินสออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นพยานได้ยืนสังเกตการณ์ที่บริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ขณะนั้นได้ยินเสียงของหนักกระแทกพื้นห่างจากพยาน 1 เมตร และเห็นชายร่างใหญ่ ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ในลักษณะนอนหงาย สะพายกล้องแบบนักข่าว หันมุมกล้องชี้ไปบนท้องฟ้า ร่างนั้นนอนบนบาทวิถีหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาศีรษะหันไปทางโรงเรียน ปลายเท้าชี้ไปทางบ้านเลขที่ 149 ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ในเบื้องต้นจะเข้าไปปฐมพยาบาล แต่เห็นร่างนายฮิโรยูกิมีจุดแดงบริเวณหน้าอกซ้าย จากนั้นจุดแดงดังกล่าวได้ขยายออกและมีเลือดไหล จากประสบการทำงานที่ผ่านมาคิดว่าแผลลักษณะนี้เกิดจากอาวุธปืนที่มีความเร็ว สูง และจากประสบการณ์ทำงานของพยาน บริเวณบาดแผลที่หน้าอกด้านซ้าย ถือเป็นจุดที่ผู้ยิงประสงค์ให้ถึงแก่ความตายทันที ซึ่งผู้ยิงจะต้องได้รับการฝึกฝนมาพอสมควร

พยานได้ประคองนายฮิโรยูกิ และตะโกนแจ้งให้ผู้ชุมนุมบริเวณนั้นทราบว่ามีนักข่าวถูกยิง ผู้ชุมนุมได้ช่วยกันแบกร่างนายฮิโรยูกิ ไปที่รถพยาบาล ซึ่งขณะนั้นมีลักษณะตาค้าง แต่พยานไม่ได้ตามไปด้วย ขณะนั้นกลุ่ม นปช.มีการผลักดันตอบโต้อยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นได้ยินเสียงประกาศจากบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแจ้งให้เจ้า หน้าที่ทหารหยุดการปฏิบัติการเนื่องจากมีการตกลงกับฝ่ายผู้บังคับบัญชาทหาร แล้ว หลังจากนั้นได้ยินเสียงปืนยาวดังออกมาประปรายบ้าง และพยานได้เดินทางกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล อย่างไรก็ตาม ขณะที่ช่วยฮิโรยูกินั้นกางเกงยีนส์ที่ใส่ไปก็ได้เปื้อนเลือดของฮิโรยูกิด้วย และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้นำไปตรวจพบว่าตรงกัน จากการสังเกตกลุ่มผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ มีเพียงไม้กับมีดทำครัว หลังวันเกิดเหตุพยานได้กลับไปสำรวจที่เกิดเหตุพบว่า ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ทั้ง 2 ฝั่งมีร่องรอยความเสียหายจากของแข็งกระทบ

พยาน ปากที่ 2 คือ นายอุดร เบิกความโดยสรุปได้ว่า ในวันเกิดเหตุประมาณ 18.00 น. มีการแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ทหารกำลังเข้าปฏิบัติการที่ถนนดินสอและสี่แยกคอกวัว พอทราบข่าวมวลชนก็ไปประจันหน้าทั้ง 2 จุดโดยพยานไปที่บริเวณถนนดินสอเพื่อดูเหตุการณ์ตรงชายขอบอนุสาวรีย์ มีรถหุ้มเกราะและรถถังของทหารจอดเรียงอยู่ประมาณ 6 คันตรงทางเข้าถนนดินสอ โดยมีทหารประจำอยู่หน้ารถถังประมาณ 100 นาย โดยขณะนั้นเจ้าหน้าที่ทหารถือโล่และตะบอง ส่วนแถวหลังจะถือปืนยาว

นาย อุดร กล่าว่า ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการผลักดันทหารให้ออกจากบริเวณนั้น แต่ทหารได้ยิงแก๊สน้ำตาหลายนัดจากหลังรถถังมาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม จึงทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกออก ระหว่างนั้นมีกระแสลมตีแก๊สน้ำตาย้อนกลับไปทางเจ้าหน้าที่ทหารๆ จึงได้ถอยร่นไปทางสะพานวันชาติ ขณะนั้นพยานได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้งท้ายรถหุ้มเกราะของทหาร โดยพยานยืนอยู่บริเวณทางม้าลายปากถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จุดที่ระเบิดลงนั้นห่างจากตัวพยานประมาณ 10 เมตร ทหารก็แตก พากันวิ่งหนีกันไปทางสะพานวันชาติ ส่วนผู้ชุมนุมและพยานก็ได้ตามเข้าไปด้วย

นายอุดร เบิกความอีกว่า พอวิ่งตามไปหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ตรงทางม้าลาย เห็นทหาร 2 นายนอนบาดเจ็บร้องขอความช่อยเหลือบริเวณบาทวิถี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน หลังรถถัง ขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังเข้าไปช่วยเหลือได้ยินเสียงปืนดังจากทางแนวทหารจากทาง ไปสะพานวันชาติ ซึ่งตั้งแนวทั้ง 2 ข้างบาทวิถี ส่วนตรงกลางจะมีรถถังที่ถอยกลับไปกลับมาอยู่ ทหารจ้องเล็งอาวุธปืนมาทางกลุ่มผู้ชุมนุม เหตุที่สามารถเห็นได้เนื่องจากมีแสงสว่างจากหลอดไฟตามถนน ขณะที่มีเสียงปืนจากแนวทหารเข้ามามาก็เห็นประกายไฟซึ่งคาดว่าออกมาจาก ปลายกระบอกปืนด้วย แนววิถีที่ทหารยิงมานั้นสูงประมาณหน้าอกและศีรษะ โดยขณะนั้นไม่มีประกายไฟมาจากฝั่งโรงเรียนและฝั่งอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้าม โรงเรียนแต่อย่างใด แล้วมีคนร้องว่า “โดนแล้วๆ” ขณะนั้นตนเองยืนอยู่ตรงทางม้าลายเข้าโรงเรียน ขณะนั้นหันไปดูต้นเสียง เห็นผู้ชายสวมเสื้อสีแดงถือธงแดง ทราบชื่อภายหลังว่านายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2) ล้มลง หันหัวมาทางโรงเรียน นอนตรงทางม้าลายนั้นบนถนน ส่วนปรายเท้าหันไปทางตรงข้ามโรงเรียน ขณะนั้นเห็นเลือดและมันสมองกลิ้งมาที่พยานยืนห่างไป ห่างไป 3-4 เมตร บาดแผลมีลักษณะกะโหลกศีรษะเปิดด้วย ก่อนที่นายวสันต์จะล้มลงนั้นเห็นโบกธงแดงอยู่บริเวณนั้น

เมื่อเห็น นายวสันต์ (ผู้ตายที่ 2) ล้มลง ตนจึงวิ่งไปหลบที่บริเวณต้นไม้ ต้นที่ 2 หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา นับจากประตูโรงเรียนไปทางอนุสาวรีย์ ห่างจากจุดก่อนหน้าประมาณ 6 เมตร ขณะนั้นมีชายแบกกล้องในลักษณะนักข่าวมาถ่ายภาพตรงนั้น เดินอยู่หน้าพยานห่างไปประมาณ 3 เมตร (ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ ผู้ตายที่ 1) พอเสียงปืนดังขึ้น ชายคนดังกล่าวก็ล้มบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ก่อนที่จะล้มชายคนดังกล่าวหันหน้าไปทางทหาร 2 นายที่นอนเจ็บอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน การล้มเป็นการล้มแบบนอนหงาย โดยกระสุนมาจากแนวทหาร เสียงปืนดังและมีประกายไฟพุ่งมาทางชายที่แบกกล้องแล้วก็ล้มลงในจังหวะเดียว กัน

นายอุดร เบิกความต่อว่าในระหว่างที่จะเข้าไปช่วยนายฮิโรยูกิ ปรากฏเสียงปืนดังขึ้นอีก พยานจึงหลบเข้าที่เดิม ในระหว่างหมอบหลบเห็นชายอีกคนล้มลงอยู่เลยร่างนายวสันต์(ผู้ตายที่ 2 ) เลยไปแนวทหารประมาณ 3 เมตร บนถนนฝั่งตรงข้ามโรงเรียน ทราบชื่อภายหลังว่านายสยาม (เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เช่นกัน) และใกล้ตรงที่ทหารบาดเจ็บ 2 นายนั้น ก็มีชายที่ได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ตรงนั้นอีกคน ทราบชื่อภายหลังว่านายจรูญ (เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เช่นกัน) หลังจากนั้นเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงหาทางวิ่งออกจากบริเวณที่เกิด เหตุมาที่ร้านแมคโดนัลด์

นายอุดร ยืนยันอีกด้วยว่าในกลุ่มของตนเองแม้ใส่เสื้อคลุมดำบ้าง แต่ที่ชุมนุมชายชุดดำที่ติดอาวุธปืนนั้นไม่มี ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 21.00 น. ได้ยินเสียงประกาศจากสะพานวันชาติสั่งให้เจ้าหน้าที่ยุติการยิง เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้ถอย



สำหรับคดีนี้จะมีการไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 5 ต.ค.55

คลิกดูแผนที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

ที่มา prachatai

รายงานความจริงฟังแล้วน่าตกใจ หมอก็ร่วมกับขบวนเผด็จการกะเขาด้วยหรือนี่!?..

โดย บังสุกุล


ผมมีโอกาสไปเชียงใหม่ ติดอุปกรณ์ถ่ายทอดสดและอัดเทปงานเสวนา รายละเอียดและสารบัญ ความจริงเพื่อความยุติธรรม:เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา - พฤษภา 53 ณ.ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์ มช. 01-09-12 ตามที่วางไว้ด้านบน

มีผู้ร่วมฟังเสวนานี้แค่10กว่าคน แต่เนื้อหารายงานความจริงที่คณะกรรมการ ทำงานค้นคว้าสืบเสาะเป็นปี กว่าจะได้รายงานนี้ ฟังแล้ว น่าตกใจ นอกจาก อำมาตย์ ทหาร ตำรวจ รัฐบาล ศาล ในขณะนั้นจะ ทำให้ผู้ชุมนุมตาย แต่ที่น่าตกใจ มีหมอในโรงพยาบาล ที่ไม่ใส่ใจกับผู้ได้รับบาดเจ็บ จนเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมตายโดยหากได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์แล้วจะไม่ตายแน่ นอน

ผู้ค้นคว้า วิจัยและรายงานเป็น คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ดังๆชั้นแนวหน้าของประเทศทั้งนั้น จึงการันตีในความแม่นยำของรายงานได้แน่นอน

รายละเอียดและสารบัญ ความจริงเพื่อความยุติธรรม : เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา - พฤษภา 53 ณ.ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์ มช. 01-09-12

ที่มา Internetforfreedom

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : 6 ปีหลังรัฐประหาร สงครามคู่ขนาน : ประชาชนหรือนายทุน 'เสื้อแดง' หรือ 'ทักษิณ'


ใน สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ 70 ปีก่อน มีสงครามคู่ขนานในการต่อสู้กับฝ่ายอักษะ คือเยอรมัน อิตาลี่ และญี่ปุ่น เพราะประชาชนธรรมดา โดยเฉพาะมวลชนก้าวหน้า สู้เพื่อทำลายระบบฟาซิสต์เผด็จการ และสู้เพื่อเสรีภาพกับความเท่าเทียม คนจำนวนมากยังสู้เพื่อสังคมนิยมอีกด้วย แต่ฝ่ายชนชั้นปกครองทุนนิยมตลาดเสรีในอังกฤษ สหรัฐ กับฝรั่งเศส และชนชั้นปกครอง “ทุนนิยมโดยรัฐ” ในเผด็จการคอมมิวนิสต์รัสเซีย สู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและจักรวรรดินิยมเท่านั้น แต่ในการปลุกระดมมวลชนให้รบในกองทัพของรัฐบาล ชนชั้นปกครองต้องใช้วาจาในการสร้างภาพว่า สงครามนั้นเป็น “สงครามต้านฟาสซิสต์เพื่อเสรีภาพ” ในขณะเดียวกัน โรสเวลต์ เชอร์ชิล และสตาลิน เคยแสดงความพร้อมที่จะทำข้อตกลงจับมือกับฟาสซิสต์

ถ้าเรา ศึกษาประวัติศาสตร์สงครามโลกอย่างผิวเผิน เราอาจมองไม่เห็นว่า สงครามของประชาชน กับสงครามของนายทุนประเทศพันธมิตรต่างกันเท่าไร เพราะทั้งสองรบกับฝ่ายอักษะ วิกฤติไทยหลัง 19 กันยา มีส่วนคล้ายตรงนี้ ถ้าดูผิวเผินอาจมองว่า เสื้อแดงกับทักษิณสู้กับศัตรูเดียวกัน

ใน “สงคราม” ของเสื้อแดงกับอำมาตย์หลังรัฐประหาร 19 กันยา ก็มีสองสงครามคู่ขนานเช่นกัน คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่พร้อมจะเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้ร่วมกันสร้างขบวนการเสื้อแดงและออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่มีการ แทรกแซงโดยอำมาตย์ ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ และท่ามกลางการต่อสู้ มีการตื่นตัวมากขึ้นจนคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เริ่มมองสังคมไทยจากมุมมองชนชั้น อย่างน้อยก็มองว่า มีสองฝ่ายหลักคือ “เรา” ที่เป็น “ไพร่” กับ “เขา” ที่เป็น “อำมาตย์กับพรรคประชาธิปัตย์ และสลิ่มฟาสซิสต์” และเสื้อแดงเหล่านี้ต้องการให้มีการเปลี่ยนสังคมไทย ต้องการให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ต้องการให้ปฏิรูปกองทัพไม่ให้แทรกแซงการเมือง ต้องการให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้วย และเขาเสียสละเลือดเนื้อเพื่อสิ่งเหล่านี้

แต่ฝ่ายทักษิณกับพรรคพวก ไม่ได้สู้เพื่อให้มีการเปลี่ยนสังคมไทยให้เท่าเทียมแต่อย่างใด เขาไม่ต้องการให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ไม่ต้องการให้ปฏิรูปกองทัพไม่ให้แทรกแซงการเมือง และไม่ต้องการให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เป้าหมายของเขา คือการกลับมาปรองดองกับคู่ขัดแย้ง และเพื่อให้สังคมไทยกลับคืนสู่สภาพ “ปกติ” ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำและการขูดรีด อย่างที่เป็นก่อน 19 กันยา

ทักษิณ พูดเองเมื่อต้นปี 2555 ว่า เขามองว่า วิกฤตไทยมาจากการทะเลาะกันระหว่างนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพวก กับทักษิณและพรรคพวกของเขา และแน่นอนคำพูดนี้เป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์อย่างถึงที่สุด เพราะตัดบทบาทของทหารที่ทำรัฐประหารและฆ่าประชาชนออกไปหมด และลบทิ้ง “สงคราม” ของประชาชนเสื้อแดง เพื่อให้มีแค่การต่อสู้เพื่อตัวทักษิณเอง สรุปแล้ว ในความฝันของทักษิณ คนเสื้อแดงเป็นแค่ไพร่รับใช้ทักษิณเท่านั้น

เป้า หมายของทักษิณและพรรคพวก โดยเฉพาะนักการเมืองเพื่อไทยในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือแค่การปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและอภิสิทธิ์ชนซีกทักษิณ นั่นคือสาเหตุที่รัฐบาลปัจจุบันเต็มไปด้วยรัฐมนตรีที่ไม่เคยสู้เพื่อ ประชาธิปไตย และหลายคนก็มีประวัติการเป็นโจรอีกด้วย และเป้าหมายของทักษิณกับยิ่งลักษณ์หมายความว่า จะไม่กล่าวถึงอาชญากรรมของทหาร เพราะจับมือจูบปากทหารแล้ว จะไม่ลบล้างผลพวงของรัฐประหารตามข้อเสนอคณะนิติราษฏร์ และจะไม่ป้องกันไม่ให้ทหารแทรกแซงการเมืองอีก

ในสงครามคู่ขนานที่ เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างน้อยชนชั้นปกครองยังให้เกียรติทหารธรรมดาที่ล้มตายในสงครามบ้าง แต่ในกรณีสงครามเสื้อแดงไม่มีเลย ทักษิณกับเพื่อไทย “ถุยน้ำลายใส่” วีรชนเสื้อแดงที่เสียสละในการต่อสู้ และทำการปรองดองบนซากศพเขา ไม่มีการนำทหารกับนักการเมืองประชาธิปัตย์มาขึ้นศาล และมีการปล่อยให้นักโทษการเมืองติดคุกต่อไปจนบางคนต้องตายในคุก แต่เราอธิบายได้ เพราะถ้ามีการนำทหารและนักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์มาขึ้นศาลในคดี “อาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน” ในอนาคตอาจนำทักษิณมาขึ้นศาลได้ในคดีอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชนที่ตากใบ และในเรื่องการฆ่าวิสามัญยาเสพติด คำขวัญสำคัญของชนชั้นปกครองไทยคือ “เรารู้จักปกป้องผลประโยชน์ของพวกเราเสมอ” นั้นคือสาเหตุที่ผมเชื่อว่า แม้แต่ อภิสิทธิ์ หรือสุเทพ จะไม่ถูกนำมาลงโทษ อย่าว่าแต่ทหารมือเปื้อนเลือดเลย และสิ่งที่เราเห็นอยู่ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือการสืบคดีสไนเปอร์ เป็นแค่ละครตลกร้ายเท่านั้น

ในสงครามของประชาชนชั้นล่าง สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง บ่อยครั้งประชาชนชั้นล่างสามารถปลดแอกตนเองโดยการเอาชนะฝ่ายอักษะได้ โดยไม่อาศัยกองกำลังของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การปลดแอกเมืองปารีส การปลดแอกประเทศกรีซ หรือมลายู ซึ่งกระทำโดยกองกำลังของแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม แกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกตอนนั้น มองว่าภาระหลักคือการสนับสนุนรัสเซียภายใต้สตาลิน และการเคารพข้อตกลงที่สตาลินมีกับผู้นำตะวันตก ดังนั้นกองกำลังของประชาชนที่ปลดแอกตนเอง กลับยอมมอบอาวุธให้ศัตรูและสลายตัว ผลคือการ “กลับสู่สภาพปกติ” ของทุนนิยมในฝรั่งเศสและกรีซ และการ “กลับสู่สภาพปกติ” ของการเป็นอาณานิคมของมลายู

สำหรับสงครามเสื้อแดง แกนนำ นปช. ซึ่งบางคนเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต ก็มองว่า ภาระหลักของ นปช. คือการเป็นกองเชียร์ให้พรรคเพื่อไทยและทักษิณ และการสนับสนุนเป้าหมายของทักษิณและยิ่งลักษณ์ในการนำสังคมไทย “กลับคืนสู่สภาพปกติท่ามกลางความเหลื่อมล้ำและการขูดรีด” ดังนั้นทั้งๆ ที่มีการใช้วาจาสร้างภาพว่าจะไม่ “ทอดทิ้งกัน” แกนนำ นปช. ก็ค่อยๆ สลายขบวนการเสื้อแดง และหันหลังให้กับนักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษ 112 ไม่มีการรณรงค์อย่างเต็มที่ให้ลบผลพวงของรัฐประหาร ให้มีการยกเลิก 112 และให้มีการนำทหารและนักการเมืองประชาธิปัตย์มาขึ้นศาลแต่อย่างใด และเวลาก็ผ่านไปกว่าหนึ่งปีหลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งแล้ว

แต่ อย่าเข้าใจผิดว่า การออกมาต่อสู้ของประชาชนเสื้อแดงเป็นเรื่องสูญเปล่า อย่าเข้าใจผิดว่า การออกมาต่อสู้ของประชาชนไม่เคยได้อะไร อย่าเข้าใจผิดว่าเราต้องถูกแกนนำหลอกเสมอ

ถ้าเสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้ เราจะไม่มีกระแสสำคัญๆ ในสังคมไทยที่อยากปฏิรูปการเมืองจริงๆ เช่น การรณรงค์ของนิติราษฎร์หรือผู้ที่ต้องการจัดการกับกฏหมาย 112 และถ้าพวกเราไม่ได้ออกมาสู้ อำมาตย์ก็จะมั่นใจยิ่งกว่านี้ว่า ทำอะไรกับเราก็ได้ เรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็อาจไม่เกิดด้วย

การ ที่แกนนำ นปช. สามารถทำลายความฝันของเสื้อแดงในการปฏิรูปสังคมไทยและสามารถหักหลังวีรชนได้ ไม่น่าจะทำให้เราแปลกใจมากเกินไป ถ้าเราเข้าใจว่า เสื้อแดงก้าวหน้าบกพร่องในการสร้างองค์กรทางการเมืองที่อิสระจาก นปช. เหมือนกับที่ประชาชนก้าวหน้าสมัยสงครามโลก มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถสร้างองค์กรฝ่ายซ้ายที่อิสระจากพรรคคอมมิวนิสต์สายสตา ลินได้

การต่อสู้ของมวลชน... ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้... การเสียเลือดเนื้อของประชาชน... การเลือกตั้ง... การปรองดองของชนชั้นปกครองบนซากศพวีรชน... ฆาตกรลอยนวล... อำนาจอำมาตย์ถูกปกป้อง... พรรคการเมืองทำลายความฝันของประชาชน:  นั้นคืออ่างน้ำเน่าของการเมืองไทยในรอบห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา ถ้าเราอยากให้เรื่องแบบนี้จบสักที คนก้าวหน้าต้องรู้จักรวมตัวกันทางการเมืองในลักษณะที่อิสระจากพวก “ผู้ใหญ่” เราต้องมาร่วมกันสร้าง “พรรคสังคมนิยม”

พรรคสังคมนิยมมีหน้าที่ สร้างผู้ปฏิบัติการจากคนที่เข้าใจประเด็นการเมืองทางชนชั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการขยายความคิดนี้ไปสู่คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดกลางๆ ระหว่างความก้าวหน้ากับความล้าหลัง หรือระหว่างความเป็นซ้ายกับความเป็นขวา พรรคไม่ได้ตั้งเป้าหมายหลักในการทำงานกับคนที่ล้าหลังที่สุด ถูกกดขี่มากที่สุด หรือเข้าใจการเมืองน้อยที่สุดเพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่พร้อมจะเปลี่ยนความคิด ง่ายๆ นั้นคือสาเหตุที่พรรคฝ่ายซ้ายควรทำงานกับคนเสื้อแดง ก่อนที่ขบวนการนี้จะสูญหายไปหมดภายใต้นโยบายของ นปช. และเพื่อไทย

แต่ ถึงกระนั้น ถ้าจะมีการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งจะนำไปสู่เสรีภาพแท้ได้ การเปลี่ยนสังคมดังกล่าวต้องเป็นการกระทำของมวลชนส่วนใหญ่เอง จากล่างสู่บน ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มเล็กๆ หรือ "กองหน้า"

พรรคสังคมนิยมต้องยึด ถือผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม หรือพนักงานปกคอขาว และไม่ว่าจะเป็นคนจนที่เป็นชาวนา ลูกจ้างภาคเกษตร ชนกลุ่มน้อย หรือคนจนในเมือง พรรคต้องเป็นปากเสียงของผู้ถูกกดขี่ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และวิถีชีวิต

เราไม่ควรไปเสียเวลากับคนชั้นกลางเท่าไร เพราะในวิกฤตปัจจุบัน และในยุค 6 ตุลา คนชั้นกลางส่วนใหญ่ในไทยเลือกข้างของความป่าเถื่อน และทั่วโลกมักเป็นพลังสำคัญของกระแสฟาสซิสต์

พรรคจะต้องมี ประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาเป็นผู้ควบ คุมนโยบาย ผู้นำ และผู้แทนของพรรคตลอดเวลา พรรคต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกในอัตราก้าวหน้าเป็นหลัก คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมากและคนที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่นและตกเป็นเครื่องมือของคนมีเงิน และถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนทุกพรรค คือการเป็นพรรคของมวลชนจริงๆ การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน และผู้สนับสนุนพรรคจะไม่เข้ามาร่วมภายใต้นโยบายของพรรคเท่านั้น แต่จะได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน

พรรคสังคมนิยม ไม่ใช่พรรคประเภทบนลงล่างที่โกหกว่า “คุณเลือกเราเป็น ส.ส. แล้วเราจะทำให้คุณทุกอย่าง” ในระยะสั้นพรรคต้องไม่ตั้งเป้าหลักที่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เพราะรัฐสภาไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจแท้ในระบบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายทุน การจดทะเบียนพรรคจึงไม่สำคัญ อย่างไรก็ตามการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบปัจจุบันอาจเป็นโอกาสดีสำหรับการโฆษณาแนวคิดในอนาคต พรรคจะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการต่อสู้ แหล่งรวมของนักเคลื่อนไหวไฟแรง และเป็นเครื่องมือในการประสานงานและปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพกับคนจน เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยตามความไฝ่ฝันของเสื้อแดง

พูดง่ายๆ พรรคสังคมนิยมควรรับภาระในการต่อสู้ต่อไปของคนชั้นล่าง ท่ามกลางการหักหลังทรยศของพรรคเพื่อไทยและ นปช.

ที่มา prachatai