นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทความแปล: ศาลโลกไม่มีอำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมบนผืนแผ่นดินไทย

พิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

อ้างอิง: http://www.bangkokpost.com/print/217418/


แปลโดย: ดวงจำปา

สำนักงานกฎหมายของประเทศไทยซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) มีแผนการที่จะยื่นคำร้องต่อรัฐบาล ซึ่งกระทำความรุนแรงต่อการประท้วงเมื่อปีที่แล้วกับศาลอาญาระหว่างประเทศ (องค์กร ไอซีซี) รองประธานของศาลอาญาระหว่างประเทศ ท่านฮันส์-ปิเตอร์ คาอูล ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้ให้สัมภาษณ์กับคุณ อัจฉรา อัชฌายกชาติ ในเรื่องของคำร้องและอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ด้วยความเคารพต่ออธิปไตยของประเทศไทย

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ได้กล่าวว่า ทางกลุ่มจะยื่นคำร้องต่อองค์กร ไอซีซี เพื่อให้วิเคราะห์พิจารณาถึงการเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งถูกฆ่าระหว่างการกวาดล้างเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553 ทางองค์กร ไอซีซี ได้รับคำร้องหรือยัง และจะมีการดำเนินการอย่างไรบ้างคะ?

ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาคนหนึ่งที่องค์กร ไอซีซี มันเป็นไม่ได้เลย ที่ผมจะรับทราบเรื่องใดๆ ต่อขั้นตอนในขณะนี้ว่า กลุ่มนี้ได้ส่งเอกสารเป็นต้นว่าคำร้อง ไปถึงสำนักงานอัยการหรือยัง มาตรา 15 ของบทธรรมนูญได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ว่า องค์กรอิสระซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับทางรัฐบาลหรือแม้แต่ตัวบุคคลธรรมดานั้น สามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมซึ่งปรากฎเหมือนกับว่าได้มีการกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นต่อท่านอัยการ จากนั้น ท่านอัยการจะทำการวิเคราะห์ว่าข้อมูลอันเป็นข้อสงสัยซึ่งมีความน่ากังวลในเรื่องของอาชญากรรมนั้น อยู่ในเขตอำนาจของศาลหรือไม่

ท่านอัยการนั้นมีความตระหนักเป็นอย่างดีว่า ประเทศไทยไม่ใช่สมาชิกรัฐภาคีของบทธรรมนูญกรุงโรม (สนธิสัญญาที่สร้างไว้ว่า องค์กร ไอซีซีและรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย เป็นผู้ดำเนินเรื่อง, เขตอำนาจ และโครงสร้างของศาล) ดังนั้น องค์กร ไอซีซี ไม่สามารถใช้เขตอำนาจของศาล เกี่ยวกับอาชญากรรมใดๆ ที่ได้ก่อขึ้นในอาณาเขตของประเทศไทย ตราบเท่าที่ประเทศไทยยังไม่ได้ลงสัตยาบันต่อบทธรรมนูญกรุงโรม

องค์กร ไอซีซี สามารถยุติการได้รับการยกเว้นโทษทัณฑ์จากผู้ที่กระทำความผิดในอาชญากรรมอันร้ายแรงที่สุด ซึ่งนำความน่าสะพึงกลัวมาสู่ชุมชนนานาชาติได้หรือไม่คะ?

ตามบทธรรมนูญกรุงโรม องค์กร ไอซีซี มีสิทธิอำนาจของศาลในเรื่องการนำเอาคดีเฉพาะรายเท่านั้น มาทำการพิจารณาในเรื่องของอาชญากรรมอย่างร้ายแรงที่สุด ซึ่งทำความน่าสะพึงกลัวมาสู่สังคมนานาชาติทั้งหมด นั่นก็คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม ซึ่งดำเนินตามมาตรา 6 ถึง มาตรา 8 ของธรรมนูญกรุงโรม

เมื่อเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอาจจะเป็นการบ่งบอกว่า อาจจะมีการกระทำอาชญากรรมนั้นๆ เกิดขึ้น แต่ข้อกำหนดเบื้องต้น โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งที่เรียกร้องทางกฎหมายของอาชญากรรมนั้น จะต้องมีความถูกหลักการเสียก่อน

สำนักงานอัยการเป็นหน่วยงานแรกของศาล ที่จะพิจารณาว่า ที่แท้จริงแล้ว อาชญากรรมใดๆ ก็ตาม เป็นอาชญากรรมภายใต้เขตอำนาจของศาลหรือไม่ หรือว่า มันเป็นอาชญากรรมที่้ร้ายแรงอย่างทั่วๆ ไป ซึ่งตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลในประเทศที่เกี่ยวข้องนั้นๆ โดยเฉพาะ

ในกรณีของประเทศไทย ฝ่าย นปช ได้โต้แย้งว่า กลุ่มของเขาไม่สามารถได้รับความยุติธรรมหรือความจริงจากรัฐบาลที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พวกเขาต้องการพรรคการเมืองที่ไม่ฝักฝ่ายในฝ่ายใด หรือ อยู่ภายนอกมาช่วยในเรื่องนี้ค่ะ

ขอให้ผมทำความกระจ่างเสียหน่อยว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น ไม่สามารถที่จะมีอำจาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในผืนแผ่นดินของประเทศไทย แม้กระทั่งว่า อาชญากรรมเหล่านี้จะมีความเสียหายอย่างมากมายเหลือคณานับ ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งดำเนินการตามมาตรา 7 ของธรรมนูญ

นอกจากนี้ ถ้าประเทศไทยได้กลายเป็นรัฐภาคีขององค์กร ไอซีซี คดีเหล่านี้จะถูกนำเข้ามาสู่การพิจารณาความได้ ถุ้าประเทศไทยเอง ไม่ประสงค์หรือไม่สามารถที่จะดำเนินการสอบสวนหรือกระทำการฟ้องร้องอย่างจริงใจต่ออาชญากรรมเหล่านี้ได้เท่านั้น

ธรรมนูญกรุงโรมได้ให้สิทธิพื้นฐานต่อการสอบสวน และ/หรือ การฟ้องร้องในเรื่องอาชญากรรมอันร้ายแรงกับรัฐและกับระบบของอาชญากรรมในประเทศ ดังนั้น มันเป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือกับสิทธิตามพื้นฐานและสิทธิตามอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ที่จะดำเนินการกับอาชญากรรมพวกนี้

ไม่มีบุคลากรในเรื่องการรักษาความมั่นคงหรือผู้นำของประเทศคนใดที่เคยได้ไปสู่การพิจารณาคดีในเรื่องการเสียชีวิตของผู้ประท้วง ในเหตุการณ์ของปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2519 หรือ ในการเดินขบวนเมื่อปี พ.ศ. 2535 และก็ยังไม่มีการพิจารณาคดีใดๆ อย่างเป็นทางการในเรื่องการฆาตกรรมนอกเหนือไปจากกระบวนการยุติธรรม อย่างกรณีของการเสียชีวิตถึง 3,000 ศพ ภายใต้โครงการสงครามปราบปรามยาเสพติดของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภ้ยได้ถูกนำตัวขึ้นศาลต่อการเสียชีวิตของผู้ประท้วงจำนวน 80 คนที่อำเภอตากใบ (ในจังหวัด นราธิวาส เมื่อ ปี พ.ศ. 2547) ศาลก็ได้ปล่อยตัวพวกเขาทั้งหมดโดยปราศจากความรับผิดชอบใดๆ ท่านมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้คะ?


เขตอำนาจศาลขององค์กร ไอซีซี เป็นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาของระยะเวลา ซึ่งมีการกระทำอาชญากรรมเกิดขึ้นหลังจากเข้ามามีผลบังคับใช้ในธรรมนูญกรุงโรมเท่านั้น ซึ่งเกิดหลังวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ดังนั้น องค์กร ไอซีซี ไม่สามารถที่จะดำเนินการในเรื่องของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2519 และ ปี พ.ศ. 2535 หรือความโหดร้ายทารุณอื่นๆ ที่กระทำกันอย่างกว้างขวางในอดีตได้

นอกจากนี้ ในกรณีของประเทศไทย องค์กรไอซีซี มีขอบเขตการใช้อำนาจของศาลในรูปแบบของการช่วยทำให้สมบูรณ์ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนของประเทศไทยหรือการกระทำใดๆ ซึ่งได้เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามเพื่อมีผลบังคับใช้ภายใต้ธรรมนูญกรุงโรม – นั่นก็คือ สองเดือนหลังจากการที่ประเทศไทยได้ลงสัตยาบันให้กับธรรมนูญกรุงโรมเรียบร้อยแล้ว

ประเทศไทยได้มีส่วนในการส่งตัวแทนซึ่งมีสมรรถภาพและสร้างสรรค์ในการประชุมที่กรุงโรมซึ่งได้รับนำเอาธรรมนูญกรุงโรมมาใช้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 มันไม่เป็นที่น่าสงสัยประการใดในใจของผมที่ประเทศรัฐภาคี ของศาลจำนวน 114 ประเทศทั้งหมด ทั้งนี้ รวมไปถึงประเทศในทวีปเอเซีย เป็นต้นว่า ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศเกาหลีใต้, ประเทศบังคลาเทศ และ ประเทศกัมพูชา ล้วนแล้วอยากจะเห็นประเทศไทยเป็นประเทศในรัฐภาคีขององค์กร ไอซีซี ด้วย

ก้าวแรกที่เป็นไปอย่างดี คือการแปลธรรมนูญกรุงโรมให้เป็นภาษาไทยอย่างประณีตละเอียดที่สุด จากนั้น ประชาชนไทยที่มีความสนใจทั้งหมด สามารถเห็นและประเมินให้กับตัวเขาเองว่า องค์กร ไอซีซี มีโอกาสที่จะสร้างความยุติธรรมให้ดีมากกว่านี้หรือไม่



ความคิดเห็นของผู้แปล:


บทความนี้ ไม่ได้ลงในสื่อหลักของประเทศไทย นอกเสียจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ทำให้ฝ่ายเสื้อแดงขาดข้อมูลดีๆ แบบนี้ สำหรับตัวดิฉันเอง เหมือนกับว่า เราเสียเวลาไปเกือบหนึ่งปีนะคะ ในความหวังต่างๆ ซึ่งท่านฮันส์ได้กล่าวตอบเรียบร้อยมาตั้งนานแล้ว

ดังนั้น กรณีที่จะเอาผู้กระทำความผิดในสมัยปี 2516, 2519 และ 2535 เข้ามาเป็นคดีในศาลโลก ก็คงจะทราบแล้วว่า มันทำไม่ได้

แต่ในเรื่องของคดีสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ในเรื่องการฆาตกรรม 93 ศพ ก็ยังเอาเข้าไปไม่ได้ เพราะประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบัน และกว่าจะทำให้เป็นเรื่องสมบูรณ์ก็ต้องผ่านสองเดือนแรกก่อนด้วย

ดังนั้น ใครก็ตามที่พยายามอ้างอิงเกี่ยวกับไอซีซี เราก็เห็นคำตอบแล้วว่าเขาพูดอย่างไร

การจับนำเอาฆาตกรเข้าคุกได้ก็มีแต่ นายอภิสิทธิ์เท่านั้นเพราะมีสัญชาติอังกฤษอยู่ ในการกระทำของศาลอาญาระหว่างประเทศ

มีหนทางเดียวที่จะนำคนผิดเข้าคุกได้ก็คือ ต้องเป็นศาลของประเทศไทยเองค่ะ ซึ่งเราก็รู้แล้วว่าเป็นอย่างไร

พวกที่มาอ้างถึงการปรองดองนะคะ จะต้องทราบว่า จะต้องมาจากกระบวนการยุติธรรมของไทยค่ะ เพราะเรายังไม่ได้ให้สัตยาบันกับไอซีซี

มาช่วยกันระดมสมองกันดีไหมคะ ว่าเราจะทำอย่างไรดีสำหรับก้าวต่อไป คิดถึงน้ำครึ่งแก้วเต็ม ไม่ใช่ครึ่งแก้วเปล่า เราเชื่อว่า มีหนทางที่ถูกต้องค่ะ เพราะเราได้เปรียบที่ระยะเวลาอยู่กับฝ่ายเรา

ดวงจำปา


ลิงค์ของบทความเกี่ยวเนื่อง:
บทความแปล: เสื้อแดงยังคงไม่ท้อ หลังจากที่ศาลโลกกล่าวว่า ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

บทความแปล: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศได้แล้ว

บทความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา

ที่มา internetfreedom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น