นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทความแปล: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศได้แล้ว

พิมพ์ลงที่ หนังสือพิมพ์ เนชั่น และ เอเซีย นิวส์ เนทเวิร์ค
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554
The Nation/Asia News Network


อ้างอิง: http://www.asiaone.com/News/AsiaOne%2BNews/Asian%2BOpinions/Story/A1Story20110122-259683.html


แปลโดย: ดวงจำปา

ในนามของประธานและท่านผู้พิพากษาทั้งหมด 18 ท่านของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ข้าพเจ้าขอสื่อมอบความปรารถนาดีให้กับประชาชนชาวไทยทุกๆ ท่าน ในสัปดาห์นี้ ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อการมาเยี่ยมเยียนประเทศที่สวยสดงดงามในฐานะของผู้มีส่วนร่วมในการประชุมสัมมนาสากลเกี่ยวกับองค์กร ไอซีซี

องค์กร ไอซีซี เป็นองค์กรอิสระ เป็นศาลถาวรซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ยุติการได้รับการยกเว้นโทษทัณฑ์ในเรื่องของอาชญากรอันร้ายแรงอันเป็นความน่าสะพึงกลัวต่อนานาอารยะประเทศ

องค์กร ไอซีซี เป็นผลเนื่องมากจากความพากเพียรพยายามอันแสนยาวนานโดยชุมชนนานาชาติ เพื่อที่จะให้การกระทำประเภทที่ทารุณโหดร้ายอย่างไม่สามารถที่จะนึกภาพได้ ซึ่งทำความวิบัติมาสู่รมวลมนุษยชาติอย่างเป็นเวลานานเกินไปนั้น สามารถมาถึงจุดจบลงได้ องค์กร ไอซีซี ยึดหลักการของสนธิสัญญาธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งได้ถูกรับนำมาใช้บังคับในปี พ.ศ. 2541 และ ในเวลานี้ ได้มีประเทศและรัฐอิสระส่วนใหญ่ของโลก ได้ร่วมตัวเป็นรัฐภาคีกับองค์กรนี้

องค์กร ไอซีซี ไม่ใช่ ตัวแทนของระบบการบริหารงานยุติธรรมต่างๆ ของประเทศ ภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมได้ระบุไว้ว่า ถึงแม้เมื่อรัฐหนึ่งจะร่วมตัวเป็นสมาชิกกับ ไอซีซี รัฐนั้นก็ยังคงมีหน้าที่ความรับผิดชอบในเบื้องต้นต่อระบบการบริหารงานยุติธรรมในประเทศของตนเอง ในการใช้อำนาจศาลในเรื่องของอาชญากรรมแทนที่จะเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ

องค์กร ไอซีซี เป็น ศาลยุติธรรมที่พึ่งแหล่งสุดท้าย ซึ่งสามารถพิจารณาความต่อบุคคลใดๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม เมื่อระบบการบริหารยุติธรรมของประเทศนั้น ไม่สามารถหรือไม่มีความเต็มใจที่จะปฎิบัติกระทำการตัดสินคดีเหล่านั้น

ดังนั้น เมื่อ องค์กร ไอซีซี เป็นการเกราะป้องกันประเภทหนึ่งซึ่งเสริมความมั่นใจต่อความรับผิดชอบในเรื่องอาชญากรรมอย่างมหันต์ซึ่งมีความน่าสะพึงกลัวต่อมนุษยชาตินั้น ยังก่อให้เกิดความคุ้มกันไม่ให้ความโหดร้ายป่าเถื่อนเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย

องค์กร ไอซีซี เป็นองค์กรที่มีรูปแบบในความเป็นกลาง, พร้อมไปด้วยความยุติธรรมและปราศจากวิถีทางทางการเมือง ซึ่งรักษาวินัยมาตรฐานอย่างสูงที่สุดในกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายในการปฎิบัติทุกๆ เรื่องขององค์กรนี้ องค์กรไม่ใช่หน่วยงานในระบบขององค์การสหประชาชาติ แต่องค์กรทั้งสองนี้ได้ทำงานร่วมมือกันมาหลายกรณีแล้ว

องค์กร ไอซีซี ยึดหลักการของความเคารพอย่างสูงสุดต่ออธิปไตยในประเทศต่างๆ และ มันเป็นการตัดสินใจของแต่ละประเทศเองว่าจะร่วมเป็นสมาชิกกับ องค์กร ไอซีซี หรือไม่ สมาชิกในรัฐภาคีของศาลนั้น ก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและในปัจจุบัน มีสมาชิกรัฐภาคีอยู่ 114 ประเทศจากห้าเขตของโลก

ประเทศที่เป็นสมาชิกในรัฐภาคี เป็นตัวแทนของหลายๆ วัฒนธรรม ทั้งเรื่องของตัวบทกฎหมายและทางศาสนา และรวมไปถึงระบบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน เป็นต้นว่า แบบสาธารณรัฐ, แบบสหพันธ์ และ แบบราชาธิปไตย ความแตกต่างหลายหลากทางด้านภูมิศาสตร์, ประเพณีและทางการเมืองได้แสดงให้เห็นรูปลักษณะสากลอย่างแท้จริงขององค์กร ไอซีซี

ประเทศไทยมีประวัติซึ่งแสดงความคืบหน้าในการร่วมลงนามสนธิสัญญาต่างๆ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึง สนธิสัญญา 9 ฉบับจาก 11 ฉบับ ซึ่งเป็นแก่นของสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากล ประเทศไทยยังเป็นผู้สนับสนุนอย่างแรงกล้าให้กับองค์การสหประชาชาติ ในเรื่องของการส่งบุคลากรให้กับทางองค์การสหประชาชาติ ต่อการดำเนินงานรักษาความสงบเรียบร้อย และเป็นสำนักงานหลัก ซึ่งมีหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่มากกว่า 25 แห่งในกรุงเทพมหานคร

ไม่มีข้อสงสัยอันใดเลย ที่พันธกรณีของประเทศไทยซึ่งมีต่อสิทธิมนุษยชนและความสัมพันธ์เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยต่อประเทศอื่นๆ นั้น จะเป็นการหนุนนำประเทศในการร่วมเป็นรัฐภาคีกับองค์กร ไอซีซี (ลงนามให้สัตยาบัน – ผู้แปล)

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยืนยาวในการเข้าร่วมต่อกระบวนการขององค์กร ไอซีซี ผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลไทยได้เข้าร่วมในการประชุม ณ กรุงโรมในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีที่ ธรรมนูญขององค์กร ไอซีซี ได้ถูกรับนำมาปฎิบัติ ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างสำคัญในขั้นแรก กับองค์กร ไอซีซี ด้วยการลงนามต่อธรรมนูญกรุงโรม

เมื่อเดือนที่แล้ว (ธันวาคม พ.ศ. 2553 - ผู้แปล) ข้าพเจ้ามีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สังเกตุเห็นว่า มีคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศไทย ในการประชุมรัฐภาคีภาคที่ 9 ในเรื่องของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ค

โดยการก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไป ในการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญนี้ ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนต่อพันธกิจในเรื่องของการยึดหลักการทางกฎหมาย, ทางความสงบเรียบร้อย และ ทางการต่อสู้กับการยกเว้นโทษทัณฑ์ ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น แต่หมายถึงทั่วทุกมุมโลกเลยทีเดียว การให้สัตยาบันยังได้ช่วยให้ ประเทศในรัฐภาคีนั้น มีสิทธิในการเสนอชื่อผู้พิพากษาและสามารถมีเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งของตัวผู้พิพากษาในตำแหน่งสูงที่สุด ภายในองค์กร ไอซีซี อีกด้วย

ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป ในตำแหน่งอัยการและผู้พิพากษาจำนวน หกตำแหน่งซึ่งจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ดังนั้น ในเวลานี้ จึงเป็นเวลาที่ดีเยี่ยมต่อประเทศไทยในการร่วมกันเป็นรัฐในภาคีของ องค์กร ไอซีซี ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปของการพัฒนาการในอนาคตและสามารถก่อให้ขยายตัวกว้างขึ้นในระดับโลก มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

ในขณะเดียวกันนี้ มันก็ถึงเวลาแล้วในเรื่องของการแปลธรรมนูญกรุงโรมให้เป็นภาษาไทย

ในการกระทำตามตัวอย่างที่ดีในประเทศเอเซียหลายประเทศ ซึ่งธรรมนูญกรุงโรมได้ถูกแปลเป็นภาษาทางการของประเทศนั้นๆ รวมไปถึง ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลีและภาษาเวียดนาม การแปลเป็นภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระ สามารถปรับปรุงและนำความเข้าใจต่อองค์กร ไอซีซี และบทอำนาจขององค์กรมาสู่ประชาชนได้

เรื่องนี้เป็นมาตรการอันสำคัญสำหรับประเทศไทยว่า จะสนับสนุนในการประเมินผลในสนธิสัญญาอันเป็นประวัติศาสตร์และตัดสินใจว่าควรจะลงนามให้สัตยาบันหรือไม่

ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซียหลายประเทศ, รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ ได้ลงนามให้สัตยาบันกับธรรมนูญกรุงโรมเรียบร้อยแล้ว และยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังตัดสินใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในครอบครัวขององค์กร ไอซีซี อีกด้วย ในขณะนี้ มีแต่ประเทศกัมพูชาและประเทศติมอร์-เลสตี้ เท่านั้น ที่ได้ร่วมเป็นรัฐภาคีทั้งสองประเทศซึ่งตั้งอยู่ทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ไม่เพียงแต่ 114 ประเทศรัฐภาคีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงฝ่ายตุลาการเองด้วย ซึ่งจะมีความปิติยินดีในการต้อนรับให้ประเทศไทยเป็นน้องใหม่ของประเทศรัฐภาคี


ท่านผู้เขียนบทความนี้คือ: ดร. จูร์ เอช. ซี. ฮันส์-ปีเตอร์ คาอูล เป็นรองประธานของศาลอาญาระหว่างประเทศ ท่านมาอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพื่อให้ปาฐกถาในการสัมมนาซึ่งจัดงานเป็นเจ้าภาพร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถานเอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง “สิทธิมนุษยชนและองค์กร ไอซีซี” และในวันจันทร์ที่ 24 (มกราคม พ.ศ. 2554) จะได้เข้าพบกับเอกอัครราชฑูตสหภาพยุโรป คุณเดวิด ลิพแมน และ ผู้แทนของประธานกลุ่มสหภาพยุโรปที่แท้จริงคือ เอกอัครราชฑูตฮังการีประจำประเทศไทย คือ คุณ ทอมไจ เดเนส เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของสถานการณ์ปัจจุบันต่อกระบวนการให้สัตยาบันกับบทธรรมนูญ ไอซีซี ในประเทศไทย

ที่มา: หนังสือพิมพ์ เนชั่น / เอเซียนิวส์เนทเวริ์ค
-The Nation/Asia News Network



ความเห็นของผู้แปล:

เมื่อมีคนส่งข้อความเรื่องนี้ให้ ดิฉันแปลกใจอย่างมาก และได้สืบถามบุคคลที่ใกล้ชิดในทางการเมืองหลายท่าน ต่างล้วนปฎิเสธว่า ไม่เคยได้ยินข่าวในเรื่องนี้มาก่อน ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ปีมาแล้ว ในขณะที่ ดร. ฮันส์ มาเยี่ยมประเทศไทย เพื่อทำการปาฐกถาเกี่ยวกับเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คิดว่า สื่อหลักของประเทศไทยได้ปิดเรื่องนี้ทั้งหมด มีแต่เพียงหนังสือพิมพ์เนชั่นและบางกอกโพสต์ซึ่งมีข่าวแบบนี้ แต่เป็นข่าวเล็กๆ ไม่ได้อยู่ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์

เนื้อหาที่น่าสนใจคือ ตัวรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (องค์กร ไอซีซี) เป็นผู้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เอง และได้เรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นผู้ลงนามสัตยาบันเสีย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย

แต่ท่านฮันส์ มาพูดเรื่องนี้ภายใต้รัฐบาลของนายมาร์ค ซึ่งอย่างไรก็ตาม คงไม่ต้องการลงสัตยาบันใดๆ เพราะตัวเองจะถูกสาวเรื่องแน่ๆ

เมื่อรัฐบาลมาร์คได้สิ้นสุดลง รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์สามารถเดินเกมส์ต่อได้ เพราะศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นผู้ต้องการให้ประเทศไทยลงสัตยาบัน

คิดว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่มีข้ออ้างใดๆ ต่อการลงสัตยาบันในเรื่องนี้ เพราะใครผิดใครถูก เราเอาเรื่องนี้มาตัดสินได้

สำหรับความคิดของดิฉันนั้น การไม่ลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นการทรยศต่อประชาชนผู้เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามา

เมื่อคุณต้องการสร้างรัฐให้มีนิติรัฐ สร้างมาตรฐานทางกฎหมายให้เกิดความเชื่อถือ การลงสัตยาบันให้กับ องค์กร ไอซีซี เป็นเรื่องที่ต้องกระทำโดยไม่ชักช้า

ดิฉันขอถามเหตุผลกับผู้แทนหรือตัวแทนพรรคเพื่อไทยหน่อยว่า อะไรคือปัญหาต่อการประวิงเวลาของการลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศคะ?

ถ้ากลัวว่า คุณทักษิณฯ จะเดือดร้อน แสดงว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้คิดถึงประชาชนนะคะ และคุณทักษิณก็สามารถพิสูจน์เรื่องนี้ในกระบวนการศาลยุติธรรมได้ เพราะทั่วโลกเขามีความมั่นใจกับศาลนี้ ถ้าคุณมั่นใจว่าไม่ผิด คุณจะต้องสู้ตามกระบวนการค่ะ

การตัดสินภายใต้กระบวนการศาลระดับโลกนั้น รับรองได้ว่า ถ้าเขามีข้อสงสัยหรืออะไรคุมเครือแล้ว เขาจะยกผลประโยชน์ให้กับผู้ถูกกล่าวหาเสมอ รวมทั้งเคสของคุณอภิสิทธิ์ด้วย เพราะเขาใช้มาตรฐานเดียวในการตัดสินความ เขาจะตัดสินเพื่อเป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่ตัดสินภายใต้อำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ตอนนี้ ในการเขียนความเห็น ก็อ่านข่าวเก่าๆ ปรากฎว่า คุณธิดา ถาวรเศรษฐ และ คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ของฝ่าย นปช ก็ได้เข้าไปพบกับท่าน ฮันส์เหมือนกัน และท่านฮันส์ได้กล่าวโดยตรงว่า เขาไม่สามารถรับเคสได้ จนกว่าประเทศไทยจะให้สัตยาบัน

เรื่องนี้เกิดขึ้นมาเกือบหนึ่งปี แต่อยู่ๆ ทำไมเมื่อไม่กี่วันมานี้ มีข่าวว่า สส สุนัยจะเดินทางไปที่ ไอซีซี เพื่อสืบข้อมูล ทั้งๆ ที่มันมีอยู่แล้วกับคุณจตุพรและคุณธิดา?

สิ่งที่สำคัญในบทความนี้ก็คือว่า ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นผู้ชักชวนให้รัฐบาลไทยไปลงสัตยาบัน ดังนั้น ความยากง่ายมันอยู่กับทางฝ่ายเราแล้วค่ะ ไม่ใช่มาโมเมว่า ปัญหาอยู่ทางรายละเอียดของฝ่ายองค์กรไอซีซีเขา ถ้ามีใครอ้างถึง ไอซีซี อีก ดิฉันขอพูดเลยว่าเป็นเรื่องเท็จ

แต่ที่ช้ำใจมากๆ คือว่า สื่อหลักไทย ตัดสินใจไม่ลงข่าวแบบนี้ ทำให้ปิดหูปิดตาเราทั้งหมด รวมไปถึงการปาฐกถาของท่านฮันส์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย คิดว่่าอาจจะมีฝ่ายเสื้อแดงไปน้อยมาก จนแทบไม่มีข่าวเลย

อย่างไรก็ตาม มันยังไม่สายเกินไปที่จะนำเอาข่าวนี้ ขึ้นมาปัดฝุ่น เพื่อเป็นความรู้กับพี่น้องของเราค่ะ

ดวงจำปา



ลิงค์ของบทความเกี่ยวเนื่อง:
บทความแปล: เสื้อแดงยังคงไม่ท้อ หลังจากที่ศาลโลกกล่าวว่า ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

บทความแปล: ศาลโลกไม่มีอำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมบนผืนแผ่นดินไทย

บทความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา

ที่มา internetfreedom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น