ทัศนะ กระจ่างจิต
เมื่อสังคมพัฒนาก้าวหน้าไปก็มักจะเกิดคำศัพท์ใหม่ๆ เพื่อรองรับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยเช่น คำว่า ทุนสามานย์ นิเวศวิทยา บูรณาการ ประชาสังคม โลกาภิวัตน์ อารยะขัดขืน เป็นต้น แม้ว่าศัพท์บางคำเหล่านี้จะมีการใช้มานานแล้วแต่ก็ใช้กันเฉพาะในวงการแคบๆ จึงกลายเป็นศัพท์ใหม่ในสังคมวงกว้าง หรือศัพท์บางคำที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไปแต่ต่อมาได้นำมาใช้ในอีกความหมายหนึ่งเช่น เอื้ออาทร หน้าเหลี่ยม ฯลฯ ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใหม่ นี่ยังไม่นับคำศัพท์ตามวัยของผู้คนบางกลุ่มในสังคมร่วมสมัยเช่น สุโค่ย โดน จี๊ด ใจ เป๊ะ จัดเต็ม เป็นต้น
ดังนั้นศัพท์ใหม่ๆ ในทางการเมือง เช่น “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” แม้จะไม่เคยใช้มาก่อนแต่ก็เป็นศัพท์ที่ให้ความหมายและสื่อให้ผู้คนเข้าใจถึงศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน ทำให้เริ่มใช้ศัพท์คำนี้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสอดคล้องกับลักษณะพิเศษของสังคมไทยที่โครงสร้างสังคมพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจได้พัฒนาจนกลายเป็น “ทุนนิยม” ไปแล้ว แต่โครงสร้างชั้นบนซึ่งก็คือโครงสร้างทางการเมืองและโครงสร้างทางด้านรูปการจิตสำนึก ยังคงยึดกุมโดย “ศักดินา” ไว้อย่างแน่นหนา
อนึ่ง “กลุ่มทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” อาจไม่มีตัวตน เพราะอำนาจตัดสินใจอยู่ที่คนๆเดียวไม่ได้เป็นกลุ่ม โดยเขียนระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 อย่างชัดแจ้ง แต่“ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” มีตัวตนจริงๆ
แน่นอน เพราะประชาชนทั่วประเทศยังถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วงอยู่ทุกวี่วัน มวลชนเรือนล้านก็ยังรู้สึกรับรู้ได้ และมองเห็นแล้วว่าใครคือศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของตนเอง นับประสาอะไรกับนักลัทธิมาร์กซตัวจริงเสียงจริง
คำว่า “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” นี้ ตั้งชื่อเรียงตามหลักการตั้งชื่อของลัทธิมาร์กซ คือ
- เริ่มด้วยระบบเศรษฐกิจ
- ตามด้วยการเมืองการปกครอง
- ลงท้ายด้วยวัฒนธรรมความคิด
จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ
ทุนผูกขาด (ตั้งตามระบบเศรษฐกิจ) คือ นายทุนใหญ่ที่ลงทุนทำการค้ากอบโกยขูดรีดในธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยวิธี “ผูกขาด” ซึ่งมักจะได้จากสัมปทาน ฮั้วประมูล ทำาธุรกิจมาก่อน หรือทำมานาน จนสามารถขายสินค้าได้มากมายโดยไม่มีคู่แข่ง หรือคู่แข่งมีขนาดเล็กกว่ามาก การผูกขาดนี้อาจร่วมมือกับกลุ่มทุนอื่นๆ หรือไม่ก็ได้ คำว่า “ทุนผูกขาด” เป็นศัพท์เฉพาะของลัทธิมาร์กซ ในระบบทุนนิยมใช้คำว่า “การรวมศูนย์ทุน”
ผูกขาด คือ สามารถรวมศูนย์ ควบคุมทั้งกลไกการลงทุน การผลิต การตลาดและราคา ในธุรกิจนั้นๆได้ตามต้องการ รวมทั้งมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง การบริหารจัดการต่างๆ เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง ไม่มีการแข่งขัน หรือมีการแข่งขันน้อยราย
ในธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็น “บริษัทมหาชน” มีซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเกินครึ่ง แค่ถือหุ้นให้มากพอที่จะเข้าไปบริหาร (เช่น 20–25%) รวมทั้งถือหุ้นโดยใช้ชื่อบุคคลหรือองค์กรอื่น เพื่ออำพรางมิให้ทราบว่าใครคือเจ้าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (นอมินี) ดังนั้นในตลาดหลักทรัพย์จึงมีการขายหุ้นจริงๆให้นักลงทุนทั่วไปเพียงคนละไม่กี่หุ้น แต่ที่เรียกว่าบริษัทมหาชนนั้นก็เพื่อ“หลอกลวง” ให้ดูเหมือนไม่ได้ผูกขาด ทั้งที่ในความจริงผู้ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ล้วนเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กรายน้อยที่ไม่สามารถกำหนดนโยบาย ทิศทางและการบริหารจัดการใดๆ ยิ่งกระจายขายหุ้นให้รายเล็กรายย่อยซื้อไปมากๆ ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็สามารถถือหุ้นน้อยลง แต่ยังกำหนดนโยบาย ทิศทางและการบริหารจัดการใดๆได้เหมือนเดิม
ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่สลับซับซ้อน การผูกขาดจึงมิได้มีความหมายแคบๆว่า ต้องผูกขาดโดยคนไม่กี่คนเท่านั้น แม้ในรายชื่อผู้ถือหุ้นจะมีคนอีกหมื่นคนถือหุ้นร่วมอยู่ แต่ถ้าคนทั้งหมื่นคนนั้นถือหุ้นรวมกันแค่ 5-10% เท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่มากพอที่จะกำหนดทิศทางนโยบายของบริษัทได้ ก็ถือว่าผูกขาด แม้จะ (ยอมให้) ซื้อขายหุ้น (เล็กน้อยบางส่วน) ในตลาดหลักทรัพย์ก็ตาม
ศักดินา (ตั้งตามระบอบการเมืองการปกครอง) คือ ระบอบที่ยอมให้มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นในสังคมทั้งหมด (มิได้เท่าเทียมกันเหมือนระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง) โดยกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์เหล่านี้จะสร้างอิทธิพลด้วยการทำให้ผู้คนต้องมาพึ่งพา ขอความช่วยเหลือ หรือขอความอุปถัมภ์เป็นต้น ทำให้ต้องตอบแทนด้วยการยอมให้กดขี่ ขูดรีด รีดไถ หรือนำผลผลิตในรูปแบบต่างๆมาถวาย หรือสร้างช่องทางพิเศษในการเอื้ออำนวยให้กลุ่มอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้ กดขี่ ขูดรีด รีดไถ ได้สะดวก
ในที่นี้หมายถึง ระบบการเมืองไทยที่ยังคงเหลือเศษเดนของระบบศักดินา เพราะเศรษฐกิจเพื่อกินเพื่อใช้ ระบบเกณฑ์แรงงานและระบบค่าเช่าแบบศักดินาไม่ดำรงอยู่แล้ว แต่ระบบอภิสิทธิ์แม้จะไม่เท่าเดิม แต่ความไม่เสมอภาคในการแข่งขันหรือไม่ให้มีการแข่งขันยังดำรงอยู่ เช่น การเข้าไปยึดครองป่าสงวนทำการเกษตรภูเขาสูงหรือที่ใดก็ได้ การประมูลสัมปทาน การมีอำนาจเหนืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ สร้างวัฒนธรรมความคิดเรื่องความแตกต่างกันในชาติกำเนิดที่ยังคงมีอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งที่ได้ยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ศักดินาในสังคมไทยจึงยังใช้อภิสิทธิ์ อิทธิพล บารมีและอำนาจได้อย่างกว้างขวาง กอบโกยกดขี่ขูดรีดรีดไถ ครอบงำทางความคิด จิตสำนึก ให้หลงงมงายและหลงเชื่อว่าบุญญาวาสนาของพวกเขาจะคุ้มภัยและช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนได้ ฯลฯ โดยไม่มีใครกล้าคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ (ไม่ว่าจะเขียนไว้เป็นกฎหมาย เช่น ม. 112 หรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย)
เหนือรัฐ (ตั้งตามระบบความคิดวัฒนธรรม) หมายถึง อำนาจและกลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กับทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐได้ ตรงกันข้าม ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐกลับใช้อิทธิพลบารมีไปสร้างอำนาจและครอบงำกลไกอำนาจรัฐต่างๆ ให้ยอมทำตามความต้องการแต่โดยดี อย่างไม่มีข้อแม้และมิอาจขัดขืน โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำ และ/หรือ บงการให้อำนาจรัฐทำตามความต้องการและรับใช้ผลประโยชน์ของตนทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งที่เขียนหรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย รวมทั้งใช้อำนาจเหนือรัฐนี้มาเอื้ออำนวยและค้ำจุนให้ตนอยู่ในสถานภาพที่เหนือกว่า จนกลายเป็นจารีตประเพณีปลูกฝังอยู่ในจิตสำนึกทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ
จึงหมายถึง นายทุนใหญ่ที่ลงทุนทำการค้ากอบโกยขูดรีดในธุรกิจขนาดใหญ่หลายๆอย่าง โดยใช้อำานาจพิเศษของ “ศักดินา” ที่ตนมีอยู่ ไปสร้างอำนาจเหนือรัฐ ครอบงำกลไกอำนาจรัฐให้ยอมทำตามความต้องการแต่โดยดี โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำ และ/หรือ บงการให้อำนาจรัฐทำตามความต้องการและรับใช้ผลประโยชน์ของตนทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว รวมทั้งใช้อำนาจเหนือรัฐนี้มาเอื้ออำนวยและค้ำจุนให้ตนอยู่ในสถานภาพที่เหนือกว่า เพื่อกอบโกยขูดรีดและผูกขาดการแสวงหาผลประโยชน์ในธุรกิจต่างๆ โดยที่นายทุนอื่นหรือกลุ่มทุนอื่นๆ ไม่สามารถกระทำอย่างเดียวกันนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อ
1. เข้าไปกอบโกย ขูดรีด รีดไถ ผูกขาด แสวงหาผลประโยชน์ หรือให้ได้มา ครอบครองและใช้ประโยชน์ต่างๆ (เช่น ใช้ที่ป่าสงวนต้นน้ำมาทำไร่ สัมปทานภูเขาเอามาระเบิดหินทำปูนซิเมนต์ ตัดถนนเข้าไปในที่ดินของตน หรือผูกขาดดังกรณีบริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย บริษัทในเครือของปูนซิเมนต์ไทย ที่ผูกขาดค้ากระดาษแพงมากว่า 40 ปี ฯลฯ)
2. กีดกั้น ทำลายคู่แข่ง (เช่น ทำลายบริษัทปูนทีพีไอ)
3. บั่นทอน กีดขวางพลังการผลิตที่ก้าวหน้าในสังคมทุนนิยม (เช่น การเผยแพร่คติ-ความคิดงมงาย-พึ่งพาหาผู้อุปถัมภ์-เส้นสาย เผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ)
4. ทำให้ต้นทุนของตนเองต่ำกว่ากลุ่มทุนอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงความเสมอภาคในการแข่งขัน ทำตัวเป็นมาเฟียเรียกเก็บค่าบรรณาการหรือส่วยเมื่อใครจะมาลงทุน หรือเปิด “บ้านดูดทรัพย์” ให้กลุ่มทุนอื่นๆ ผลัดกันนำเงินมาถวาย ซึ่งดูได้ทุกวันในข่าวภาคค่ำ 20.00 น. ทางโทรทัศน์ทุกช่อง ทำให้ต้นทุนการผลิต การค้า การบริการสูงกว่าของทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐสามารถผูกขาดในธุรกิจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและมากมาย ครอบคลุมธุรกิจที่สำคัญๆไว้เกือบทั้งหมด สร้างความมั่งคั่งร่ำารวยอย่างมหาศาลจนเป็นศักดินาที่ครองความร่ำรวยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายปี ซึ่งกลุ่มทุนอื่นไม่สามารถทำเช่นนี้ได้เพราะไม่มีสถานะ “ศักดินา”
การแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันตามแนวคิดเศรษฐกิจเสรีประชาธิปไตยแบบฉบับของพวกกลุ่มทุนตะวันตก จึงมีอุปสรรคขัดขวางและไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยซึ่งมีระบอบการปกครองแบบพิเศษ “ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มิใช่ระบอบ “ประชาธิปไตย” ปกติ ที่เหมือนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีทั้ง “มือที่มองไม่เห็น-อำนาจพิเศษ-ผู้คุมเกมส์อำนาจ-อภิสิทธิ์-อิทธิพล-บารมีและอำนาจลึกลับทางการเมือง เข้ามามีอำนาจครอบงำหรือบงการได้ทั้งรัฐบาล สภาฯ ศาล องค์กรอิสระ ข้าราชการระดับสูง ฯลฯ
โดยไม่มีใครกล้าคัดค้าน กล่าวหา หรือวิพากษ์วิจารณ์ และเป็นที่มาของปัญหาโครงสร้างชั้นบนของสังคมไทย นำมาซึ่งความขัดแย้งหลักๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงทศวรรษนี้ เพราะแนวคิดประชาธิปไตยแบบทุนนิยมตะวันตกนั้น ต้องการการแข่งขันหรือบริหารจัดการที่เสมอภาคเท่าเทียมและไม่มีอภิสิทธิ์ อิทธิพล บารมี หรืออำนาจพิเศษที่บุคคลหนึ่งๆ จะมีอยู่เหนือบุคคลอื่น
การมองเห็นศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) หรือไม่
การเข้าใจปรากฏการณ์และธาตุแท้ของศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) หรือไม่
การกำหนดท่าทีต่อศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) ถูกต้องหรือไม่
อยู่ที่วิเคราะห์สังคมได้อย่างถูกต้อง หรือไม่
อยู่ที่แยกมิตร แยกศัตรูได้อย่างถูกต้อง หรือไม่
ปัญหานี้เป็นปัญหาชี้เป็นชี้ตายของการปฏิวัติอย่าทำเป็นเล่นไป!
------------------------------------------------
เมื่อสังคมพัฒนาก้าวหน้าไปก็มักจะเกิดคำศัพท์ใหม่ๆ เพื่อรองรับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยเช่น คำว่า ทุนสามานย์ นิเวศวิทยา บูรณาการ ประชาสังคม โลกาภิวัตน์ อารยะขัดขืน เป็นต้น แม้ว่าศัพท์บางคำเหล่านี้จะมีการใช้มานานแล้วแต่ก็ใช้กันเฉพาะในวงการแคบๆ จึงกลายเป็นศัพท์ใหม่ในสังคมวงกว้าง หรือศัพท์บางคำที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไปแต่ต่อมาได้นำมาใช้ในอีกความหมายหนึ่งเช่น เอื้ออาทร หน้าเหลี่ยม ฯลฯ ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใหม่ นี่ยังไม่นับคำศัพท์ตามวัยของผู้คนบางกลุ่มในสังคมร่วมสมัยเช่น สุโค่ย โดน จี๊ด ใจ เป๊ะ จัดเต็ม เป็นต้น
ดังนั้นศัพท์ใหม่ๆ ในทางการเมือง เช่น “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” แม้จะไม่เคยใช้มาก่อนแต่ก็เป็นศัพท์ที่ให้ความหมายและสื่อให้ผู้คนเข้าใจถึงศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน ทำให้เริ่มใช้ศัพท์คำนี้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสอดคล้องกับลักษณะพิเศษของสังคมไทยที่โครงสร้างสังคมพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจได้พัฒนาจนกลายเป็น “ทุนนิยม” ไปแล้ว แต่โครงสร้างชั้นบนซึ่งก็คือโครงสร้างทางการเมืองและโครงสร้างทางด้านรูปการจิตสำนึก ยังคงยึดกุมโดย “ศักดินา” ไว้อย่างแน่นหนา
อนึ่ง “กลุ่มทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” อาจไม่มีตัวตน เพราะอำนาจตัดสินใจอยู่ที่คนๆเดียวไม่ได้เป็นกลุ่ม โดยเขียนระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 อย่างชัดแจ้ง แต่“ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” มีตัวตนจริงๆ
แน่นอน เพราะประชาชนทั่วประเทศยังถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วงอยู่ทุกวี่วัน มวลชนเรือนล้านก็ยังรู้สึกรับรู้ได้ และมองเห็นแล้วว่าใครคือศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของตนเอง นับประสาอะไรกับนักลัทธิมาร์กซตัวจริงเสียงจริง
คำว่า “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” นี้ ตั้งชื่อเรียงตามหลักการตั้งชื่อของลัทธิมาร์กซ คือ
- เริ่มด้วยระบบเศรษฐกิจ
- ตามด้วยการเมืองการปกครอง
- ลงท้ายด้วยวัฒนธรรมความคิด
จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ
ทุนผูกขาด (ตั้งตามระบบเศรษฐกิจ) คือ นายทุนใหญ่ที่ลงทุนทำการค้ากอบโกยขูดรีดในธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยวิธี “ผูกขาด” ซึ่งมักจะได้จากสัมปทาน ฮั้วประมูล ทำาธุรกิจมาก่อน หรือทำมานาน จนสามารถขายสินค้าได้มากมายโดยไม่มีคู่แข่ง หรือคู่แข่งมีขนาดเล็กกว่ามาก การผูกขาดนี้อาจร่วมมือกับกลุ่มทุนอื่นๆ หรือไม่ก็ได้ คำว่า “ทุนผูกขาด” เป็นศัพท์เฉพาะของลัทธิมาร์กซ ในระบบทุนนิยมใช้คำว่า “การรวมศูนย์ทุน”
ผูกขาด คือ สามารถรวมศูนย์ ควบคุมทั้งกลไกการลงทุน การผลิต การตลาดและราคา ในธุรกิจนั้นๆได้ตามต้องการ รวมทั้งมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง การบริหารจัดการต่างๆ เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง ไม่มีการแข่งขัน หรือมีการแข่งขันน้อยราย
ในธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็น “บริษัทมหาชน” มีซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเกินครึ่ง แค่ถือหุ้นให้มากพอที่จะเข้าไปบริหาร (เช่น 20–25%) รวมทั้งถือหุ้นโดยใช้ชื่อบุคคลหรือองค์กรอื่น เพื่ออำพรางมิให้ทราบว่าใครคือเจ้าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (นอมินี) ดังนั้นในตลาดหลักทรัพย์จึงมีการขายหุ้นจริงๆให้นักลงทุนทั่วไปเพียงคนละไม่กี่หุ้น แต่ที่เรียกว่าบริษัทมหาชนนั้นก็เพื่อ“หลอกลวง” ให้ดูเหมือนไม่ได้ผูกขาด ทั้งที่ในความจริงผู้ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ล้วนเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กรายน้อยที่ไม่สามารถกำหนดนโยบาย ทิศทางและการบริหารจัดการใดๆ ยิ่งกระจายขายหุ้นให้รายเล็กรายย่อยซื้อไปมากๆ ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็สามารถถือหุ้นน้อยลง แต่ยังกำหนดนโยบาย ทิศทางและการบริหารจัดการใดๆได้เหมือนเดิม
ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่สลับซับซ้อน การผูกขาดจึงมิได้มีความหมายแคบๆว่า ต้องผูกขาดโดยคนไม่กี่คนเท่านั้น แม้ในรายชื่อผู้ถือหุ้นจะมีคนอีกหมื่นคนถือหุ้นร่วมอยู่ แต่ถ้าคนทั้งหมื่นคนนั้นถือหุ้นรวมกันแค่ 5-10% เท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่มากพอที่จะกำหนดทิศทางนโยบายของบริษัทได้ ก็ถือว่าผูกขาด แม้จะ (ยอมให้) ซื้อขายหุ้น (เล็กน้อยบางส่วน) ในตลาดหลักทรัพย์ก็ตาม
ศักดินา (ตั้งตามระบอบการเมืองการปกครอง) คือ ระบอบที่ยอมให้มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นในสังคมทั้งหมด (มิได้เท่าเทียมกันเหมือนระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง) โดยกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์เหล่านี้จะสร้างอิทธิพลด้วยการทำให้ผู้คนต้องมาพึ่งพา ขอความช่วยเหลือ หรือขอความอุปถัมภ์เป็นต้น ทำให้ต้องตอบแทนด้วยการยอมให้กดขี่ ขูดรีด รีดไถ หรือนำผลผลิตในรูปแบบต่างๆมาถวาย หรือสร้างช่องทางพิเศษในการเอื้ออำนวยให้กลุ่มอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้ กดขี่ ขูดรีด รีดไถ ได้สะดวก
ในที่นี้หมายถึง ระบบการเมืองไทยที่ยังคงเหลือเศษเดนของระบบศักดินา เพราะเศรษฐกิจเพื่อกินเพื่อใช้ ระบบเกณฑ์แรงงานและระบบค่าเช่าแบบศักดินาไม่ดำรงอยู่แล้ว แต่ระบบอภิสิทธิ์แม้จะไม่เท่าเดิม แต่ความไม่เสมอภาคในการแข่งขันหรือไม่ให้มีการแข่งขันยังดำรงอยู่ เช่น การเข้าไปยึดครองป่าสงวนทำการเกษตรภูเขาสูงหรือที่ใดก็ได้ การประมูลสัมปทาน การมีอำนาจเหนืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ สร้างวัฒนธรรมความคิดเรื่องความแตกต่างกันในชาติกำเนิดที่ยังคงมีอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งที่ได้ยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ศักดินาในสังคมไทยจึงยังใช้อภิสิทธิ์ อิทธิพล บารมีและอำนาจได้อย่างกว้างขวาง กอบโกยกดขี่ขูดรีดรีดไถ ครอบงำทางความคิด จิตสำนึก ให้หลงงมงายและหลงเชื่อว่าบุญญาวาสนาของพวกเขาจะคุ้มภัยและช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนได้ ฯลฯ โดยไม่มีใครกล้าคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ (ไม่ว่าจะเขียนไว้เป็นกฎหมาย เช่น ม. 112 หรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย)
เหนือรัฐ (ตั้งตามระบบความคิดวัฒนธรรม) หมายถึง อำนาจและกลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กับทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐได้ ตรงกันข้าม ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐกลับใช้อิทธิพลบารมีไปสร้างอำนาจและครอบงำกลไกอำนาจรัฐต่างๆ ให้ยอมทำตามความต้องการแต่โดยดี อย่างไม่มีข้อแม้และมิอาจขัดขืน โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำ และ/หรือ บงการให้อำนาจรัฐทำตามความต้องการและรับใช้ผลประโยชน์ของตนทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งที่เขียนหรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย รวมทั้งใช้อำนาจเหนือรัฐนี้มาเอื้ออำนวยและค้ำจุนให้ตนอยู่ในสถานภาพที่เหนือกว่า จนกลายเป็นจารีตประเพณีปลูกฝังอยู่ในจิตสำนึกทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ
จึงหมายถึง นายทุนใหญ่ที่ลงทุนทำการค้ากอบโกยขูดรีดในธุรกิจขนาดใหญ่หลายๆอย่าง โดยใช้อำานาจพิเศษของ “ศักดินา” ที่ตนมีอยู่ ไปสร้างอำนาจเหนือรัฐ ครอบงำกลไกอำนาจรัฐให้ยอมทำตามความต้องการแต่โดยดี โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำ และ/หรือ บงการให้อำนาจรัฐทำตามความต้องการและรับใช้ผลประโยชน์ของตนทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว รวมทั้งใช้อำนาจเหนือรัฐนี้มาเอื้ออำนวยและค้ำจุนให้ตนอยู่ในสถานภาพที่เหนือกว่า เพื่อกอบโกยขูดรีดและผูกขาดการแสวงหาผลประโยชน์ในธุรกิจต่างๆ โดยที่นายทุนอื่นหรือกลุ่มทุนอื่นๆ ไม่สามารถกระทำอย่างเดียวกันนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อ
1. เข้าไปกอบโกย ขูดรีด รีดไถ ผูกขาด แสวงหาผลประโยชน์ หรือให้ได้มา ครอบครองและใช้ประโยชน์ต่างๆ (เช่น ใช้ที่ป่าสงวนต้นน้ำมาทำไร่ สัมปทานภูเขาเอามาระเบิดหินทำปูนซิเมนต์ ตัดถนนเข้าไปในที่ดินของตน หรือผูกขาดดังกรณีบริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย บริษัทในเครือของปูนซิเมนต์ไทย ที่ผูกขาดค้ากระดาษแพงมากว่า 40 ปี ฯลฯ)
2. กีดกั้น ทำลายคู่แข่ง (เช่น ทำลายบริษัทปูนทีพีไอ)
3. บั่นทอน กีดขวางพลังการผลิตที่ก้าวหน้าในสังคมทุนนิยม (เช่น การเผยแพร่คติ-ความคิดงมงาย-พึ่งพาหาผู้อุปถัมภ์-เส้นสาย เผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ)
4. ทำให้ต้นทุนของตนเองต่ำกว่ากลุ่มทุนอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงความเสมอภาคในการแข่งขัน ทำตัวเป็นมาเฟียเรียกเก็บค่าบรรณาการหรือส่วยเมื่อใครจะมาลงทุน หรือเปิด “บ้านดูดทรัพย์” ให้กลุ่มทุนอื่นๆ ผลัดกันนำเงินมาถวาย ซึ่งดูได้ทุกวันในข่าวภาคค่ำ 20.00 น. ทางโทรทัศน์ทุกช่อง ทำให้ต้นทุนการผลิต การค้า การบริการสูงกว่าของทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐสามารถผูกขาดในธุรกิจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและมากมาย ครอบคลุมธุรกิจที่สำคัญๆไว้เกือบทั้งหมด สร้างความมั่งคั่งร่ำารวยอย่างมหาศาลจนเป็นศักดินาที่ครองความร่ำรวยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายปี ซึ่งกลุ่มทุนอื่นไม่สามารถทำเช่นนี้ได้เพราะไม่มีสถานะ “ศักดินา”
การแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันตามแนวคิดเศรษฐกิจเสรีประชาธิปไตยแบบฉบับของพวกกลุ่มทุนตะวันตก จึงมีอุปสรรคขัดขวางและไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยซึ่งมีระบอบการปกครองแบบพิเศษ “ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มิใช่ระบอบ “ประชาธิปไตย” ปกติ ที่เหมือนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีทั้ง “มือที่มองไม่เห็น-อำนาจพิเศษ-ผู้คุมเกมส์อำนาจ-อภิสิทธิ์-อิทธิพล-บารมีและอำนาจลึกลับทางการเมือง เข้ามามีอำนาจครอบงำหรือบงการได้ทั้งรัฐบาล สภาฯ ศาล องค์กรอิสระ ข้าราชการระดับสูง ฯลฯ
โดยไม่มีใครกล้าคัดค้าน กล่าวหา หรือวิพากษ์วิจารณ์ และเป็นที่มาของปัญหาโครงสร้างชั้นบนของสังคมไทย นำมาซึ่งความขัดแย้งหลักๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงทศวรรษนี้ เพราะแนวคิดประชาธิปไตยแบบทุนนิยมตะวันตกนั้น ต้องการการแข่งขันหรือบริหารจัดการที่เสมอภาคเท่าเทียมและไม่มีอภิสิทธิ์ อิทธิพล บารมี หรืออำนาจพิเศษที่บุคคลหนึ่งๆ จะมีอยู่เหนือบุคคลอื่น
การมองเห็นศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) หรือไม่
การเข้าใจปรากฏการณ์และธาตุแท้ของศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) หรือไม่
การกำหนดท่าทีต่อศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) ถูกต้องหรือไม่
อยู่ที่วิเคราะห์สังคมได้อย่างถูกต้อง หรือไม่
อยู่ที่แยกมิตร แยกศัตรูได้อย่างถูกต้อง หรือไม่
ปัญหานี้เป็นปัญหาชี้เป็นชี้ตายของการปฏิวัติอย่าทำเป็นเล่นไป!
------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น