นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

งบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์

โดย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ชื่อบทความเดิม: งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหา กษัตริย์ประจำปีงบประมาณ 2554 กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

สำรวจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 * มีงบประมาณที่ใช้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนี้

สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา 25 ข้อ 1 : 474,124,500 บาท

สำนักพระราชวัง
มาตรา 25 ข้อ 2 : 2,606,293,900 บาท

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา 25 ข้อ 4 (1) แผนงานเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : 225,162,400 บาท

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
มาตรา 4 (1) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : 2,300,000,000 บาท

มาตรา 4 (2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ : 600,000,000 บาท

มาตรา 4 (3) ค่าใช้จ่ายการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องใน โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 : 300,000,000 บาท

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา 5 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 51,426,200 บาท

มาตรา 5 ข้อ 1 (2) แผนงานเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : 3,308,070,000 บาท

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
มาตรา 5 ข้อ 8 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 25,573,000 บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา 6 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 10,422,800 บาท

กรมราชองครักษ์
มาตรา 6 ข้อ 2 : 541,205,000 บาท

กองทัพบก
มาตรา 6 ข้อ 4 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 30,000,000 บาท

กองทัพเรือ
มาตรา 6 ข้อ 5 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 10,000,000 บาท

กองทัพอากาศ
มาตรา 6 ข้อ 6 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 600,000 บาท

สำนักงานพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาตรา 11 ข้อ 16 (1) : 188,495,400 บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 17 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 11,250,000 บาท

กรมการปกครอง
มาตรา 17 ข้อ 2 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 40,330,000 บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
มาตรา 18 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 4,500,000 บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา 25 ข้อ 7 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 53,896,800 บาท

รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 10,781,350,000 บาท หรือ หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท

ทั้งนี้ ยอดเงิน 10,781,350,000 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) ยังไม่รวม ค่าเสียหาย/ราคาที่ต้องจ่ายซึ่งไม่สามารถนับไม่ได้เป็นตัวเงิน (ชีวิต , สิทธิเสรีภาพ , ความกลัว , ความทุกข์(ถ้ามี) ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ) คลอดจน รายได้ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ครองหุ้นในบริษัทต่าง ๆ และเงินที่ประชาชนบางส่วนถวายให้ใช้ตามพระราชอัธยาศัยในโอกาสต่าง ๆ

เงินจำนวนหมื่นกว่าล้านบาท ที่ ส.ศิวรักษ์ เคยเขียนเมื่อหลายปีก่อนว่า สถาบันกษัตริย์ถูกกว่าประธานาธิบดี ส.ศิวรักษ์ อาจต้องทบทวนบทสรุปตาม "ราคา" ในแต่ละปีที่ต้องจ่ายตามจริงไว้บ้างนะครับ

นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จะต้องทบทวนว่า การ “ทำแต้ม” คดีหมิ่นกษัตริย์ มันไม่สัมฤทธิ์ผล (ที่มุ่งให้คดีลดลง?) แต่อย่างใด ยิ่งจับยิ่งดำเนินคดี ผลก็คือ คนที่หมิ่นสถาบันกษัตริย์ก็ยิ่งมีมากขึ้นๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา คดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ถูกเทกระจาดเข้าสู่กระบวนการจับขังฟ้องร้องเป็นร้อย คดี ตามกราฟที่ผมได้ค้นข้อมูล รายงานสถิติคดีทั่วราชอาณาจักร (ตั้งแต่ปี 2548 – 2553 ) จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรม ผมวานให้คุณอติเทพ ไชยสิทธิ์ ใช้ความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและทำกราฟไว้ดังนี้ :


หากพิจารณาอย่างพิศดารยิ่งขึ้น การพิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ตามศาลแต่ละภาค ขอให้ท่านดูแผนที่ประเทศไทยชิ้นนี้ เพื่อดูกราฟการรับคดีในภาพถัด ๆ ไปจะได้มองภาพชัดขึ้น (ศาลภาคที่ 1 – 9)

 เหล่านี้เป็นตัวเลขในปี 2548 – 2553 ซึ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงในการบังคับใช้กฎหมาย มีผู้กระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ตามกราฟ)

หน่วยงานของรัฐทั้งหลายโดยเฉพาะทหาร ซึ่งปัจจุบันพยายามสถาปนาตนเอง เป็น “หัวโจก” ของกระบวนการล้มล้างสิทธิเสรีภาพของราษฎร คุณคิดว่าสถาบันกษัตริย์ที่ดำรงอยู่ได้ด้วยการ “ทำแต้ม” แบบนี้ ความผิดต่อสถาบันกษัตริย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คดีดองอยู่ที่ศาลชั้นต้น แล้วคุณยังแข็งขันใช้ทุกวิถีทางกวาดจับ ข่มขู่บังคับทั้งในและนอกระบบ คุณคิดว่า ตัวเลขเหล่านี้ มัน “ไม่น่าอาย” แม้แต่น้อยบ้างเลยหรือ?


เชิงอรรถ
  • พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 60 ก ลงวันที่ 28 กันยายน 2553 [ ดูฉบับออนไลน์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/060/1.PDF ]

ที่มา prachatai

24 มิถุนา เคยเป็น และ เลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร? (ประวัติย่อ 5 ธันวาวันชาติไทย)

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

 เวลาที่ได้ยินคนในแวดวงรัฐบาล(หรือที่เคยอยู่ในแวดวงรัฐบาลอย่างณรงค์ กิตติขจร) ออกมาคัดค้านการตั้งชื่อวันที่ 14 ตุลาคมว่า "วันประชาธิปไตย" โดยยกเหตุผลทำนองว่า เป็นเการขัดกับความจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ทราบว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะดี

ก็ ถ้าบรรดา ฯพณฯ เห็นความสำคัญของ 24 มิถุนายน ขนาดที่กลัวว่า 14 ตุลาคม จะมาแย่งความสำคัญไป ทำไมไม่ทำให้ 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมาเสียก่อนเล่า?

ความจริงคือ ทุกวันนี้ วันที่ 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นวันอะไรทั้งสิ้นในปฏิทินของทางราชการ และบรรดา ฯพณฯ ที่ยกเอา 24 มิถุนายน ขึ้นมาคัดค้าน 14 ตุลาคม ก็ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่มีทีท่าว่าจะเสนอให้เปลี่ยน 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมา

โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการเรียก 14 ตุลาคม ว่า "วันประชาธิปไตย" แต่ไม่ใช่เพราะ 24 มิถุนายน จึงควรเป็นวันประชาธิปไตย ผู้เขียนไม่คิดว่า 24 มิถุนายน ควรเป็นเช่นกัน เหตุการณ์ทั้งคู่ไม่ได้ทำให้เกิดประชาธิปไตย แต่ขอเสนอว่า 24 มิถุนายน มีความสำคัญในลักษณะที่สมควรเปลี่ยนกลับเป็นวันชาติ

เพราะ 24 มิถุนายน ทำให้เกิดระบอบรัฐแบบใหม่ ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน

ระบอบ รัฐที่ว่านี้คือ ระบอบรัฐที่มีสภา, คณะรัฐมนตรี และ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหารสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่มีบทบาทสำคัญอย่างสูงในระบอบรัฐนี้ ตลอด 70 ปีนี้ "ความเป็นประชาธิปไตย" ของระบอบรัฐนี้ มีขึ้นมีลง แต่องค์ประกอบสำคัญ 4 อย่าง(สภา, ครม., นายกฯ, พระมหากษัตริย์)ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

จะไม่อภิปรายสนับสนุนข้อ เสนอนี้ในที่นี้ ซึ่งต้องอ้างอิงเหตุผลยืดยาว รวมถึงการโต้แย้งประเด็นที่บางคนอาจจะตกอกตกใจเกินเหตุไปเองว่า ข้อเสนอนี้เป็นการ "กระทบกระเทือนสถาบัน"

อันที่จริง สถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญเป็นผลมาจาก 24 มิถุนายน เอง 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นตัวแทนของความเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันกษัตริย์ ปัจจุบัน 24 มิถุนายน เป็นปฏิปักษ์เฉพาะกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเชื่อว่าในปัจจุบันไม่มีใครบ้าพอจะเสนอให้กลับไปใช้

ในบท ความนี้ เพียงแต่อยากจะเล่า เพื่อเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์แก่สาธารณชน ว่าครั้งหนึ่ง 24 มิถุนายน ถูกทำให้เป็น, และถูกเลิกให้เป็น, วันชาติได้อย่างไร เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนไม่ว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอเมื่อสักครู่หรือไม่ คงยอมรับ ว่านี่เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในตัวเอง

เรื่อง นี้ความจริงถ้าจะเล่าให้ตลอด เป็นเรื่องยาว เช่น ต้องเท้าความถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณะราษฎรกับรัชกาลที่ 7 และความสัมพันธ์ภายในคณะราษฎร เป็นต้น จึงขอเล่าสั้นๆ เฉพาะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง พูดแบบภาษาวิชาการประวัติศาสตร์คือ เล่าแบบไม่มีปริบทหรือมีแต่น้อย

เอกสารที่กำหนดให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ คือ "[ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี] เรื่องวันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481"

โปรด สังเกตว่าผู้เขียนใส่วงเล็บสี่เหลี่ยมข้างหน้าและหลัง "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี" เพราะถ้าใครไปเปิดดูในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ลงประกาศนี้ (เล่ม 55 วันที่ 1 สิงหาคม 2481 หน้า 1322) จะพบเรื่องประหลาดมากๆ ว่า ประกาศนี้ไม่มีหัวว่าเป็นประกาศประเภทไหน!

ที่ประหลาดมากยิ่งขึ้นคือ ประกาศที่(ถ้ามองจากปัจจุบัน) น่าจะเป็นเรื่องใหญ่มาก(กำหนดวันชาติ) มีข้อความเพียงเท่านี้ คือ

เรื่องวันชาติ

ด้วย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติว่า วันที่ 24 มิถุนายน ย่อมถือว่าเป็นวันชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศมา ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2481

พ.อ.พหลพลพยุหเสนา

นายกรัฐมนตรี

ตอน ที่เห็นประกาศนี้ครั้งแรก ผู้เขียนยืนงงเป็นไก่ตาแตกอยู่หลายนาที เพราะนึกไม่ถึงว่า จะมีข้อความเพียงเท่านี้ (ต้องบอกด้วยว่า ได้อ่านประกาศของจอมพลสฤษดิ์ ฉบับที่ยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน ในฐานะวันชาติ ซึ่งมีข้อความยาวพอสมควร มาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อข้างหน้า

ขอ ทำเชิงอรรถในที่นี้ด้วยว่า ในหนังสือวิชาการส่วนใหญ่(เช่น ของชาญวิทย์ เกษตรศิริ หรือ แถมสุข นุ่มนนท์) เมื่อเขียนถึงการกำหนดให้ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติ เข้าใจผิดว่า เป็นเรื่องในสมัย "ชาตินิยม" หรือ "สร้างชาติ" ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งหลวงพิบูลฯและหลวงวิจิตรวาทการ มีบทบาทในเรื่องนี้จริงๆ ดังจะได้เล่าต่อไป แต่ประกาศนี้มีขึ้นในสมัยพระยาพหลฯเพียงแต่การฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปี 2482 นั้น มีขึ้นเมื่อหลวงพิบูลฯขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว

ผู้ เขียนได้ไปค้นเพิ่มเติมในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น พบว่าการพิจารณาให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ มีลักษณะห้วนๆ รวบรัดตัดตอน ไม่มีหัวไม่มีหาง แบบเดียวกับประกาศข้างต้นเหมือนกัน(ต้องบอกก่อนว่า รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี มีจุดอ่อนที่อาจจะไม่ได้บันทึกละเอียดแบบคำต่อคำ แต่เฉพาะกรณีนี้เชื่อว่า คงไม่ห่างจากที่อภิปรายกันจริงนัก ผู้สนใจเรื่องรายงานการประชุม ครม.กรุณาตามอ่านบทความของผู้เขียนที่เล่าเรื่องการประชุม ครม.วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่จะตีพิมพ์ใน ศิลปวัฒนธณรม ฉบับเดือนตุลาคมนี้)

เรื่อง นี้ถูกเสนอเข้าที่ประชุม ครม.พระยาพหลฯ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2481 เป็น "วาระจร" (วาระที่ 24 ใน 28 วาระการประชุมครั้งนั้น) ผู้เสนอคือ หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีลอย(ไม่ได้ว่าการกระทรวงใดๆ) เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าเคยถูกถามถึง "วันชาติ" กำหนดวันไหน ข้าพเจ้าได้ตอบไปว่ายังไม่กำหนดแน่นอน ฉะนั้น จึงใคร่ขอทราบว่า จะถือว่าวันไหนเป็นวันชาติ กล่าวคือ วันที่ 10 ธันวาคม หรือวันเฉลิมฯ หรือวันพระราชพิธีรัชชมงคล" (เข้าใจว่าหมายถึง 2 มีนาคม ซึ่งรัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์-สมศักดิ์)

หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ซึ่งเป็น "ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี" กล่าวว่า "ควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคม เพราะวันเฉลิมมีเปลี่ยน" ขอให้จำความเห็นนี้ของ "ท่านวรรณ" ให้ดี เพราะจะเกี่ยวข้องกับตอนเลิกใช้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ)

หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีกลาโหม กล่าวว่า "วันชาติอยากให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายน เพราะวันเฉลิมเปลี่ยนไปตามพระมหากษัตริย์

หลวงวิจิตรฯจึงสนับสนุนว่า "ถ้าเลือกวันที่ 24 มิถุนายน กับ 10 ธันวาคม วันที่ 24 มิถุนายน ดีกว่าเพราะรัฐธรรมนูญ อาจมีแก้ได้

หลังจากนั้น รายงานการประชุม ได้บันทึกว่า "ที่ประชุมตกลง ให้กำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ"

ผู้ อ่านคงอยากทราบว่า ปรีดี พนมยงค์ สมาชิกคณะราษฎรคนสำคัญ มีความเห็นว่าอย่างไร ปรากฏว่าขณะนั้นปรีดี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่าง "ลาหยุดพักรักษาตัว" ไม่ได้เข้าประชุม ความจริงเคยมีครั้งหนึ่งที่ปรีดีอยู่ระหว่างเยือนต่างประเทศ ไม่ได้เข้าประชุม แต่ยังเสนอความเห็นมาให้ ครั้งนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์บนธนบัตร ความเห็นของปรีดีทำให้ที่ประชุมถึงกับตัดสินใจยับยั้งการดำเนินการไว้ก่อน เพื่อรอปรีดีกลับ(เรื่องนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งจะเล่าในโอกาสหลัง) แต่ครั้งนี้ ไม่มีการบันทึกว่าปรีดีเสนอความเห็นอะไร ทั้งๆ ที่มี นายปพาฬ บุญ-หลวง เลขานุการ รัฐมนตรีการต่างประเทศ เข้าประชุมแทน

ลักษณะ รวบรัดตัดตอนไม่มีหัวไม่มีหางของการกำหนดวันชาติเช่นนี้ ทำให้ในการประชุม ครม.ครั้งต่อไปวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 นายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นเลขาธิการ ครม. ต้องนำเรื่องเข้าสู่วาระอีกครั้ง เพราะมติครั้งแรกไม่มีรายละเอียดว่าจะให้ทำอย่างไรต่อ "ขอหารือว่าเรื่องนี้จะควรแจ้งให้ กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทราบและควรออกประกาศเพียงใดหรือไม่" ซึ่งหลวงวิจิตรฯเสนอว่า (1) ควรแจ้งให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทราบ โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูต" เพราะปรากฏว่าในหนังสือบางฉบับ เช่น Almanac มีบอกวันชาติต่างๆ ไว้ด้วย ถ้าบอกไว้คลาดเคลื่อน หรือมิได้บอกวันชาติของเราไว้ ก็ให้ติดต่อให้เขาทราบเสียด้วย" และ (2) "เรื่องเพลงชาติเคยประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องวันชาติก็ควรประกาศเช่นเดียวกัน"

หม่อมเจ้าวรรณฯเสนอ ว่า "เรื่องวันชาตินี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคยเสนอเป็นพระราชบัญญัติ โดยกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เหมือนกัน แล้วตกไป ฉะนั้น ประกาศควรกล่าวว่า "ย่อมนิยมว่าเป็นวันชาติ"

ที่ประชุมตกลงให้ทำตามที่หลวง วิจิตรฯเสนอ โดยให้ทำเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในราชกิจจานุเบกษา ในการประชุมครั้งนี้ปรีดียังคงลาป่วย ไม่เข้าประชุม มีนายปพาฬ บุญ-หลง ประชุมแทน

นี่เองคือที่มาของประกาศให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ รวมทั้งของข้อความแปลกๆ "ย่อมนิยมว่าเป็นวันชาติ" ข้างต้น

24 มิถุนายน เป็น "วันชาติ" อยู่ 21 ปี ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 มี "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ลงนาม "จอมพล ส.ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรี(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอน 43, หน้า 1452+1453) ต่างจากประกาศที่ให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งส่วนเนื้อหามีความยาวเพียง 2 บรรทัด ในราชกิจจานุเบกษา

ประกาศฉบับหลังนี้ มีความยาวประมาณ 26 บรรทัด!

นับ ว่ายาวไม่น้อย สำหรับเรื่องเพียงเรื่องเดียว และถ้าความสั้น ไม่มีเหตุผลอธิบายประกอบเลยของประกาศฉบับแรก จะชวนให้ผิดหวังว่าไม่สมกับความใหญ่ของเรื่อง

การที่รัฐบาล สฤษดิ์อุตส่าห์เสียเวลา ไม่เพียงร่างประกาศที่ยาวพอสมควรแต่ (ดังจะเห็นต่อไป) ก่อนหน้านั้นถึงกับต้องตั้งเป็น "คณะกรรมการ" เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ก็ชวนให้แปลกใจได้ไม่น้อย เพราะภาพลักษณ์ของรัฐบาลสฤษดิ์ คือ รัฐบาลที่มีอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่กระตือรือร้นจะรื้อฟื้นอุดมการณ์อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ 2475 อย่างเป็นระบบ

คำ อธิบายของเรื่องนี้คือ ในปี 2503 แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะล่วงเลยไปแล้วถึง 28 ปี และไม่ใช่สิ่งที่จะมีความหมายหรือเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้คนอย่างมากมายอะไร อีก แต่ในจิตสำนึกของชนชั้นที่มีการศึกษา ซึ่งที่สำคัญไม่น้อยได้แก่คนในวงการรัฐบาลและระบบราชการเอง(กรณีทวี บุณยเกตุ ผู้ก่อการคนหนึ่ง และ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มีความเคารพปรีดี เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ว่าการธนาคารชาติของสฤษดิ์ เป็นเพียงตัวอย่างที่เด่นชัด) 24 มิถุนายน ยังมีความสำคัญในฐานะจุดเริ่มต้นของระบอบการปกครองแบบใหม่ที่เป็นไปในทิศทาง ประชาธิปไตยและการปกครองด้วยกฎหมาย การจะยกเลิกวันนี้ ในฐานะวันชาติ จึงไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ(คิดว่า ความรู้สึกด้านลบต่อ 2475 ในหมู่ปัญญาชน เพิ่งมาเกิดขึ้นจริงๆ ในช่วงใกล้ทศวรรษ 2510 แล้ว) สฤษดิ์จึงต้องทำให้ดูเหมือนกับเป็นเรื่องที่ทำอย่างมีขั้นตอนและสมเหตุสมผล ดังที่ปรากฏในประกาศฉบับดังกล่าว ดังนี้

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
ด้วย คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้ง หลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐนตรีเป็นประธาน

คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆ ได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆ กัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติโดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมา แล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง

คณะกรรมการจึงมีความ เห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตรยิ์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน เสีย

คณะ รัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบด้วย จึงได้ลงมติให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง วันชาติ นั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วย ต่อไปตั้งแต่บัดนี้

ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2503

จอมพล ส.ธนะรัชต์

นายกรัฐมนตรี

หลัง จากนั้น 2 สัปดาห์(8 มิถุนายน 2503) รัฐบาลก็ออกประกาศอีกฉบับหนึ่งยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน เพราะไม่ใช่วันชาติอีกต่อไป(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอนที่ 49, หน้า ฉบับพิเศษ หน้า 1)

ตามด้วยประกาศลงวันที่ 20 มิถุนายน 2503 ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับระเบียบการชักธงชาติ ที่ให้ชักและประดับธงชาติในวันที่ 23 ถึง 25 มิถุนายน(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอนที่ 51, หน้า 1566)

สิ่งที่ต้องสังเกตคือ โดยประกาศเหล่านี้ สฤษดิ์ ไม่เพียงแต่ยกเลิก 24 มิถุนายน ในฐานะวันชาติเท่านั้น แต่ยังยกเลิก 24 มิถุนายน ในฐานะวันหยุด หรือวันสำคัญทางราชการโดยสิ้นเชิงด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดเผยให้เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเปลี่ยนวันชาติเท่านั้น เพราะถ้าลำพังเป็นเรื่องเปลี่ยนวันชาติ ต่อให้มีเหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยน ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่สามารถรักษาวันที่ 24 มิถุนายน ไว้ ในฐานะวันสำคัญทางราชการ ดังที่ได้เห็นก่อนหน้านี้ในบทความนี้ว่า ในปลายปี 2480 เคยมีการกำหนดให้ 24 มิถุนายน เป็น "วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ" สฤษดิ์ หรือ "คณะกรรมการ" ที่เขาตั้ง สามารถกำหนดให้ 24 มิถุนายน กลับไปเป็น "วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ" หรืออะไรทำนองนั้นก็ได้ การเลิก 24 มิถุนายน ในฐานะวันสำคัญทางราชการโดยสิ้นเชิงนี้ ไม่มีการให้เหตุผลประกอบใดๆ ทั้งสิ้น

สำหรับเหตุผลที่ "คณะกรรมการ" ให้ว่าประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยทั่วไปถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันชาตินั้น ก็ไม่จริงเสมอไป กรณีเดนมาร์ก ซึ่ง "คณะกรรมการ" ยกเป็นตัวอย่าง ฉลองวันชาติในวันที่ 5 มิถุนายน โดยถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 1849 ได้รับการรับรองครั้งสุดท้าย เมื่อ 5 มิถุนายน 1953 (ปัจจุบัน เบลเยียม สเปน สวีเดน ซึ่งมีกษัตริย์เป็นประมุข ก็ไม่ได้ฉลองวันพระราชสมภพในฐานะวันชาติแต่อย่างใด)

และคงจะ จำได้ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 กรกฎาคม องค์ประธาน "คณะกรรมการ" ที่เสนอให้เปลี่ยนวันชาติของสฤษดิ์ กรมหมื่นนราธิปฯ สมัยมีพระยศเป็น "หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร" ทรงกล่าวเองว่า "ควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคม เพราะวันเฉลิมมีเปลี่ยน"

น่าเสียดายว่า ถึงปี 2503 รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้กลายเป็นการจดบันทึกแบบสรุปด้วยภาษาราชการล้วนๆ ไม่มีการบันทึกอีกต่อไปว่า ใครพูดอะไรจริงๆ บ้างแม้แต่น้อย

กรณีการ เปลี่ยนวันชาตินี้ผู้เขียนอ่านพบว่า ได้รับการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2503 ซึ่งเป็นการประชุม "ครั้งพิเศษ" ที่ "บ้านรับรองเขาสามมุข บางแสน จังหวัดชลบุรี" (สฤษดิ์ชอบไป "พักผ่อน" ที่นั่น) โดยเป็นวาระที่ 11 ในการประชุมครั้งนั้น ภายใต้หัวข้อ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย

บันทึก การประชุมวาระนี้ เริ่มต้นว่า "ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเรื่องวันชาตินั้น บัดนี้ คณะกรรมการรายงานว่า ได้พิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่า..."

จากนั้นเป็นข้อความแบบ เดียวกับย่อหน้าที่ 2 และ 3 ของประกาศยกเลิก 24 มิถุนายนเป็นวันชาติข้างต้น แล้วตามด้วยการบันทึก "มติ" ว่า ที่ประชุม "เห็นชอบด้วยให้ยกเลิก...." ซึ่งตรงกับข้อความในย่อหน้าที่ 4 โดยมีข้อความในวงเล็บต่อท้ายว่า "มีแก้ถ้อยคำในร่างประกาศฯเล็กน้อย" สรุปแล้ว ส่วนที่บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี ต่างจากตัวประกาศ ก็เพียงย่อหน้าแรกสุดของประกาศที่อ้างว่าการเอา 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ "มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ" และมีประชาชนและหนังสือพิมพ์เรียกร้องให้พิจารณาใหม่

ผู้เขียนยังค้นไม่พบว่า ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีของสฤษดิ์ได้ประชุมพิจารณาเรื่องวันชาติและมีมติให้ตั้ง "คณะกรรมการ" ชุด "เสด็จในกรมฯ" ตั้งแต่เมื่อไร

ที่มา: มติชน วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 9307

หมายเหตุ : ดร.สม ศักดิ์ได้เขียนบทความฉบับเต็มเรื่อง "ประวัติศาสตร์วันชาติ จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา" ในนิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2547

ที่มา fb ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ดวงจำปา: ขยายความต่อ "กรณีประเทศไทย กับ ศาลอาญาระหว่างประเทศ"

โดย ดวงจำปา
ที่มา เฟสบุค Doungchampa Spencer
19 ธันวาคม 2554


ใน ขณะนี้ ดิฉันเห็นการโพสต์หลายเรื่อง ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้เขียนบทความ ด้วยการนำเอาศัพท์ทางเทคนิคมาใช้ จนกลายเป็นเรื่องที่สร้างความงุนงงออกไป เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ขอสรุปแบบง่ายๆ นะคะ


 ประวัติโดยสังเขป: ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมไปเมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้เป็นรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ เนื่องจากว่ายังไม่ได้ลงนามให้สัตยาบัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Ratification

เนื่องจากเหตุการณ์ที่มีผู้สูญเสีย ชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เมื่อเดือน เมษายน / พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553 ระบบยุติธรรมของประเทศไทยก็ยังไม่มีการลงโทษผู้กระทำความผิดแต่ประการใด (นอกจากการตั้งขอหา ยัดเอาแกนนำ และ ประชาชนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในคุก) จนกระทั่งมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งนำโดย คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคนี้เข้าไป ก็ตั้งความหวังว่า จะได้รัฐบาลที่กระทำการปฎิบัติตามนิติรัฐและนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่ ประเทศ

สิ่งหนึ่งในความปรารถนาต่อความสงบสุขก็คือ การนำเอาระบบยุติธรรมของนานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินพิจารณาคดีด้วย กล่าวคือ การลงนามอย่างเป็นทางการ (ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) ให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ขอย้อนอดีตกลับไปนิดหนึ่ง คือเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 ทนายความโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ทำการถ่ายทอดวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเรื่องดำเนินการต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อหาของเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

และที่เพิ่งผ่านมาเมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เราได้เห็นข่าวของท่าน สส สุนัย จุลพงศธร เข้าไปยื่นหนังสือต่อสำนักอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ ขอร้องให้เปิดคดีการสอบสวนในะเรื่องการปราบปรามประชาชนซึ่งมีการเสียชีวิต โดยทางฝ่ายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พร้อมกับมีบทความหลาย เรื่องออกมาโพสต์เกี่ยวกับศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยอ้างถึงอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม, ให้รัฐบาลทำการลงสัตยาบัน และ ให้การยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ

0 0 0 0 0

เลย ตัดสินใจเขียน blog ชิ้นนี้ เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนว่า มันเป็นเรื่องคนละอย่างกัน จะมาผสมปนเปกันไม่ได้





1. การยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศ: เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กล่าวขึ้นมาพอสมควรในเรื่องการนำผู้ที่ออกคำสั่งทั้งหมดมาลงโทษ โดยใช้อำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

หลักการใช้: กรณีการยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เนื่องจากว่า ประเทศนั้นๆ ยังไม่เป็นสมาชิกในรัฐภาคี ตามหลักการกล่าวคือ การนำเอาบทอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมมาตรา 12 วงเล็บ 3 เข้ามาปฎิบัติ มีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากการยอมรับอำนาจศาลกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

กรณีเช่นนี้ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นคดีๆ ไป หรือเรียกว่า กรณีเฉพาะกิจ (ad hoc)

และถ้าดูลึกๆ ลงไปแล้ว จะต้องมีการพิจารณาว่า ศาลของประเทศไทยไม่มีความสามารถหรือไม่มีความประสงค์ที่จะพิจารณาคดีเหล่านี้ด้วยหรือไม่

การรับรอง: รัฐบาลหรือผู้แทนของรัฐบาล สามารถยื่นเอกสารที่ลงนามอย่างเป็นทางการให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ เนื่องจากเรื่องนี้ เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ หรือ Unilateral act of State จึงไม่ต้องมีการผ่านรัฐสภา ด้วยมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

การ บังคับใช้ย้อนหลัง: มีการถกเถียงในเรื่องนี้ว่า ถ้าประเทศไทยประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลแล้ว จะนำมาใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ออกคำสั่งของการปราบปรามคนเสื้อแดงในเดิอน เมษายนและพฤษภาคมของ ปี พ.ศ. 2553 ได้หรือไม่?

ตามหลักการแล้ว จะต้องดูว่า เหตุการณ์ที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง (อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ) นั้น ได้สิ้นสุดลงหรือยัง หรือว่าเหตุการณ์นั้น ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้ายังเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง การยอมรับอำนาจศาล ก็สามารถนำมาใช้ได้

แต่สำหรับเหตุการณ์เมื่อเดือน เมษายน / พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553 นั้น มันได้สิ้นสุดลงไปแล้ว (และมีการเปลี่ยนรัฐบาลบริหารประเทศ) โอกาสที่จะนำเรื่องนี้ มาเป็นผลใช้บังคับย้อนหลัง ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อาจจะมีเรื่องทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้องได้ อยู่ที่การตีความด้วยในประเด็นย้อนหลัง

ความเป็นไปได้: การ ที่รัฐบาลไทยยอมรับให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศมีสิทธิพิจารณาคดีนั้น ฝ่ายการเมืองพรรคตรงข้าม จะหาเรื่องหยิบประเด็นและทำการประโคมเรื่องทันทีว่า เป็นการลุล่วงพระราชอำนาจเพราะศาลจะต้องกระทำการตัดสินคดีภายใต้พระ ปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น อาจจะมีการโยงไปถึงความไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยฝ่ายของ รัฐบาล ในเรื่องการให้องค์กรจากต่างประเทศเข้ามารุกรานอธิปไตยของประเทศเสียด้วยซ้ำ

การ ตีความรวมไปถึงการเซ็นรับรองเอกสารในเรื่องการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ อาจจะถูกฝ่ายค้านดำเนินการ โดยยื่นเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญว่า การกระทำโดยการให้ศาลของประเทศอื่นมามีอำนาจเหนือศาลไทยนัั้น เป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ก็ไม่ยอมผ่านรัฐสภา หรืออ้างเหตุผลอื่นๆ ประกอบ ท่านผู้อ่านก็คงจะทราบเองว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องหรือไม่ หรือควรจะตัดสินออกมาในรูปไหน

ถึง แม้ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ฝ่ายตรงกันข้ามจะ "พาลหาเรื่อง" และพยายาม "สร้างมาตรฐานใหม่" ดังนั้น ดิฉันจะไม่แปลกใจเลย ถ้าเรื่องนี้ ถูกส่งขึ้นไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ และมีการตัดสินแปลกๆ ว่า "รัฐบาลทำผิด" ซึ่งเราก็เห็นๆ กันมาหลายครั้ง ในคำตัดสินที่ค้านต่อสายตาชาวโลก (แถมห้ามวิจารณ์ในคำตัดสินเสียด้วย)

ศาล ที่เทียบเท่ากับศาลสูงสุดของประเทศไทยคงจะแย้งในเรื่องนี้ว่า ศาลไทยเอง "มีความสามารถ" และ "มีความประสงค์" ที่จะตัดสินคดีเหล่านี้ จึงอาจจะทำให้เรื่องของการเสริมเขตอำนาจภายในประเทศเข้ามาใช้ก่อนที่จะ สามารถยอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศได้

สรุป: โอกาส ที่จะเกิดเรื่องของการยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น มันแทบเป็นไปไม่ได้เลย และญาติของวีรชนที่เสียชีวิตไปและบรรดาผู้บาดเจ็บต่อการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเรียกหาความยุติธรรมจากศาลไทยแทน เพื่อดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดเท่านั้น


0 0 0 0 0


2. การลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ: การลงสัตยาบันนั้น กระทำเพื่อให้ประเทศเป็นสมาชิกในรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ เต็มไปด้วยสิทธิการยอมรับอำนาจศาล มีการพิจารณาตามหลักการยุติธรรมโดยกฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึง การเสนอชื่อผู้พิพากษาไทยขึ้นไปปฎิบัติหน้าที่ในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ด้วย

หลักการใช้: เมื่อ รัฐบาลลงนามในสัตยาบันแล้ว จะมีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากการลงนาม สามารถใช้ได้ทุกกรณีที่ภายในประเทศมีวิกฤติการณ์รุนแรงและมีผู้เสียชีวิต เป็นการยอมรับให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถเข้ามาดำเนินคดีได้ เมื่อศาลของประเทศไทยไม่สามารถหรือไม่ปรารถนาที่จะดำเนินการในคดีนั้นๆ

ศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่เข้ามาแทรกแทรงก่อน เพราะเป็นการเสริมเขตอำนาจภายในประเทศอยู่แล้ว ภ่าษาอังกฤษเรียกว่า Complementary

การรับรอง: ตามความเข้าใจของดิฉัน เรื่องการลงสัตยาบันนี้ น่าจะต้องผ่านรัฐสภาก่อน โดยอ้าง: ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 ซึ่งกล่าวว่า "การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติอนุวัติการสนธิสัญญาดัง กล่าว ฝ่ายบริหารจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ" ดังนั้น ทางฝ่ายรัฐบาลจะต้องเสนอเรื่องนี้ เข้าไปในรัฐสภาก่อน เพื่อการดำเนินการให้ถูกต้องตามลายลักษณ์อักษรและตามหลักการของรัฐธรรมนูญ

State Party ในความหมายของอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม แปลกันว่า "รัฐภาคี" ซึ่งตรงกับมาตรา 190 วรรค 2 นี้ (ถ้ายังไม่มีการแก้ไขมาตรา 190 ก่อน ดิฉันคาดว่าจะต้องเสนอเรื่องเข้าสู่รัฐสภา เพื่อการพิจารณาลงมติค่ะ)

(ตาม ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา หมวดที่ 1 ข้อที่ 3 ระบุว่า ""สมาชิกรัฐสภา" หมายถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และ "การประชุมรัฐสภา" หมายถึง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้หมายความรวมถึงการประชุมวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในระหว่างที่สภาผู้แทน ราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ)

การบังคับใช้ย้อนหลัง: ไม่สามารถกระทำได้

ความเป็นไปได้: เรื่อง นี้ ประชาชนที่เลือกรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ ต้องการให้ดำเนินการให้เรื่องการลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ ได้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีความหวังว่า จะนำเอาผู้กระทำผิดในเหตุการณ์เดือนเมษายน และ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เข้ามาลงโทษได้ (แต่จริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องย้อนหลัง ซึ่งอาจจะไม่สามารถนำเข้ามาสู่การพิจารณาคดีได้ เพราะประเทศไทยยังไม่ได้ลงสัตยาบันให้กับอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม)

ประชาชน หลายฝ่ายเริ่มกระทำการกดดันให้รัฐบาลกระทำการลงสัตยาบันเสียที เพื่อป้องกันฝ่ายเผด็จการเข้ามาทำร้ายประชาชนมือเปล่าอีก แต่ทางรัฐบาลยังไม่ได้นำเรื่องนี้เข้าไปสู่รัฐสภาเสียที หรือ อาจจะเป็นไปได้ ที่ทางรัฐบาลต้องการประวิงเวลา เพื่อการต่อรองทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างบุคคลสองกลุ่มใหญ่ที่เรา ก็ทราบๆ กันอยู่ว่าเป็นใคร

สำหรับความเห็นส่วนตัวของดิฉันในเรื่อง นี้ ถ้ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยเสนอเรื่องการลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ เข้าสู่รัฐสภา น่าจะผ่านคะแนนเสียงในรัฐสภาได้โดยไม่ยากนัก นอกจากกลุ่ม สว ลากตั้ง จะเป็นผู้ฉุดให้เรื่องนี้พีงครืนลงมา คราวนี้ประชาชนก็คงจะจองเวรกับท่านวรนุชเหล่านี้ แทนที่จะเป็นกับรัฐบาล (ซึ่งน่าจะเป็นการท้าทายที่ดีในการทำการประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาล และลดความกดดันลงมาด้วยนะคะ คือรัฐบาลทำแล้ว แต่ถูกพวกวรนุชนี้ คว่ำข้อเสนอ ความกดดันจะตกไปอยู่กับ สว ลากตั้งทั้งหมด)

แท้จริงแล้ว ดิฉันคิดว่า มันมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลมีความหวั่นวิตกและความหวาดกลัวต่อฝ่ายตรง ข้ามมากกว่า (โดยเฉพาะจากพวกที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น) ที่จะดำเนินการเริ่มก่อตัวรวมตัวเพื่อประท้วงอย่างรุนแรงหลังจากที่มีการลง นามสัตยาบันแล้ว จนรัฐบาลจะต้องดำเนินการปราบปรามแบบเดียวกันกับที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เคยกระทำ มาก่อน จากนั้นพวกป่วนเมืองเหล่านี้ ก็สามารถหาเรื่องเข้าใส่รัฐบาลจนได้และจะต้องถูกดำเนินคดีโดยศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ถ้ากลัวว่า เรื่องมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ อย่าไปยื่นเสนออะไรให้กับรัฐสภาเพื่อเปลืองตัวเจ็บตัวเสียดีกว่า

สรุป: เรื่อง นี้ อาจจะมีการอ้างเหตุผล ด้วยการดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาอีกในเรื่องของการให้ประเทศอื่น สามารถเข้ามาตัดสินอยู่เหนือพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอ้างถึงความน่าเชื่อถือและความไม่จำเป็น ด้วยอ้างเหตุผลที่ว่า ระบบศาลยุติธรรมของประเทศไทยนั้น เป็นมาตรฐานดีอยู่แล้วต่อสากลโลก

ดัง นั้น รัฐบาลก็คงจะไม่มีการดำเนินการรีบเร่งใดๆ ในเรื่องการลงสัตยายันทั้งสิ้น แต่มียุทธวิธี ที่จะทำการประวิงเวลาต่อไป เพื่อลดความกดดัน และเบี่ยงเบนความสนใจไปที่เรื่องอื่นๆ แทน เป็นต้นว่า ประโคมข่าวในเรื่องการปราบปรามเวปหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ มากกว่า การลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ประชาชนจะต้องกดดันต่อไป หรือ เลือกพรรคการเมือง (ถ้ามีการเลือกตั้งคราวหน้า) ซึ่งสัญญาว่า จะนำเอาการลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเป็นนโยบายในการหาเสียงรวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้รัฐบาลนี้ัยังคงบริหารราชการบ้านเมืองอยู่ได้ ประชาชนก็คงจะต้องช่วยผนึกกำลังช่วยเหลือรัฐบาลด้วยความชอบธรรม ถ้ามีการขัดขวางหรือต่อต้านจากฝ่ายตรงข้าม ที่ปฎิเสธการยอมรับในเรื่องของการลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ


0 0 0 0 0

ใน ทั้งสองกรณีที่กล่าวมา คือ โดยการปฎิบัตินั้น การยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศ และ การลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศน่าจะสามารถมีเขตอำนาจในประเทศไทยได้ ตั้งแต่วันที่ประกาศใช้

                                                        0 0 0 0 0



เรื่องของทนายความโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

เรื่อง ของทนายความ โรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม เป็นการยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศโดยการนำเอาสัญชาติอังกฤษของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาพิจารณาคดีในฐานะผู้กระทำความผิด เนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศในรัฐภาคี การดำเนินการนี้ จะกระทำได้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแต่เพียงผู้เดียว ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลฝ่ายบริหาร (และอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในการสั่งการด้วย)

สำหรับ บุคคลอื่นๆ นั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องในกรณีที่ทนายความโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัมยื่นฟ้อง เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกในรัฐภาคี (ยังไม่ได้ลงสัตยาบัน และคิดว่า คงจะไม่ยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตัดสินคดีด้วย ตามเหตุผลที่อ้างไว้ดังกล่าวข้างต้น)

เรื่องนี้ จะต้องดูการตีความของสัญชาตินายอภิสิทธิ์ โดยทางศาลอาญาระหว่างประเทศด้วยว่า เป็นอย่างไร ถ้าเขาตีความว่ามีสองสัญชาติจริงและนายอภิสิทธิ์ยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ ทางอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศอาจจะกระทำการยื่นฟ้องได้

ทนายความอัมสเตอร์ดัมเอง ได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ๋์ พ.ศ. 2554 ว่า " ..... แต่ข้อเท็จจริงคือประเทศไทยไม่ได้ลงนามในศาลอาญาระหว่างประเทศ ...... ณ วันนี้ นายมาร์ค อภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะแสดงเอกสารว่าเขาได้สละสัญชาติอังกฤษแล้ว เป็นการย้ำว่าประเด็นที่นายมาร์คเป็นและยังคงถือสัญชาติอังกฤษอยู่นั้นเป็น เรื่องจริง ดังนั้นเขาจึงตกอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ......" และ " ....อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยกเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศและประเด็นการรับพิจารณาคดี เหตุการณ์ในประเทศไทย แต่โอกาสที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาคดียังคงมีน้อย...." ตามบทความอ้างอิงนี้: จดหมายเปิดผนึกจากโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมถึงพี่น้องเสื้อแดง

0 0 0 0 0

เรื่องที่ ท่าน สส สุนัย จุลพงศธร ไปยื่นเรื่องที่ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น มันช่วยอะไรได้บ้าง?

ท่าน สส สุนัย จุลพงศธร ไปยื่นเรื่องที่สำนักอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เพื่อขอร้องให้ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ เปิดการสอบสวนในคดีการปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยการขอร้องให้นำเอาหลักการตามอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม มาตรา 12 วงเล็บ 3 ว่าด้วย การพิจารณาคดีของประเทศที่ยังไม่เป็นรัฐภาคี มาเป็นเรื่องอ้างอิง

สำนักงานอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ สามารถรับเรื่องไว้ได้ ซึ่งดิฉันเคยกล่าวหลายครั้งว่า เปรียบเสมือนกับ นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เข้าไปยื่นหนังสือให้กับทางสถานฑูตสหรัฐอเมริกา และ สำนักงาน UN ในประเทศไทย การยื่นหนังสือ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับจะต้องปฎิบัติตามข้อเรียกร้องโดยเสมอไป ฉันใดก็ฉันนั้น

สิ่ง ที่ดิฉันมั่นใจมากคือ ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ จะไม่มีการปฎิบัติสองมาตรฐานโดยเด็ดขาด เพราะการสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่ มันมีผลกระทบต่ออีก 120 กว่าประเทศในโลกไปด้วย

การวิเคราะห์ต่อคำถามที่มีในเรื่องนี้คือ:

1. ทางรัฐหรือตัวแทนของรัฐ ยินยอมในเรื่องอำนาจของศาลหรือยัง? อนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม ได้ระบุว่า รัฐจะต้องยินยอมให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ กระทำการตัดสินคดีดังกล่าวได้ การยื่นหนังสือของท่าน สส สุนัยนั้น ไม่ได้เป็นการให้รัฐยินยอม เพราะ ท่าน สส สุนัย ไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐ หรือ ตัวแทนของฝ่ายบริหาร ท่านไม่มีอำนาจลงนามในหนังสือยอมรับเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศได้

หนังสือ ของท่าน สส สุนัย จุลพงศธร เป็นในรูปแบบของ request for opening the inquiry หรือ เป็นการขอร้องให้มีการสอบสวน ในนามของ ประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเทียบเท่ากับ Committee's Chairperson ไม่ใช่การยินยอมจากทางฝ่ายรัฐบาล

2. เหตุการณ์เฉพาะกิจนั้น ได้สิ้นสุดลงไปแล้วหรือยัง? คำตอบคือ เหตุการณ์ได้สิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 การใช้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศมาตัดสินย้อนหลัง ไม่สามารถกระทำได้ เพราะทางรัฐบาลไม่ได้ยินยอมในเรื่องอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งแต่แรก ก่อน ศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่ยอมเข้ามาแทรกแทรงในอธิปไตยของประเทศไทยโดยเด็ด ขาด

3. เหตุการณ์เฉพาะกิจนั้น เข้าข่ายในสามประเด็นใหญ่ของการรับฟ้องหรือไม่? สามประเด็นที่กล่าวคือ อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และ อาชญากรรมสงคราม ความหมายในการฟ้องนั้น มุ่งไปสู่เรื่องของ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งทางศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้:

"Crimes against humanity are particularly odious offenses in that they constitute a serious attack on human dignity or grave humiliation or a degradation of one or more human beings...... However, murder, extermination, torture, rape, political, racial, or religious persecution and other inhumane acts reach the threshold of crimes against humanity only if they are part of a widespread or systematic practice."

คำแปล: "อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติคือการกระทำความผิดโดยเฉพาะอย่างน่าสะพึงกลัว กล่าวคือเป็นการโจมตีอย่างรุนแรงต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์หรือทำความ อัปยศอดสู่อย่างมหันต์หรือการก่อความเลวทรามให้กับบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้น ไป...... อย่างไรก็ตาม, การฆาตกรรม, การกวาดล้าง, การทรมาน, การข่มขืน, การกล่าวหาฟ้องร้องทางการเมือง, ทางเชื้อชาติหรือทางศาสนาและการกระทำอื่นๆ ที่ไร้มนุษยธรรมได้เข้าไปสู่เกณฑ์ของเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ถ้าเพียงเรื่องเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิบัติที่ขยายเป็นวงกว้างหรือมีไปตามระบบเท่านั้น"

จากการสัมภาษณ์ของท่านผู้พิพากษาคาอูล ได้กล่าวในเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตไว้ว่า:

"..A high death toll may be a first indication that such crimes might have been committed, but further prerequisites, in particular the legal requirements of the crimes, must be fulfilled."

"...เมื่อ เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอาจจะเป็นการบ่งบอกว่า อาจจะมีการกระทำอาชญากรรมนั้นๆ เกิดขึ้น แต่ข้อกำหนดเบื้องต้น โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งที่เรียกร้องทางกฎหมายของอาชญากรรมนั้น จะต้องมีความถูกหลักการเสียก่อน..."

ตามความคิดของดิฉันนั้น เรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาตินั้น เข้าประเด็นแน่นอนค่ะ

4. มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่สามารถโยงไปถึงอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติได้ บ้าง? คำจำกัดความในเรื่องนี้ อยู่ในมาตราที่ 7 ข้อที่ 1 ของอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งระบุดังนี้คือ:

...attack directed against any civilian population, with knowledge of the attack: การปราบปราบโดยตรงกับพลเมืองของประเทศ ซึ่งรับทราบเป็นอย่างดีในเรื่องการปราบปรามนั้นๆ:

การกระทำดังกล่าว มีดังต่อไปนี้:

(a) Murder; การฆาตกรรม;

(b) Extermination; การกำจัดกวาดล้างประชาชนให้สิ้นซาก;

(c) Enslavement; การนำประชาชนมาใช้งานเยี่ยงทาส;

(d) Deportation or forcible transfer of population; การเนรเทศประชาชนหรือการบังคับถ่ายเทไล่ให้ประชาชนออกไปอยู่นอกประเทศ;

(e) Imprisonment or other severe deprivation of physical liberty in violation of fundamental rules of international law; การจำคุกหรือการกีดกันอื่นๆ อันรุนแรงต่อเสรีภาพของร่างกาย ซึ่งเป็นการละเมิตต่อกฎขั้นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ;

(f) Torture; การทรมาน;

(g) Rape, sexual slavery, enforced prostitution, forced pregnancy, enforced sterilization, or any other form of sexual violence of comparable gravity; การข่มขืน, การนำเอาบุคคลมาเป็นทาสบำเรอกาม, การบังคับให้เป็นโสเภณี, การบังคับให้มีการตั้งครรภ์, การบังคับให้ทำหมัน หรือในรูปแบบอื่นๆ ของการกระทำที่รุนแรงทางเพศที่มีความหนักหนาสาหัสเทียบเท่ากัน;

(h) Persecution against any identifiable group or collectivity on political, racial, national, ethnic, cultural, religious, gender as defined in paragraph 3, or other grounds that are universally recognized as impermissible under international law, in connection with any act referred to in this paragraph or any crime within the jurisdiction of the Court;

การฟ้องร้องต่อกลุ่มบุคคลใดๆ หรือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง, เชื้อชาติ, สัญชาติ, เผ่าพันธุ์, วัฒนธรรมประเพณี, ศาสนา, เพศ ตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่สาม หรือ ด้วยเรื่องอื่นๆ ซึ่งทางนานาอาระประเทศได้ยอมรับว่า ไม่ยินยอมได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆ ที่กล่าวถึงในย่อหน้านี้ หรือ อาชญากรรมใดๆ ภายใต้เขตอำนาจการตัดสินของศาลอาญาระหว่างประเทศ;

(i) Enforced disappearance of persons; การใช้กำลังให้บุคคลต่างๆ สูญหายไปโดยปราศจากร่องรอย

(j) The crime of apartheid; อาชญากรรมในเรื่องการแบ่งแยกสีผิว

(k) Other inhumane acts of a similar character intentionally causing great suffering, or serious injury to body or to mental or physical health.

การ กระทำอ่ื่นๆ อย่างไร้มนุษยธรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ด้วยความจงใจที่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างสาหัส หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงกับร่างกาย หรือ สุขภาพทางสมองหรือทางร่างกายด้วย...

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การกระทำของรัฐบาลชุดที่แล้ว เข้าข่ายในเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ตามคำจำกัดความที่กล่าวมา แต่อาจจะมีการตีความในประเด็นของจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ

ถ้า มีเรื่องการขุดศพต่างๆ หรือบุคคลที่สูญหายไปเข้ามารวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย อาจจะทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งหมายความว่า ยังมีการปกปิดเรื่องจริงอยู่อีก

การสรุป:

ดัง นั้น เท่าที่อ่านและตีความตามคำจำกัดความในเรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ด้วยตนเอง: ขอสรุปว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไม่ได้หมายถึงการเสียชีวิตเท่านั้น แต่หมายถึงผลกระทบต่อประชาชนที่ยังมีชีวิตส่วนใหญ่ได้ด้วย เพราะคำจำกัดความนั้น เป็นต้นว่า การเนรเทศ หรือ การนำประชาชนไปใช้งานเยี่ยงทาสนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตแต่อย่างใด แต่มีผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก

ดิฉันมาดูบทความต่างๆ แล้ว เรามาเน้นถึงเรื่องการสูญเสียชีวิตกันอย่างเดียวนะคะ ถ้านับจำนวนผู้บาดเจ็บต่อการกวาดล้างรวมไปด้วย ดิฉันมั่นใจว่า เรื่องนี้สามารถเข้าข่ายได้ทันที เพราะมีผู้บาดเจ็บประมาณ 2 พันคนขึ้นไป ถ้าจำไม่ผิด

แต่เราจะไปติดในเรื่องของ การไม่ยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศ และ คดีความย้อนหลังของอาชญากรรมนั้นๆ การเดินทางของ ท่าน สส สุนัย อาจจะไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย แต่มันเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มหันมาสร้างความกดดันให้กับรัฐบาลว่า จะดำเนินการในขั้นต่อไปอย่างไรในเรื่องนี้ เป็นต้นว่า กระทำการลงสัตยาบันเสียทีค่ะ

(ส่วนบุคคลที่ชอบออกมาให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับ เรื่องที่ว่า ควรจะเนรเทศผู้ไม่จงรักภักดีไปอยู่ที่อื่นนั้น ก็จงโปรดระวังไว้ด้วยว่า มันไปเข้าข่ายในเรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาตินะคะ)

0 0 0 0 0

แล้วเราจะต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะดำเนินการต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งการปราบปรามประชาชน?

ตอน นี้ ดิฉันยังไม่มีความคิดเห็นใดๆ นอกจากว่า การให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อการป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ ไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้กระทำความผิดสามารถได้รับการละเว้นโทษได้

และที่น่าเศร้าใจ คือ ดิฉันไม่เห็นทางออกต่อการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้เสียชีวิตใน เหตุการณ์เมื่อเดือน เมษายน และ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 (เพราะการฟ้องร้องโดยองค์กรของนานาชาติ จะต้องยึดหลักความเคารพในอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ ก่อน) นอกจากพึ่งทางศาลของประเทศไทย ซึ่งเราก็รู้อยู่แล้วว่า มันจะออกมาแบบไหน

แต่ ที่แน่นอนที่สุดคือ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย จะต้องคัดค้านในเรื่องการออกกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับทุก ฝ่ายอย่างถึงที่สุด อย่าให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมันหมายถึงว่า กระบวนการศาลยุติธรรมโดยการดำเนินการจากศาลอาญาระหว่างประเทศอาจจะสิ้นสุด โดยทันที เนื่องจากมีการตัดสินคดีความภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยโดยเรียบร้อย แล้ว

การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จะทำให้การตัดสินคดีความในเรื่องแบบนี้เป็นที่สิ้นสุด จะไม่มีการตัดสินเกิดขึ้นอีกจากความผิดในเรื่องเดียวกันนี้อีก ซึ่งตรงกับหลักการที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Double Jeopardy Law หรือผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดในกรณีนั้น ๆ จะไม่ถูกลงโทษซ้ำสอง

0 0 0 0 0
บทสรุป:

ประชาชน จะต้องกดดันต่อไป ในเรื่องการลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ มันเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต ถึงแม้ว่า จะไม่สามารถมีผลย้อนหลังก็ตาม

เลือกพรรคการเมืองที่ให้คำมั่นสัญญาใน การเลือกตั้งครั้งหน้าว่า จะนำเอาการลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเป็นนโยบายในการหาเสียงรวมอยู่ด้วย (ถ้ารัฐบาลปัจจุบัน ยังหลีกเลี่ยงการลงนาม)
คัดค้านการออกกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมอย่างเหนียวแน่น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมได้เกิดขึ้นไปตามครรลองของมัน

ดวงจำปา สเปนเซอร์

0 0 0 0 0

บทความต่อเนื่อง:

บทความแปล: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศได้แล้ว

บทความแปล: ศาลโลกไม่มีอำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมบนผืนแผ่นดินไทย

บทความแปล: เสื้อแดงยังคงไม่ท้อ หลังจากที่ศาลโลกกล่าวว่า ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

บทความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา รายงานของ ท่านผู้พิพากษา ดร. คาอูล ภาคที่ 1

บทความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา รายงานของ ท่านผู้พิพากษา ดร. คาอูล ภาคที่ 2

ที่มา thaienews

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

3 ก๊กแห่งประเทศไทย ฤา "ทักษิณ จะซ้ำรอยเจียงไคเช็ค-จากแนวร่วมกลายเป็นศัตรู?"

โดย สุภาพชนแดง

วันนี้ผมขอพูดย้ำเรื่อง 3 ก๊กแห่งประเทศไทยครับ 三国 ครับ 3 ก๊กโบราณ三国演义มีวุ่ยก๊ก/ ง่อก๊ก/ จ๊กก๊ก ครับ มีโจโฉ มีเล่าปี่ และมีซุนกวน นะครับ

3 ก๊ก ของจีน เกิดอีกครั้งในยุค 1924-1945 (ในประเทศจีน เกิดมี 3 ก๊ก อีกครั้ง) มีก๊กที่ 1 ญี่ปุ่นผู้รุกราน ก๊กที่ 2 ก๊กมินตั๋ง(ซุนยัดเซ็นและเจียงไคเช็ค) และก๊กที่ 3 พรรคคอมมิวนิสต์-เหมาเจ๋อตง จงกั๋วก้งฉานต่าง中国共产党 นะ ครับ

ในปี คศ. 1924 ก๊กมินตั๋ง กับ ก้งฉานต่าง(พรรคอมมิวนิสต์จีน) ได้ทำแนวร่วมกันต่อสู้กับญี่ปุ่นครับ พรรคคอมมิวนิสต์ตั้งโรงเรียนการเมืองการทหารหวงฝู่นะครับ แต่ต่อมา 1927 ก๊กมินตั๋งทรยศครับ แทนที่จะปราบญี่ปุ่นกลับหันไปปราบพรรคคอมมิวนิสต์และประชาชนที่ต่อต้านญี่ปุ่นครับ

เหมาเจ๋อตง ชี้ให้ประชาชนเห็นว่า “พรรคก๊กมินตั๋ง” ต่อสู้กับญี่ปุ่นอย่าเฉื่อยเนือย แถมแอบส่งสัญญาณให้ญี่ปุ่นเข่นฆ่าประชาชนที่ต่อสู้กับญี่ปุ่นอีกด้วย การต่อสู้อย่างเฉื่อยเนือย-เป็นสัญญาณที่”ทรยศ”

เหมาเจ๋อตงและก้งฉานต่าง จึงชี้นำให้ประชาชนต่อสู้อย่างเอาการเอางานจริงจัง ไม่เฉื่อยเนือย มีคนจีนบอกว่า อย่าวิจารณ์ก๊กมินตั๋ง เห็นว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่เหมาเจ๋อตง แยกอย่างละเอียดว่า “ฝ่ายหนึ่งสู้เฉื่อยเนือย อีกฝ่ายสู้อย่างจริงจัง”

สำหรับประเทศไทยในปัจุบัน มี 3 ก๊ก三国เช่นเดียวกันครับ “เรามีก๊กศักดินา –ก๊กพรรคเพื่อไทยนายทุนทักษิณ --ก๊กขบวนการคนเสื้อแดงรากหญ้ากรรมาชีพ --- 3 ก๊ก (ซานกวั๋อ) 三国 เช่นกันครับ

พรรคเพื่อไทยได้ทำแนวร่วมกับคนเสื้อแดง โดยผ่านแกนนำ นปช. (ลูกจ้าง) ดึงคนเสื้อแดงเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทยและให้อยู่ภายใต้การชี้นำ “ต่อสู้กับศักดินาอย่างเฉื่อยเนือย และต่อสู้แบบหน่วงเวลาและสิ้น เปลือง และกราบ แบบยอมจำนน

3 ก๊กของประเทศไทย กำลังขับเคี่ยวกันอย่างซับซ้อน ใครไม่ละเอียดลึกซึ้ง สู้แบบหยาบๆ และมักง่าย ใช้ปัญญาที่มู่ทู่ ย่อมไม่อาจเชือดเฉือน เยื่อใยอำมหิตของศักดินาให้ขาดสะบั้นได้เลยนะครับ

ลำพังการต่อสู้ของพรรคเพื่อไทย ที่ส่วนใหญ่ถูกครอบงำด้วยกลุ่มชนชั้นนายทุน และต่อสู้ปลุกเร้าจิตใจด้วย โต๊ะจีน/คอนเสิร์ต/ตัวตลก/และเงินค่าจ้าง ย่อมมิอาจจะต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน หรือสร้างคนที่ เสียสละด้วยอุดมการณ์ขึ้นได้เลย

ฉะนั้น เพื่อประกันชัยชนะของประชาชน เพื่อรู้ทันศักดินา ฝ่ายประชาชนต้องมีการนำรวมหมู่ มีคณะนำ หรือนำแบบคณะกรรมการครับ

ผมขอพูดเรื่อง “เจียงไคเช็ค เป็นศัตรูกับประชาชนเมื่อใด ?” นะครับ

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่พรรคก๊กมินตั๋งที่มีเจียงไคเช็คเป็นผู้นำ ได้จับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำ เพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น เมื่อร่วมกันต่อสู้ญี่ปุ่น ศัตรูตัวเดียวกัน ก็เป็นมิตรกันนะครับ

แต่เมื่อไม่ร่วมสู้กับศัตรูแถมไปร่วมมือกับศัตรู จากมิตรก็กลายเป็นศัตรูนะครับ พอเจียงไคเช็คหักหลังประชาชน โดยการร่วมมือกับญี่ปุ่นปราบพรรคคอมมิวนิสต์จีน และปราบประชาชนจีนที่สนับสนุนและเข้าร่วมในพรรคอมมิวนิสต์ ตรงจุดนี้คือเส้นแบ่งมิตรกับศัตรูนะครับ

ตอนนี้ทักษิณ เฉลิม อนุดิษฐ์ เพรียวพันธ์ เป็นศัตรูกับคนเสื้อแดง และประชาชนทั่วไปหรือยัง?

คนที่เอ่ยชื่อดังกล่าวนี้ ได้เป็นศัตรูประชาชนแล้ว ในทางการกระทำครับ แต่ถ้าดูเพียงคำพูด พวกนี้จะอ้างว่ารักประชาชน พวกพรรคเพื่อไทย ทักษิณ เฉลิม เพรียวพันธ์ อนุดิษฐ์ คือผู้ลงมือปราบประชาชนมิให้แก้ ม.112 และไม่เอาผิดคนฆ่าประชาชน เขาหลอกประชาชนมาให้ถูกฆ่า และพวกเขาไม่ทำลายล้างชนชั้นศักดินา และทุนผูกขาดศักดินา

เมื่อเขาร่วมมือกับศักดินา ย่อมเป็นสัญญาณที่”ทรยศ” การกระทำเป็นการเปิดโฉมหน้าว่า “เขาเป็นศัตรูประชาชน”

ประชาชนไม่ควรลังเลอีกต่อไปว่าพรรคเพื่อไทย ทักษิณ ขวัญชัย ลูกจ้างและสมุนทักษิณ จะเป็นศัตรูประชาชนหรือไม่?

ปัจจุบัน ได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเขาลงมือปราบประชาชนที่ก้าวหน้า และแยกสลายพลังประชาชน ให้คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งไปรับใช้การกดขี่ขูดรีดของทุนใหญ่ศักดินาที่ทักษิณมีหุ้นส่วนในกิจการเดียวกันกับศักดินาจำนวนมาก เช่น เอไอเอส ปตท. ฯลฯ ”

โดยสภาพชนชั้นของทักษิณ เขามีชีวิตด้วยการใช้กรรมกร และลูกจ้างทำงานให้กิน และทักษิณมีโอกาสหยิบทุนเงินตรามาเป็นเครื่องมือขูดรีดแรงงาน เป็นทุนผูกขาดที่กินแรงงานส่วนเกิน กินผลผลิต กำไรของสังคมทั้งครอบครัว พัฒนาจากมิตรของกรรมกรทางเศรษฐกิจ จนกลายมาเป็นศัตรูทางการเมืองกับกรรมาชีพทั้งชนชั้นแล้ว

โดยสถานะการเมือง และโอกาส เขามีโอกาสหากินร่วมกับศักดินาได้ง่ายๆ เพียงแค่ยอมรับใช้ศักดินาและจ่ายเงินส่วยให้ศักดินา ทำแบบซีพี และแบงค์กรุงเทพ ก็อยู่กับศักดินาได้แล้วนะครับ

พรรคเพื่อไทยและทักษิณ ไม่จำเป็นต้องมาลงแรงปฏิวัติ ไม่ต้องประกาศเป็นหัวหน้าการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องใช้กองกำลังเข้าโค่นล้มระบอบ ซึ่งทักษิณ ไม่มีวันที่จะทำเช่นนั้น เพราะเขากลัวตาย เพราะต้องไล่ล่ากันทั่วโลก และกลัวครอบครัวของทักษิณเดือดร้อน (ประชาชนเดือดร้อนไม่เป็นไร? เขาคิดจะชดใช้ให้)

โดยสถานภาพของชนชั้นนายทุน ที่ใช้เงินทุนเป็นเครื่องสูบดูดเอาผลงาน เอาผลผลิตของกรรมาชีพ มาใส่ครอบครัวตน พวกกลุ่มทุนเหล่านี้ เป็นศัตรูทางชนชั้น ต่อกรรมาชีพ ตั้งแต่เริ่มต้น แต่ยังไม่แตกหัก ทักษิณใช้ทุนขูดรีดกรรมาชีพมาโดยตลอด แต่ยังไม่เป็นศัตรูต่อกรรมกรในช่วงแรก เพราะทักษิณยังเป็นผู้ประกอบการรายย่อย และยังไม่ได้ก่ออาชญากรรมทางการเมืองแบบทุกวันนี้

ที่หลอกคนไปตาย และไม่เอาผิดคนฆ่า ซึ่งเท่ากับทักษิณร่วมมือกับฆาตกร ประชาชนถูกฆ่าจากใครนั้น ทักษิณรู้ดี แต่เขาไม่เอาผิดกับฆาตกร ถ้าฆาตกรสังหารประชาชนเพื่อเขา และครอบครัว

ทักษิณเป็นศัตรูแล้วหรือไม่?

ถ้ามองในสายตายชนชั้นกรรมาชีพ ในมิติการเมืองปัจจุบัน เขาคือศัตรูประชาชน  เดิมศัตรูหลักคือทุนผูกขาดของศักดินาที่มีสมุนชื่อเปรม สุรยุทธ์ เนวิน สุเทพ อภิสิทธิ์ ประยุทธ์ บัดนี้มีทักษิณเพิ่ม ที่ได้ไปต่อแถว เปิดแผนกไล่ล่าประชาชนที่ก้าวหน้า

เดิมทักษิณเคยเป็นแนวร่วมประชาชนในการสู้ศักดินาสมัยที่ยังไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาลอีกครั้ง บัดนี้ทักษิณได้ย้ายข้างไปปกป้องศักดินาแล้วอย่างโจ่งแจ้ง และท้าทายประชาชนแล้ว ประชาชนไม่ควรลังเล ที่จะแจ้งข่าวที่ถูกต้องให้แก่กันและกัน

ประชาชนต้องตระหนักรู้ หรือตื่นรู้ว่า ทักษิณและพรรคเพื่อไทย คือ ตัวอันตราย ตัวใหม่ อีกตัวที่เผยตนออกมาเอง ที่เขาเข้าสมทบการปราบปรามประชาชนและปกป้องระบอบทุนผูกขาดศักดินา ประชาชนจึงต้องระมัดระวังสมุนของทักษิณให้มากขึ้นด้วย และควรจำแนกบุคคลเป้าหมาย ที่ประชาชนจะต้องเตรียมการ Delete (ลบ) ทิ้งต่อไป

ปฎิรูปหรือปฏิวัติ

 โดย ศรีสองเมือง

คำว่า”ปฏิวัติ” นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากคุณภาพเก่าไปสู่คุณภาพใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลง ในระดับโครงสร้างพื้นฐานเลยทีเดียว เช่นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนจากระบอบสังคมที่ล้าหลังไปสู่สังคมที่ ก้าวหน้ากว่า หรือเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่ระบอบประชาธิปไตย หรือจากระบบความคิดเก่าไปสู่ระบบความคิดใหม่
  
ส่วนการ ปฏิรูป นั้นหมายถึงการปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ใช่การเปลี่ยนไปสู่คุณภาพใหม่แต่อย่างใด จะลดหรือเพิ่มก็เพียงด้านปริมาณเท่านั้น


ใครก็ตามที่เสนอแนวทาง ”ปฏิรูป” ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ และอ้างว่ามันเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดสำหรับแก้ไขความขัดแย้งต่างๆในสังคมได้  สามารถสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เป็นเพราะพวกเขารักสันติ แท้จริงแล้วเป็นเพราะแนวทางนี้จะเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกเขาที่จะคงสถานะได้ เปรียบทางสังคมของตนเอาไว้ต่างหาก        

แนวคิดปฏิรูปจึงสามารถโน้มน้าวปัญญาชนนายทุนน้อยทั้งหลายให้เห็นดีเห็นงาม ไปด้วย พวกเขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับคุณภาพที่ไม่ผ่านความรุนแรงนั้นมีความ เป็นไปได้ โดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เลยว่ามันไม่เคยเป็นจริง  ขอให้เรามาเปรียบเทียบคุณภาพของการปฏิรูปและการปฏิวัติว่ามันมีความแตกต่าง กันอย่างไร
      
หากเราต้องการต้มน้ำให้เดือดโดยใช้อุณหภูมิแค่ 40 องศา(c) น้ำจะค่อยๆสะสมอุณหภูมิให้สูงขึ้นทีละเล็กทีละน้อย  แต่จะไม่มีวันถึงจุดเดือดและกลาย เป็นไอได้เลย น้ำจะยังคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ เพียงแต่มีอุณหภูมิสูงขึ้นบ้างเท่านั้น   ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ(กลายเป็นไอ)แต่อย่างใด เปรียบได้ดั่งแนวคิดของนักปฏิรูปที่ฝันถึงความค่อยเป็นค่อยไปและมีความหวัง ว่าถ้าเผด็จการทรราชล่วงไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีตามมา  โดยมิได้คำนึงถึงการก้าวขึ้นมาแทนที่ของทรราชคนใหม่คนต่อไป และคนต่อไปเลย ดังนั้นแนวคิดปฏิรูปจึงไม่มีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสังคมได้ ทั้งนี้เพราะรากฐานและโครงสร้างทางอำนาจของเผด็จการดั้งเดิมยังคงดำรงอยู่ อย่างเหนียวแน่น แนวทางปฏิรูปจึงเป็นแค่เพียงความเพ้อฝันของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้เปรียบใน สังคมเท่านั้น  
  
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่ผ่านมามันได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างเด่น ชัดว่า  สังคมไทยภายใต้การครอบงำของลัทธิเผด็จการ  หรือคนที่มีความคิดเผด็จการ  หรือคนที่ยอมรับใช้เผด็จการตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์มาจนถึงปัจจุบัน   ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนรากหญ้ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขึ้นเลย  ยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏจักรของความยากจน หนี้สิน  และความอยุติธรรมนานาชนิดท่ามกลางการกดขี่ ประเทศชาติมีหนี้สินพอกพูนขึ้นมากมาย ในขณะที่ชนชั้นปกครองและบริวารกลับมีความสุขและร่ำรวยขึ้นท่ามกลางความอด อยากยากจนของประชาชน
  
มันเป็นไปได้อย่างไร... ที่ประชาชนของประเทศซึ่งได้ชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแห่งหนึ่ง ของโลก ต้องมาประสบกับชะตากรรมอันเลวร้ายถึงปานนี้  เท่านั้นไม่พอยังถูกยัดเยียดให้ซึมซับรับเอาค่านิยมสามานย์เพ้อฝันและถูก มอมเมาด้วยวัฒนธรรมที่ไร้สาระอีกด้วย  พวกเขาผลิตคติธรรมคำพูดที่สละสลวยสวยงามขึ้นมาอย่างไม่ขาดสาย จากสติปัญญาของ ลูกหลานกรรมกรชาวนาที่ทรยศต่อชนชั้นเดิมของตน แต่ละวันเราจะพบเห็นได้ยินการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อที่เป็นองค์กรจัดตั้งของพวก เขา เพราะพวกเขามีเจตนาที่จะกักขังประชาชนให้ตกอยู่ในความมืดบอดทางปัญญาและ เป็นเบี้ยล่างที่สิ้นหวังไปตลอดชีวิต     กดหัวให้ยอมเป็นเครื่องมือที่มีลมหายใจทำการผลิตปัจจัยต่างๆเพื่อการดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยของพวกเขาเท่านั้น  
    
สำหรับแนวคิดที่ว่าจะได้ประชาธิปไตยมาโดยร้องขอนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความคิดเพ้อฝันและไร้เดียงสาอย่างยิ่งในทางการเมือง ไม่แน่ว่าอีกกี่ชั่วคนจึงจะได้รับการตอบสนอง สำหรับประชาชนที่ตาสว่างแล้วจะไม่ยอมเลือกเส้นทางนี้อย่างเด็ดขาด  แต่จะเพิ่มอุณหภูมิของการต่อสู้ให้สูงขึ้นจนกว่าถึงจุดเดือดเพื่อจะเปลี่ยน สถานะภาพของสังคมที่เลวร้ายให้กลายเป็นสังคมที่ดีงามของประชาซน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพจากสถานะเก่าไปสู่สถานะใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะปฏิวัติ!!!!! ต่อจากนั้นค่อยทำการปฏิรูป
      

การเพิ่มอุณหภูมิคืออะไร? ก็คือการเพิ่มนักปฏิบัติเข้าไปในหมู่ผู้นำมวลชนทุกระดับในขบวนแถวของ ประชาชน เป็นการแก้ปมทางยุทธศาสตร์ที่พวกเผด็จการพยายามสกัดกั้นทำลายหัวขบวนของ ประชาชน  เพราะเขายังมีความเชื่ออย่างเก่าว่าเมื่อไม่มีหัวขบวนก็จะเคลื่อนไหวไม่ได้ เราจะเห็นได้ว่าความคิดนี้ได้แปรไปสู่การกระทำด้วยการพยายามคุกคามในรูปแบบต่างๆต่อ ผู้ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทุกๆระดับทั่วประเทศ ในอดีตมันอาจจะได้ผลแต่สำหรับปัจจุบันเงื่อนไขต่างๆไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นแล้ว  เพียงเงื่อนไขของเวลาเพียงอย่างเดียวก็ได้ผลักดันให้สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงสาเหตุของ ”ความขัดแย้งภายใน”  ของพวกเขา ประชาชนได้พัฒนาความรับรู้มากขึ้นและกำลังอยู่ในระยะสะสมปริมาณเพื่อจะก้าว ไปสู่คุณภาพใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
      
การที่มวลชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวอย่างมากมายมหาศาลนั้น ไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยว่านี่เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แม้การเคลื่อน ไหวต่อสู้ที่ผ่านมาจะเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี   แต่ยังไม่ก่อให้เกิด”พลวัตร” ที่มากพอจะไปเอาชนะผู้กดขี่ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสร้างและยกระดับความรับรู้ของประชาชนขึ้นมาให้ถึงขั้นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยพื้นฐาน ต้องเอาจริงเอาจังกับปัญหานี้และต้องถือว่าเป็นภาระ หน้าที่ๆสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งไม่อาจละเลยได้  ยิ่งในขณะนี้ต้องถือว่ามันเป็นปัญหาใจกลางที่มีความสำคัญ
  
ในยามที่จิตใจสู้รบของมวลชนอยู่ในกระแสสูง จะต้องเร่งสร้างผู้ปฏิบัติ งานซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการชี้ขาดชัยชนะขึ้นมาอย่างเร่งด่วน เสริมสร้างปัจจัยที่เป็นคุณและสิ่งที่ขาดหายไปขึ้นมาเพื่อพัฒนาดุลยภาพใน การต่อสู้ การสร้างตัวแทนของมวลชนในระดับต่างๆนั้นยังไม่เพียงพอ ต้องติดอาวุธทางปัญญาให้พวกเขาสามารถไปทำหน้าที่เป็นผู้นำความคิดทางการ เมืองและแนวทางการต่อสู้ที่ถูกต้องสอดคล้องกับภววิสัยให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย ต้องทำให้พวกเขาเป็นเมล็ดข้าวเปลือกทางปัญญา   ตกที่ไหนก็จะงอกงามที่นั่น          

ยังไม่สายที่จะ ปรับความคิด ปรับขบวน  
เลือกแนวทางให้ชัดเจนว่าเป้าหมายในการต่อสู้คืออะไร ปฏิรูปหรือปฏิวัติ



ที่มา redsiam

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รัฐสวัสดิการ (Welfare State) คืออะไร?

ในยุคปัจจุบัน ไม่มีประเทศไหนที่ไม่มีสวัสดิการสำหรับคนจนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วระบบสวัสดิการที่พบในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีลักษณะที่ไม่ครอบคลุม แยกส่วน และไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้


รัฐสวัสดิการ (Welfare State) เป็นระบบสวัสดิการรูปแบบที่พัฒนาไปถึงระดับสูงสุดสำหรับระบบทุนนิยม และถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat) รัฐสวัสดิการมีลักษณะพิเศษคือ

(ก) เป็นระบบครบวงจรที่ดูแลพลเมือง “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

(ข) เป็นสวัสดิการถ้วนหน้า คือพลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับ ไม่เจาะจงว่าต้องเป็นคนจนสุดเท่านั้น พลเมืองจึงไม่ต้องเสียศักดิ์ศรีในการพิสูจน์ความจน

(ค) เป็นระบบสวัสดิการเดียวสำหรับพลเมืองทุกคนที่อาศัยรัฐเป็นผู้บริหาร ไม่ใช่ว่ามีหลายระบบซ้ำซ้อนกัน อย่างที่เรามีในประเทศไทย

(ฆ) เป็นระบบสวัสดิการที่อาศัยงบประมาณจากการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า คือคนรวยจ่ายมาก คนจนจ่ายน้อย

เชิญอ่านบทความเต็มว่าทำไมประเทศไทยควรเป็นรัฐสวัสดิการ และรัฐสวัสดิการคืออะไรได้ที่นี่ บทความวิชาการของ ใจ อึ๊งภากรณ์

ที่มา redthaisocialist

ชนชั้น พรรค และแนวร่วม

สังคมไทยแบ่งเป็นชนชั้นอย่างชัดเจน มี “ผู้ใหญ่” กับ “ผู้น้อย” คนรวย กับคนจน และมีนายทุน กษัตริย์ ทหาร ผู้ประกอบการรายย่อย กรรมาชีพลูกจ้าง และเกษตรกร

คนที่สนใจเรื่องชนชั้น มักจะเป็นคนที่สนใจที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่มันมีหลายวิธีที่จะจำแนกชนชั้นต่างๆ เช่นอาจดูรายได้ ลักษณะงาน หรือรสนิยม

นักมาร์คซิสต์จำแนกชนชั้น ตามความสำพันธ์กับระบบการผลิต เพราะระบบการผลิตเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ทุกคนดำรงชีวิตในโลกได้ และความสัมพันธ์กับระบบนี้ที่แตกต่างกัน นำไปสู่อำนาจที่แตกต่างกันในสังคม

อำนาจของชนชั้นปกครอง(ชนชั้นนายทุน)มาจากอำนาจที่จะควบคุมทรัพยากรและมูลค่าต่างๆ อำนาจในการคุมระบบการผลิตกับชีวิตงาน และอำนาจในการคุมกองทัพและสื่อ ส่วนประชาชนธรรมดาก็มีอำนาจเช่นกัน อำนาจหลักมาจากการที่เราเป็นผู้ทำงานสร้างมูลค่าทั้งปวง ที่สำคัญคือความสัมพันธ์กับระบบการผลิตที่ต่างกัน นำไปสู่ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่นนายจ้างต้องการกำไรมากที่สุด แต่ลูกจ้างต้องการเพิ่มค่าจ้างเพื่อชีวิตที่ดีเป็นต้น  

ในระบบทุนนิยมมีชนชั้นดังนี้คือ
1. นายทุน ผู้ควบคุมหรือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เช่นโรงงาน บริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ ในโลกสมัยใหม่อำนาจในการควบคุมปัจจัยการผลิตเป็นเรื่องหลัก เพราะนายทุนไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทั้งบริษัทก็ได้ แค่ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็พอ และในกรณีรัฐวิสาหกิจ นายทุนคือข้าราชการชั้นสูง หรือทหาร ที่ถือตำแหน่งในกรรมการบริหาร นายทุนทั้งชนชั้นมีอำนาจมาก เพราะควบคุมเศรษฐกิจ และทุกอย่างที่ทำให้เราดำรงชีพได้ โดยไม่มีประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้งแต่อย่างใด เขาสามารถตัดสินใจเรื่องการลงทุน การถอนทุน การจ้างงาน หรือการเลิกจ้างได้ นอกจากนี้ชนชั้นนายทุนคุมอำนาจรัฐในส่วนที่ไม่มีการเลือกตั้งอีกด้วย เช่นกองทัพ ตำรวจ สื่อ หรือศาล และใช้สถาบันเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของตน แต่ชนชั้นนายทุนเป็นคนส่วนน้อยของสังคม  

2. กรรมาชีพ คือผู้ที่เป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรในโรงงาน พนักงานในออฟฟิส ข้าราชการชั้นผู้น้อย แรงงานรับจ้างในภาคเกษตร พยาบาล ครู อาจารย์ และรวมทั้งทนายหรือหมอที่เป็นลูกจ้างอีกด้วย ชนชั้นกรรมาชีพไม่มีอำนาจในการคุมปัจจัยการผลิต บริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ แต่มีพลังต่อรองสูง ถ้ารวมตัวกันตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อทวงคืนมูลค่าที่ตนเองผลิต ยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพมีพลังซ่อนเร้นมหาศาล เพราะเป็นผู้ทำงานในใจกลางระบบทุนนิยม การนัดหยุดงานหรือการยึดสถานที่ทำงานโดยชนชั้นกรรมาชีพโดยประสานกันทั้งประเทศ อาจนำไปสู่การล้มอำนาจนายทุนและการสร้างสังคมใหม่ได้ แต่กรรมาชีพต้องพัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองและมีพรรคเป็นองค์กรจัดตั้ง ถึงจะล้มนายทุนได้ ในสังคมไทยชนชั้นกรรมาชีพเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม

3. ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางในสังคมเรา เป็น “กลุ่มชนชั้น” มีความหลากหลายและกระจัดกระจาย เป็นคนที่ไม่ใช่นายทุน และไม่ใช่ลูกจ้างระดับธรรมดา เช่นเกษตรกรผู้ผลิตเองรายย่อย พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ผู้ประกอบการเอง หรือหัวหน้างาน และผู้บริหารที่เป็นลูกจ้างนายทุนแต่มีอำนาจให้คุณให้โทษ ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มชนชั้นที่ไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ บางส่วนขยายจำนวน บางส่วนเริ่มมีน้อยลงเพราะล้มละลาย และชนชั้นนี้มีปัญหาในการรวมตัวกัน เพราะไม่เป็นปึกเป็นแผ่น มีผลประโยชน์ต่างกัน และอาจเป็นคู่แข่งกันด้วย บ่อยครั้งชนชั้นกลางต้องไปเกาะติดกับชนชั้นที่มีอำนาจมากกว่า เช่นชนชั้นนายทุนหรืออำมาตย์ หรือบางครั้งอาจเกาะติดกับชนชั้นล่างเมื่อมีการต่อสู้ ดังนั้นจุดยืนทางการเมืองของชนชั้นกลางจะไม่คงที่ ชนชั้นกลางมีจำนวนน้อยกว่ากรรมาชีพในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะเกษตรกรรายย่อยกำลังล้มละลาย และคนส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง

นักมาร์คซิสต์ให้ความสำคัญกับกรรมาชีพเป็นพิเศษเนื่องจากมีอำนาจซ่อนเร้นทางเศรษฐกิจ และการต่อสู้ของกรรมาชีพจะเน้นการรวมตัวกันเพื่อประโยชน์คนจำนวนมาก เพราะกรรมาชีพในสถานที่ทำงานถูกบังคับโดยสถานการณ์ให้ต่อสู้แบบรวมหมู่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถ้าสู้แบบปัจเจกจะต่อรองกับนายจ้างไม่ได้ แต่กรรมาชีพไทยยังต้องจับมือสร้างแนวร่วมกับคนจนในชนบทอีกด้วย เช่นลูกจ้างภาคเกษตรและเกษตรกรรายย่อย คนเสื้อแดงส่วนใหญ่เป็นกรรมาชีพหรือเกษตรกรรายย่อย แต่อาจมีผู้ประกอบการเองเข้ามาร่วมอีกด้วย ประเด็นที่น่าสนใจคือคนเสื้อแดงชื่นชมนายทุนอย่างทักษิณ เพราะพรรคไทยรักไทยให้ประโยชน์กับคนธรรมดามากมาย แต่ถ้าคนเสื้อแดงพัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองมากขึ้น จะมีการนำตนเอง และผลักดันการต่อสู้ที่ไปไกลกว่าขั้นตอนการประนีประนอมกับอำมาตย์ ที่คนอย่างทักษิณหรือพรรคการเมืองของเขาต้องการ
ชนชั้นกลางบางส่วน โดยเฉพาะพวกพ่อค้าแม่ค้าที่มีธุรกิจขนาดเล็กในเมือง หรือที่เป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหาร มักจะเป็นพวกล้าหลังที่เกลียดชังคนจนและไม่ชอบประชาธิปไตย ในอดีตพวกนี้จะสนับสนุนฮิตเลอร์กับพวกฟาสซิสต์ และในปัจจุบันเราจะเห็นพวกนี้เข้าไปร่วมกับพันธมิตรฯ ที่ต่อสู้เพื่อช่วยให้อำมาตย์ครองเมือง
นอกจากนี้ในกลุ่มเสื้อเหลืองยังมีนักสหภาพแรงงานบางส่วนที่ถูกชักจูงไปรับใช้อำมาตย์ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสังกัดชนชั้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่าใครจะมีความคิดทางการเมืองแบบไหนอย่างอัตโนมัติ นี่คือสาเหตุที่นักมาร์คซิสต์พยายามจัดตั้งพรรค ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งทางการเมือง ที่พยายามเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์กับคนจน เพื่อแข่งแนวและช่วงชิงการนำในหมู่ประชาชน
 
พรรคปฏิวัติ พรรคปฏิวัติตามแนวคิดนักมาร์คซิสต์ เป็นที่รวมของนักเคลื่อนไหวที่มีจิตสำนึกก้าวหน้าพอที่จะเข้าใจว่าเราต้องปฏิวัติล้มระบบทุนนิยม พรรคอาจประกอบไปด้วยกรรมาชีพ เกษตรกร นักศึกษา หรือคนชั้นกลาง แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนสังคมคือส่วนที่เป็นกรรมาชีพ เพราะกรรมาชีพคือพลังหลักทางเศรษฐกิจ พรรคปฏิวัติจึงถือได้ว่าเป็นแหล่งรวมของกรรมาชีพที่ก้าวหน้าที่สุด และมีเป้าหมายเพื่อขยายความคิดไปสู่กรรมาชีพส่วนใหญ่ที่อาจยังไม่เป็นมาร์คซิสต์

เนื่องจากการสร้างสังคมนิยมต้องมาจากการปลดแอกตนเองของกรรมาชีพส่วนใหญ่ พรรคต้องเป็นองค์กรที่มีประชาธิปไตยภายใน และเป็นองค์กรที่ช่วยให้คนธรรมดานำตนเอง ต้องเสริมสร้างความมั่นใจกับทุกคนและพัฒนาให้สมาชิกเป็นปัญญาชน พรรคจะต้องเปิดโอกาสให้ถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเสรี เพื่อให้ทุกคนนำประสบการณ์โลกจริงเข้ามาพิจารณาเสมอ พรรคมาร์คซิสต์จะต้องไม่ใช่พรรคเผด็จการที่สั่งการมวลชน อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเป็น  

สหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานคือองค์กรที่สร้างขึ้นจากการรวมตัวกันแบบพื้นฐานของชนชั้นกรรมาชีพ สหภาพแรงงานจะสู้เพื่อปกป้องสภาพการทำงาน เช่นเรื่องเงินเดือนหรือสวัสดิการ และทั้งๆ ที่เป็นเรื่องปากท้องที่สำคัญยิ่ง แต่การต่อสู้แบบนี้เป็นแค่การหาทางอยู่รอดในระบบทุนนิยม ถ้าเราจะปลดแอกตนเอง เราจะต้องพัฒนาจิตสำนึกและความคิดจากระดับสหภาพแรงงานไปสู่จิตสำนึกทางการเมืองโดยรวม โดยสร้างพรรคและสู้กับระบบทุนนิยม นี่คือสาเหตุที่ชนชั้นปกครองไทยพยายามห้ามไม่ให้สหภาพแรงงานยุ่งเรื่องการเมืองเสมอ  

การสร้างแนวร่วม
การทำแนวร่วมภายในชนชั้น ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซีย นักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี ได้เสนอยุทธวิธีสำคัญในการต่อสู้ของนักสังคมนิยม ยุทธวิธีนั้นคือการทำ “แนวร่วมภายในชนชั้นกรรมาชีพ” และในยุคของสงครามระหว่างชนชั้นที่กำลังขยายตัวทุกวันนี้ในประเทศไทย เราควรศึกษาศิลปะการทำแนวร่วมแบบนี้ให้ดี

นิยามของแนวร่วม ในมุมมองของนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี คือ “แนวร่วมระหว่างกลุ่มนักปฏิวัติสังคมนิยม กับกลุ่มหรือมวลชนกรรมาชีพหรือคนจนที่ต้องการสู้เพื่อผลประโยชน์ชนชั้นตนเอง แต่ยังไม่พร้อมหรือไม่มั่นใจว่าจะต้องปฏิวัติสู่สังคมนิยม .... ในแนวร่วมนี้ นักปฏิวัติสังคมนิยมต้องรักษาอุดมการณ์ไว้ ไม่ปิดบังจุดยืน แต่ต้องพร้อมจะร่วมสู้กับมวลชนด้านกว้าง” แนวร่วมแบบนี้เป็นแนวร่วมระหว่างสองจุดยืนภายในชนชั้นกรรมาชีพ และใช้เป็นอาวุธสำคัญในการปกป้องคนชั้นล่างจากการคุกคามของฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมหรือการโจมตีของชนชั้นปกครอง ในขณะที่กลุ่มหรือพรรคของนักปฏิวัติร่วมสู้กับคนที่ไม่อยากไปไกลเกินไป นักปฏิวัติจะต้องพยายามแนะแนวกับมวลชนด้านกว้าง ที่สำคัญการแนะแนวและร่วมสู้ถือว่าเป็นการช่วงชิงการนำจากผู้นำเดิมที่กำลังนำมวลชนให้ประนีประนอม  

แนวร่วมแบบแย่ๆ ในขณะที่ เลนิน กับ ตรอทสกี เสนอแนวร่วมแบบที่กล่าวถึงไปแล้ว คนอย่าง สตาลิน หรือ เหมาเจ๋อตุง ได้เสนอให้พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกสร้างแนวร่วมข้ามชนชั้น ซึ่งเป็นแนวร่วมระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์/กรรมาชีพ/เกษตรกร กับชนชั้นนายทุนผู้เป็นศัตรู สาเหตุเพราะ สตาลิน กับ เหมา อยากหาทางฉวยโอกาสปกป้องเผด็จการที่เกิดขึ้นในประเทศของตนเองภายใต้แนวชาตินิยม โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์คนจนทั่วโลก เผด็จการเหล่านี้ใช้ธงแดงแต่กดขี่ประชาชนของตนเอง จุดยืนแบบนี้คือสาเหตุที่รัฐบาลจีนหักหลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ค.ท.) และไปผูกมิตรกับรัฐบาลไทยหลัง ๖ ตุลาคม ซึ่งนำไปสู่การไล่สถานีวิทยุเสียงประชาชนไทยออกจากดินแดนจีน

ประเด็นปัญหาการทำแนวร่วมกับพรรคนายทุนยังท้าทายนักสังคมนิยมอยู่เรื่อยๆ เช่นกรณีพรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM) ที่ทำข้อตกลงไม่ลงสมัครแข่งกันเองในหมู่พรรคฝ่ายค้านมาเลเซีย ซึ่งเปิดช่องให้พรรคนี้ได้ ส.ส. มาสองคน โดยที่ต้องทำข้อตกลงกับพรรคคาดิลัน ของ อันวาร์ พรรคมุสลิม PAS และพรรค DAP ของคนจีน ซึ่งล้วนแต่เป็นพรรคของชนชั้นนายทุน

อีกกรณีหนึ่งที่ท้าทายเราอยู่คือ ท่ามกลางวิกฤติการเมืองปัจจุบันในไทย เมื่อเราเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดง เพื่อยืนอยู่เคียงข้างมวลชนจำนวนมากที่อยากปกป้องประชาธิปไตยและคัดค้านพันธมิตรฯฟาสซิสต์ เราควรมีท่าทีอย่างไรต่อ ทักษิณ และนักการเมืองนายทุนในพรรคเพื่อไทย

ที่มา redthaisocialist

สังคมนิยมคืออะไร โดย กองบรรณาธิการ องค์กรเลี้ยวซ้าย และ บทวิจารณ์ บทบรรณาธิการ นสพ.องค์กรเลี้ยวซ้าย

(บทตั้ง)
แนะนำ “สังคมนิยม” และความคิด “มาร์คซิสต์ เบื้องต้น
โดย กองบรรณาธิการ    องค์กรเลี้ยวซ้าย วันพุธที่   20 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สังคมนิยมคืออะไร


“สังคมนิยม” เป็นระบบที่มนุษย์ฝันถึงมานาน ตั้งแต่เกิดสังคมชนชั้นที่ไร้ความเสมอภาคและความยุติธรรม ในสมัยก่อนเขาอาจไม่เรียกว่า “สังคมนิยม” แต่อาจมีคนเรียกว่า “ยุคพระศรีอารย์” หรือชื่ออื่นๆ แต่มันมีความหมายเดียวกันคือ “สังคมที่สงบสุขเท่าเทียมกัน” นักสังคมนิยมที่ทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เพื่อหาทางปฏิวัติไปสู่สังคมนิยม คือ คาร์ล มาร์คซ์ และเพื่อนเขาชื่อ เฟรดเดอริค เองเกิลส์ ดังนั้นชาวสังคมนิยมมักจะเรียกตัวเองว่า “มาร์คซิสต์”


พวกเราชาว “มาร์คซิสต์” เชื่อว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพ[1]เอง ไม่ใช่มาจากการวางแผนโดยผู้นำคนเดียว กลุ่มคนชั้นสูงในวงแคบ ๆ ผู้นำพรรค หรือกองทัพปลดแอก มันเป็นเรื่องรากหญ้า ดังนั้นสังคมนิยมจะมีลักษณะตามที่กรรมาชีพและพลเมืองส่วนใหญ่พึงปรารถนา ต้องออกแบบและสร้างจากล่างสู่บนโดยคนรากหญ้าเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะสร้างสังคมใหม่ที่เป็นสังคมนิยม มันน่าจะมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้คือ


1. เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างทุนนิยมซึ่งอำนาจควบคุมการผลิตเป็นของนายทุน ทั้งนี้เพราะในระบบสังคมนิยมระบบเศรษฐกิจการผลิตจะถูกควบคุมโดยพลเมืองทุกคน ดังนั้นสังคมนิยมจะเป็นระบบก้าวหน้าที่ปลดแอกมนุษย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์


2. ในระบบสังคมนิยมจะมีการวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เพื่อสะสมอาวุธ หรือเพื่อการหวังกำไรของคนส่วนน้อย จะเป็นระบบที่มีความเสมอภาคเต็มที่ ไม่มีคนรวย ไม่มีคนจน ไม่มีการกดขี่ทางเพศหรือเชื้อชาติ


3. ในระบบสังคมจะยกเลิกการขูดรีดของนายทุน โดยการยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมของคนบางคน ที่จะควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างผูกขาดแล้วนำกำไรเข้ากระเป๋าตนเองหรือลงทุนเพื่อหากำไรเพิ่ม ทุกสถานที่ทำงานจึงต้องเป็นของคนงานเอง ของสังคมโดยรวม ไม่มีเจ้านาย ไม่มีชนชั้น บริหารกันเองประสานกับส่วนอื่นของสังคม ทรัพยากรของโลกจะเป็นของส่วนรวม ดังนั้นการกดขี่แย่งชิงกันระหว่างชาติก็จะค่อยๆ หมดไป


4. มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าบางคนมีงานทำที่น่าสนใจ และคนอื่นต้องทำงานซ้ำซาก การทำงานของพลเมืองควรจะเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ และสนับสนุนความสร้างสรรค์ที่หลากหลายของเราทุกคน พลเมืองทั้งสังคมจะได้มีศักดิ์ศรีและได้รับความเคารพรักซึ่งกันและกัน

“สังคมนิยม” สองรูปแบบ

เมื่อเราพูดถึงสังคมนิยม มักจะมีคนนึกถึงระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในรัสเซีย เวียดนาม หรือจีน หรือบางครั้งอาจนึกถึงระบบพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยภายใต้ทุนนิยมในประเทศสแกนดิเนเวีย อังกฤษ หรือออสเตรเลีย แต่แนวคิดสังคมนิยมมีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ

1. สังคมนิยมจากบนสู่ล่าง
ซึ่งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสร้างหรือบริหาร เช่นสังคมนิยมที่มาจากการสร้างเผด็จการของกลุ่มข้าราชการพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน เวียดนาม ลาว คิวบา เกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย(ภายใต้สตาลิน) หรือสังคมนิยมปฏิรูปที่มาจากการกระทำของ ส.ส. พรรคสังคมนิยมในรัฐสภา สังคมนิยมดังกล่าวเป็นสังคมนิยมประเภท “ท่านให้” ซึ่งเป็นสังคมนิยมจอมปลอม อาจเป็นเผด็จการ หรือเป็นการประนีประนอมกับระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยมและอำนาจนายทุน

2. สังคมนิยมจากล่างสู่บน
เป็นสังคมนิยมที่สร้างโดยมวลชนกรรมาชีพเอง ร่วมกับเกษตรกรระดับรากหญ้า โดยอาศัยการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมเพื่อสถาปนารัฐกรรมาชีพ และรัฐกรรมาชีพดังกล่าวต้องมีกลไกในการควบคุมรัฐตามแนวประชาธิปไตยอย่างชัดเจน เช่นต้องมีสภาคนงานในรูปแบบที่เคยมีในคอมมูนปารีส หรือสภาโซเวียด หลังการปฏิวัติรัสเซีย 1917 สมัยเลนิน ..... สังคมนิยมประเภทนี้คือสังคมนิยมแบบ “มาร์คซิสต์” ที่องค์กร “เลี้ยวซ้าย” ชื่นชม สังคมนิยมเหมือนกับประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ไม่มีใครยกให้ได้ ต้องมาจากการต่อสู้เรียกร้องของมวลชนรากหญ้า  นี่คือสังคมนิยมที่เราชื่นชมและอยากได้


สังคมนิยมมาร์คซิสต์ แตกต่างจากเผด็จการคอมมิวนิสต์แบบ “สตาลิน-เหมา เจ๋อ ตุง” ที่พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกนำมาใช้ใน รัสเซีย จีน ลาว เขมร เวียดนาม คิวบา หรือ เกาหลีเหนือ และที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเสนอ
เนปาล
ถ้าเราไปดูประเทศเนปาล เราจะได้บทเรียนเพิ่มเติม ในเนปาลพรรคคอมมิวนิสต์สายเหมา เจ๋อ ตุง ใช้วิธีจับอาวุธสู้กับเผด็จการทุนนิยมของกษัตริย์เนปาล การต่อสู้นี้บวกกับการต่อสู้ของมวลชนในเมือง เช่นนักศึกษาและสหภาพแรงงาน ในที่สุดนำไปสู่ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในการเลือกตั้ง มีการยกเลิกสถาบันกษัตริย์ แต่ระบบที่พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลเสนอคืออะไร? พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลต้องการกลไกตลาดเสรีของนายทุน!! และต้องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ!! ซึ่งแปลว่าต้องคงไว้การขูดรีดกรรมกรและเกษตรกร เพียงแต่เปลี่ยนประเทศไปเป็นสาธารณะรัฐเท่านั้น
   
การจับอาวุธปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล จึงเป็นการต่อสู้เพื่อประนีประนอมกับระบบทุนนิยม แต่ข้อแตกต่างกับไทยคือ ในเนปาลไม่มีนายทุนใหญ่อย่างทักษิณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการและสามารถดึงการ ต่อสู้ไปเพื่อคงไว้ระบบเดิมที่มีระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
    

ประชาธิปไตยแท้จะเกิดจากการเปลี่ยนประมุขอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีการยึดอำนาจโดยประชาชนในทุกเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ถ้าเรายกอำนาจให้นายทุนดำรงอยู่และขูดรีดต่อไป และถ้าเราเกาะติดนายทุนใหญ่ในขณะที่เขาประนีประนอมกับอำมาตย์ทุนนิยม เราก็จะปลดแอกสังคมไม่ได้
  
การจับอาวุธหรือสร้างกองกำลัง เป็นการตัดขาดบทบาทมวลชนจำนวนมาก เป็นการผูกขาดสิทธิที่จะกำหนดแนวทางโดยแกนนำเผด็จการใต้ดิน ถ้ามีการถกเถียงเกิดขึ้นในแกนนำ จะใช้ปืนแทนปัญญาในการตัดสิน และเมื่อมีการลดบทบาทหรือสลายพลังมวลชน เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยแท้ที่พลเมืองนำตนเองและร่วมสร้างสังคมใหม่ได้
[1] กรรมาชีพคือคนทำงานทั้งหลายที่เป็นลูกจ้าง
เชิญอ่านรายละเอียดเพิ่มเรื่อง แนวความคิดมาร์คซิสต์ได้ โดยดาว์น โหลด หนังสือเล่มเล็กอันนี้

จาก redthaisocialist


บทวิจารณ์  บทบรรณาธิการ นสพ.องค์กรเลี้ยวซ้าย

                       ฉบับที่ ๒๐ ตุลาคม ๕๓

 เมื่อเห็นบทบรรณาธิการของ นสพ.องค์กรเลี้ยวซ้ายเรื่อง “สังคมนิยมและแนวคิดมาร์กซิสเบื้องตัน “    จึงอ่านด้วยความสนใจและชื่นชม   โดยหวังว่าจะได้รับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดใหม่ๆที่แตกต่างออกไปจากความ รู้ของตน       เพื่อจะได้นำมายกระดับพัฒนา ให้เกิดก้าวหน้าขึ้นได้บ้าง      แต่เมื่ออ่านจบแล้วกลับมีความรู้สึกว่าคำอธิบาย ”สังคมนิยม” ที่บทบรรณาธิการนำเสนอนี้ออกจะค่อนไปในทาง ”วิพากษ์ลัทธิขุนนางสตาลิน”  “ประชาธิปไตยรวมศูนย์”  “ลัทธิเหมา”  “การเปลี่ยนสีแปรธาตุของสังคมนิยม”  “การต่อสู้ด้วยอาวุธ” “พคท”ฯลฯ  พร้อมกับเสนอแนวคิดบางประการซึ่งคล้ายๆกับแนวคิดของนักอุดมคติที่มีชีวิต อยู่ก่อนหน้าและร่วมสมัยกับมาร์กซเช่น   โทมัส มอร์    ฟูริเยร์    แซงต์ ซิมอง  โรเบิร์ต  โอเวน   และอีกหลายๆความคิดมาผสมผสานกัน   โดยอาศัยชื่อของมาร์กซ์มากลบเกลื่อนความคิดที่โน้มเอียงไปในทาง ”ลัทธิสังคมนิยมปฏิรูป”   จากที่เคยศึกษาลัทธิมาร์กซมาบ้างแม้ไม่ค่อยจะเป็นระบบนัก    แต่ก็ใคร่ขอชี้แจงความเข้าใจของเราที่มีต่อลัทธิมาร์กซในประเด็นที่แตกต่าง กันดังต่อไปนี้


การเคลื่อนไหวของบรรดานักคิดทั้งหลายในสมัยของมาร์กซและก่อนหน้ามาร์กซที่ กล่าวนามมาข้างต้น   เป็นการเคลึ่อนไหวที่รู้จักกันในนามของการเคลึ่อนไหวของชนชั้นนายทุนที่ เรียกว่าสังคมนิยม(อุดมคติ )     เพื่อจะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นคนละอย่างกัน  มาร์กซได้ประกาศตนและแนวคิดของตนว่าเป็นชาวคอมมิวนิสต์      พร้อมทั้งได้เสนอหลักการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมว่า   มีเพียงทางเดียวเท่านั้นคือต้องโค่นล้มชนชั้นผู้กดขี่รวมทั้งระบอบการปกครอง ของพวกเขาลงไปเสียก่อนเท่านั้นจึงจะสามารถสร้างสังคมใหม่และขจัดสิ่งเลวร้าย เหล่านี้ไปได้     มาร์กซยังมีความเห็นว่ากำลังหลักในการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ที่พลังของชนชั้น กรรมาชีพ(proletariat)  ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ไร้สมบัติทั้งมวลที่ขายแรงงานเพื่อการดำรงชีพ โดยมีกรรมกร(workers) ในโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นกองหน้าในการเคลื่อนไหวต่อสู้     เป็นซนซั้นที่มาร์กซได้ค้นพบว่าเป็นคู่ความขัดแย้งโดยธรรมชาติของชนชั้นนาย ทุนในสังคมทุนนิยม      การต่อสู้นี้เป็นการต่อสู้ทางชนชั้นที่มันจะดำรงอยู่ตลอดและจะสิ้นสุดลงก็ ต่อเมื่อชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งถูกโค่นล้มลงหรือไม่ก็สูญสลายไปทั้งคู่


หลังจากได้อำนาจรัฐแล้ว    ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสถาปนาเผด็จการของตนซึ่งเป็นประ ชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ขึ้นมาแทนที่ประชาธิปไตยแบบเก่าของชนชั้นนายทุนที่ เป็นเผด็จการของคนส่วนน้อย    เพื่อปกป้องรักษาดอกผลของการปฏิวัติว่าจะไม่ถูกทำลายไปหรือถูกเปลี่ยนมือไป อยู่กับชนชั้นนายทุนอีก        เป็นการปูทางไปสู่การสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากการขูดรีดในลำดับต่อไป      ดังนั้นการตีความในประเด็น ”เผด็จการ”   ควรจำแนกให้ชัดเจนถึงรากฐานความคิดทางปรัชญาของลัทธิมาร์กซให้ถ่องแท้เสีย ก่อนว่ามันหมายถึงเผด็จการของใคร   เป็นเผด็จการของชนชั้นทั้งชนชั้น?   หรือเป็นเผด็จการของกลุ่มบุคคล?    หรือเป็นเผด็จการเฉพาะของคนๆเดียว ?
จากมุมมองของนักมนุษยธรรม    นักสังคมนิยมอุดมคติเหล่านั้นได้วิพากษ์วิจารณ์วิถีการผลิตของระบอบทุนนิยม    เพราะได้เห็นถึงความเลวร้ายของมันที่ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในทาง เศรษฐกิจ-สังคม   การกดขี่ขูดรีด   ความอยุติธรรม   ความยากจน   และความขาดแคลนทั้งปวงแต่พวกท่านไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่แท้จริงได้    จึงเสนอแนวทางแก้ปัญ หาโดยการสร้างสังคมใหม่ขึ้นตามจินตนาการของพวกท่าน     มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงความสัม  พันธ์ทางการผลิตและความสัมพันธ์อื่นๆในสังคม    ว่าจะผ่อนคลายความขัดแย้งลงไปได้     โดยที่ไม่ได้ให้ความความสำคัญและมองข้ามการต่อสู้ทางชนชั้น     และยังหวังที่จะได้รับความร่วมมือจากชนชั้นปกครองและบรรดานายทุนทั้งหลายอีก ด้วย


ชาวมาร์กซเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้จากการปฏิวัติ   โดยเชื่อมโยงความพยายามทางอัตวิสัยเข้ากับกับความเป็นจริงทางภววิสัย     ภาระหน้าที่แรกสุดของชาวมาร์กซที่จำเป็นต้องกระทำคือการสร้างจิตสำนึก ปฏิวัติให้แก่ชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นกองหน้าของการปฏิวัติ    ไม่ใช่วาดฝันอยู่กับความต้องการทางอัตวิสัยแต่เพียงอย่างเดียว    ชาวมาร์กซเองก็จะต้องปรับปรุงทบทวนพัฒนายกระดับความรับรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ ของตนอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน     เพื่อจะได้นำความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในแง่มุมที่หลากหลายไปช่วยสร้าง จิตสำนึกปฏิวัติให้แก่มวลชนกรรมกร     หากว่าการรับรู้ทางทฤษฎียังไม่ถูกต้องชัดเจนเพียงพอแล้ว    จะเกิดความเบี่ยงเบนทางความคิดและแนวทางปฏิบัติได้     เอาแค่ว่าจะให้คำตอบอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรต่อคำถามของกรรมกรพื้นฐานที่ว่า

“นายจ้างของผมดีมากไม่เห็นจะกดขี่ขูดรีดตรงไหน? เขาให้งานทำ  ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมทำไมจะต้องไปโค่นล้มพวกเขาด้วย”  (จากประสบการณ์)
การตอบคำถามนี้ไม่ใช่เพียงแค่ให้คำอธิบายอย่างเป็นนามธรรมตามเนื้อหาทาง ทฤษฎีเท่านั้น  แต่ยังต้องอาศัยความรู้จากประสบการณ์มาอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย   ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะประยุกต์ทฤษฎีไปอธิบายปัญหาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ อย่างไร?   สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำต้องระลึกอยู่เสมอก็คือ  

“โลกทัศน์ของลัทธิมาร์กซได้ค้นพบว่าชนชั้น กรรมาชีพเป็นอาวุธสำคัญในการปฏิบัติ   ในขณะเดียวกันชนชั้นกรรมาชีพก็ได้ค้นพบเช่นกันว่าลัทธิมาร์กซเป็นอาวุธทาง ปัญญา“

ดังนั้นหน้าที่ของปัญญาชนคือการเข้าไปช่วยสร้างจิตสำนึกปฏิวัติให้แก่มวลชน กรรมกรไม่ใช่ทำตัวเป็นอาจารย์หรือผู้นำที่คอยชี้นิ้วออกคำสั่ง     ดังนั้นความหนักแน่นชัดเจนทางทฤษฎีและประสบการณ์จากการปฏิบัติจึงมีความจำ เป็นสำหรับชาวมาร์กซผู้มีความปรารถนาจะสร้างกองหน้าแห่งสังคมนิยมขึ้นมา  
การสร้างจิตสำนึกปฏิวัติให้แก่มวลชนกรรมกรเพียงเรื่องเดียว   ก็เป็นปัญหาที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากมายอยู่แล้ว      ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธีไม่ได้สอนให้คิดและกระทำอย่างกลไกหรือให้เชื่อแบบ ลัทธิคัมภีร์   ไม่ได้สอนให้ชี้ชัดลงไปในทันทีทันใดว่าสิ่งไหนผิดหรือถูก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะไม่มองและตัดสินแนวคิดทฤษฎีใดๆที่ประสบความสำเร็จในการ ปฏิบัติว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด     ส่วนที่ยังไม่ได้นำไปปฏิบัติหรือปฏิบัติแล้วล้มเหลวเป็นสิ่งที่ผิดไปเสีย ทั้งหมดโดยยังไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดแบบวิภาษวิธี
ความ”เหมือน”และ”ความแตกต่าง”ของความคิดทางทฤษฎีที่หลากหลาย   จะเป็นเครื่องมือกรุยทางไปสู่ความถูกต้องของรูปแบบการจัดองค์กร   การให้การศึกษา   การสร้างจิตสำนึกปฏิวัติ    การนำ   การสร้างกองกำลัง    การยกระดับความคิด     ยกระดับการเคลื่อนไหว   ตลอดไปจนถึงการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์-ยุทธวิธี      อย่างน้อยที่สุดก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้แบบ ”เป็ดไล่ทุ่ง” ได้ (คือการถูกศัตรูขีดเส้นให้เดิน)
ในทัศนะของชาวมาร์กซสิ่ง


ต่อปัญหา ความเท่าเทียมหรือสิทธิเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยที่พวกนายทุนชอบอ้างอยู่ เสมอคือ   ทุกคนในสังคมมีสิทธิเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ (ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและความเห็นชอบของพวกเขา) ทุกคนมีสิทธิ์กินอาหารในภัตตาคารหรู    ดื่มไวน์ขวดละแสน    ซื้อรถสปอร์ตรุ่นใหม่    ซื้อเครื่องบินส่วนตัว ฯลฯ  แต่ในความเป็นจริง   กรรมกรรากหญ้าอย่างพวกเราแค่ “มีกิน” และไม่เป็นหนี้ก็ดีใจแล้ว     ดังนั้นความเสมอภาคในสังคมทุนนิยมจึงเป็นแค่ความเสมอภาคตามตัวอักษรที่ชน ชั้นนายทุนเขียนขึ้นมาเท่านั้น    สิ่งที่ปรากฏอยู่จริงคือความเสมอภาคใน “ความไม่เท่าเทียม” และ ”ความยากจน    มาร์กซได้อธิบายไว้ใน “วิพากษ์นโยบายโกธา” ว่า

“ความเสมอภาคนั้นวัดได้จากบรรทัดฐานเดียวกันคือแรงงาน ....แต่ทว่าคนๆหนึ่งมีความเหนือกว่าอีกคนหนึ่งในทางกำลังกายและสติปัญญา      ดังนั้นจึงสนองแรงงานได้มากกว่าหรือทำงานได้มากกว่าในช่วงเวลาเดียวกัน   และเพื่อจะให้แรงงานเป็นบรรทัดฐานต้องว่ากันตามเวลาที่ใช้หรือความหนักเบา ของมัน     ถ้าไม่แล้วก็ถือเป็นบรรทัดฐานไม่ได้”........และ

“สิทธิเสมอภาคนี้เป็นสิทธิของ ”ความไม่เสมอภาค” สำหรับแรงงานที่ ” ไม่เท่าเทียมกัน”   มันไม่ได้รับรองความเหลื่อมล้ำใดๆทางชนชั้น......แต่มันรับรองโดยดุษฎีของ สติปัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน”  

จากคำกล่าวของมาร์กซที่ยกมานี้พอจะเห็นได้ว่า  อะไรคือความเสมอภาค  มันเป็นความเสมอภาคของใคร   เสมอภาคอย่างไร   และใช้อะไรมาเป็นบรรทัดฐาน   ดังนั้นในสังคมทุนนิยม แม้แต่คำขวัญ “เสรีภาพ  เสมอภาค  ภราดรภาพ”  ของการปฏิวัติฝรั่งเศสอันลึอลั่นนั้นก็ไม่เคยเป็นจริง  และไม่เคยมีอยู่จริง

ส่วนประเด็นการยกเลิกการขูดรีดและยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมนั้น   ในระบอบสังคมนิยมมีความชัดเจนอยู่แล้ว    คือต้องยกเลิกสิทธิของผู้กดขี่ทั้งมวลไม่มีการยกเว้น   ไม่ใช่เลือกที่จะยกเลิกเฉพาะสิทธิ์หรืออภิสิทธิ์ของใครบางคนเท่านั้น     สังคมนิยมวิทยาศาสตร์ไม่มีความคิดที่จะดำรงสถานภาพและอภิสิทธิ์ของชนชั้นผู้ กดขี่เอาไว้     แต่ยินดีให้พวกเขาได้ใช้วิชาความรู้มาช่วยสร้างสังคมใหม่ในฐานะทรัพยากร มนุษย์ที่ตกค้างมาจากสังคมเก่าฉันท์พี่น้องร่วมชาติ    แต่จะไม่ยอมรับฐานะของปัญญาชนปฏิกิริยาที่ต่อต้านการปฏิวัติ

ดังนั้นสังคมนิยมในความหมายของชาวมาร์กซคือ”สังคมนิยมวิทยาศาสตร์”เพียงอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่น    เป็นสังคมที่ชนชั้นผู้ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาโค่นล้มชนชั้นปกครองเพื่อสถาปนา อำนาจรัฐของชนชั้นตนขึ้นมาแทน   โดยมีกรรมกรเป็นกองหน้าร่วมกับผู้ถูกกดขี่ทั้งมวล     เป็นสังคมที่ชนชั้นกรรมาชีพเป็นเจ้าของอำนาจรัฐหรืออยู่ในฐานะของชนชั้น ปกครอง   นอกเหนือจากนี้ถือว่าเป็นแนวคิดเพ้อฝันที่เรียกตัวเองว่าสังคมนิยมเท่านั้น    แม้ปัจจุบันจะมีนักคิดมากมายที่พยายามจะวิเคราะห์ชนชั้นในสังคมบนพื้นฐาน ของทุนนิยมสมัยใหม่     โดยใช้ปัจจัยทางเทคโนโลยี่   และลักษณะการทำงาน การจ้างงานเข้ามาร่วมพิจารณาด้วยก็ตาม   เพื่อโต้แย้งคำสอนของมาร์กซ     มันเป็นเพียงการจำแนก”ชั้นชน”ของ”ชนชั้น”หนึ่งๆในเชิงพัฒนาการเท่านั้น       ยังไม่อาจก้าวข้ามสัจธรรมของลัทธิมาร์กซดั้งเดิมอยู่ดี   โดยเฉพาะเรื่อง ”ชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น”
ที่ว่าทำไม? และด้วยสาเหตุใด? จึงมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมนิยม?  ไปเป็นลัทธิเผด็จการขุนนางแบบสตาลิน     ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากจะลองมาพิจารณาทัศนะของ  โรซ่า ลุกเซมบวร์ก  ที่ได้วิจารณ์ปัญหาการรวมศูนย์ประชาธิปไตยภายในพรรคแบบเลนิน   และท่วงทำนอง ”ขุนนาง”ของปัญญาชนในพรรคสังคมประชาธิปไตยว่ามันจะเป็นมูลเหตุหนึ่งของการ เปลี่ยน สีแปรธาตุได้ในอนาคต

ถ้าสนใจศึกษาแนวคิดของมาร์กซิสต์และแอนตี้-มาร์กซิสต์ท่านอื่นๆทั้งในอดีต และปัจจุบันบ้าง   ก็จะไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าทำไมทุกวันนี้ประเทศที่เรียกตัวเองว่า ”สังคมนิยม”  ที่เคยผ่านความปวดร้าวขมขื่นของการถูกกดขี่ขูดรีดจากระบอบทุนนิยมมาแล้วใน อดีต    จึงถูกวิพากษ์ วิจารณ์ว่ากำลังเดินถอยหลังกลับไปสู่ระบอบทุนนิยมอีก    มันเป็นความจริงหรือไม่?   ถ้าจริง...มันเป็นเพราะอะไร?      หรือเป็นเพราะสู้กับความเข้มแข็งของระบอบทุนนิยมโลกไม่ได้ ?    หรือเป็นเพราะว่าจิตสำนึกของชนชั้นกรรมาชีพในประเทศเหล่านั้นกำลังเปลี่ยน ไป?    เป็นเรื่องที่น่าติดตามศึกษาเป็นอย่างยิ่ง     ส่วนข้อสังเกตเรื่องสังคมนิยมแบบ ”บนสู่ล่าง” หรือจาก ”ล่างสู่บน” นั้น      ไม่ใช่วิธีจำแนกความ”เป็น” หรือ “ไม่เป็น” สังคมนิยมแต่อย่างใด   เพราะไม่มีพื้นฐานทางทฤษฎีใดๆมารองรับ     มันเป็นเพียงรูปแบบการจัดการที่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในขั้นตอนของการ ปฏิวัติในแต่ละแห่ง    หรือเป็นการแสดงออกของรูปการจิตสำนึกทางชนชั้นมากกว่า


คราวนี้มาพิจารณาเกี่ยวกับคำวิจารณ์ที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลบ้าง     การวิจารณ์เช่นนั้นออกจะเป็นการ “รวบรัด” ไปสักหน่อย     ซึ่งน่าจะสืบเนื่องมาจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ    การวิจารณ์โดยพิจารณาแต่เปลือกนอกของปรากฏการณ์เพียงด้านเดียวนั้นเป็นการ มองปัญหาแบบ ”เมตาฟิสิคส์” ที่มีลักษณะกลไกและไม่รอบด้าน   ไม่ใช่วิธีของชาวมาร์กซ     พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล(เหมาอิสต์)    เป็นพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพ   ต้องการทำลายการกดขี่ขูดรีดและสร้างสังคมนิยม     ย่อมเข้าใจอย่างลึกซึ้ง     ถึงผลประโยชน์ทางชนชั้นที่ไม่อาจประนีประนอมได้    จึงได้นำพาประซาซนผู้ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อจะสถาปนาอำนาจรัฐของชน ชั้นตนขึ้นมา     ถ้าพรรคเนปาลต้องการปฏิวัติเพียงเพื่อจะประนีประนอมกับชนชั้นนายนายทุนจริง   หรือแค่เพื่อการสร้างสาธารณรัฐอย่างที่ถูกวิจารณ์แล้ว    ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปสร้างกองกำลังมาต่อสู้ให้ยากลำบากถึง เพียงนั้น       และภายหลังการปฏิวัติหากพรรคฯทรยศต่ออุดมการณ์ลัทธิมาร์กซและประชาชนเนปาล โดยไม่พยายามรักษาดอกผลของการปฏิวัติเอาไว้    ก็คงยอมสลายกองกำลัง    สลายการจัดตั้ง    เลิกล้มกิจกรรมการเคลึ่อนไหวต่างๆของตนตามความเรียกร้องต้องการของชนชั้น นายทุนไปแล้ว    

ก่อนหน้าชัยชนะของประชาชนเนปาล      สิ่งที่ดำรงอยู่จริงในทางการเมืองก็คืออำนาจเบ็ด เสร็จของระบอบกษัตริย์โดยใซ้พรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมเป็นเครื่องมือ   ซึ่งจะไม่มีวันยอมให้เกิดประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นอย่างเด็ดขาด      พรรคปฏิวัติแนวทางมาร์กซิสต์ได้ตระหนักดีถึงสิ่งนี้     และเห็นว่าการต่อสู้ทางรัฐสภาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถโค่นล้มระบอบอัตตา ธิปไตยของกษัตริย์  คเยนทรา  และเปลี่ยนแปลงสังคมได้ต้องผสมผสานการเคลึ่อนไหวต่อสู้ที่หลากหลายรวมไปถึง การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธจึงจะบรรลุผล   พรรคฯได้แตกแนวออกเป็นสองทางใหญ่ๆคือ    ด้านหนึ่งต่อสู้ทางรัฐสภา   อีกด้านหนึ่งสหายประจันดาได้แยกออกมาสร้างกองกำลังเพื่อต่อสู้ด้วยอาวุธใน ชนบท      โดยยึดหลักของประธานเหมาที่ว่า ”อำนาจรัฐมาจากกระบอกปืน”  กำหนดยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีการปฏิวัติจากเงื่อนไขต่างๆของเนปาล      และแน่นอนย่อมมีการทำงานการเมืองในระดับสากลด้วย

ดังนั้นการต่อสู้ปฏิวัติของเนปาลจึงไม่ใช่เป็นการนำของพรรคเดียวโดดๆ     แต่เป็นลักษณะ ร่วมกันของหลายๆพรรคและกลุ่มการเมือง   ทั้งพรรคก้าวหน้า  เป็นกลาง   และพวกอนุรักษ์ปีกซ้าย   ที่ต้องการโค่นล้มระบอบอัตตาธิปไตยของกษัตริย์ลงเพื่อสถาปนาประชาธิปไตย    
ขบวนการปฏิวัติจึงมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ”แนวร่วม” ทั้งในรูปแบบของแนวร่วมทั่วไป (popular front) และแนวร่วมที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองสอดคล้องกัน (united front)     พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล(เหมาอิสต์)ที่มีกองกำลังเป็นของตนเองจึงมีเงื่อนไขการ ต่อรองสูง    ทำให้มีบทบาทเด่นกว่ากลุ่มการเมืองอื่นๆ

อนึ่งโดยสภาพภูมิศาสตร์   เนปาลเป็นประเทศที่ถูกประกบอยู่ระหว่างกลางของสองมหา อำนาจของเอเชียคือจีนและอินเดีย     ประชาชนประกอบด้วยเชื้อชาติต่างๆมากมายส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู    มีลักษณะพิเศษทางสังคมโดยเฉพาะระบบ ”วรรณะ” ยังฝังรากลึกอยู่ (สหายประจันดาก็มาจากตระกูลพราหมณ์ชั้นสูง)     มีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมกับอินเดียมายาวนานและถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมฮินดู โดยผ่านชนชั้นสูง    บรรดาปัญญาชนส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากอินเดียและประเทศตะวันตก      ต้องพึ่งพาอินเดียในแทบทุกด้านตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน      เป็นประเทศเกษตรกรรมล้าหลังและยากจนมีปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคมอีกมาก มาย    พรรคได้วิเคราะห์ดุลยภาพของตนแล้วว่าไม่อาจแข็งขืนผลักดันนโยบายที่ก้าว หน้าของตนเองโดยลำพังได้ในขณะนั้นๆ    จำต้องผ่อนปรนต่อผลประ โยชน์ที่ประนีประนอมได้กับของแนวร่วมของตนบ้างในบางเรื่อง     แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะยินยอมไปเสียทั้งหมดในทุกๆกรณีโดยไม่คำนึงถึงหลักการและนโยบายของตน

สาเหตุหนึ่งที่จำต้องผ่อนปรนก็เพราะภาระหน้าที่เฉพาะหน้าที่สำคัญแรกสุดของ พรรคฯคือต้องพิทักษ์หน่ออ่อนของการปฏิวัติไม่ให้ถูกทำลาย!!!     ไม่ว่าจะจากจักรพรรด์นิยมโดยตรง หรึอจากพวกปฏิปักษ์ปฏวัติที่หนุนหลังโดยจักรพรรดิ์นิยม    ดังนั้นการยินยอมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ(อย่างที่ถูกวิจารณ์)


ในสายตาของคนภายนอกมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาทั้งในแง่ของยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีและ หลักการด้วย ถ้าหากว่าการลงทุนของต่างชาติเป็นการลงทุนร่วมกับรัฐ    ผลประโยชน์ส่วนข้างมากตกเป็นของรัฐโดยรัฐถือหุ้นข้างมากก็ยังต้องถือว่าไม่ ผิดจากหลักการ   ไม่ใช่ได้ยินเพียงคำว่า ”ทุนนิยม” “การลงทุน” หรืออะไรที่เกี่ยวกับทุนแล้วหวาดผวาโดยไม่มีการไตร่ตรองพิจารณา    
หากเมื่อใดมีการเปิดโอกาสให้มีการลงทุนของภาคเอกชนทั้งต่างชาติและคนในชาติ ที่มีอัตรา ส่วนมากกว่าภาครัฐ    ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของเอกชน  ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเนปาลโดยเฉพาะชนชั้นกรรมาชีพและผู้ยากไร้ถูก ละเลยไม่ได้รับการใส่ใจดูแลพัฒนายกระดับ     การขูดรีดยังดำรงอยู่โดยไม่ถูกแตะต้องยกเลิก      รายได้ของกรรมกรห่างจากรายได้ของผู้บริหารเป็นสิบๆเท่า และ ฯลฯ (อย่างสูงควรเป็นแค่ 1:4  ตามความเห็นของเลนิน) โดยพรรคฯไม่สนใจต่อสู้คัดค้าน    เมื่อนั้นไม่เพียงแต่จะได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์เท่านั้น   หากยังต้องได้รับการประณามอีกด้วยว่าทรยศต่อการปฏิวัติและต่อประชาชน    

ความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ    หลังการปฏิวัติประเทศที่ยากจนล้าหลังอย่างเนปาลจะอย่างไรก็ยังต้องติดต่อ สัมพันธ์ในด้านต่างๆกับประเทศทุนนิยมอื่นๆอยู่ดี     ไม่อาจโดดเดี่ยวตัวเองจากสังคมโลกได้โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ   ทั้งยังต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อการสร้างชาติจากประเทศทุนนิยมเหล่านั้นอยู่    
 สังคมนิยมไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีเพราะเทคโนยีไม่มีชนชั้น!!!    มันขึ้นอยู่ที่ว่าชนชั้นใดเป็นผู้ใช้   ใช้เพื่อสนองประโยชน์ของใครเท่านั้น    และในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามสร้างพลังวิริยภาพทางอัตวิสัยของประชาชนขึ้น มาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-เทคโนโลยี บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองควบคู่ไปด้วย    

สังคม”สังคมนิยม”นั้นยังไม่มีใครไปถึง   รูปแบบของมันจึงไม่น่าจะมีความจำกัดว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้     การสร้างสังคมนิยมหลังการปฏิวัติคือการสร้างสังคมใหม่ขึ้นบนซากปรัก หักพังของสังคมเก่าที่ถูกโค่นล้มลงไปได้ไม่นาน   เศษเดนความคิดและวัฒนธรรมของมันยังหลงเหลืออยู่      ทั้งประชาชนเองก็ยังมีความเคยชินและมีความสัมพันธ์กับสิ่งเดิมๆเหล่านี้ อย่างไม่อาจปฏิเสธได้     ปัจจัยหลักที่ไม่อาจละเว้นคือจะต้องปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการครอบงำ ของเศษเดนความคิดและวัฒนธรรมเก่าที่หลงเหลืออยู่เหล่านี้ให้ได้    

สังคมนิยมไม่ใช่ลัทธิ ”เฉลี่ยสมบูรณ์”   คือไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์     หากแต่ต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากการกดขี่ขูดรีด   ทำให้ประชาชนมีความสุข   มีงานทำ   กินอิ่ม  นอนหลับ   มีปัจจัยในการดำรงชีวิตและมีหลักประกันอย่างเพียง พอ     การกักขังตัวเองอยู่ในกรอบทฤษฎีอย่างเคร่งครัดจนไม่ยอมกระดิกกระเดี้ยเพราะ กลัวผิดนั้น     ไม่ใช่เป็นการแสดงความซื่อสัตย์ต่อหลักการของสังคมนิยมแต่อย่างใด     หากแต่เป็นเพียงซื่อตรงต่อตัวอักษรที่เขียนไว้เท่านั้น      อีก ทั้งยังละเมิดกฎเกณฑ์ของปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษที่ว่า “สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง พัฒนา ตลอดเวลา” อีกด้วย      และมันก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมที่ล้ำเลิศและเป็นผลดีต่อการ ปฏิวัติแต่อย่างใด     หากจะเป็นการฉุดรั้งทำลายการปฏิวัติเสียมากกว่า    

ขอเพียงยึดมั่นในหลักการของลัทธิมาร์กซ   มั่นคงในจิตสำนึกและจุดยืนของชนชั้นกรรมาชีพ     ถนัดที่จะศึกษาพัฒนาทฤษฎีแล้วนำไปประยุกต์ ใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติ    การสร้างสังคมนิยมจึงจะมีความเป็นไปได้
สิ่งที่ชนชั้นนายทุนประสบความสำเร็จอย่างมากมายในหลายร้อยปีที่ผ่านมาก็คือ    พวกเขาได้สร้างระบบความคิดและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง   ได้สร้างปัญญาชนของชนชั้นตนขึ้นมาในทุกๆด้านและสามารถนำมาใช้งานได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ    แล้วคนที่คิดว่าตัวเองเป็นชาวมาร์กซนั้นจะสามารถสร้างปัญญาชนของชนชั้น กรรมาชีพที่มีจิตสำนึกปฏิวัติและความเข้มแข็งทางทฤษฎีขึ้นมาเพื่อสร้าง สังคม”สังคมนิยม” ได้อย่างไร?   
หากยังไม่ยอมพัฒนาความคิด   ไม่ยอมยกระดับจิตสำนึก   แม้แต่หลักการสำคัญทางทฤษฎีก็ยังไม่อาจยึดกุมได้     โปรดอย่าลืมว่า ชั้นปกครองไม่ได้นิ่งเฉยอยู่บนความประมาทแต่อย่างใด...พวกเขามีการ พัฒนา!!!!!

ด้วยความปรารถนาดี   แก้ว กรรมกร  แนวร่วมสหกรรมาชีพ


ที่มา redsiam