นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำไมวาทกรรม "ไม่จบปริญญาตรีไม่ควรมีสิทธิเลือกตั้ง" จึงเป็นตรรกะที่ใช้ไม่ได้?

Wed, 2011-11-16 20:05

Faris Yothasamuth

เป็นประเด็นกันในโลกออนไลน์ เมื่อซูโม่ตู้ออกมาพูดซ้ำแนวคิดของตนที่ว่า "ควรให้คนจบปริญญาตรีหรือสูงกว่าเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง"

คนจำนวนหนึ่งก็ออกมาซาบซึ้งน้ำตาไหลกับแนวคิดอันแสนจะเยี่ยมยอด พากันแชร์และผลิตซ้ำวาทกรรมนี้กันอย่างเอิกเกริก

(ดูตัวอย่างที่ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=241497699244931&set=a.163705213690847.39753.163358657058836&type=1&ref=nf)

แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นชัดๆตรงนี้เลยว่า นั่นเป็นความคิดที่ "ใช้ไม่ได้"

ความใช้ไม่ได้ประการแรก ปริญญาตรีไม่ได้การันตีอะไร

ผมอยากถามว่า แน่ใจหรือว่าคนที่จบปริญญาตรีนั้นจะมี "ปัญญา" มากกว่าคนที่ไม่จบ

เราเห็นตัวอย่างมากมายกับบัณฑิตปริญญาตรี-โท-เอก-อนันต์ ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไร เป็นพวกกเฬวรากซากศพ พูดภาษาวัยรุ่นก็ต้องเรียกว่า "กาก" เราเองก็ได้ยินกันบ่อยๆกับคำกล่าวที่ว่า "การศึกษาไม่ช่วยอะไร" แล้วอะไรเล่าทำให้เราคิดไปว่าปริญญาหนึ่งใบจะทำให้คนเก่งกาจตัดสินใจเรื่องของการปกครองและการเมืองได้เยี่ยมยอดกว่าคนอื่นๆ?

แต่ในอีกด้านหนึ่งเราก็อาจจะเห็นคนที่ไม่ได้จบปริญญาตรีกลายเป็นคนที่ทรงคุณค่าในสังคม เพื่อนผมคนหนึ่งยกตัวอย่างคนเหล่านี้ขึ้นมา อาทิ ตัน ภาสกรนที - ธนินท์ เจียรวนนท์ - เฉลียว อยู่วิทยา - ทรงชัย รัตนสุบรรณ - บินหลา สันกาลาคีรี - คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (ทมยันตี) ผมอ่านชื่อดูแล้วก็เห็นคล้อยตาม จริงสินะ คนอีกตั้งเท่าไหร่ที่ไม่ได้จบปริญญาตรี แต่ประสบความสำเร็จ มีปัญญา มีความสามารถ นี่ยังไม่นับรวมปราชญ์ชาวบ้านทั้งหลายที่อย่าว่าแต่ปริญญาตรีเลย มัธยมศึกษาก็อาจจะไม่จบ แต่เขาก็มี(ภูมิ)ปัญญาที่น่ายกย่อง สร้างสิ่งดีๆให้ชุมชนมากมาย แล้วคนอย่างนายตู้กลับจะไปตัดสินคนทั้งประเทศด้วยกระดาษใบเดียว? ก็น่าแปลกนะครับทีบิล เกต หรือคนเก่งๆหลายคนเรียนไม่จบเราก็มายกย่องกันใหญ่โต พ่นวาทะอันสวยหรูว่า "ปริญญาก็แค่กระดาษแผ่นเดียว" แต่พอมากรณีนี้กลับยึดกระดาษแผ่นเดียวกันอย่างบ้าคลั่ง...

ความใช้ไม่ได้ประการที่สอง คนพูดวาทะนี้ไม่เข้าใจคำว่าความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง

วาทกรรม "ไม่จบปริญญาตรีไม่มีควรสิทธิเลือกตั้ง" มันแฝงความคิดหนึ่งมาในตัว คือความคิดว่าคนไม่จบปริญญาตรีคือคนโง่ คนขี้เกียจ ทำให้เรียนไม่จบ จึงเป็นคนไม่มีคุณภาพ ดังนั้นก็ไม่สมควรจะมาเลือกตั้ง นี่เป็นความคิดที่ตื้นเขินอย่างน่าละอาย ผมอยากถามว่าคนพูดรู้จักคำว่า "ความจน/ความโง่เชิงโครงสร้าง" ไหม?

ถ้านายเอ เป็นลูกชนชั้นกลาง สอบเข้ามหาวิทยาลัียชั้นนำได้ จบมาได้งานดี

กับนายบี เป็นลูกชนชั้นล่าง สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ จบมาได้งานไม่ค่อยจะดี

ถามว่านั่นเป็นเพราะ นายเอ ขยันและฉลาด นายบี โง่และขี้เกียจ อย่างเดียวหรือ?

คำว่าโครงสร้างมันสื่อความหมายถึงสิ่งที่วางซ้อนทับกันเป็นโยงใยที่ใหญ่และซับซ้อนเกินกว่าการกระทำของปัจเจกชนเดี่ยวๆจะไปกำหนดได้ นอกจากเรื่องความโง่ความฉลาดแล้ว มันยังมีเรื่องราวอีกมากที่กำกับให้ชีวิตคนๆหนึ่งเป็นไปในแบบไหน ทั้งฐานะของพ่อแม่ ชนชั้น สถานภาพ ความสัมพันธ์ทางสังคม กลไกของรัฐ ฯลฯ ถ้าคนฉลาดอัจฉริยะไปเกิดในครอบครัวคนกวาดถนนที่ไม่มีเงินจะส่งเสียให้เรียน ถามว่าความอัจฉริยะจะมีประโยชน์หรือไม่ ดังนั้นแล้วข้อสรุปในประเด็นนี้มันจึงอยู่ที่ว่า "คนเรียนจบอาจไม่ใช่คนฉลาด คนเรียนไม่จบอาจไม่ใช่คนโง่" พวกที่สนับสนุนนายตู้หลงลืมประเด็นนี้ไปอย่างสิ้นเชิง (หรือไม่เคยรับรู้อยู่แล้ว?) การที่คนๆหนึ่งไม่จบปริญญาตรีไม่ใช่ความผิดของคนๆนั้นถ่ายเดียว แต่เป็นเพราะโครงสร้างบางอย่างที่เขากำหนดไม่ได้ควบคุมไม่ได้กำลังบังคับให้เป็นเช่นนั้น นี่เป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำ แล้วทำไมเล่าเขาจึงจะต้องมาแบกรับความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ด้วยการตัดสิทธิให้เขาไม่ต้องมีตัวแทนทางการเมืองอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์โดยสมบูรณ์ คือ

จน--->ไม่ได้เรียน--->ไม่จบปริญญาตรี--->ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง--->ไม่มีผู้แทน--->ไม่มีคนผลักดันนโยบายการยกระดับความเป็นอยู่--->จน--->ไม่ได้เรียน--->.....

ผมนึกสงสัยอยู่ว่าคนที่สนับสนุนนายตู้พ่อแม่ของเขาจบปริญญาตรีกันทุกคนหรือ แล้วพ่อแม่ของพ่อแม่เขาจบปริญญาตรีกันทุกคนหรือ ลองย้อนกลับไปดูกันหน่อยดีไหมนี่จะเรียกว่าเป็นการลืมกำพืดได้ไหม นี่จะเป็นการ"กด"บรรพบุรุษตัวเองหรือไม่? แล้วไม่ใช่เพราะสังคมประชาธิปไตยแบบเสมอภาคหรอกหรือ ที่ทำให้"คนไร้การศึกษา"หลายคนในอดีตได้มีโอกาสขยับเลื่อนชนชั้นขึ้นมา และส่งเสียให้ลูกหลานของเขากลายเป็นคน"มีการศึกษา"ในทุกวันนี้ แต่ในที่สุดพอคนส่วนหนึ่งมีการศึกษาแล้วก็ "ลืมตีน" ตัวเอง ผยองอยากจะกดหัวคนอื่นๆอีกมากมายในประเทศให้ตกอยู่ในวังวน "โง่-จน-เจ็บ"

เราจะเรียกพฤติกรรมนี้ว่าอย่างไรดี...ท่านทั้งหลายช่วยผมคิดนิยามหน่อย

ความใช้ไม่ได้ประการที่สาม สิ่งที่พูดนั้นไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย

เมื่อเราพูดถึงการเลือกตั้ง ก็แสดงว่าเรากำลังพูดถึงการเลือกคนเข้าไปถืออำนาจรัฐ ในที่นี้รัฐเป็นสิ่งที่ครอบคลุมและกดทับตัวเราอยู่ทุกคน ตามหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย รัฐย่อมเกิดจากการทำการตกลงของคนในสังคม พูดอีกแง่คือเมื่อมีรัฐย่อมมีพลเมือง ไม่มีพลเมืองก็ไม่มีรัฐ การเชื่อมโยงระหว่างพลเมืองกับรัฐอย่างหนึ่งก็คือพลเมืองเป็นคนเลือกผู้แทนที่เข้าไปใช้อำนาจรัฐ ตรงนี้เองที่หลักประชาธิปไตยกำหนดว่าทุกคนมีสิทธินั้นเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะจบป.หก ม.สี่ หรือปริญญาตรี

(ถึงตรงนี้อาจมีบางคนเถียงว่าแล้วเด็กอายุไม่ถึง ๑๘ ล่ะ ทำไมไม่มีสิทธิ ผมขอบอกว่าเราอย่าไปหลงประเด็นในเรื่องอายุ เพราะคนทุกคนถ้าไม่ตายก่อนก็ย่อมมีอายุถึงเกณฑ์เลือกตั้งได้ แต่การกีดกันที่เคยเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น เรื่องของเพศ วรรณะ สีผิวมันไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และในกรณีของการศึกษาก็เช่นกัน คนหลายคนก็ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงสถานะทางการศึกษาของตนอันเนื่องด้วยหลักความเหลื่อมล้ำที่พูดไปในหัวข้อที่แล้วนั่นเอง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงต้องถูกกำจัดไป)

การที่คนอย่างนายตู้จะไปตัดสิทธิว่าใครไม่จบป.ตรีไม่ต้องเลือกตั้ง นั่นเป็นการกัน "คน" ส่วนหนึ่งออกจากความเป็น "พลเมือง" ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วความเป็น"รัฐ"ก็ไม่ควรจะบังคับใช้กับเค้าด้วยสิครับ คนจำนวนหนึ่งชอบอ้างเรื่องสิทธิ-หน้าที่ บอกว่าเราต้องทำหน้าที่ก่อนจึงจะได้รับสิทธิ ต้องมีการศึกษาก่อน ต้องเสียภาษีก่อนถึงจะได้เลือกตั้ง ผมอยากจะบอกตรงนี้เลยว่า สิทธิมาก่อนหน้าที่ครับ เพราะถ้าไม่มีสิทธิที่จะเป็นพลเมือง (โดยการอ้างสิทธิผ่านการเลือกผู้แทน) คุณก็ไม่ต้องทำหน้าที่พลเมือง ตรรกะง่ายๆครับ

อีกประเด็นหนึ่งก็คือการเลือกผู้แทนก็เพื่อไปออกกฎหมาย ซึ่งก็คือสภาพบังคับของรัฐอย่างหนึ่งที่มีเเหนือพลเมืองนั่นเอง ดูแผนผังประกอบ

(พลเมือง--->รัฐ--->กฎหมาย--->ใช้กับพลเมือง)

นี่เป็นเหตุว่าทำไมในสังคมประชาธิปไตยเราต้องมีผู้แทน เพราะผู้แทนเป็นคนไปออกกฎหมายที่จะกลับมาบังคับพลเมือง นี่เป็นหลักของประชาธิปไตยที่เค้าพูดกันว่า "จากประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน" นั่นเอง ถ้าคุณจะบอกว่าคนไม่จบปริญญาตรีไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ก็แสดงว่าคนจำนวนนั้นควรพ้นจากความรับผิดชอบทางกฎหมายของรัฐด้วย

อย่างไรก็ตามถ้าท่านทั้งหลายที่สนับสนุนนายตู้จะเห็นว่า "ช่างหัวประชาธิปไตย" ถ้าท่านเห็นว่ารัฐไม่ได้มาจากประชาชนทั้งหลายในขอบเขตของประเทศนั้น รัฐควรมาจากการสถาปนาของสมมติเทพที่สืบเชื้อสายมาจากองค์นารายณ์อวตาร หากท่านเชื่อว่าจะมี(กลุ่ม)บุคคลหนึ่งที่สูงส่งดีพร้อมทุกสิ่งอย่างที่จะทำหน้าที่ปกครอง และประชาชนอย่างเราควรหมอบราบกราบคลานแต่เท่านั้น ผมก็เห็นว่าเราคงจะคุยกันคนละภาษา คิดกันคนละแบบแล้วล่ะครับ

เพราะผมคิดว่า "คนย่อมเท่ากับคน" แต่ท่านกำลังคิดว่า "คนย่อมอยู่ใต้ฝ่าตีนคน"

วาทกรรม "ปริญญาตรี" อะไรนี่จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นการแปลงรูป (Tranformation) ของระบอบสมบูรญาสิทธิราชย์ ที่ลดทอนความเข้มข้นลง โดยฉาบเอาประชาธิปไตยเข้ามาพอให้ไม่กระดากสากลโลกเค้าก็ได้นะครับ

ที่มา prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น