นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

หลักฐานทักษิณเคยไปเจรจากับศาลให้ปล่อยแกนนำ


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : นี่คือข้อความทีว่านะครับ ผม copy มา ทั้งส่วสนที่ สมเกียรติ "อัด" ทักษิณ ด้วย เพื่อให้ครบๆ

....................

เมื่อ Tom พาคุณทักษิณเข้าสู่การสนทนาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แล้ว ไม่ต้องถามเพิ่มเติม คุณทักษิณก็พูดเสริมโยงใยไปถึงเรื่องที่ติดค้างในใจของตนเองออกมาอย่าง ละเอียด:

(36)

Thaksin: “Well, you know in Thailand, the government officials, the military … they… [don’t do] anything until they get a signal. Even during the effort recently to bail our arrested Red Shirt leaders out of jail, we talked to the judges, and we asked for leniencies … to let them out, you know. This is not a political thing. By our Constitution the government is supposed to grant bail for every criminal because it’s their duty to grant bail, except in certain circumstances, and so we wanted to protect their rights, but the judges would not allow bail for the Red Shirts. And when we asked a judge why, the judge said, ‘There is no signal.’ And we said ‘Are you the judge or not?’ The judge has been hired to judge, not to look for signals, right? But the judge says to us, ‘I got no signal.’ So it looks like everyone is just waiting for signals.”

“อืมม์ เมืองไทยมันเป็นอย่างนี้ เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร … ใครต่อใคร … [ไม่ทำอะไร] กันเลยจนกว่าจะได้รับสัญญาณ แม้กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ตอนที่เราพยายามจะขอประกันตัวพวกผู้นำคนเสื้อแดงของเราให้พ้นจากการถูกคุม ขัง เราไปคุยกับผู้พพิพากษาหลายคน และเราขอความเมตตาจากท่าน … ขอให้ปล่อยตัวพวกเรา นี่มันไม่ใช่เรื่องการเมือง คุณก็คงรู้ ตามรัฐธรรมนูญของเรารัฐบาลลควรจะให้ประกันตัวอาชญากรทุกคน เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ยกเว้นในบางกรณีเป็นการเฉพาะ ดังนั้นพวกเราต้องการปกป้องสิทธิ์ของพวกเขา แต่คณะผู้พิพากษาก็ไม่ยอมให้ประกันตัวคนเสื้อแดง พอเราถามผู้พิพากษาคนหนึ่งว่าทำไมจึงไม่ให้ประกันตัว ผู้พิพากษาคนหนึ่งบอกว่า ‘ไม่มีสัญญาณ’ เราก็เลยบอกว่า ‘ท่านเป็นผู้พิพากษาจริงๆหรือเปล่าล่ะ?’ ผู้พิพากษาถูกจ้างให้มาทำหน้าที่พิพากษา ไม่ใช่ให้มารอดูสัญญาณ ใช่ไหม? แต่ผู้พิพากษาคนนั้น ก็บอกกับเราว่า ‘ผมยังไม่ได้รับสัญญาณเลย’ ดังนั้นมันก็ดูเหมือนกับว่าทุกคนเอาแต่รอดูสัญญาณ”

คุณทักษิณก็ไม่ยอมพูดให้ชัดว่า “สัญญาณอะไร? มาจากใคร? ที่ไหน?” ปล่อยให้เป็นเรื่องกำกวมให้คาดเดากันต่อไป แต่ที่สับสนก็คือคุณทักษิณเอารัฐบาลมาปนกับศาล บอกว่าเป็นหน้าที่รัฐบาลแต่กลับไปคุยกับศาลแล้วโทษศาลว่าไม่ทำตามที่รัฐบาล ควรทำ เป็นความสับสนของคุณทักษิณในความไม่รู้เรื่องรัฐธรรมนูญ และไม่เข้าใจว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายบริหาร แต่ศาลเป็ยฝ่ายอำนาจยุติธรรม อำนาจอธิปไตยทั้งสองที่แยกกันมานานกว่า 70 ปีแล้ว ส่วนเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาก็ไม่เคยมีกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลสั่งศาลให้ ประกันตัวใครได้ ยิ่งเป็น “อาชญากร”ด้วยแล้ว ศาลเองก็ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ที่จะต้องให้ประกันตัว “อาชญากร” โดยอัตโนมัติ

นี่เป็นอีกตอนหนึ่งที่คุณทักษิณพูดโดยไม่หวาดหวั่นข้อหาหมิ่นศาล!

คุณทักษิณคุยกับผู้พิพากษาคนไหนที่พูดเรื่อง “สัญญาณ”?

แล้วใครเล่าที่คุณทักษิณกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่งสัญญาณ?



ที่มา fb สมเจตน์ รักลุงนวมทอง

จดหมายท่านปรีดี พนมยงค์ ถึงท่านผู้หญิงพูนศุข เมื่อปี ๒๕๑๐

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : การปรองดองต้องให้ได้ความจริงและยุติธรรม


คำ ถามจึงไม่ใช่อยู่เพียงว่า ใครหรืออะไรที่บงการให้พล อ.สนธิกระทำรัฐประหาร 19 กันยายนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคำถามว่า ใครหรืออะไรที่บงการบุคคลและกลุ่มองค์กรเหล่านี้ได้ทั้งหมดให้เคลื่อนไหวสอด ประสานกันเป็นแนวรบใหญ่ที่เป็นเอกภาพ ทำลายล้างรัฐบาลไทยรักไทยและรัฐบาลพลังประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งได้ สำเร็จ ต่อเนื่องมาเป็นกรณีเมษาเลือด 2552 และการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553?


โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

คำ ถามของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญชุด “ปรองดอง” เมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้วว่า กระทำรัฐประหาร 19 กันยายนไปด้วยตนเองหรือมีผู้อยู่เบื้องหลังสั่งให้ทำนั้น แม้ความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชนจะพุ่งไปที่คำตอบของพล.อ.สนธิ และคำตอบโต้กันหลังจากนั้น แต่เหตุผลที่พล.ต.สนั่นอ้างในการถามคำถามดังกล่าวกลับสำคัญยิ่งกว่า

เหตุผลของพล.ต.สนั่นก็คือ ประชาชน ต้องการรู้ความจริง กระบวนการปรองดองใดๆ จะไม่เป็นผลทั้งสิ้นหากความจริงทั้งหมดยังไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมาว่า ใครเป็นผู้สั่งให้กระทำรัฐประหาร และที่สำคัญคือ ตราบใดที่ยังไม่มีการยอมรับความจริง ความเคียดแค้นในหมู่ประชาชนก็จะยังคงอยู่

นี่คือ มาตรฐานที่แท้จริงที่เป็นเครื่องวัดว่า การปรองดองใดๆ จะกระทำได้จริงหรือไม่? จะเป็นการปรองดองแห่งชาติที่แท้จริงหรือเป็นเพียง “การประนีประนอมกันชั่วคราว” ระหว่างพลังจารีตนิยมกับพรรคเพื่อไทย

การ ปรองดองแห่งชาติที่แท้จริงประกอบด้วยสองส่วนคือ การเปิดเผยความจริงทั้งหมด และการให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย (ซึ่งประกอบด้วยการเยียวยา การลงโทษ และการอภัยโทษ)

เพียงประการแรกคือ การเปิดเผยความจริงทั้งหมด ในปัจจุบันก็มิอาจกระทำได้ วิกฤตการเมืองทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี 2549 ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าห้าปี มิได้มีเพียง พล.อ.สนธิ กองทัพกับรัฐประหาร 19 กันยายนเท่านั้น แต่ยังมี “เครื่องมือของจารีตนิยมอื่นๆ” ที่เคลื่อนไหวสอดประสานกันคือ พวกอันธพาลบนถนนที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย องค์กรตุลาการ พรรคประชาธิปัตย์ สื่อกระแสหลักบางค่าย นักวิชาการและนักกฎหมายบางจำพวก เป็นต้น

นัยหนึ่ง รัฐประหาร 19 กันยายน เป็นเพียงตัวแทนหนึ่งของเผด็จการและเป็นแนวรบชี้ขาดในเวลานั้น แต่ต้องพึ่งพาอาศัยแขนขาของจารีตนิยมอื่นๆ ในการตระเตรียมเงื่อนไขก่อนรัฐประหาร และช่วยซ้ำเติมให้ภารกิจเบ็ดเสร็จหลังรัฐประหาร

คำถามจึงไม่ใช่อยู่เพียงว่า ใคร หรืออะไรที่บงการให้ พล.อ.สนธิกระทำรัฐประหาร 19 กันยายนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคำถามว่า ใครหรืออะไรที่บงการบุคคลและกลุ่มองค์กรเหล่านี้ได้ทั้งหมดให้เคลื่อนไหวสอด ประสานกันเป็นแนวรบใหญ่ที่เป็นเอกภาพ ทำลายล้างรัฐบาลไทยรักไทยและรัฐบาลพลังประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งได้ สำเร็จ ต่อเนื่องมาเป็นกรณีเมษาเลือด 2552 และการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553?

คำ ถามนี้จะมีคำตอบที่เปิดเผยได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนดุลกำลังทางการเมืองใน อำนาจรัฐอย่างถึงรากเท่านั้น มิใช่ในวลานี้ที่แก่นแกนอำนาจรัฐทั้งหมดยังคงอยู่ในมือของกลุ่มจารีตนิยม อย่างเหนียวแน่น ในขณะที่พรรคฝ่ายประชาธิปไตยยึดกุมได้แต่เพียงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น!

และนี่คือ อุปสรรคสำคัญที่สุดของการปรองดอง แม้แต่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็ยังไม่สามารถบรรลุความจริงของเหตุการณ์ทั้งหมดได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุด “ปรองดอง” ข้างต้น ซึ่งจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อพูดถึงสาเหตุความขัดแย้งทั้งหมด ก็ยังคงวนไปเวียนมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอยู่นั่นแหละ!
ที่ยังไม่อาจเปิดเผยความจริงได้ทั้งหมดก็เพราะ “อำนาจรัฐยังไม่เปลี่ยนมือ” ก็เท่านั้นเอง

ใน เมื่อไม่สามารถเปิดเผยความจริงได้ทั้งหมด การให้ความยุติธรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปของการปรองดองที่แท้จริง จึงไม่อาจกระทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงโทษผู้บงการที่แท้จริงและผู้รับคำสั่งระดับบนสุดที่กระทำอาชญากรรมการ เมืองต่างๆ ตลอดหลายปีมานี้ ก่อนที่จะไปอภัยโทษให้กับผู้รับคำสั่งระดับล่างและมวลชนที่เข้าร่วม ตลอดจนเยียวยาชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่าย

พรรคเพื่อไทยรู้ดีว่า การปรองดองแห่งชาติที่แท้จริงและรอบด้านนั้นยังไม่อาจกระทำได้ในขั้นปัจจุบัน ทางออกของพรรคเพื่อไทยจึงเป็นการปรองดองที่มุ่งประนีประนอมเป็นสำคัญ แต่ “ปราศจากความจริง” คือไม่มีความพยายามที่จะสืบสวนหาความจริงทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตปี 2549 ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่กระบวนการยุติธรรม

ด้วย เหตุนี้ การให้ความยุติธรรมของพรรคเพื่อไทยจึงหดแคบลงมาเหลือแค่การเยียวยาด้วยการชด เชยให้กับมวลชนทุกฝ่าย และที่น่าขบขันคือ เป็นการเยียวยาครอบคลุมถึงการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดตั้งแต่ปี 2549 ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ความจริงทั้งหมดด้วยซ้ำว่า ใครทำอะไรบ้าง ใครผิด ใครถูก

แม้ แต่แผนการของรัฐบาลที่จะออกกฎหมายสองฉบับคือ พระราชบัญญัติการปรองดองแห่งชาติ และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ก็มีแนวโน้มลูบหน้าปะจมูกเหมือนกรณีความขัดแย้งอื่นๆ ในอดีต คือ “ยกเลิกคดีของ คตส. ทั้งหมด หลับหูหลับตานิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่ายแล้วจบกัน”

การ เคลื่อนไหวเรื่อง “ปรองดอง” โดยแกนนำพรรคเพื่อไทยในวันนี้ จึงไม่ใช่การปรองดองแห่งชาติที่แท้จริง แต่เป็นความเพ้อฝันลมๆ แล้งๆ ที่จะประนีประนอม “หย่าศึก” กับเผด็จการจารีตนิยม อีกรอบก็เท่านั้นเอง

สิ่ง ที่พวกเขาจะเผชิญก็เหมือนความพยายามประนีประนอมครั้งก่อนๆ คือ “การสะดุ้งตื่นจากฝันหวาน” มาพบโลกความจริงอันขมขื่นเมื่อฝ่ายจารีตนิยมตอบโต้กลับด้วยอำนาจรัฐในมือ เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะสิ่งที่ฝ่ายนั้นไม่ยินยอมอย่างเด็ดขาดคือ การยกเลิกคดี คตส.ทั้งหมด ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับสู่ประเทศไทย และกลับสู่อำนาจการเมืองไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง

ถ้า ปล่อยให้เป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับว่า การลงทุนลงแรงของฝ่ายจารีตนิยมตลอดหกปีมานี้ “สูญเปล่า” และประสบความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง มิหนำซ้ำ พวกเขายังได้สูญเสียการครอบงำทางความคิดอุดมการณ์ต่อสังคมไทยไปจนเกือบหมด อีกด้วย

ฉะนั้น ทั้งพรรคเพื่อไทยและประชาชนที่รักประชาธิปไตยจะต้องไม่อยู่ในความประมาท ต้องไม่เพ้อฝันไปกับการประนีประนอมในขั้นตอนปัจจุบัน มองให้เห็นถึงธาตุแท้ของพวกเผด็จการ เก็บรับบทเรียนจากคณะราษฎร เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่เพื่อรับการตอบโต้ของฝ่ายจารีตนิยมที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ช้าก็เร็ว

ที่มา prachatai

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : จวกไม่แฟร์ผูกชะตาชาวบ้านติดคุก ไว้กับการนิรโทษฯ ให้แม้ว


เบื่อและเศร้า ที่จะต้องพูดซ้ำอีกนะ

แต่วัฒนธรรมการเมืองประเทศไทย มัน elitist - ให้ความสำคัญกับคนระดับนำ มากๆ

โดยเฉพาะ แม้แต่ใน "ค่าย" ที่อ้างประชาธิปไตย อย่าง เพื่อไทย นปช น่ะ

ช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการพูดเรื่อง ปรองดอง อะไรกันวันละหลายๆข่าว ทุกๆวัน

มีใครได้ยิน ฝ่าย เพื่อไทย นปช เอง พูดถึงเรื่อง คนธรรมดาๆ ที่ติดคุก อย่างให้ความสำคัญจริงๆบ้างไหม? (ผมเห็นมีการ "แตะๆ" อยู่ ดูเหมือน เต้น หรือ ตู่ พูด แต่พูดเพราะนักข่าวถาม แล้วตอบทำนองเหมือนเดิมเรื่องศาล หรือไงนี่แหละ โทษที ขี้เกียจไปหา link)

ที่เห็นพูดๆกัน ก็เรื่องทักษิณ (และการกลับของทักษิณ) เรื่อง คตส. เรื่อง อะไรต่ออะไรทำนองนี้ ที่เกียวกับระดับ elite ทั้งนั้น

ผมเขียนไปนานแล้ววว่า ถ้า ฝ่ายเพื่อไทย นปช ให้ความสำคัญกับเรื่องคนธรรมดาๆของตัวเองที่ติดคุกนะ

มันง่ายกว่าเรื่องทักษิณ เรืื่อง คตส. อะไรแบบนี้ ไม่รู้กี่เท่า

แค่เสนอ พรบ.นิรโทษกรรม แยกให้เฉพาะคนเหล่านี้

อย่างช้่วงที่ผ่านๆมา การที ปชป หรือ อีกฝ่าย ออกมาคัดค้าน ก็จะเห็นว่า ประเด็นของพวกนั้น อยู่ที่ ทักษิณ คตส. อะไรแบบนี้ เป็นหลัก พวกนั้น ก็ไม่ได้แคร์อะไรเรือ่งจะ นิรโทษ หรือ ปรองดอง ระดับชาวบ้านๆ (คือ elitist พอๆกันน่ะแหละ)

มันไม่แฟร์ มัน elitist มากๆ ที่ ไม่ให้ความสำคัญของคนธรรมดาๆเหล่านั้น ทั้งๆที่เขาเดือดร้อนที่สุด (เดือนร้อน กว่าคุณทักษิณ ไม่รู้กี่เท่า ที่คุณทักษิณว่า "ผมถูกกระทำมากที่สุด" ไม่จริงหรอกครับ โดยเปรียบเทียบกันแล้ว มันห่างกันเยอะครับ)

ไม่แฟร์ และ elitist มาก ที่เอาชะตากรรม อิสรภาพของคนเหล่านั้น ไป "ผูก" รออยู่กับเรื่อง การนิรโทษกรรมทักษิณ เรื่อง "ปรองดอง" ระดับผู้นำๆทั้งหลาย

ที่มา fb สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

เหตุผลที่ผมไม่ค่อยด่าพวกสลิ่ม แต่ด่าแกนนำแดง

โดย ยึดถืออุดมการณ์ ไม่ยึดตัวบุคคล
โพสในกลุ่มมดแดงล้มช้าง เมื่อ 21 มี.ค. 2555

"เหตุผล ที่ผมไม่ค่อยด่าพวกสลิ่ม แต่ด่าแกนนำแดง เพราะผมมองว่าพวกเหลือง พวกสลิ่ม นับวันก็ยิ่งน้อยลง พธม.ปลุกไม่ขึ้น พลพรรค ปชป. ก็ทำท่าว่าจะได้เป็นฝ่ายค้านดักดาน และคนเสื้อแดงเองก็รู้เช่นเห็นชาติในความเลวของพวกอำมาตย์เป็นอย่างดี ตั้งแต่ระดับลิ่วล้อไปจนถึงหัวหน้าใหญ่ ความเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยของคนพวกนี้ลดลงเพราะฤทธิ์เดชของคนพวกนี้ลดลง เรื่อยๆ

แต่แกนนำแดง พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ยึดกุมอำนาจรัฐ(แม้ไม่ทั้งหมด) มีมวลชนสนับสนุนมหาศาล ได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์สากล ที่โลกทุกวันนี้ประชาธิปไตยเป็นกระแสหลักของสังคมโลก อนาคตมีแต่จะเพิ่มจะขยายตัว

แต่ปัญหาคือ พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล กลับแสดงท่าทีเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมเสียเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกมาต่อต้านการแก้ไข 112 การไม่แตะ พรบ.กลาโหม ไม่ให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ และเร่งเข็นแผนปรองดองออกมาในขณะที่ยังไม่สามารถให้ความยุติธรรมกับวีรชนได้

ในขณะที่แกนนำแดงซึ่งประกาศตัวว่าต้องการสร้างประชาธิปไตย ก็ไม่กล้าแตะประเด็น 112 ไม่กล้าวิจารณ์กดดันรัฐบาลให้เดินอยู่บนแนวทางประชาธิปไตย ไม่เป็นผู้นำทางความคิดในทางประชาธิปไตยให้มวลชน ไม่จุดประเด็นที่ก้าวหน้าออกมาสู่สังคมอย่างที่นิติราษฎร์ทำ เอาแต่จัดคอนเสิร์ต ประกาศต้าน รปห และก็เสนอแก้ไข รธน. ในบางเรื่องบางประเด็น

ผมเห็นว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปจะเป็นการพายเรือในอ่าง ทำให้มวลชนเสื่อมศรัทธา หรือนำไปสู่กระแสต่ำทางการเมือง อย่างเลวร้ายที่สุดก็คือการถูกพวกอำมาตย์หลอกให้ปรองดองแล้วทำลายในภายหลัง จะทำให้พลังมวลชนที่ควรจะเป็นพลังสร้างประชาธิปไตย ถูกทำลาย หรือกลายเป็นพลังอนุรักษ์นิยมไป

ผมมองว่า ผู้นำพลังแดงที่กำลังขยายตัวแต่กลับพาพลังที่ยิ่งใหญ่นี้ไปสยบยอมแก่อำมาตย์ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อประชาธิปไตย ยิ่งเสียกว่าตัวพวกอำมาตย์เอง ที่ลำพังตัวมันเองกำลังนับถอยหลังและกำลังพ่ายแพ้ แต่พวกมันจะพลิกกลับมาชนะได้ก็เพราะผู้นำแดงที่พามวลชนไปยอมแพ้มัน" 

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : วิธีดีเฟนด์ แกนนำ นปช-เพื่อไทย กรณีสุรชัย-สมยศ แบบนี้ บอกตรงๆว่า "ทุเรศ"

อ้างอิง :

บทความ auss ที่ลงใน ไทยอีนิวส์
http://thaienews.blogspot.com/2012/03/2_21.html
บทความเดิมของ auss อยู่ที่นี่  

http://www.konthaiuk.eu/forum/index.php?topic=21217.0

***********************************



วิธีดีเฟนด์ แกนนำ นปช-เพื่อไทย กรณีสุรชัย-สมยศ แบบนี้ บอกตรงๆว่า "ทุเรศ" ครับ

ไทยอีนิวส์ ได้เผยแพร่บทความของผู้ใช้ชื่อว่า "auss" จากเว็บบอร์ด konthai uk ซึ่งเป็นบทความตอบโต้การที่ ไทยอีนิวส์ วิจารณ์แกนนำ นปช-เพื่อไทย

ผมจะไม่พูดถึงประเด็นอื่นๆของบทความ auss แต่จะจำกัดเฉพาะประเด็นที่ auss พูดถึง สุรชัย และ สมยศ ในลักษณะที่พยายามจะดีเฟนด์ท่าทีของ แกนนำ นปช-เพื่อไทย

auss เขียนว่า

"ส่วนคดี ๑๑๒ นั้นถ้าไม่ดัดจริตกันอีกก็ต้องมองเห็นข้อเท็จจริงในเนื้อหาที่คนที่ถูกคดี เช่นสุรชัยและสมยศนั้นเข้าข่ายกระทำความผิดหรือไม่?และสุรชัยเองก็จำนนด้วย การสารภาพ(จะยอมหรือไม่ก็ต้องถามสุรชัยเองหรือแล้วแต่จะคิด)แต่ถ้าหากใครเคย ฟังการปราศรัยในหลายๆเวที ถ้าไม่ดัดจริตอีกก็ต้องทราบว่า สุรชัยพูดว่าอย่างไรบ้าง? ....

"ส่วนสมยศหากใครติดตามการดำเนินกิจกรรมทั้งเวทีและหนังสือที่ทำ หากไม่ดัดจริตก็พอจะทราบว่าความหมายในเนื้อหาหรือจุดประสงค์ของเขาหมายถึง อะไร?และสุ่มเสี่ยงต่อความผิดในข้อกล่าวหานี้หรือไม่?..."

พูดง่ายๆคือ auss กำลังบอกว่า "ถ้าไม่ดัดจริต" ก็ต้องยอมรับว่า สุรชัย กับ สมยศ น่ะผิดจริง ดังนั้น ที่โดนจับไปก็ช่วยอะไรไม่ได้แบบนั้น และที่ นปช.-เพื่อไทย ไม่ทำอะไรกรณีเหล่านี้ ก็ต้องดูว่า เพราะสุรชัย-สมยศเองน่ะ ดันไปทำผิดเอง อะไรแบบนั้น

บอกตรงๆว่า เป็นการเขียนที่ "ทุเรศ" มากๆครับ

ถ้าผมใช้ "ตรรกะ" แบบเดียวกับ auss ผมก็เขียนได้ว่า

"ถ้าไม่ดัดจริต ก็ต้องทราบว่า" ที่ ก่อแก้ว พูดทีเชียงราย จนโดน 112, ที่ "ดีเจ อ้อม" พูดออกอากาศ จนโดน 112, ทีจตุพร ปราศรัย เรื่อง "กระสุน ..." จนโดน 112 นัน

"เข้าข่าย", "สุ่มเสี่ยง" "ถ้าไม่ดัดจริตก็พอจะทราบว่าความหมายในเนื้อหาหรือจุดประสงค์ของ" (ก่อแก้ว, ดีเจอ้อม, จตุพร) "หมายถึงอะไร"

เอาอย่างนี้ไหมล่ะครับ?

คือพูดง่ายๆว่า สำหรับ auss แล้ว ที่ สมยศหรือสุรชัย โดนน่ะ "ถ้าไม่ดัดจริต" ก็ต้องรู้ว่า 2 คนนั้น น่ะ "หมิ่น" จริง

ครับ ด้วยตรรกะ เดียวกัน "ถ้าไม่ดัดจริต" ก็ต้องรู้ว่า ก่อแก้ว, ดีเจอ้อม และ จตุพร หมิ่นฯ จริง ใช่ไหม?

กรณี ก่อแก้ว ดีเจอ้อม จตุพร ยิ่งเห็นชัดว่า ทีสมยศหรือสุรชัย ยังอยู่ในคุกนั้น ปัญหาไมใช่เพราะสมยศหรือสุรชัย "แส่" เอง พูดอะไรทีมันผิดเอง อย่างที auss พยายามจะสื่อ แต่เพราะว่า นปช. ยินดีจะใช้ "กำลังภายใน" ช่วยใคร ไม่่ช่วยใคร แค่ไหน ต่างหาก

วิธี "ดีเฟนด์" แกนนำ โดยการโยนความผิดไปให้คนติดคุกเสียเองแบบนี้ มัน "ทุเรศ" ครับ

...................

ปล. เรื่องที่ auss ยกมาคุยว่า

"สิ่งที่รมต.ยุติธรรมและรองนายกฯทั้งสามคนดำเนินการเพื่อแยกควบคุมคนต้องขัง ในคดีการเมืองก็สำเร็จเรียบร้อยและเห็นชัดเจนว่าได้ทำไปอย่างรวดเร็วแต่อาจ จะไม่ทันใจพวกที่อ้างก้าวหน้าหรือไม่?นี่ถ้าไม่ดัดจริตก็ต้องเห็นกัน"

ขอให้สังเกตว่า auss ชอบคำว่า "ดัดจริต" เป็นพิเศษ ซึ่งน่าสมเพช เพราะจริงๆ ผุ้มีปัญญา เหตุผล และจิตใจมนุษยธรรม ประชาธิปไตย ควรเห็นได้ไม่ยากว่า คนที่ "ดัดจริต" จริงๆคือ auss นั่นแหละ

ไอ้เรื่อง "ย้ายคุก" "อย่างรวดเร็ว" ถึงขณะนี้ ยังอุตส่าห์ ยกมาคุยได้อีก

มันน่าสมเพชขนาดไหน

("ย้าย" ก็ยัง "คุก" โว้ย ครับ และ ก็ไมใช่ "นักโทษการเมือง" ทุกคนด้วย ที่ได้รับการย้าย จะอ้างว่า "สำเร็จเรียบร้อย" ได้อย่างไรครับ? ไม่ต้องพูดถึงการยังมีหน้ามา "ดัดจริต" แขวะเรื่อง "ไม่ทันใจพวกที่อ้างก้าวหน้า"

ไอ้คนที่ย้าย "สำเร็จเรียบร้อย" น่ะ ติดคุกมาเกือบ 2 ปีแล้ว ยังจะมีหน้ามาพูดแขวะเรื่อง "ไม่ทันใจ" อีกหรือครับ? ควรจะมีความละอายใจบ้าง มีมนุษยธรรมในใจบ้าง

จะดีเฟนด์ แกนนำ ก็เป็นสิทธิ ผมส่งเสริมด้วย จะได้มาดีเบตกัน

แต่วิธีดีเฟนด์แบบนี บอกตรงๆอีกครั้งว่า "ทุเรศ" ครับ


ที่มา fb สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

((ร่าง)) ระเบียบการ สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง (ฉบับแก้ไขใหม่)




หมาย เหตุ :: หมู่บ้านคนเสื้อแดงแห่งหนึ่ง ทางอิสานได้ส่งต่อร่างฉบับนี้มาให้ เราเห็นว่ามีประโยชน์ จึงขอให้รีบช่วยกันเผยแพร่ให้หมู่บ้านแดงร่างระเบียบการด่วน จึงจะเข้มแข็ง มีทิศทาง และการแบ่งงานกันทำจริงๆ ไม่ใช่มีแต่ "ขึ้นป้าย" ถ่ายบัตร นปช. และร้องรำทำเพลงกันอยู่เลย มาแบ่งงานกันทำกันเถอะค่ะ



((ร่าง))
ระเบียบการ สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง
หมู่บ้าน..........ตำบล............อำเภอ................จังหวัด..............................
                     พ.ศ. 2555

************************************

ตาม ที่ลักษณะสังคมไทยเป็น “ระบอบทุนผูกขาดอำมาตย์อันธพาลเหนือรัฐ”  ที่ทำให้ประชาชนตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการอันธพาล ไร้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมิได้เป็น “ผู้ใช้” อำนาจตัดสินใจสูงสุดตามระบอบประชาธิปไตยแม้แต่น้อย   ตลอดจน ต้องตกอยู่ในระบบขูดรีดของทุนนิยมผูกขาดอำมาตย์อันธพาล และการถูกครอบงำทางวัฒนธรรมไพร่ทาส   ไร้พลังควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารกลไกการออกกฎหมาย การบริหาร และการยุติธรรมของประชาชน  ทำให้ประชาชนจำยอมเป็นเพียงผู้ทนรับจ้างผลิตและหาเลี้ยงชนชั้นทุนผูกขาด อำมาตย์เหนือรัฐ  มีความยากจนขาดแคลน  ท่ามกลางโภคทรัพย์มั่งคั่ง  ขาดสิทธิและโอกาสในปัจจัยการผลิต การตลาด การเงิน การแลกเปลี่ยนแบ่งปันและการบริโภค ภาวการณ์เช่นนี้  ประชาชนผู้มีอุดมการณ์สร้างสรรค์ประชาธิปไตยแบบใหม่  ที่เน้นการกระจายอำนาจ เพิ่มบทบาทประชาธิปไตยแบบล่างสู่บน เปิดโอกาสแก่ลูกจ้าง ผู้ประกอบการ เกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าและบริการทุกสาขาอาชีพ  ได้ แสดงบทบาททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   จึงรวมตัวกันจัดตั้ง “สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง” ขึ้น   ตามระเบียบที่ผ่านการอนุมัติ จากการประชุมสมัชชาสมาชิก เมื่อ... พ.ศ.๒๕๕๕ ดังนี้


หมวดที่  1 
ข้อความทั่วไป



ข้อที่  1.  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบการ สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง บ้าน...........หมู่ที่..... ตำบล............อำเภอ........... จังหวัด............................ พ.ศ.๒๕๕๕”


ข้อที่  2.  ปรัชญาและหลักการสำคัญของสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง คือ การส่งเสริมประชาธิปไตยแบบล่างสู่บน และขยายกรอบการใช้ประชาธิปไตยให้มีความถี่ และ กว้างขวาง ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ อายุ เพศ วัยและการศึกษา ในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสร้างวัฒนธรรมที่ดี  ที่ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจและร่วมปฏิบัติการเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนเอง  โดยการเคารพในสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และความเป็นพี่น้อง มีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง  ก่อนนำนโยบาย โครงการ และกิจกรรมไปปฏิบัติ ต้องมีการประชุมอภิปราย และออกเสียงลงมติ  มีระบบการนำรวมหมู่ รับผิดชอบโดยบุคคล


ข้อที่  3.  ระเบียบนี้ใช้ปฏิบัติร่วมกัน ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
         

ข้อที่   4.   ในระเบียบนี้
                   “สมัชชา”   หมายความว่าองค์ประชุมใหญ่ของสมาชิก
                   “สมัชชาภาค” หมายความว่า การประชุมใหญ่ของสมาชิกระดับภาค                                                
                   “สมัชชาจังหวัด”  หมายความว่า  องค์กรใหญ่ที่ประกอบด้วยสมาชิกระดับจังหวัด
                   “สมัชชาอำเภอ”  หมายความว่า  องค์กรใหญ่ที่ประกอบด้วยสมาชิกระดับอำเภอ
                   “สมัชชาหมู่บ้าน” หมายความว่า  องค์กรใหญ่ที่ประกอบด้วยสมาชิกระดับหมู่บ้าน
                   “คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง” หมายความว่า คณะผู้บริหารจัดการ และติดตามการดำเนินงานสมัชชาประชาธิปไตยแบบใหม่ ของหมู่บ้านคนเสื้อแดง


หมวดที่ 2 
สมาชิกหมู่บ้านคนเสื้อแดง 



ข้อ  5.  คุณสมบัติของสมาชิก
5.1 เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพ หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่บ้าน และมีสมาชิกให้คำรับรองในใบสมัคร  ไม่น้อยกว่า ๒ คน

5.2  เป็นผู้มีอุดมการณ์หรือเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยแบบจากล่างสู่บน

5.3  เป็นผู้ชำระค่าบำรุงแก่สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง   เดือนละ ๑ บาท

5.4  ผู้ที่พักอาศัยนอกหมู่บ้าน สมัครใจเป็นสมาชิกสมทบ หรือสมาชิกกิตติมศักดิ์ได้ โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดงเสียงข้างมาก

5.5 สมาชิกสมทบและสมาชิกกิตติมศักดิ์ อาจได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสมัชชาหมู่บ้าน คนเสื้อแดงได้ มีสิทธิเข้าประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ


ข้อ  6.  การสมัครเป็นสมาชิก
6.1 ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง ได้ที่คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง

6.2 คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง เป็นผู้พิจารณารับบุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิก


หมวดที่  3 
คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง


ข้อ  7.  คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง  มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก จากองค์ประชุมใหญ่ของสมัชชา โดยสมาชิกเป็นผู้เสนอชื่อ และมีสมาชิกในที่ประชุมรับรองไม่น้อยกว่า ๓ คน

ก่อนลงคะแนน ผู้ถูกเสนอชื่อต้องกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม ในกรอบเวลาตามที่ประชุมกำหนด


ข้อ  8.  คณะกรรมการสมัชชา มีจำนวน ๑๕ คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๑ ปี


ข้อ  9.  ให้คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง เลือกกรรมการด้วยกันเป็น   ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก และฝ่ายต่างๆ


ข้อ  10.  คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง  เลือกกรรมการสมัชชาฝ่าย  เพื่อรับผิดชอบดำเนินงาน ด้านการเมือง ด้านความมั่นคงและป้องกันตนเอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านทะเบียนและจัดตั้งกลุ่มมวลชน


ข้อ  11.  ประธานกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง มีหน้าที่ดังนี้
(1) เป็นประธานที่ประชุม

(2) เรียกประชุมสมัชชาฯหรือคณะกรรมการสมัชชา

(3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสมัชชาเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมติสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดงหรือมติคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง

(4) จัดการศึกษาทางการเมือง และการศึกษาด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อสมาชิก ตามระบอบประชาธิปไตยแบบใหม่ และระดมสมองหาแนวทางสร้างสรรค์เศรษฐกิจแบบประชาธิปไตยประชาชน   แก่สมาชิก เป็นประจำและทั่วถึง

(5) เป็นตัวแทนในการประสานงานทางการเมืองกับหน่วยงานแนวร่วม องค์กรคนเสื้อแดงอื่น หรือสมัชชาคนเสื้อแดงระดับภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล

(6) ในการประสานงาน หรือก่อนมีข้อตกลงใดๆ กับองค์กรฝ่ายเผด็จการทุนผูกขาดอำมาตย์เหนือรัฐ ให้ประธานสมัชชาขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง และจัดทำรายงานต่อคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง

(7) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อุดมการณ์ แนวทาง นโยบายของสมัชชา ติดตามงานของแต่ละฝ่าย

(8) จัดประชุมสมัชชาครั้งต่อไป โดยจัดทำเอกสารสรุปรายการผลการปฏิบัติงาน ยกร่างปรับปรุงแก้ไขระเบียบการใหม่(ถ้ามี) และส่งมอบงานแก่คณะกรรมการสมัชชาชุดต่อไป


ข้อ 12.  คณะ กรรมการสมัชชาฝ่ายเศรษฐกิจ มีหน้าที่ ดูแลการเงิน รายได้และรายจ่ายของสมัชชา จัดทำบัญชีตามระบบบัญชี  พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพ การผลิต การตลาด สินค้า และการบริการกันเองในหมู่สมาชิก เช่น น้ำดื่ม เสื้อผ้า อาหาร การช่าง การซ่อมแซมอาคารที่พักอาศัย การท่องเที่ยวฯลฯ


ข้อ  13.  เลขานุการสมัชชา  มีหน้าที่ติดต่อประสานงานประจำวันทั่วไป  นัดประชุม จัดระบบสื่อสารในยามปรกติ และยามฉุกเฉิน  จัดอบรมการสื่อสารเฉพาะกิจ เฉพาะกลุ่ม เฉพาะภารกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ  จดและทำ บันทึกรายงานการประชุม  ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานของสมัชชา


ข้อ  14.  คณะกรรมการสมัชชาฝ่ายความมั่นคงและป้องกันตนเอง มีหน้าที่ จัดฝึกอบรมความรู้การป้องกันภัย การปฐมพยาบาลฉุกเฉินเบื้องต้น จัดทำทะเบียนบัญชีลับผู้อาจเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย ที่อาศัยในพื้นที่สมัชชา และนอกพื้นที่สมัชชา ป้องกันภัยเผด็จการ อาชญากรรมและยาเสพติด จัดตั้งเยาวชนอาสาสมัครปกป้องประชาธิปไตย หมั่นออกสำรวจที่ตั้ง ที่พักอาศัย ที่ทำงานของผู้อาจเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตยในพื้นที่สมัชชา จัดเวรยามดูแลทรัพย์สินประชาชน


ข้อ  15.  คณะกรรมการสมัชชาฝ่ายสื่อสารมวลชนและประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่ผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต เอกสาร  สิ่งพิมพ์  จัดเวทีปราศรัย  จัดหน่วยศึกษาย่อย จัดทำนิทรรศการเคลื่อนที่ ให้ข่าวสาร ข้อมูลแก่สมาชิก และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย


ข้อ  16.  กรรมการสมัชชาฝ่ายทะเบียนและการจัดตั้ง มีหน้าที่ เก็บค่าบำรุงสมาชิกส่งให้ฝ่ายการเงิน  จัดทำและรักษาสมุดทะเบียนสมาชิก และหมั่นออกเยี่ยมเยือนสมาชิก จัดตั้งกลุ่มเยาวชน เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ในด้านการกีฬา นันทนาการและการอาชีพ


ข้อ  17.  ให้มีการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปี ปีละ  1  ครั้ง  เพื่อสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปี  เลือกตั้งคณะกรรมการสมัชชาชุดใหม่ และลงมติผ่านแนวทาง ระเบียบการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในรอบปีต่อไป


ข้อ 18.  นอก เหนือจากการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปีแล้ว คณะกรรมการสมัชชาอาจเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ เมื่อมีเหตุที่ต้องขอมติ หรือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกตามระเบียบนี้ หรือเมื่อสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าสิบคน เข้าชื่อเสนอให้มีการประชุมใหญ่


ข้อ 19.  ในการประชุมสมาชิกต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุม
         

ข้อ  20.  การรับเข้า และปลดออก เกี่ยวกับสมาชิกภาพและตำแหน่งหน้าที่ในระเบียบฯนี้  ให้เป็นอำนาจของมติที่ประชุมเสียงข้างมากของคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคน เสื้อแดง


หมวดที่ 4
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง



ข้อ 21. ให้คณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระเบียบโดยการ เสนอต่อที่ประชุมใหญ่สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง เพื่อให้สมาชิกพิจารณาลงมติเห็บชอบ


ข้อ 22. การแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนข้อความใดๆ ในระเบียบข้อบังคับสมัชชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียง เกินกึ่งหนึ่ง ของสมาชิกทั้งหมด


หมวดที่ 5
บทเฉพาะกาล


ข้อ 23. ใน วาระเริ่มแรกของการก่อตั้งสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง นี้  ได้ดำเนินการโดยคณะผู้ริเริ่มก่อตั้งจากผู้มีอุดมการณ์และเอาการเอางาน  จึงกำหนดให้สมาชิกผู้ริเริ่มดังกล่าวเขียนใบสมัคร ยื่นแก่นายทะเบียนตามระเบียบ


ข้อ 24. ให้ประธานคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้



ประกาศใช้   ณ  วันที่  .....   เดือน  ………… พ.ศ.   2555

            (ลงชื่อ)…………………………………..
                      (  ................................................  )
             ประธานคณะกรรมการสมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดง
บ้าน........หมู่ที่........ตำบล...........อำเภอ..........จังหวัด.............................



Download (ร่าง)  ระเบียบการ สมัชชาหมู่บ้านคนเสื้อแดงได้ที่  http://www.mediafire.com/?9t078829hlo3mmp

ปล.หมู่ บ้านใดที่สนใจนำร่างนี้ไปใช้ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ และสามารถนำไปให้ชาวบ้านอภิปราย และแก้ไขรายมาตรา ก่อนที่แต่ละหมู่บ้านจะประกาศใช้

""""""""""""""""""""""""""""""

QUOTE
คำพูดของคุณพี่พยอม หนูสูงเนิน ที่ถูกจับและต้องโทษติดคุก 1 ปี 6 เดือน http://thaienews.blogspot.com/2011/07/314914.html

พี่พยอม : ตอนแรกน่ะนะ พี่กับพี่โชค ก็เป็นพ่อค้าแม่ค้าขายเสื้อแดงธรรมดานี่แหล่ะ ไปๆมามาพอรู้จักคนเยอะเข้า ก็เริ่มมีลูกน้อง แล้วก็เข้าไปทำงานกับการ์ดส่วนกลาง ไปขึ้นตรงกับพี่อารีย์(อารีย์ ไกรนรา) แล้วพอดีว่าในลูกน้องที่เป็นการ์ดนั้น มันมีสายจากฝั่งตรงข้ามมาแฝง คอยรายงานนายมัน ชื่อไอ้โต้ง กับไอ้ตี๋ แล้วก็ยังมีอีกหลายคน ส่วนใหญ่ที่โดนจับกันก็เพราะไอ่ที่เป็นสายมาแฝงตัวนี่แหล่ะ

.......................................

จากคำพูดของคุณพี่พยอมเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความชั่วร้าย เลวทราม บกพร่อง และไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของชีวิตมวลชน ของแกนนำนปช.เลยสักนิด

กรณีที่แกนนำนปช. รับคนเข้าเป็นสมาชิก โดยแค่ถ่ายบัตรนปช. แล้วตบทรัพย์ค่าบัตร ๕๐ บาท โดยไม่มีคนรับรอง ไม่ประชุม ไม่มีสิทธิ์อะไร มีแต่ถูกฆ่าทิ้ง ถูกจับยัดคุก/ยัดข้อหา นี่หรือคือการรับสมาชิกแบบส่งเดช และตบทรัพย์ของแกนนำนปช. อีกทั้งยังไม่มีการยกระดับการศึกษาย่อยให้สมาชิกเลย

ดิฉันจึงเห็นข้อดีของร่างระเบียบการฯที่จำเป็นจะต้องมีคนรับรองในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพื่อ ""สกัดกั้นสายลับ""

เพราะหากคนเสื้อแดงยังไม่ตระหนัก ถึงตรงนี้ ในอนาคตข้างหน้า อีกไม่นานเกินรอ พวกคุณจะถูกทำร้าย ถูกชี้เป้า ถูกอุ้ม ถูกฆ่า ถูกจับยัดข้อหา ถูกจับยัดคุกแบบที่แล้วๆมา

ที่ผ่านมา กรณีฆ่าอ้วน บัวใหญ่แกนนำคนเสื้อแดงโครา
การฆ่านายอุดมทรัพย์แกนนำเสื้อแดงแพร่ขณะกำลังเล่นแคมฟร็อก
การฆ่านายวิสุทธิ์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภูเก็ต และแกนนำเสื้อแดงภูเก็ต
และอีกหลายๆกรณีทั้งที่เป็นข่าว และไม่เป็นข่าว
 

พวกคุณคิดว่าพวกเขาตายเพราะอะไร ถ้ามิใช่เพราะมีสายลับแฝงเข้ามาสืบข่าว ชี้เป้า เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันของพวกเขา

นี่เป็นเพราะ ความหละหลวมในการจัดตั้ง ในการรับสมาชิก และการไม่ให้การศึกษาเรียนรู้ของแกนนำนปช.


วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี ๒๕๕๕ พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ

โดย Phuttipong Ponganekgul


สำรวจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ [๑] "งบประมาณสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์" [๒] มีรายการดังต่อไปนี้


สำนักราชเลขาธิการ

มาตรา ๒๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๕๒๕,๕๑๒,๖๐๐ บาท


สำนักพระราชวัง

มาตรา ๒๕ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๒,๗๙๔,๙๕๗,๐๐๐ บาท



สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

มาตรา ๒๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๖๐๓,๕๑๖,๙๐๐ บาท


ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

มาตรา ๔ (๓) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๔ (๔) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ  ๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท


สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

มาตรา ๕ ข้อ ๑ (๒) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๔๒,๖๐๖,๘๗๕ บาท


สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

มาตรา ๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๑,๕๕๘,๐๖๔,๔๐๐ บาท


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

มาตรา ๖ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๖๕,๐๑๘,๒๐๐ บาท


กรมราชองครักษ์

มาตรา ๖ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๖๑๕,๓๕๙,๑๐๐ บาท


กองบัญชาการกองทัพไทย

มาตรา ๖ ข้อ ๓ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๒๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท


กองทัพบก

มาตรา ๖ ข้อ ๔ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท


กองทัพเรือ

มาตรา ๖ ข้อ ๕ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๑๒,๒๔๖,๑๐๐ บาท


กองทัพอากาศ

มาตรา ๖ ข้อ ๖ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๒๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท


สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

มาตรา ๑๗ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๓๐,๒๐๐,๐๐๐ บาท


กรมโยธาธิการและผังเมือง

มาตรา ๑๗ ข้อ ๖ (๒) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๑,๐๑๐,๐๙๒,๐๐๐ บาท


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มาตรา ๒๕ ข้อ ๗ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  ๔๕๐,๒๒๗,๘๐๐ บาท


รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๕ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๑,๒๐๘,๘๐๐,๙๗๕ บาท  (อ่านว่า หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท)[๓].

_____________________


เชิงอรรถ


[๑] โดยดู พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ ใน ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๕ ก, ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/015/1.PDF [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕].


[๒] ในทางตำราเรียก 'เงินรายปีสำหรับรักษาพระเกียรติ' อาทิ หยุด แสงอุทัย. คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๑๑ (เรียงมาตรา). พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : กรุงสยามการพิมพ์. หน้า ๔๗. ; 'เงินรายปีเพื่อพระเกียรติยศ' อาทิ ไพโรจน์ ชัยนาม. คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม ๒ กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ตอนที่ ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒๔๙๕. หน้า ๑๖๖. ทั้งนี้ ไพโรจน์ ชัยนาม ตั้งข้อสังเกต (ประเด็น อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ) ด้วยว่า "เงินรายปีซึ่งชาติถวายให้แก่พระมหากษัตริย์นี้ บางประเทศก็มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนไทยหาได้มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ แต่นำไปกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณทุก ๆ ปี ฉะนั้นเงินจำนวนนี้จึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามฐานะแห่งการเงินของประเทศ... สุดแต่ความจำเป็นและตามความเหมาะสมของฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ" (หน้า ๑๖๗) 


ทั้งนี้ ควรกล่าวเพิ่มเติมว่า นับแต่ พุทธศักราช ๒๔๗๗ - ๒๕๐๑ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ จะระบุโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับ "เงินงบในพระองค์" (ถ้อยคำในปี ๒๔๗๗, ๒๔๗๘), "เงินงบพระมหากษัตริย์" (ถ้อยคำในปี ๒๔๗๙ ถึง ๒๕๐๑) เป็นส่วนหนึ่ง และสำนักพระราชวัง กับสำนักราชเลขาธิการ เป็นอีกส่วนหนึ่ง และตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ จะไม่ระบุ "เงินงบพระมหากษัตริย์" แต่ระบุเพียงส่วน งบสำนักพระราชวัง และสำนักราชเลขาธิการ และปรากฏงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์กระจายตามส่วนราชการขึ้นแทน.


[๓] อาจเทียบเคียงกับ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๔ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน ๑๐,๗๘๑,๓๕๐,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล. "งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์" : http://prachatai.com/journal/2011/05/34508 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔].

ที่มา fb Phuttipong Ponganekgul

'สมศักดิ์ เจียม' ดันปัญญาชนไทยคิดยาว-ทำใหญ่ "ปฏิรูปสถาบัน"


 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อภิปรายในงาน “แขวนเสรีภาพ” เสนอการแก้ไขเฉพาะ ม. 112 อย่างเดียวไม่พอ เสนอตั้ง “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” เน้นรณรงค์ปฏิรูปสถาบันรอบด้าน ชี้ถ้าไม่ยกเลิกองค์ประกอบอย่างมาตรา 8 ไทยก็ไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย

 18 มี.ค. 55 – ในงาน “แขวนเสรีภาพ” ซึ่งจัดโดยคณะนักเขียนแสงสำนึก ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว มีการจัดงานอภิปรายทางวิชาการในหัวข้อ Sovereign Community โดยสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ และการรณรงค์เพื่อแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 มีเนื้อหาสาระดังนี้

สมศักดิ์ เปิดการอภิปรายด้วยการกล่าวถึงการจัดงานเผาพระเมรุที่ท้องสนามหลวงเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ  ซึ่งมองว่าเป็นตัวดัชนีชิวัดความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยได้ จากการดูว่าประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์หรืออภิปรายเรื่องดังกล่าวในที่สาธารณะได้หรือไม่ ถ้าหากว่าไม่ได้ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตย เพราะหากใช้มาตรฐานเดียวกันกับนักการเมือง เช่น หากญาติของนักการเมืองเสียชีวิต แล้วมีการใช้เงินหลายพันล้านบาท เพื่อที่จะใช้จ่ายเป็นค่าจัดงานศพ แล้ว เหล่านักวิชาการหรือภาคส่วนอื่นๆ ก็จะคงจะทนไม่ได้ออกมาคัดค้านอย่างเป็นแน่แท้ หากแต่เมื่อเป็นเรื่องของสถาบันกษัตริย์ กลับไม่มีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์

เช่นเดียวกับการนำเสนอข่าวพระราชสำนักในเวลาสองทุ่ม ไม่มีการนำเสนอข่าวสารที่ใด ที่เป็นการนำเสนอด้านเดียวเช่นนี้ และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อีก จึงแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า ในขณะนี้ประเทศไม่ได้เป็นประชาธิปไตย

เมื่อโยงเข้ามากับเรื่องการรณรงค์ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ที่เสนอให้แก้กฎหมายเพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ ได้ แต่ยังยกข้อยกเว้นไว้ถึงการด่าทอเสียหาย มองว่า ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าแปลก และตั้งคำถามว่า ทำไมเมื่อเราคิดถึงเรื่องสถาบัน จึงต้องคิดถึงบรรทัดฐานอีกแบบหนึ่ง แต่หากคิดถึงเรื่องนักการเมือง เราถึงด่าได้

ประเมินการรณรงค์ของครก. 112 ว่า หลังจากที่รวบรวมชื่อได้แล้ว 10,000 ชื่อและยื่นต่อสภาสำเร็จ กระแสเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ น่าจะลดลง โดยถ้าหากประธานสภาไม่ตีความเรื่องนี้ให้เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจะทำให้การอภิปรายตกลงไป หรือไม่ก็อาจจะดองเรื่องนี้ไว้เป็นปีๆ จนลืม ประกอบกับเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง ก็อาจจะทำให้การกระแสเรื่องการแก้กฎหมายหมิ่นและเรื่องเกี่ยวกับสถาบันโดยรวมซาลงไปในที่สุด ทั้งนี้ สถานการณ์ในไทย ต่างจากประสบการณ์ในต่างประเทศ ที่ในการต่อสู้เรื่องประชาธิปไตย รัฐสภามักจะเป็นฝ่ายที่ต่อสู้กับอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ในประเทศไทยกลับไม่มีใครในสภาไม่ว่าจากฝ่ายใดที่จะกล้าแตะต้องเรื่องนี้ ไม่มีแม้แต่การริเริ่มที่จะช่วยนักโทษที่ยังต้องติดคุกอยู่จากคดีการเมือง

จึงมีข้อเสนอคือ ให้มุ่งเปลี่ยนการรณรงค์เพียงการแก้ไขม. 112 เป็นการมุ่งรณรงค์เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในระยะยาว โดยอาจเปลี่ยนองค์กรอย่าง “ครก. 112” เป็น “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่มุ่งเน้นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างรอบด้าน เนื่องจาก มาตรา 112 เป็นเรื่องที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถานะของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น จะเห็นจากเมื่อเปิดการโต้เถียงเกี่ยวกับมาตรา 112 คนที่ไม่เห็นด้วย ก็จะอ้างว่าสถาบันมีคุณงามความดี ทำประโยชน์กับประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป็นการโต้เถียงกันคนละเรื่อง สรุปว่า มาตรา 112 เป็นเพียงตัวแสดงออกท้ายๆ ของสถานะของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น จึงตั้งคำถามประเด็นนี้ต่อนักวิชาการหรือคนอื่นๆ ที่อยู่ในครก. 112 ไปด้วยพร้อมกัน

คำถามในตอนนี้ก็คือว่า ทำไมเราไม่ยกระดับการรณรงค์เรื่องนี้ไปสู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มตัว เพราะถ้าหากว่ากลุ่มที่รณรงค์ต้องการจะเปิดพื้นที่การดีเบตจริงๆ หรือให้มีการยกเลิกม. 112 ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญหน้ากับเรื่องนี้ และการที่จะสามารถท้าทายให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอภิปรายเรื่องนี้ และพิสูจน์เช่นนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องมาแตะเรื่องที่ใหญ่กว่า คือตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ เราจำเป็นจึงต้องมาคิดเรื่องนี้ในระยะยาว

“ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีการอ้างชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และอ้างว่าสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมการเมืองทุกอย่าง อันนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าคุณจะเลือกตั้งชนะหรือว่าอะไร ตราบใดที่ชีวิตประจำวัน 24 ชั่วโมงของเราจะต้องอ้างอิงศูนย์กลางเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา อันนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยหรอก...

“ในประเทศแบบนี้ ไม่มีแม้แต่ประชาชน มันมีแต่ฝุ่นใต้ตีน ประชาชนจริงๆ คือคนที่มีสิทธิ คนที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อเรื่องสาธารณะ”

ในบริบทสังคมไทย การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก็คือการต่อสู้เพื่อยุติสถานะสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถ้าไม่แก้เรื่องสถานะของสถาบันกษัตริย์ ตัวกฎหมายมาตรา 112 ก็ไม่มีทางเปลี่ยน เพราะอย่างที่อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์เคยเสนอไว้ว่า หากกฎหมายเปลี่ยนแต่อุดมการณ์ในสังคมยังไม่เปลี่ยน ก็คงจะไม่เปลี่ยนอะไรเพราะศาลก็คงตัดสินแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าก็เห็นด้วย แต่มันสลับเวลากัน เพราะถ้าหากต้องการแก้กฎหมาย ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนอุดมการณ์ก่อน เพราะเมื่อเราพูดถึงเรื่องอัลตร้า รอยัลลิสม์ ก็จะพบว่า มันมีองค์ประกอบของมันอยู่ เช่น ข่าวสองทุ่ม ก็แก้ไม่ได้ถ้ายังคงมีข่าวสองทุ่มอยู่

ถ้าเราจะรณรงค์เรื่องนี้ในระยะยาว ก็ต้องเข้าใจและชัดเจนว่าเรากำลังทำอะไรกันอยู่ ว่าอุดมคติที่เราอยากเห็นคืออะไร มองว่าเรื่องม.112 เป็นเรื่องที่เราโฟกัสผิด ที่บอกว่ารณรงค์เรื่องนี้ เพราะสถาบันต้องปรับตัวกับประชาธิปไตย ก็พอฟังขึ้นได้ แต่ในระยะยาวยังไม่พอ โดยส่วนตัวมีข้อเรียกร้องต่อปัญญาชน เพราะสภาหรือนักการเมืองก็คงไม่ทำ ว่าไม่มีปัญหาอะไรที่สำคัญมากกว่านี้อีกแล้ว ในแง่ว่าสังคมไทยจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็น ส่วนเรื่องข้อเสนอของนิติราษฎร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเรื่องแก้รัฐประหารและปฏิรูปศาล มองว่าเป็นการจัดการที่ “ผล” มากกว่า เพราะคนที่ทำรัฐประหารเอง เขาทำเพื่อรักษาสถานะสถาบันกษัตริย์จากการท้าทายของอำนาจแบบสมัยใหม่ แต่เราจำเป็นต้องแก้ที่ตัวสาเหตุ เพราะคณะรัฐประการหากเขาจะทำอีกจริงๆ เดี๋ยวก็ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งและร่างมาตราใหม่ขึ้นมาได้

ประเด็นที่สำคัญคือ เราต้องยุติของสถานะของสถาบันกษัตริย์ ที่มักถูกเอาไปอ้างกัน เพราะในประเทศอื่นๆ ไม่ว่าในประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ หรือเบลเยี่ยม ก็ไม่อ้างกันแล้ว แต่ที่ไทยยังอ้างอยู่ ก็เป็นเพราะอุดมการณ์ทางกษัตริย์นิยม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ประกอบกันขึ้นมา จะเห็นจากเหตุผล 8 ข้อที่ตัวเองเคยเสนอ ก็ยังคงยืนยันเพราะด้วยสาเหตุแบบนี้

ต่อให้รณรงค์ให้ตาย ตราบใดที่ยังมีข่าวสองทุ่ม มีโครงการหลวงอยู่ มันก็แก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น บ้านเราฟังดูมันโชคร้าย เรามาถึงจุดที่ว่า ถ้าคุณต้องการแก้ 112 คุณต้องแก้ทั้งชุด และคุณต้องเสนอทั้งชุด เป็นไปไม่ได้ที่จะเสนอว่าเราต้องแก้ 112 ก่อนแล้วเราค่อยมาวิจารณ์มันไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้ว คนที่ไม่รับเขาก็คือไม่รับทั้งนั้น สำหรับคนที่รณรงค์ในเรื่องนี้อยู่ มันอาจจะดูน่าหดหู่ แต่มันก็ไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว

“สิ่งที่ผมเรียกร้องต่อนักวิชาการทั้งหลายแหล่ คือ ยกนี้ มันจะซาลงไปในเวลาไม่นาน แต่สิ่งที่เราต้องคิดคำนึงถึงระยะยาว ก็คืออันนี้ ปัญญาชนกับการเปลี่ยนประเทศไทย จากประเทศที่ต้อง...กับทุกอย่างที่เราเห็น เช่น อย่างยาเสพติดเพื่อพ่อ ขับรถดีก็เพื่อพ่อ รัฐประหารเพื่อพ่อ ราชประสงค์เพื่อพ่อ คือ การที่ทุกอย่างต้องอ้างอย่างนี้หมด [ต้องเปลี่ยน] ให้เป็นประเทศที่ ต่อไปนี้ สถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของชีวิตคนไทยอีกต่อไป  สำหรับปัญญาชน นักวิชาการ คนที่เป็นประชาธิปไตย อันนี้เป็นพันธะหรือภารกิจที่มันศักดิ์สิทธิ์”

ตราบใดที่เราปฏิบัติกับสถาบันกษัตริย์แบบเดียวกับที่เราปฏิบัติกับนักการเมืองไม่ได้ การวิจารณ์มันก็ไม่มีความหมาย เพราะก็จะทำให้ชีวิตทางการเมืองของสังคมมันไม่มีความหมาย เพราะถ้าหากการวิจารณ์ไม่ได้ใช้หลักการและบรรทัดฐานเดียวกัน ก็เหมือนกับเป็นการด่ากันในเรื่องส่วนตัว ดังนั้น สรุปได้ง่ายๆ ว่า ในบริบทของประเทศไทย ถ้าคุณไม่ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้ใช้บรรทัดฐานเดียวกับที่ใช้กับคนทั่วไปได้ มิเช่นนั้น คุณก็ไม่มีประชาธิปไตย

เมื่อมีการเสนอให้ทำอะไรกับมาตรา 112 มีสามประเด็นที่ต่อเนื่องกันที่เราต้องพิจารณาจากเชิงนามธรรมทั่วไป มาจนถึงลักษณะเฉพาะ เริ่มจากข้อแรกที่ว่า โดยอุดมคติ ประเทศประชาธิปไตยควรมีกฎหมายหมิ่นประมาทประมุขหรือไม่ ข้อสอง แล้วประเทศไทยควรมีหรือไม่ และข้อที่สาม ในปัจจุบันเราควรเสนออะไรเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทประมุข

ตอนแรกตนเข้าใจสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอให้คงกฎหมายเรื่องหมิ่นประมาทประมุขไว้ เพราะเข้าใจว่าสังคมไทยอาจจะยังไม่พร้อม แต่จริงๆ แล้ว การที่นิติราษฎร์เสนอเช่นนี้ เพราะเข้าใจข้อหนึ่งและสองคนละแบบ คือ เสนอว่า ต่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยแล้ว กฎหมายคุ้มครองประมุขจากการหมิ่นประมาท ก็ยังคงต้องมีอยู่เพื่อคุ้มครองประมุขซึ่งมีสถานะพิเศษ ทั้งนี้ ตนเห็นว่า จริงๆ แล้ว ในหลักการประชาธิปไตย กฎหมายนี้ไม่ควรมีอยู่ คือให้คุ้มครองด้านอื่นได้ แต่ไม่ควรห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ และต้องถามว่ามีความจำเป็นหรือ เพราะกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาก็มีอยู่แล้ว

อย่างในยุโรป ที่ยังมีกฎหมายห้ามหมิ่นประมาทประมุขอยู่ ก็เพราะมรดกทางการต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน อย่างในอังกฤษ ก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นฯ แล้ว แต่มีกฎหมาย seditious libel คือ การห้ามหมิ่นองค์รัฏฐาธิปัตย์ แทน ซึ่งรวมไปถึงการห้ามหมิ่นพระราชินี สมเด็จพระสังฆราช รัฐมนตรี ฯลฯ ด้วย แต่กฎหมายนี้ก็ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 2009 และก่อนหน้านี้ก็ไม่มีการนำกฎหมายนี้มาใช้แล้วเป็นสิบปี และอย่างในสหรัฐเอง ก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นประมาทประมุขแล้ว

ไทยเอง ก็น่าจะเอาแบบอย่างของประเทศที่ไม่มีกฎหมายนั้นใช้แล้ว โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยน่าจะศึกษาและมีความคล้ายคลึงกับไทยมากที่สุด โดยในบรรดารัฐธรรมนูญที่กษัตริย์เป็นประมุขทั้งหมด ญี่ปุ่นระบุไว้ชัดที่สุดว่ากษัตริย์ต้องมาจากการเสนอและเห็นชอบโดยรัฐมนตรีเท่านั้น และไม่สามารถกระทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ การมีจักรพรรดิของญี่ปุ่นถูกยกเลิกไปโดยสหรัฐอเมริกา หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ยกเลิกการใช้กฎหมายหมิ่นไปด้วยเช่นเดียวกัน คงไว้ซึ่งเพียงกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา

ถ้าเราจะต้องสู้ทางอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปเรื่องสถาบันกษัตริย์ มองว่าต้องทำแบบญี่ปุ่น คือต้องเสนอให้ยกเลิกทั้งหมด ทั้งมาตราแปดและมาตรา 112 เรื่องที่เสนอง่ายๆ ก็คือว่าอะไรที่ดีพอสำหรับคนธรรมดา ก็ต้องดีพอสำหรับเจ้าด้วย และพูดในแง่ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ปัญญาชนต้องหาทางที่จะยืนยันเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้มันไม่ง่าย ต้องสู้กันต่อไปในระยะยาว

“ผมรู้แต่ว่า ถ้าทำไม่สำเร็จ ก็ไม่เป็นประชาธิปไตย กี่ชาติๆ ผมตายไปเกิดใหม่ พวกคุณตายไปเกิดใหม่ ก็ยังเป็นอย่างนี้ ลูกหลานเหลนโหลนของคุณก็จะกลายเป็นฝุ่นละอองใต้ตีนไปอย่างนี้ คือมันไม่มีทางอื่น”

ถ้าเช่นนั้น ในปัจจุบันเราจะเสนอได้แค่ไหน นักวิชาการต้องถามตัวเองว่าอะไรคืออุดมคติของไทยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และถ้าสามารถเสนอได้ ก็เสนอไป ตั้งธงเอาไว้ อย่าง 8 ข้อของตน และจริงๆ แล้ว เราสามารถเสนอให้เลิกเด็ดขาดได้ การที่อ้างว่าคนไทยส่วนใหญ่อ้างว่ายังรักสถาบัน เราจำเป็นต้องเคารพสิทธิของเขา จึงไม่สามารถยกเลิกกฎหมายได้อย่างเด็ดขาด ตรงนี้ เราเข้าใจเรื่องสิทธิต่างกัน เนื่องจากการที่คนเชียร์เจ้า เขาไม่ได้กำลังใช้สิทธิของตนเอง ตนเองมองเรื่องสิทธิ ตามสิ่งที่นักคิดฝรั่งเคยให้นิยามว่า “สิทธิคือการมีอำนาจที่จะทำอย่างอื่นได้” (Rights is the power to do otherwise) แต่สิ่งนี้ไม่มีในประเทศไทย แม้แต่คนอย่างหมอตุลย์ (สิทธิสมวงศ์) เราก็ไม่สามารถท้าทายได้ เพราะหมอตุลย์เองก็ไม่สามารถวิจารณ์เจ้าได้เช่นเดียวกัน เพราะการที่คนรักเจ้า ไม่ได้รักจากการสั่งสอนอย่างมีเหตุผล แต่กลับถูกกล่อมเกลาอยู่ตลอดเวลา เพราะลึกๆ มันคือเป็นเรื่องการใช้อำนาจโปรแกรมบังคับคนขึ้น ไม่เกี่ยวกับว่าการเคารพวัฒนธรรมและเรื่องสิทธิ

“เราพูดกันว่าเรื่องนี้เป็นความเชื่อโดยสมัครใจ เหมือนกับคุณเชื่อเรื่องการแต่งตัวหรือดารา ก็เป็นความเชื่อเรื่องวัฒนธรรม แต่เรื่องการจงรักภักดีต่อเจ้านี้ไม่ใช่ ลึกๆ แล้วมันเป็นเรื่องการใช้อำนาจบังคับโปรแกรมคนขึ้นมา”

ถ้าเสนอได้แล้วไม่ติดคุก ต้องเสนอ และต้องทำงานความคิดต่อสู้กันไป ก็ต้องมาดูกันว่าเราต้องการอะไร ว่าเราต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศที่มันขึ้นต่อสถาบัน ให้เป็นประเทศที่ปกติธรรมดาของศตวรรษที่ 21 ที่มองคนทุกคนเท่ากันหมด ดังนั้น ถ้าไม่เสนอให้ยกเลิกองค์ประกอบเหล่านี้ ประเทศไทยก็ไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย

ต่อคำถามเรื่องแผนสำรองในการรณรงค์เพื่อแก้ไขม. 112 หรือมาตรา 8 ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ว่าถ้าหากทำไม่สำเร็จ อาจจะให้มีการร่างกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองการใช้กฎหมายและเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาคดีเพื่อลดการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ สมศักดิ์มองว่า เรื่องสถาบันกษัตริย์ หากพูดตรงๆ แล้วก็ต้องตอบว่าคงจะไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นภายในระยะเวลาเร็วๆ นี้แน่ แต่สำหรับคนที่หวังอนาคตประชาธิปไตย ต้องมีความอึด ให้มันรู้ไปว่าจะเป็นประเทศของฝุ่นใต้ตีนไปกาลปาวสาน หรือซักวันหนึ่ง ทุกอันจะเห็นภาวะนี้แล้วก็ทนไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง

ข้อเสนอก็คือ ในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ จะต้องเป็นบรรทัดฐานที่วางไว้ว่าต้องสู้แล้วสำเร็จ ต้องเสนอยันว่ายังไงก็ต้องเลิก เพราะมันใช้เวลาแน่นอน อย่างคราวนี้ เป็นครั่งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สามารถอภิปรายเรื่องนี้ได้จริงจังเมื่อเทียบกับเมือเทียบกับช่วงทศวรรษ 2510- 2520 ซึ่งบีบให้คนที่พูดเรื่องสถาบันต้องหนีออกไปอยู่ป่าหรือถูกจับ แต่มองว่า เหตุการณ์ที่วรเจตน์ถูกทำร้ายเพราะมีคนเสนอเรื่องนี้ในสังคมน้อยเกินไป หากมีคนอภิปรายเรื่องนี้มากขึ้นและสม่ำเสมอ คนอย่าง วรเจตน์ ปิยบุตร (แสงกนกกุล) หรือตนเอง ก็จะเป็นเป้าน้อยลง จึงควรจะผลักดันข้อเสนอให้สุด และถ้าหากจะมาเสนอเรื่องแก้ไขกฎหมาย เอาเวลาไปเสนอ พรบ. นิรโทษกรรมไปช่วยคนอย่างสมยศ (พฤกษาเกษมสุข) สุรชัย (ด่านวัฒนานุสรณ์) ดา ตอปิโด หรือนักโทษคดีการเมืองคนอื่นๆ น่าจะดีกว่า เพราะอย่างน้อยก็มีความเป็นไปได้มากกว่า หากเราพูดเรื่องปฏิรูปเรื่องสถาบัน จึงจำเป็นต้องพูดเรื่องระยะยาวเข้าไว้

ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดชนชั้นกลางของไทยจึงยังต้องการรัฐที่มีสถานะของอำนาจสถาบันกษัตริย์แบบนี้ ไม่คัดง้างกับสถาบัน รวมถึงทักษิณด้วย แต่ตอบตรงๆ ก็เพราะว่า เขาอยากจะรักษาโครงสร้างแบบนี้ให้อยู่ เพราะน่าจะได้ประโยชน์ในอนาคต ถึงแม้ทักษิณเองก็มีคุณูปการทางประวัติศาสตร์ที่เปิดประเด็นวิจารณ์เปรม เพราะที่ผ่านมาสิ่งที่เปรมทำมาตลอดไม่เคยมีใครหยิบยกมาพูด แต่หลังจากนั้น ก็กลับไปจับมือกัน ในทางปัญหาใหญ่ ทำไมในสังคมไทย นักการเมืองไทยจึงเป็นเช่นนี้ เพราะอย่างประเทศอื่นรัฐสภาก็เป็นฝ่ายที่คัดง้างกับสถาบัน

สุดท้ายนี้ ฝากอย่างซีเรียส สังคมไทยต้องการองค์กรถาวรที่ทำงานเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ อย่าหวังแต่นิติราษฎร์ หรือตนเอง ทั้งหมดนี้ มันเกี่ยวพันกับการพูดทางการเมืองในอนาคต เราจำเป็นจะต้องแก้ประเด็นนี้ให้ตก อาจจะเปลี่ยนจาก “ครก.112” มาเป็นองค์กรถาวร เช่น เครือข่ายนักวิขาการเพื่อการปฏิรูปสถาบัน ให้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการทุกเดือน หรือทุกปี และให้มีการอภิปรายเรื่องมาตรา 8 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถ้าเราไม่เริ่มลงมือทำ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันตนคิดว่ามันทำได้ และต่อจากนี้ไป ก็จะเน้นทำงานความคิด และรณรงค์เพื่อให้มีการปฏิรูปสถาบันอย่างรอบด้านและถาวร เพื่อไม่ให้ไทยติดหล่มอยู่เช่นนี้เป็นสิบปี

ที่มา prachatai

พลังคนเสื้อแดงต้องมิใช่เพียงแค่เครื่องมือของกลุ่มทุน


คุณ ทักษิณจะกลับบ้านอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ก็มิใช่เพราะเกิดจากการปรองดองหรือนิรโทษกรรม แต่เกิดจากการร่วมมือกับกลุ่มพลังประชาธิปไตยคนเสื้อแดง นำประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชนกลับคืนสู่ประชาชน 

โดย  TAWANSEEDANG


ขบวน การคนเสื้อแดงผู้มุ่งหวังต้องการเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยที่ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ คนไทยในสังคมทั้งประเทศหลุดพ้นจากความอยุติธรรม ความผูกขาดคลอบงำ ความเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มทุนขูดรีด (ทุนผูกขาด) จะต้องคิดไกลนอกกรอบกว่าที่เป็นอยู่ 

ต้องใส่แว่นตาหลายมิติ เพื่อไม่ให้ถูกหลอกใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการช่วยโค่นล้มเปลี่ยนฐานอำนาจ จากกลุ่มหนึ่งไปสู่กลุ่มหนึ่ง หรือจากทุนหนึ่ง(ทุนนิยมผูกขาด)ไปสู่อีกทุนหนึ่ง (ทุนเสรีนิยม) โดยประชาชน ไม่ได้รับการสนองตอบแท้จริงตามวัตถุประสงค์ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างวงจรอุบาทว์ของสังคมไทยควบคู่กับประชาธิปไตย  

เพราะในความเป็นจริง ไม่ว่าทุนผูกขาดหรือทุนเสรีนิยม คือระบบทุนผู้เอารัดเอาเปลียบและมุ่งหวังจะได้ผลประโยชน์สูงสุดจากคนในสังคม เหมือนกัน เพียงอาจจะมีวิธีการแตกต่างซับซ้อน หรือความมีคุณธรรมจริยธรรมมากน้อยกว่ากันเท่านั้น 

ซึ่งสุดท้ายประชาชนคือเหยื่อผู้รับชะตากรรม ต้องตกอยู่ในสภาพถูกกดขี่ขูดรีด เอารัดเอาเปรียบอย่างที่เป็นมา โดยเห็นได้จากสภาพที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจเสรี เช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในโลก ที่ประชากรดูเหมือนจะมีภาวะทางโอกาส ภาวะการจ้างงานสูง มีตัวเลขทางรายได้และมีกำลังการซื้อสูง 

แต่ขณะเดียวกัน ภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพตามโครงสร้างระบบทุนนิยมเสรี ที่ประชาชนไม่มีส่วนกำหนดและรัฐไม่สามารถควบคุม เกิดช่องว่างของรายรับไม่สมดุลย์กับรายจ่าย ประชาชนยากจนลงและเจ้าของทุนร่ำรวมมากขึ้นเหมือนเดิม

ตั้งแต่ประเทศมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตย ที่อำนาจและผลประโยชน์ทุกอย่างอยู่ในมือของคนคนเดียว นายทุนศักดินา (ทุนนิยมขูดรีด) กอบโกยความร่ำรวยและผลประโยชน์จากประชาชน ด้วยการคลอบคุมผูกขาดฐานอำนาจการบริหาร การปกครองและโครงสร้างการเศรษฐกิจของประเทศ อย่างยาวนานหลายทศวรรษ 

ต่อ มาเกิดเงื่อนไขทางสังคมที่ต้องเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดภาพประชาธิปไตยตามแบบอารยะประเทศ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรืออาจเรียกว่า ระบอบเผด็จการ + ราชาธิปไตย + ทุนนิยม(ดูตารางเปรียบเทียบด้านล่างและไดอแกรรมด้านบน) ถูกสร้างขึ้น

โดยกลุ่ม จารีตนิยมเก่าร่วมกับ กลุ่มอำนาจนิยมเผด็จการ กลุ่มอนุรักษ์นิยมและทุนผูกขาด ขยายเครือข่ายสร้างระบบ(วงจรอุบาทว์) ความมั่นคงทางอำนาจและทางเศรษฐกิจของทุนผูกขาด เพื่อใช้ยึดครองประเทศตามที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
THE SYSTEMS ARE PREVENT TO BECOME THE REAL DEMOCRACY.
APSALUTE MONARCHY

1.    มีอำนาจตามโครงสร้างระบอบกษัตริย์

2.    Head of Kingdom
ใช้อำนาจตรงในฐานะกษัตริย์

3.    The king can do no wrong

4.    พระเจ้าแผ่นดินคือกฎหมาย เป็นผู้
ใช้อำนาจแต่ผู้เดียว
5.    ไม่มีระบบการเลือกตั้ง กษัตริย์เป็นผู้บริหาร
สูงสุด
6.    Lese Majeste laws
7.    Non capitalist
8.    Corruptions
CONSTITUTIONAL MONARCHY
(THAILAND)
1. กษัตริย์มีอำนาจตามโครงสร้างรัฐธรรมนุญจารีต  ประเพณีนิยม
2. Head of kingdom
    ใช้อำนาจทางอ้อมผ่านระบบรัฐสภา ศาล
      นิติบัญญัติ
3. The king can do no wrong

4. กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
(ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในทางปฎิบัติ )
5. ระบบการเลือกตั้ง ผู้นำรัฐบาลเป็นผู้บริหาร
     สูงสุด (ต้องได้รับความเห็นชอบจากกษัตริย์)
6. Lese Majeste laws
7. Capitalist
8. Corruptions โดยระบบ

ขบวน การผูกขาดที่ยึดครองอำนาจและผลประโยชน์อย่างยาวนานนี้  เริ่มถูกแทนที่โดยกลุ่มทุนนิยมเสรีใหม่ นำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จากปี 2544 เป็นต้นมา 

ช่วงระยะเพียง 5 ปี ของการเข้าครอบครองอำนาจการบริหารจัดการและการเศรษฐกิจ กลุ่มทุนใหม่ได้สร้างความรู้สึกไม่ปรอดภัยต่อกลุ่มอำนาจและทุนเก่า ความหวาดกลัวที่ต้องสูณเสียอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 

จึงขยายเป็นชนวนสาเหตุการเกิดวิกฤตความขัดแย้ง และเป็นศัตรูแย่งชิงโค่นล้มกันเองอยู่ขณะนี้

สงครามความขัดแย้งเพื่อโค่นล้มได้ปรากฎเห็นชัดเมื่อกลุ่มอนุรักษ์อำนาจและทุนผูกขาด สร้างกระแสปลุกระดมเครือข่ายวงจรอุบาทว์ 

ที่ ประกอบด้วยบุคคลและคณะบุคคลจากระบบจารีตนิยมเก่า กลุ่มอำมาตย์ศักดินาอนุรักษ์นิยม กลุ่มนิยมอำนาจเผด็จทหาร กลุ่มพรรคการเมืองและนักการเมืองสายอนุรักษ์ ข้าราชการและนักวิชาการสายอนุรักษ์ สื่อมวลชน นักธุรกิจทุนผูกขาด บุคลและคณะบุคคลซึ่งสูญเสียผลประโยชน์จากผลกระทบทางนโยบายการบริหารจัดการ การเศรษฐกิจของกลุ่มอำนาจใหม่ และมวลชนจัดตั้ง ร่วมกันเป็นขบวนการสร้างกระแสความขัดแย้งด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ 

จนเกิดความชอบธรรมใช้โค่นล้มด้วยการทำรัฐประหารโดยกลุ่มอำนาจนิยมเผด็จการทหารเมื่อ 19  กันยายน 2549

การต่อต้านอำนาจเผด็จการนอกระบบ การเข้ามามีอำนาจของกลุ่มขั้วอำนาจเก่าและทุนผูกขาดที่ Corruptions ลุแก่อำนาจนำระบบนิติรัฐ นิติธรรมสองมาตราฐานทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม 

การ ไม่เคารพหลังการประชาธิปไตย การลิดรอนสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน การเปลี่ยนแปลงนโยบายประชานิยมที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากรัฐบาลก่อน จึงเป็นที่มาของพลังมวลชนคนเสื้อแดง 2 กระแสคือ

1.    กระแส ต้องการประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของปวงชนแท้จริงและต่อต้านอำนาจเผด็จการนอก ระบบ ร่วมด้วยกลุ่มจากกระแสความเจ็บแค้นจากเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชนเมื่อ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 กลุ่มรักความเสมอภาพ สิทธิมนุษย์ชนและความเป็นธรรม กลุ่มสนับสนุนความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม ๆลๆ

2.    กระแส สนับสนุน พ.ต.ท ทักษิณและการต้องการผลประโยชน์จากนโยบายทุนเสรีประชานิยม ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัฒน์ อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย  

จากวันรัฐประหารถึงปัจจุบัน นับเวลากว่า 5 ปีที่ขบวนการกลุ่มยึดครองอำนาจเก่า ใช้วิธีเลวร้ายทุกวิถีทางสร้างสถานะการณ์เพื่อมุ่งหวังทำลายล้างพลังคนเสื้อแดง 

แต่ ด้วยการยึดมั่นอุดมการณ์ในกรอบนิติรัฐ นิติธรรมและหลักประชาธิปไตยที่สังคมภายในและนอกประเทศยอมรับ ประกอบร่วมการขยายมวลชนทางคุณภาพ ความรู้ความเข้าใจและปริมาณ ได้สะท้อนนำความเสื่อมถอยก่อวิกฤตศรัทธาต่อกลุ่มอำนาจเก่าอย่างไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน 

ซึ่ง นำมาสู่การพ่ายแพ้ทั้งขบวนการในระบบรัฐสภา การเลือกตั้ง การยอมรับและความเชื่อถือของสังคมภายในและสังคมโลก ความกลัวและหวาดวิตกที่พลังประชาธิปไตยเติบโตแข็งแรงมากขึ้น 

ทำ ให้กลุ่มลัทธิอนุรักษ์นิยมทางอำนาจที่อยู่ในภาวะอ่อนแอ เห็นว่าคงจะไม่สามารถควบคุมสถานะภาพทางอำนาจ เศรษฐกิจต่อไปตามสภาพการปัจจุบัน  จึงนำยุทธศาสตร์ 2 แนวรบมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน ซึ่งประกอบด้วย

1.    เกมส์เสนอการปรองดองและสมานฉันท์ (จอมปลอม)

          1.1  วัตถุประสงค์เพื่อยื้อเวลารอการพื้นตัวของขบวนการอำนาจเก่าที่กำลังอ่อนแอ (เช่นเดียวกับปี 2490 ถึง สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 2500 ) โดยยึ่นข้อเสนอที่มีแนวทางอาจไม่สามารถตกลงได้จริง (เพื่อรอผลแนวรบที่ 2) หรือถ้าที่สุดจำเป็นต้องตกลง ก็ต้องให้เกิดประโยชน์ฝ่ายตนมากที่สุด 

โดยแฝงเงื่อนไขที่สามารถนำไปโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างความขัดแย้งหรือความไม่พอใจ ให้เกิดความแตกแยกในขบวนการคนเสื้อแดง 2 กระแส หรือกับพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณ

              1.2 เพื่อใช้เป็นทางออกในการต่อรองกรณีข้อ 1.1 และ ข้อ 2 (แนวรบที่ 2) ไม่ประสพผลสำเร็จตามเป้าหมาย จึงอาจเสนอยอมแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจการบริหารการปกครองบางส่วนให้พรรคเพื่อไทย 

แต่ยังคงอำนาจการควบคุมเด็ดขาดภายใต้เสื้อคุมตัวเดิม (เปลียนขั้วอำนาจภายใต้โครงสร้างเดิม)

2.    เกมส์สร้างกระแสล้มเจ้าและต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ระหว่างดำเนินการแนวรบที่ 1 แนวรบที่ 2 ปลุกระดมรื้อฟื้นเครือข่ายที่ช่วยล้มคุณ ทักษิณ เมือปี 2549 ประสานทั้งในระบบรัฐสภา มวลชนนอกสภา องค์กรอิสระ ศาลและกองทัพ ด้วยประเด็น "ล้มเจ้า" และการ "ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนุญ"เพื่อเป็นหนทางโค่นล้มกลุ่มขั้วอำนาจใหม่ ทักษิณและสลายพลังมวลชนคนเสื้อแดง อย่างที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว

ยุทธวิธี แสดงท่าทีประนีประนอมยอมรับข้อเสนอปรองดองและการสมานฉันท์ที่คุณทักษิณ พรรคเพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดง (นปช) แสดงออกทั้งก่อนและหลังพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งขึ้นมามีอำนาจบริหาร ประเทศ เช่น

                     1  ประกาศไม่แตะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดเกี่ยวกับอำนาจกษัตริย์
                     2. ประกาศไม่แตะต้องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (กฏหมายหมิ่น)
                    3.  ไม่กระตือรือร้นในการนำคนผิด (สั่งฆ่าประชาชน) มาลงโทษ ด้วยข้ออ้างว่าได้ดำเนินการแล้ว อยู่ในขบวนการทางศาล ไม่มีอำนาจเข้าไปก้าวก่าย (คาดว่าอยู่ในข้อเสนอการปรองดองซึ่งอาจยังไม่กล้าตกลงในเงื่อนไขการนิรโทษกรรม)
                    4.  ไม่กระตือรือร้นในคดีผู้ทำผิดกฎหมายของกลุ่มอำนาจเก่า (คาดว่าอยู่ในข้อเสนอรอผลการเจรจาปรองดองและการนิรโทษกรรม)
                    5.   ไม่กระตือรือร้นในการนำคนเสื้อแดงออกจากคุกหรือการประกันตัว (คาดว่ารอผลการตกลงในขั้นตอนการปรองดอกและการนิรโทษกรรม)
                   6.  พยายามช่วยแยกกองทัพออกจากความผิดฆ่าประชาชน (คาดว่าเป็นข้อเสนอเพื่อสร้างบรรยากาศปรองดอง)
                   7. ไม่แตะต้องอำนาจทหาร (สร้างมิตรแยกศัตรู ไม่ให้ทหารร่วมและทำรัฐประการ)

จึงอาจสรุปได้เป็น 2 นัยยะคือ

1.    เป็นยุทธวิธีการตั้งรับเพื่อต่อสู้กระแสรุกของกลุ่มอำนาจเก่าแบบสันติวิธี และสร้างความชอบธรรมด้วยเพราะ

- ยังไม่พร้อมลุกขึ้นเพื่อการเปลี่ยนแปลง (ไม่แน่ใจพลังมวลชนและคุณ ทักษิณ พรรคเพื่อไทยไม่ต้องการ)
-  รอเวลาเปลี่ยนผ่านหลังสิ้นสุดรัชการ
- ไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อ
- เพื่อให้พรรคคงอยู่ในอำนาจสร้างผลงานต่อประชาชน สานต่อนโยบายทุนนิยมเสรี
- ปูแนวทางการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยแบบสันติวิธีทางระบบรัฐสภา หลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- ปิดโอกาสถูกนำเป็นเงื่อนไขให้อำนาจนอกระบบเข้ามาล้มอำนาจอีก

2.    หรืออาจเป็นยุทธวิธี ต้องการยอมตกลงกับฝ่ายกุมอำนาจเก่า

- เพื่อได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศโดยยอมอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมเดิม
- เพื่อประนีประนอมใม่ต้องการขัดแย้งกับสถาบันคุมอำนาจต่อไป
- เพื่อนิรโทษกรรมให้คุณ ทักษิณ สามารถกลับเข้าประเทศ และคนเสื้อแดงหลุดพ้นคดีความ
- เพื่อการปรองดองสมานฉันท์
- เพื่อเข้ามามีอำนาจแทนกลุ่มอำนาจเก่าและสานต่อนโยบายทุนนิยมเสรี           
 
ไม่ว่าจะด้วยทฤษฎี win win หรือ ด้วยสาเหตุอื่นใดก็ตาม ที่คุณ ทักษิณและพรรคเพื่อไทยใช้เป็นสาเหตุประนีประนอบเพื่อหวังเปลี่ยนขั้วเข้ามา มีอำนาจ และหวังนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย เมื่อมองย้อนดูลักษณะโครงสร้างสังคมไทย (ไดอะแกรมด้านบน) จะเห็นว่า คงเป็นไปไม่ได้โดยง่ายหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลย 

เพราะ โครงสร้างสังคมไทยมีดีกรีความเกี่ยวโยงกับความไม่ต้องการให้มีประชาธิปไตย อยู่อย่างสูง ตราบใดที่วงจรอุบาทว์นี้ยังดำเนินอยู่ โดยไม่มีการแก้ไขหรือยกเลิก ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ไม่สามารถเปลี่ยนผ่านได้ 

เพราะ กลไกที่อยู่ในโครงสร้างประกอบด้วยระบบอภิสิทธิ์ชน ระบบอุปถัมภ์ และระบบโครงสร้างอำมาตย์ทางชนชั้นที่สนับสนุนระบอบการปกครงแบบคณาธิปไตย ซึ่งรวมเป็นเครือข่ายที่มีอิทธิพลอย่างสูงในการกดขี่ชี้นำสังคม โดยเอื้อประสานอำนวยให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เสมอภาคทางสังคม ทางนิติรัฐ นิติธรรม ทางไม่มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ทางอำนาจบริหาร ปกครองและทางเศรษฐกิจ 

ฉนั้น การจะแก้ไขหรือยกเลิกโดยแนวทางเปลี่ยนผ่านตามอำนาจที่ได้รับการยินยอม จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และโครงสร้างของระบบนี้ เคยเป็นตัวจักรสำคัญในการโค่นล้ม คุณทักษิณมาแล้ว

นอกจากนั้น วงจรอุบาทว์ยังเป็นต้นต่อของการ Corruptions ที่ระบาดอยู่ในสังคมไทย ด้วยเมื่อบุคคลหรือคณะบุคคลมองเห็นโอกาสทางอิทธิพล อำนาจและผลประโยชน์ ต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ 

เงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการปรับปรุงฐานะทางสังคม อาชีพ ตำแหน่งหน้าและส่วนประกอบอื่นๆเพื่อยกระดับเสริมอิทธิพล อำนาจ ศรัทธาและบารมีตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ 

วิธีหาเงินโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ corruptions ด้วย แนวทางผิดคุณธรรม ผิดกฎหมาย หรือดูเหมือนถูกกฎหมายโดยไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นทางออกของการใช้อำนาจเงิน สร้างและรักษาอิทธิพล อำนาจ ศรัทธาและบารมี

Corruptionsจึง เป็นเครื่องมือและเส้นเลือดน้ำหล่อเลี้ยงให้ทั้งระบบโครงสร้างวงจรอุบาทว์ นี้เติบโตและสามารถดำรงอยู่ได้ ผู้มีอำนาจ ผู้ได้รับผลประโยชน์จากระบบ จึงต้องช่วยกันปกป้องทุกวิถีทาง ขัดขวางไม่ให้ถูกกระทบหรือถูกทำลาย ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจและตรวจสอบได้ จึงเป็นศัตรูสำคัญของระบบนี้

ประ ชาธิไตยไม่ใช้เพียงแค่เลือกตั้งเข้ามามีอำนาจ เป็นรัฐบาลและแก้รัฐธรรมนูญ เมื่อคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยต้องการประนีประนอมด้วยระบบ win win หรือ อาจเป็นแนวทางอื่นใดก็ตาม คงต้องไม่ละเลยหรือ ไม่สนใจความต้องการของประชาชนผู้มีส่วนร่วมทำให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ขึ้นมามีอำนาจ 

และ คุณทักษิณ มีโอกาสเจรจาต่อรอง เพราะเช่นขณะนี้ยังมีคนเสื้อแดงที่ต่อสู้เพื่อสิ่งนี้ ติดคุกไม่ได้รับการประกันตัว ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งขัดกฎหมายรัฐธรรมนุญอยู่เช่น

มาตรา 6  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้         
               
มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้           
               
มาตรา27 สิทธิ และเสรีภาพที่รัฐธรรมนุญนี้รับรองไว้โดยขัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรง

มาตรา 29 การ จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนุญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

มาตรา 39 ย่อหน้า สอง ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฎิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำผิดมิได้

มาตรา 40 ข้อ 7 ใน คดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างพอเพียง การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

มาตรา 81 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
(1) วรรคแรก ดูแลให้มีการปฎิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง
(2) คุม คร้องสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน่าที่ของรัฐและบุคคลอื่น และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน

เมื่อศาลซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของรัฐ ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนุญ มาตรา 39 และ 40 ข้อ7วรรค ท้าย แต่เลือกปฎิบัติตามประมวลกฎหมายอาญา โดยใช้ข้ออ้างว่าเป็นคดีโทษสูง กลัวหลบหนีและอื่นๆ จึงไม่ให้ประกันปล่อยตัวชั่วคราว (ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลเป็นข้อยกเว้น) จึงเป็นข้ออ้างที่ขัดแย้งกับเจตจำนงของมาตรา 6, 26, 27 ,29 รวมทั้ง 39, 40 ข้อ 7 เอง  เท่ากับศาลเจตนาทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐบาลมีหน้าต้องปฎิบัติโดยทันทีตามมาตรา 81 ข้อ 1 และข้อ 2 คือ ดำเนินคดีกับผู้พิพากษาทั้งคณะที่พิพากษาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และจึงไม่ใช่การล่วงอำนาจศาล
                                                                                                                                     ผู้นำและมวลชนคนเสื้อแดงจึงต้องตระหนักและต้องไม่ยินยอมหรือยอมตาม ให้กลุ่มคณะบุคคล พรรคการเมืองหรือกลุ่มทุนที่เราสนับสนุน (เพราะเห็นว่ามีแนวคิดสอดคล้องมากกว่ากลุ่มอื่น) มีอิทธิพลเป็นผู้บงการ กำหนดชักนำ เปลี่ยนแปลงแนวทางวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นความต้องการแท้จริงของประชาชน 

และ ต้องไม่ยอมให้พลังประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงถูกใช้เป็นเพียงเครื่องมือ เพื่อการตอบสนองพรรคและกลุ่มทุน โดยหวังได้รับเพียงผลประโยชน์และการสนับสนุนที่ได้รับการเสนอให้เท่านั้น 

ดังนั้นนโยบาย win win จึง สมควรเลือกที่จะปฎิบัติกับฝ่ายจริงใจสนับสนุนมากกว่าฝ่ายจ้องทำลาย คุณทักษิณจะกลับบ้านอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ก็มิใช่เพราะเกิดจากการปรองดองหรือนิรโทษกรรม แต่เกิดจากการร่วมมือกับกลุ่มพลังประชาธิปไตยคนเสื้อแดง นำประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชนกลับคืนสู่ประชาชน

อย่าง ไรก็ดี ประเทศไทยคงหนีไม่พ้นที่จะต้องดำเนินแนวทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมเสรี ตามโครงสร้างเศรษฐกิจโลก ขบวนการคนเสื้อแดง ก็ต้องสนับสนุน คุณทักษิณและพรรคเพื่อไทย ตราบใดที่ยังยืนอยู่บนเป้าหมายเดียวกัน ประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตยแท้จริง และการเคารพซึ่งกันและกัน คนเสื้อแดงยังต้องมีหน้าที่ประคับประคองปกป้องพรรคเพื่อไทย รัฐบาลไม่ให้ถูกโค่นล้มทำลายตลอดไป และยังต้องพลักดันให้ก้าวไปสู่
1.    การมีรัฐธรรมนูญของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน
2.    รัฐบาลประชาธิปไตยของประชาชน
3.    เศรษฐกิจ ทุนนิยมเสรีของประชาชน ( วิสาหกิจมวลชน)
4.    ระบบภาษีก้าวหน้า (ผู้มีรายได้ต้องอยู่ในระบบภาษี)
5.    ระบบรัฐสวัสดิการ 
6.    กองทัพประชาชน (ที่ไม่ใช้อาวุธ) เพื่อปกป้องประชาธิปไตย

หมายเหตุจากผู้เขียน:บทความโดย: TAWANSEEDANG (คนไทยในออสเตรเลีย)ไม่สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ สงวนสิทธิ์ ลบ แก้ไข ตัดทอน ต่อเติม โดยไม่แจ้งให้ทราบหาอ่านได้ใน Red Power

Open publication - Free publishing

ที่มา thaienews