นาฬิกา ธงค้อนเคียว ปฏิทิน


      เวลาประเทศไทย...     
 
 images by free.in.th
 

      ปฏิทินวันนี้...   

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สัมภาษณ์ทนายความคดีสุรภักดิ์ : มุมมองการต่อสู้คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์-112

การยกฟ้องในคดีของสุรภักดิ์ ผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างแรงกระเพื่อมอย่างสำคัญในสังคม โดยเฉพาะแวดวงนักกิจกรรมและผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะคดีลักษณะดังกล่าว เมื่อเกี่ยวพันกับมาตรา 112 ที่ผ่านมาแทบไม่ปรากฏการชนะคดีให้เห็น ยกเว้นคดี ‘เบนโตะ’ ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ด

ธิติพงษ์ ศรีแสน หรือที่เรียกกันว่า ทนายเซียง เป็นทนายว่าความคดีนี้ เขาเป็นทนายผู้เชี่ยวชาญคดีทรัพย์สินทางปัญญาและเริ่มทำคดีความมั่นคงที่ เป็นประเด็นอ่อนไหวเป็นคดีแรก ความน่าสนใจของเขาอยู่ที่แนวทางในการสืบพยานและการเตรียมการของทนายซึ่งไม่ มีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือ รวมไปถึงมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่น่าสนใจ

000000

แบ็คกราวน์ก่อนหน้านี้ทำคดีเกี่ยวกับอะไร
ก็เป็นทนายอิสระ ทั่วๆ ไปเหมือนสำนักงานทนายความ ที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.คอมมากหน่อยก็เป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา แต่สองปีที่ผ่านมาก็เริ่มทำคดีเสื้อแดงเยอะ ในช่วงสลายชุมนุมปี 53 คือคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนใหญ่จะทำกับชาวบ้านรากหญ้า ไม่ใช่ระดับแกนนำ วันที่ 19 พ.ค.53 ม็อบแตก บังเอิญได้รับโทรศัพท์จากคนเสื้อแดงหลายคน แจ้งว่ามีคนถูกจับกุมแล้วถูกจับตัวไปศาลและถูกบังคับให้รับสารภาพ เลยเข้าไปช่วย

แล้วมารับคดีนี้ได้อย่างไร
เพราะเห็นบทเรียนจากคดีอากง แล้วเห็นว่าคดีแบบนี้ เป็นคดีที่ไม่ว่าคำพิพากษาก็ดี เนื้อหาคดี มันทะแม่งๆ ไม่น่าจะสามารถลงโทษจำเลยได้ จากนั้นมีโอกาสเจอกับแม่ของสุรภักดิ์โดยบังเอิญแล้วเขาเล่าให้ฟัง ก็สงสารแม่เขา
ที่สำคัญ สุรภักดิ์ จำเลยของคดีนี้ก็เป็นเสื้อแดงเหมือนกัน ไม่รู้ว่าด้วยความที่ส่วนตัวเป็นเสื้อแดง หรือว่าอคติ หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมเชื่อว่าคนมีความคิดในแนวเสื้อแดง พื้นฐานเขาเป็นคนดี

ตอนแรกหวั่นใจไหม
หวั่นใจ คำฟ้องโจทก์เขียนค่อนข้างดี รัดกุม เป็นขั้นเป็นตอน ผมก็ยังเคยคุยกับเพื่อนทนายว่า หนักและเครียดมากคดีนี้
จริงๆ แล้วโดยรูปแบบแล้วหนักกว่าคดีอากง คดีอากงเปรียบเทียบแล้วคล้ายๆ ว่าอากงยิงปืนไม่เป็น แต่บังเอิญมีปืนไว้กระบอกหนึ่ง ใครหยิบไปฆ่าคนตายแล้วมาวางไว้ที่บ้านอากงก็ไม่รู้ ข้อเท็จจริงมันชัดว่าอากงไม่เคยยิงปืนและยิงปืนไม่เป็น แต่สุรภักดิ์เป็นโปรแกรมเมอร์ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ และพบหลักฐานในคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ความยากของคดีมันอยู่ตรงนี้ และเอกสารในสำนวนเยอะมากที่เราต้องตรวจสอบด้วยตัวเอง อ่านแล้วเจอพิรุธในเอกสารของโจทก์เอง มีแค่บรรทัดเดียวเล็กๆ ว่ามีการใช้เครื่องวันที่ 2 ก.ย.และ 7 ก.ย.ตอนที่เขาโดนจับแล้ว

ตัวทนายมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไหม
ผมก็มีในฐานะ user ทั่วๆ ไป ถ้าเขาได้ประกันตัวมาคดีจะสะดวกกว่านี้เยอะ โดยเฉพาะเมื่อตัวจำเลยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วย ข้อเท็จจริงเราบอกผ่านกันทางลูกกรง จำเลยไม่มีโอกาสมานั่งสาธิต เขาบอกอย่างเดียวว่ามันปลอม แต่มันจะปลอมยังไง ผมต้องไปนั่งศึกษา ผมก็ไม่มีทีม support มันหายาก ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อยากจะให้ความร่วมมือ ใช้วิธีอ่านหนังสือ ค้นคว้า โดยเราได้ธงมาอย่างหนึ่งคือจำเลยยืนยันว่าไม่ได้ทำและหลักฐานเป็นไฟล์ปลอม ซึ่งเราก็ต้องตีโจทย์ต่อเองว่ามันปลอมยังไง

ใช้เวลานานไหมในการหาข้อมูล
คดีนี้ก็น่าจะประมาณ 3 เดือน

คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กับที่เกี่ยวกับคดีความมั่นคง มีความยากง่ายต่างกันไหม
ต่างกันหลายเรื่อง คดีนี้สำคัญที่สุดคือแรงกดดัน คนที่โดนคดีนี้ คนที่มาทำคดีนี้ ตกอยู่ภายใต้ภาวะแรงกดดันสูง คุณไม่มีทางไปเชิดหน้าชูตาบอกใครที่ไหนได้เลยว่าคุณเป็นทนายให้คนที่หมิ่น สถาบัน คุณจะไปขอความร่วมมือจากใคร แล้วโดยความซับซ้อนก็มีสูง โดยส่วนตัวเราก็ไม่ใช่นักคอมพิวเตอร์ ทุกคดีมีความยากง่ายแตกต่างกันไป แต่คดีนี้องค์ประกอบส่วนอื่นยิ่งทำให้คดียากขึ้นไปอีก

หลังจากรับคดีนี้แล้ว คาดว่าจะมีปัญหาในอาชีพการงานไหม
อันนั้นไม่กลัว โดยส่วนใหญ่แล้วลูกความของผมมักมีแนวคิดทางการเมืองตรงข้ามกับผม แต่เขาก็เข้าใจในบทบาทและน่าที่ แต่ถ้าเขาจะไม่จ้างผมเป็นทนายเพราะผมเป็นคนเสื้อแดง ผมก็ไม่ worry  ถ้าเรามั่นใจว่าเราทำในสิ่งที่ถูกต้อง ผลที่จะตามเราพร้อมจะรับเสมอ คนรอบข้างใกล้ตัวหลายคนก็ทักเสมอ ท้วงติงด้วยความห่วงใยว่า แน่ใจเหรอที่จะมาทำคดีแบบนี้ เพราะเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวในสังคมไทย จะจริงหรือไม่จริง พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาถูกประณามไปก่อนแล้ว เหมือนคดีของสุรภักดิ์ พิสูจน์ได้เลยว่าพยานหลักฐานที่ทำเป็นเท็จแต่ตลอดระยะเวลาปีเศษๆ เขาเหมือนอะไรสักอย่างที่ถูกตั้งข้อสังเกตในสังคมไปแล้ว

จะมีการดำเนินคดีหมิ่นประมาทกับผู้แจ้งความจับในคดีนี้ไหม
เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายว่าจะตัดสินใจอย่างไร คงให้คำแนะนำหลังจากที่เขามาขอคำแนะนำ สาระสำคัญของคดีนี้ ผมว่ามันกล่าวหากันง่ายเกินไป เราพูดในเรื่ององค์รวมในการใช้มาตรา 112 คดีอย่างสุรภักดิ์มันกล่าวหากันง่ายมาก มีคนบอกตำรวจว่ามีเฟซบุ๊คหมิ่นสถาบัน คนบอกมีตัวตน แต่คนที่บอกว่าเจ้าของเฟซบุ๊คคือสุรภักดิ์คือนายมานะชัยซึ่งไม่ปรากฏตัวตน เป็นคำกล่าวอ้างของพนักงานสอบสวน ไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไปว่าคนนี้คือใคร แล้วก็นำมาซึ่งการออกหมายค้น วันนั้นยังไม่ออกหมายจับนะ พอเจอเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ ตำรวจยังไม่สามารถจับได้นะ เพราะไม่มีการกระทำความผิดซึ่งหน้า ในขั้นตอนในการจับกุม ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าจับกุมได้ให้สุรภักดิ์เขียนกระดาษอีกใบหนึ่งบอก ว่าเฟซบุ๊คที่มีเรื่องนี้ มีพาสเวิร์ดอะไร สุรภักดิ์ไม่รู้ก็ให้พาสเวิร์ดเครื่องไป แล้วตำรวจก็เอาหลักฐานตัวนี้ไปขอหมายจับที่ศาล
คือกระบวนการ หรือ process มันผิดฝาผิดตัวหมด  กระบวนการดำเนินคดีมันผิดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่มีคนแจ้งกันง่ายๆ ว่าคนนี้ ชื่อนี้ ที่อยู่นี้เป็นคนทำ คนที่บอกก็ยังหาตัวตนไม่เจอ

คดีนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าพยานหลัก ฐานอาจจะเท็จ มีความเป็นไปได้ไหมที่จะสามารถสร้างบรรทัดฐานโดยจำเลยอาจฟ้องกลับเจ้า พนักงานที่ดำเนินการ
เป็นไปได้ พยานบุคคลที่นำมาสืบเป็นผู้เชี่ยวชาญเหมือนกัน เขายืนยันกับผมหลังสืบพยานว่า เขามั่นใจในฐานะนักคอมพิวเตอร์ว่าหลักฐานนี้เท็จแน่นอน หลังจากที่สุรภักดิ์ออกจากคุกแล้วก็คงให้เขาคิดและตัดสินใจเองว่าจะทำอย่าง ไร

กระบวนการยุติธรรมถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด มาถึงวันนี้คิดอย่างไร
ผมว่าหลังจากที่ฟังคำพิพากษาวันนี้แล้ว เรายังพอมีความหวังอยู่บ้างเรื่องกระบวนการยุติธรรม แต่โดยส่วนตัวผม กระบวนการยุติธรรมจะไม่ยุติธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาเลย ถ้าผู้ที่ถูกกระทำหรือจำเลยหรือผู้ต้องหา ไม่ได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการประกันตัว ผมมีความเห็นว่า คดีมาตรา 112 หรือคดีอะไรก็แล้วแต่ เมื่อภายหลังมีการยกฟ้องจำเลย มันจะเกิดความเสียหายกับจำเลยน้อยมาก ถ้าศาลให้โอกาสจำเลยในการต่อสู้คดีโดยการให้ประกันตัว วันนี้ผมถามว่า ออกมาแบบนี้ ระยะเวลา 1 ปีเศษๆ ที่สุรภักดิ์อยู่ในคุก ผมมองว่าไม่มีอะไรทดแทน ชดเชยให้เขาได้ ชดเชยทางความรู้สึก เวลาที่เสียไป ธุรกิจการงาน

เรื่องการประกันตัวดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในคดีลักษณะนี้
เรื่องการประกันตัวเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่การกล่าวอ้างไม่ให้ประกันลอยๆ ยกตัวอย่างว่า กรณีศาลสั่งไม่ให้ประกันเนื่องจากกลัวจะหลบหนี กลัวยุ่งเหยิงกับพยาน มันมีหลายคดีที่ข้อเท็จจริงในคดีมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นเรียบร้อย แล้ว และการหนีของจำเลยก็ต้องดูว่าเขาสามารถหนีไหม คุ้มกับที่เสียหลักประกันไปหรือเปล่า
เราพูดเรื่องสิทธิของจำเลยในการได้รับการประกันตัวกันเยอะ แต่เราไม่เคยพูดว่าอำนาจของคนที่จะไม่ให้ประกันตัวควรจะมีแค่ไหน จริงๆ เราควรพูดเรื่องนี้มากกว่า ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาเรื่องของคน ซึ่งสามารถใช้ช่องว่างของระบบได้ แต่ถ้าเราสามารถแก้ไขระบบได้ ต่อให้คนที่มีทัศนคติเกี่ยวกับคดียังไง ก็ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจเกินเลย ยกตัวอย่างว่า ถ้าเราวางระบบว่าถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้คุณต้องให้ประกันตัวนะ คุณจะใช้ดุลยพินิจนอกเหนือจากระบบไม่ได้ แต่ตอนนี้โครงสร้างของระบบมันมีช่องว่าง
เวลาพูด เราพูดถึงองค์รวม การปรับหรือการปฏิรูประบบยุติธรรม ประชาชนทุกคนต้องได้ประโยชน์ รวมทั้งคดีมาตรา 112 เพื่อให้ยุติธรรมกับประชาชน

คิดว่าคดีนี้อัยการจะอุทธรณ์ไหม
แล้วแต่ทางอัยการ ถ้าอุทธรณ์เราก็มีหน้าที่แก้อุทธรณ์ ส่วนผลนั้นก็ไม่อาจก้าวล่วงศาลได้ แต่เท่าที่ดูจากชั้นต้นแล้วค่อนข้างมั่นใจ พยานหลักฐานที่เรานำสืบหักล้างหลักฐานของโจทก์ได้ทั้งหมด

ปัจจัยที่จะชนะคดีลักษณะนี้อยู่ที่ไหน
ปัจจัยที่จะทำให้ชนะอยู่ที่การเตรียมคดี  อะไรที่มันไม่จริงมันต้องมีข้อพิรุธให้เราจับได้

ความเข้าใจของผู้พิพากษาในเรื่องเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญไหม
มันอยู่ที่เรานำเสนอ อยู่ที่ว่าฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยจะนำเสนออย่างไร คดีนี้โชคดีกว่าคดีอื่นตรงที่ศาลอนุญาตให้เรานำสืบได้ทุกขั้นตอน สามารถเอาคอมพิวเตอร์ไปฉายโปรเจ๊กเตอร์ได้ สาธิตการเกิดไฟล์ได้

อันนี้ควรเป็นสิทธิพื้นฐาน ทำไมใช้คำว่า “โชคดี”
ก็มันโชคดี เข้าใจว่าคดีอื่นไม่ได้

การยกฟ้องครั้งนี้น่าจะทำให้คดีในลักษณะนี้ที่มีอยู่เรื่อยๆ ไหลมาที่ทนาย หนักใจหรือไม่
ตราบใดที่กระบวนการการดำเนินคดีของมาตรา 112 ยังเป็นแบบนี้ ผมไม่อยากทำ คือเป็นกระบวนการกล่าวหาแล้วก็ห้ามประกันตัว มันเครียดและอึดอัด
ผมว่าเอาคดีนี้เป็นตัวอย่าง เป็น case study  ทนายไม่ว่าใครก็แล้วแต่ที่มาทำคดีลักษณะนี้ให้ดูลักษณะการเตรียมคดีหรือสืบ พยานในคดีนี้ แต่ละคดีไม่เหมือนกัน แต่อาจดูแนวทางการนำสืบหรือการหักล้าง น่าจะเป็นแนวทางการต่อสู้ของคนที่เจอชะตากรรมเดียวกับสุรภักดิ์ได้

คนที่ไม่ได้นั่งฟังอาจไม่เห็นว่าแนวทางเป็นยังไง เช่น เป็นคดีคอมพิวเตอร์ที่ถามน้อยที่สุเท่าที่เคยเห็นมา
ผมว่าผมถามไม่น้อยนะ ให้ดูเรื่องคำถามที่ถามก็ได้ ผมเอาให้เข้าประเด็นทั้งหมด ไม่ต้องถามอะไรนอกเหนือไปมาก มีพยานปากหนึ่งผมไม่ถามเลยเพราะไม่เกี่ยวกับคดี ถ้าเราสามารถหักล้างพยานโจทก์ได้หมด ศาลก็คงไม่เขียนคำพิพากษาไปเป็นอย่างอื่น ผมพยายามปิดช่องว่าง คดีอากงผมเห็นแล้วว่าถ้าเราอุดไม่เต็มศาลก็สามารถไปออกตรงนั้นได้ วันนี้ถ้าเราสามารถเตรียมคดีดีๆ ปิดทุกช่องทาง คนที่นั่งฟังกระบวนพิจารณาตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายก็สามารถเชื่อได้โดย ปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด

เรื่องเนื้อหาที่ถูกกล่าวหา ถ้าคดีนี้สู้ได้จะสู้ไหม
สู้ ต้องสู้ทุกประเด็น แต่ผมดูแล้ว วันแรกที่เจอสุรภักดิ์ที่เรือนจำ ผมบอกกับเขาว่าผมไม่ได้สู้เรื่องมาตรา 112 ผมสู้เรื่องคอมพิวเตอร์

พอผลของคดีนี้ออกมา แสดงว่าความเชื่อแบบเดิมๆ ว่าคดีนี้ยังไงก็ไม่มีทางชนะนั้นอาจไม่ใช่แล้ว
ใช่ คดีนี้ผมรับปากกับแม่เขา ผมยังไม่รู้เลยว่าเขาฟ้องอะไรบ้าง ข้อหากี่กระทง แต่รู้อย่างเดียวว่าจำเลยเขามีสิทธิมีทนาย โดยส่วนตัวของผมเห็นว่าปัญหาของมาตรา 112 ปัญหามันอยู่ที่การนำเอามาตรานี้มาใช้กับประชาชน คือ กระบวนการนำมาใช้ที่เป็นปัญหา โดยส่วนตัวผมไม่ได้คิดโต้แย้งอะไรกับตัวกฎหมาย แต่ติดตรงการนำมาใช้ ยกตัวอย่าง คดีสุรภักดิ์ ใครก็ไม่รู้มากล่าวหาลอยๆ แล้วเขาก็ติดคุกปีกว่า บางคนโชคดีได้ประกันตัว บางคนก็ไม่ได้โชคดีอย่างนั้น
สุรภักดิ์เองก็เจอแรงกดดัน ถูกกล่อมให้รับสารภาพ เพราะคนเชื่อว่าสู้ไม่ได้ มีหลายคนจำยอมต้องรับสารภาพเพราะคาดหวังว่าจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ได้รับโทษน้อยลง นี่คือปัญหาของเรื่องกระบวนการ อันที่จริงคดีนี้ต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเขาทำผิดจริงหรือเปล่า

ได้ค่าตอบแทนสูงไหม
ก็ไม่รู้จะเบิกที่ใคร (หัวเราะ) คือ ในระหว่างการต่อสู้คดี จริงๆ เราก็อยากได้เงิน แต่คดีนี้มันมาจากความเต็มใจของผมเองและสิ่งที่ได้มาทดแทน ได้มาจากพรรคพวกพี่น้องเสื้อแดงด้วยกัน มันอบอุ่น ให้กำลังใจตลอด เราได้สิ่งนั้นมาทดแทนเรื่องค่าตอบแทน

ที่มา prachatai

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

สยามพารากอน ห้างเดียว ใช้ไฟฟ้ามากกว่าแม่ฮ่องสอน 2 เท่า



►สยามพารากอน ห้างเดียว ใช้ไฟฟ้ามากกว่าแม่ฮ่องสอน 2 เท่า◄

►ห้าง สรรพสินค้าใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เพียง 3 ห้างใช้ไฟฟ้ารวมกันเทียบเท่ากับปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อน 3 เขื่อนรวมกัน มากกว่าการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึง 4 เท่า◄

(ที่ มา : - กลุ่มพลังไท, การไฟฟ้านครหลวง 2549- รายงานการใช้ไฟฟ้า 2549 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย- การไฟฟ้านครหลวง)

การลดลง ของพื้นที่ป่าไม้ในรอบ 40 ปีป่าไม้ เมืองไทย ปี พ.ศ.2504 มีพื้นที่รวมกัน 273,629 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 53% ของพื้นที่ประเทศป่าไม้เมืองไทย ปี พ.ศ.2547 มีพื้นที่รวมกัน 167,590 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 32% ของพื้นที่ประเทศตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ป่าไม้เมืองไทยถูกทำลายไปประมาณ 1 แสนกว่าตารางกิโลเมตร หรือ 66 ล้านไร่ คิดเป็น 1 ใน 5 ของพื้นที่ประเทศไทย (ที่มา : กรมป่าไม้)


ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปี 2549

ภาคครัวเรือนใช้ไฟฟ้า 27,005 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 4,893 ล้านหน่วยในช่วง 5 ปี

ภาคธุรกิจใช้ไฟฟ้า 40,535 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 8,894 ล้านหน่วย


ในช่วง 5 ปีปริมาณการใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าเปรียบเทียบกับจังหวัดและการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน


► ปี 2549 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของ 3 ห้างใหญ่ ◄

สยามพารากอน 123 ล้านหน่วย

มาบุญครอง 81 ล้านหน่วย

เซ็นทรัลเวิลด์ 75 ล้านหน่วย

รวม 279 ล้านหน่วย



► ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละจังหวัด ◄

แม่ฮ่องสอน 65 ล้านหน่วย

อำนาจเจริญ 110 ล้านหน่วย

มุกดาหาร 128 ล้านหน่วย

น่าน 175 ล้านหน่วย

อุทัยธานี 193 ล้านหน่วย

เลย 246 ล้านหน่วย

นราธิวาส 278 ล้านหน่วย

ระนอง 278 ล้านหน่วย


►► ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้า 3 แห่งรวมกัน มากกว่าหรือเท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบางจังหวัด เปรียบเทียบปริมาณการ ผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าในปี 2549 (ล้านบาท) ◄◄


เขื่อนปากมูล กำลังผลิต = 140 >>> ห้างสยามพารากอน ใช้ไฟฟ้า = 123 ล้านหน่วย

เขื่อนสิรินธร กำลังผลิต = 87 >>> ห้างมาบุญครอง ใช้ไฟฟ้า = 81 ล้านหน่วย

เขื่อนอุบลรัตน์ กำลังผลิต = 39 >>> ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ใช้ไฟฟ้า = 75

รวม 3 เขื่อนกำลังผลิต = 266 ล้านหน่วย >>> 3 ห้างใช้ไฟฟ้ารวม = 279 ล้านหน่วย

ที่มา gimyong

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ไต่สวนการตาย 10 เมษา ตร.สายสืบคาดกระสุนสังหารฮิโรยูกิมาจากฝั่งทหาร



วาน นี้ (4 ก.ย.55) ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ (ผู้ตายที่ 1) สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 รวมทั้ง นายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)  อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า (ผู้ตายที่ 3) อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิต ในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน จากการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร

โดยในวันนี้ได้มีประจักษ์พยาน ในเหตุการณ์ 2 ปากมาเบิกความ คือ ร.ต.ต.ชาตรี อุตสาหรัมย์ (ยศขณะเกิดเหตุคือ ด.ต.) อายุ 52 ปี จากกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะตำรวจที่ได้รับมอบหมายเข้าไปติดตามและหาข่าวในที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุ ส่วนอีกปากคือ นายอุดร วรรณสิงห์ แนวร่วม นปช. มีอาชีพทำนา จากจังหวัดร้อยเอ็ด



ร.ต.ต.ชาตรี เบิกความโดยสรุปได้ว่า วันเกิดเหตุ (10 เม.ย. 53) ได้รับมอบหมายให้ไปติดตามกลุ่มผู้ชุมนุม กลุ่มนักรบพระองค์ดำ ที่ราชประสงค์ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุม และ 18.00 น. กลับไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้วออกไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 19.00 น. เศษ ซึ่งขณะนั้นมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมระหว่างทหารกับ นปช. หลังจากนั้นทราบว่าบริเวณสี่แยกคอกวัวมีการปะทะกันเช่นกันจึงได้เดินไป และเดินกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอีกครั้ง เมื่อเดินมาถึงร้านแมคโดนัลด์ซึ่งอยู่บริเวณหัวมุมถนนก่อนเลี้ยวเข้าถนน ดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา พบว่าบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการนำศพคลุมธงชาติ 2 ศพ ในขณะนั้นได้ยินเสียงคลายระเบิดและเสียงปืนในลักษณะต่อเนื่อง แต่ไม่ถี่ จากประสบการณ์ เสียงปืนที่ได้ยินเป็นเสียงปืนยาว ส่วนเสียงคลายประทัดเห็นว่าเกิดจากการที่กลุ่ม นปช. ใช้ระเบิดขวดที่ทำจากขวดเครื่องดื่มชูกำลังใส่น้ำมันขว้างไปยังที่ทหาร ปฏิบัติการอยู่ จากการสังเกตการณ์ไม่พบมีกลุ่ม นปช. ยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหาร

ร.ต.ต.ชาตรี เบิกความต่อว่าจากนั้นได้เดินไปฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาโดยเดินตาม กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีประมาณ 30 กว่าคน บริเวณนั้นมีรถทหารจอดขวางประมาณ 2 คันในลักษณะป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านไปได้ ขณะที่กลุ่ม นปช.ขว้างระเบิดขวดข้ามแนวรถที่ขวางนั้น ก็มีเสียงปืนยาวดังจากแนวหลังรถของทหารที่เป็นลักษณะตอบโต้กันไปมา เห็นกลุ่ม นปช. แบกร่างผู้บาดเจ็บย้อนออกมาทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 2 คน โดยร่างผู้บาดเจ็บทั้ง 2 คนนั้นเห็นหน้าแต่ไม่ชัดเจน ส่วนผู้บาดเจ็บถูกยิงด้วยอาวุธปืนที่บริเวณขา ส่วนบริเวณอื่นนั้นจำไม่ได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกกระสุนที่ยิงมาจากหลังแนวรถของทหาร หลังจากนั้นพยานได้เดินกลับไปบริเวณฝั่งหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา โดยยืนบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นกลุ่ม นปช. ได้เดินผลักดันไปถึงกลางถนนดินสอ พยานเห็นเจ้าหน้าที่แต่งกายทหาร โดยเห็นครั้งละ 1 คน ทหารชะโงกหน้าดูเหตุการณ์อยู่บนบาทวิถีข้างถนน ฝั่งไปทางสะพานวันชาติและถืออาวุธปืนยาวที่ปากกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้า ขณะนั้นมีแสงสว่างจากหลอดไฟหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

ร.ต.ต.ชาตรี ให้ความเห็นว่าเสียงอาวุธปืนยาวนั้นไม่น่าจะออกมาจากทางด้านข้าง แต่เป็นลักษณะที่พุ่งตรงมายัง นปช. หลังจากที่กลุ่ม นปช.ได้เดินผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา ได้มีเสียงปืนยาวยิงตอบโต้กลับมาทำให้ กลุ่ม นปช. ต้องถอยร่นกลับที่บริเวณหัวถนนดินสออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นพยานได้ยืนสังเกตการณ์ที่บริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ขณะนั้นได้ยินเสียงของหนักกระแทกพื้นห่างจากพยาน 1 เมตร และเห็นชายร่างใหญ่ ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ในลักษณะนอนหงาย สะพายกล้องแบบนักข่าว หันมุมกล้องชี้ไปบนท้องฟ้า ร่างนั้นนอนบนบาทวิถีหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาศีรษะหันไปทางโรงเรียน ปลายเท้าชี้ไปทางบ้านเลขที่ 149 ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ในเบื้องต้นจะเข้าไปปฐมพยาบาล แต่เห็นร่างนายฮิโรยูกิมีจุดแดงบริเวณหน้าอกซ้าย จากนั้นจุดแดงดังกล่าวได้ขยายออกและมีเลือดไหล จากประสบการทำงานที่ผ่านมาคิดว่าแผลลักษณะนี้เกิดจากอาวุธปืนที่มีความเร็ว สูง และจากประสบการณ์ทำงานของพยาน บริเวณบาดแผลที่หน้าอกด้านซ้าย ถือเป็นจุดที่ผู้ยิงประสงค์ให้ถึงแก่ความตายทันที ซึ่งผู้ยิงจะต้องได้รับการฝึกฝนมาพอสมควร

พยานได้ประคองนายฮิโรยูกิ และตะโกนแจ้งให้ผู้ชุมนุมบริเวณนั้นทราบว่ามีนักข่าวถูกยิง ผู้ชุมนุมได้ช่วยกันแบกร่างนายฮิโรยูกิ ไปที่รถพยาบาล ซึ่งขณะนั้นมีลักษณะตาค้าง แต่พยานไม่ได้ตามไปด้วย ขณะนั้นกลุ่ม นปช.มีการผลักดันตอบโต้อยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นได้ยินเสียงประกาศจากบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแจ้งให้เจ้า หน้าที่ทหารหยุดการปฏิบัติการเนื่องจากมีการตกลงกับฝ่ายผู้บังคับบัญชาทหาร แล้ว หลังจากนั้นได้ยินเสียงปืนยาวดังออกมาประปรายบ้าง และพยานได้เดินทางกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล อย่างไรก็ตาม ขณะที่ช่วยฮิโรยูกินั้นกางเกงยีนส์ที่ใส่ไปก็ได้เปื้อนเลือดของฮิโรยูกิด้วย และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้นำไปตรวจพบว่าตรงกัน จากการสังเกตกลุ่มผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ มีเพียงไม้กับมีดทำครัว หลังวันเกิดเหตุพยานได้กลับไปสำรวจที่เกิดเหตุพบว่า ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ทั้ง 2 ฝั่งมีร่องรอยความเสียหายจากของแข็งกระทบ

พยาน ปากที่ 2 คือ นายอุดร เบิกความโดยสรุปได้ว่า ในวันเกิดเหตุประมาณ 18.00 น. มีการแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ทหารกำลังเข้าปฏิบัติการที่ถนนดินสอและสี่แยกคอกวัว พอทราบข่าวมวลชนก็ไปประจันหน้าทั้ง 2 จุดโดยพยานไปที่บริเวณถนนดินสอเพื่อดูเหตุการณ์ตรงชายขอบอนุสาวรีย์ มีรถหุ้มเกราะและรถถังของทหารจอดเรียงอยู่ประมาณ 6 คันตรงทางเข้าถนนดินสอ โดยมีทหารประจำอยู่หน้ารถถังประมาณ 100 นาย โดยขณะนั้นเจ้าหน้าที่ทหารถือโล่และตะบอง ส่วนแถวหลังจะถือปืนยาว

นาย อุดร กล่าว่า ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการผลักดันทหารให้ออกจากบริเวณนั้น แต่ทหารได้ยิงแก๊สน้ำตาหลายนัดจากหลังรถถังมาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม จึงทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกออก ระหว่างนั้นมีกระแสลมตีแก๊สน้ำตาย้อนกลับไปทางเจ้าหน้าที่ทหารๆ จึงได้ถอยร่นไปทางสะพานวันชาติ ขณะนั้นพยานได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้งท้ายรถหุ้มเกราะของทหาร โดยพยานยืนอยู่บริเวณทางม้าลายปากถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จุดที่ระเบิดลงนั้นห่างจากตัวพยานประมาณ 10 เมตร ทหารก็แตก พากันวิ่งหนีกันไปทางสะพานวันชาติ ส่วนผู้ชุมนุมและพยานก็ได้ตามเข้าไปด้วย

นายอุดร เบิกความอีกว่า พอวิ่งตามไปหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ตรงทางม้าลาย เห็นทหาร 2 นายนอนบาดเจ็บร้องขอความช่อยเหลือบริเวณบาทวิถี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน หลังรถถัง ขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังเข้าไปช่วยเหลือได้ยินเสียงปืนดังจากทางแนวทหารจากทาง ไปสะพานวันชาติ ซึ่งตั้งแนวทั้ง 2 ข้างบาทวิถี ส่วนตรงกลางจะมีรถถังที่ถอยกลับไปกลับมาอยู่ ทหารจ้องเล็งอาวุธปืนมาทางกลุ่มผู้ชุมนุม เหตุที่สามารถเห็นได้เนื่องจากมีแสงสว่างจากหลอดไฟตามถนน ขณะที่มีเสียงปืนจากแนวทหารเข้ามามาก็เห็นประกายไฟซึ่งคาดว่าออกมาจาก ปลายกระบอกปืนด้วย แนววิถีที่ทหารยิงมานั้นสูงประมาณหน้าอกและศีรษะ โดยขณะนั้นไม่มีประกายไฟมาจากฝั่งโรงเรียนและฝั่งอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้าม โรงเรียนแต่อย่างใด แล้วมีคนร้องว่า “โดนแล้วๆ” ขณะนั้นตนเองยืนอยู่ตรงทางม้าลายเข้าโรงเรียน ขณะนั้นหันไปดูต้นเสียง เห็นผู้ชายสวมเสื้อสีแดงถือธงแดง ทราบชื่อภายหลังว่านายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2) ล้มลง หันหัวมาทางโรงเรียน นอนตรงทางม้าลายนั้นบนถนน ส่วนปรายเท้าหันไปทางตรงข้ามโรงเรียน ขณะนั้นเห็นเลือดและมันสมองกลิ้งมาที่พยานยืนห่างไป ห่างไป 3-4 เมตร บาดแผลมีลักษณะกะโหลกศีรษะเปิดด้วย ก่อนที่นายวสันต์จะล้มลงนั้นเห็นโบกธงแดงอยู่บริเวณนั้น

เมื่อเห็น นายวสันต์ (ผู้ตายที่ 2) ล้มลง ตนจึงวิ่งไปหลบที่บริเวณต้นไม้ ต้นที่ 2 หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา นับจากประตูโรงเรียนไปทางอนุสาวรีย์ ห่างจากจุดก่อนหน้าประมาณ 6 เมตร ขณะนั้นมีชายแบกกล้องในลักษณะนักข่าวมาถ่ายภาพตรงนั้น เดินอยู่หน้าพยานห่างไปประมาณ 3 เมตร (ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ ผู้ตายที่ 1) พอเสียงปืนดังขึ้น ชายคนดังกล่าวก็ล้มบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ก่อนที่จะล้มชายคนดังกล่าวหันหน้าไปทางทหาร 2 นายที่นอนเจ็บอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน การล้มเป็นการล้มแบบนอนหงาย โดยกระสุนมาจากแนวทหาร เสียงปืนดังและมีประกายไฟพุ่งมาทางชายที่แบกกล้องแล้วก็ล้มลงในจังหวะเดียว กัน

นายอุดร เบิกความต่อว่าในระหว่างที่จะเข้าไปช่วยนายฮิโรยูกิ ปรากฏเสียงปืนดังขึ้นอีก พยานจึงหลบเข้าที่เดิม ในระหว่างหมอบหลบเห็นชายอีกคนล้มลงอยู่เลยร่างนายวสันต์(ผู้ตายที่ 2 ) เลยไปแนวทหารประมาณ 3 เมตร บนถนนฝั่งตรงข้ามโรงเรียน ทราบชื่อภายหลังว่านายสยาม (เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เช่นกัน) และใกล้ตรงที่ทหารบาดเจ็บ 2 นายนั้น ก็มีชายที่ได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ตรงนั้นอีกคน ทราบชื่อภายหลังว่านายจรูญ (เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เช่นกัน) หลังจากนั้นเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงหาทางวิ่งออกจากบริเวณที่เกิด เหตุมาที่ร้านแมคโดนัลด์

นายอุดร ยืนยันอีกด้วยว่าในกลุ่มของตนเองแม้ใส่เสื้อคลุมดำบ้าง แต่ที่ชุมนุมชายชุดดำที่ติดอาวุธปืนนั้นไม่มี ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 21.00 น. ได้ยินเสียงประกาศจากสะพานวันชาติสั่งให้เจ้าหน้าที่ยุติการยิง เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้ถอย



สำหรับคดีนี้จะมีการไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 5 ต.ค.55

คลิกดูแผนที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

ที่มา prachatai

รายงานความจริงฟังแล้วน่าตกใจ หมอก็ร่วมกับขบวนเผด็จการกะเขาด้วยหรือนี่!?..

โดย บังสุกุล


ผมมีโอกาสไปเชียงใหม่ ติดอุปกรณ์ถ่ายทอดสดและอัดเทปงานเสวนา รายละเอียดและสารบัญ ความจริงเพื่อความยุติธรรม:เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา - พฤษภา 53 ณ.ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์ มช. 01-09-12 ตามที่วางไว้ด้านบน

มีผู้ร่วมฟังเสวนานี้แค่10กว่าคน แต่เนื้อหารายงานความจริงที่คณะกรรมการ ทำงานค้นคว้าสืบเสาะเป็นปี กว่าจะได้รายงานนี้ ฟังแล้ว น่าตกใจ นอกจาก อำมาตย์ ทหาร ตำรวจ รัฐบาล ศาล ในขณะนั้นจะ ทำให้ผู้ชุมนุมตาย แต่ที่น่าตกใจ มีหมอในโรงพยาบาล ที่ไม่ใส่ใจกับผู้ได้รับบาดเจ็บ จนเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมตายโดยหากได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์แล้วจะไม่ตายแน่ นอน

ผู้ค้นคว้า วิจัยและรายงานเป็น คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ดังๆชั้นแนวหน้าของประเทศทั้งนั้น จึงการันตีในความแม่นยำของรายงานได้แน่นอน

รายละเอียดและสารบัญ ความจริงเพื่อความยุติธรรม : เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา - พฤษภา 53 ณ.ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์ มช. 01-09-12

ที่มา Internetforfreedom

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : 6 ปีหลังรัฐประหาร สงครามคู่ขนาน : ประชาชนหรือนายทุน 'เสื้อแดง' หรือ 'ทักษิณ'


ใน สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ 70 ปีก่อน มีสงครามคู่ขนานในการต่อสู้กับฝ่ายอักษะ คือเยอรมัน อิตาลี่ และญี่ปุ่น เพราะประชาชนธรรมดา โดยเฉพาะมวลชนก้าวหน้า สู้เพื่อทำลายระบบฟาซิสต์เผด็จการ และสู้เพื่อเสรีภาพกับความเท่าเทียม คนจำนวนมากยังสู้เพื่อสังคมนิยมอีกด้วย แต่ฝ่ายชนชั้นปกครองทุนนิยมตลาดเสรีในอังกฤษ สหรัฐ กับฝรั่งเศส และชนชั้นปกครอง “ทุนนิยมโดยรัฐ” ในเผด็จการคอมมิวนิสต์รัสเซีย สู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและจักรวรรดินิยมเท่านั้น แต่ในการปลุกระดมมวลชนให้รบในกองทัพของรัฐบาล ชนชั้นปกครองต้องใช้วาจาในการสร้างภาพว่า สงครามนั้นเป็น “สงครามต้านฟาสซิสต์เพื่อเสรีภาพ” ในขณะเดียวกัน โรสเวลต์ เชอร์ชิล และสตาลิน เคยแสดงความพร้อมที่จะทำข้อตกลงจับมือกับฟาสซิสต์

ถ้าเรา ศึกษาประวัติศาสตร์สงครามโลกอย่างผิวเผิน เราอาจมองไม่เห็นว่า สงครามของประชาชน กับสงครามของนายทุนประเทศพันธมิตรต่างกันเท่าไร เพราะทั้งสองรบกับฝ่ายอักษะ วิกฤติไทยหลัง 19 กันยา มีส่วนคล้ายตรงนี้ ถ้าดูผิวเผินอาจมองว่า เสื้อแดงกับทักษิณสู้กับศัตรูเดียวกัน

ใน “สงคราม” ของเสื้อแดงกับอำมาตย์หลังรัฐประหาร 19 กันยา ก็มีสองสงครามคู่ขนานเช่นกัน คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่พร้อมจะเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้ร่วมกันสร้างขบวนการเสื้อแดงและออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่มีการ แทรกแซงโดยอำมาตย์ ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ และท่ามกลางการต่อสู้ มีการตื่นตัวมากขึ้นจนคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เริ่มมองสังคมไทยจากมุมมองชนชั้น อย่างน้อยก็มองว่า มีสองฝ่ายหลักคือ “เรา” ที่เป็น “ไพร่” กับ “เขา” ที่เป็น “อำมาตย์กับพรรคประชาธิปัตย์ และสลิ่มฟาสซิสต์” และเสื้อแดงเหล่านี้ต้องการให้มีการเปลี่ยนสังคมไทย ต้องการให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ต้องการให้ปฏิรูปกองทัพไม่ให้แทรกแซงการเมือง ต้องการให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้วย และเขาเสียสละเลือดเนื้อเพื่อสิ่งเหล่านี้

แต่ฝ่ายทักษิณกับพรรคพวก ไม่ได้สู้เพื่อให้มีการเปลี่ยนสังคมไทยให้เท่าเทียมแต่อย่างใด เขาไม่ต้องการให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ไม่ต้องการให้ปฏิรูปกองทัพไม่ให้แทรกแซงการเมือง และไม่ต้องการให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เป้าหมายของเขา คือการกลับมาปรองดองกับคู่ขัดแย้ง และเพื่อให้สังคมไทยกลับคืนสู่สภาพ “ปกติ” ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำและการขูดรีด อย่างที่เป็นก่อน 19 กันยา

ทักษิณ พูดเองเมื่อต้นปี 2555 ว่า เขามองว่า วิกฤตไทยมาจากการทะเลาะกันระหว่างนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพวก กับทักษิณและพรรคพวกของเขา และแน่นอนคำพูดนี้เป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์อย่างถึงที่สุด เพราะตัดบทบาทของทหารที่ทำรัฐประหารและฆ่าประชาชนออกไปหมด และลบทิ้ง “สงคราม” ของประชาชนเสื้อแดง เพื่อให้มีแค่การต่อสู้เพื่อตัวทักษิณเอง สรุปแล้ว ในความฝันของทักษิณ คนเสื้อแดงเป็นแค่ไพร่รับใช้ทักษิณเท่านั้น

เป้า หมายของทักษิณและพรรคพวก โดยเฉพาะนักการเมืองเพื่อไทยในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือแค่การปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและอภิสิทธิ์ชนซีกทักษิณ นั่นคือสาเหตุที่รัฐบาลปัจจุบันเต็มไปด้วยรัฐมนตรีที่ไม่เคยสู้เพื่อ ประชาธิปไตย และหลายคนก็มีประวัติการเป็นโจรอีกด้วย และเป้าหมายของทักษิณกับยิ่งลักษณ์หมายความว่า จะไม่กล่าวถึงอาชญากรรมของทหาร เพราะจับมือจูบปากทหารแล้ว จะไม่ลบล้างผลพวงของรัฐประหารตามข้อเสนอคณะนิติราษฏร์ และจะไม่ป้องกันไม่ให้ทหารแทรกแซงการเมืองอีก

ในสงครามคู่ขนานที่ เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างน้อยชนชั้นปกครองยังให้เกียรติทหารธรรมดาที่ล้มตายในสงครามบ้าง แต่ในกรณีสงครามเสื้อแดงไม่มีเลย ทักษิณกับเพื่อไทย “ถุยน้ำลายใส่” วีรชนเสื้อแดงที่เสียสละในการต่อสู้ และทำการปรองดองบนซากศพเขา ไม่มีการนำทหารกับนักการเมืองประชาธิปัตย์มาขึ้นศาล และมีการปล่อยให้นักโทษการเมืองติดคุกต่อไปจนบางคนต้องตายในคุก แต่เราอธิบายได้ เพราะถ้ามีการนำทหารและนักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์มาขึ้นศาลในคดี “อาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน” ในอนาคตอาจนำทักษิณมาขึ้นศาลได้ในคดีอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชนที่ตากใบ และในเรื่องการฆ่าวิสามัญยาเสพติด คำขวัญสำคัญของชนชั้นปกครองไทยคือ “เรารู้จักปกป้องผลประโยชน์ของพวกเราเสมอ” นั้นคือสาเหตุที่ผมเชื่อว่า แม้แต่ อภิสิทธิ์ หรือสุเทพ จะไม่ถูกนำมาลงโทษ อย่าว่าแต่ทหารมือเปื้อนเลือดเลย และสิ่งที่เราเห็นอยู่ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือการสืบคดีสไนเปอร์ เป็นแค่ละครตลกร้ายเท่านั้น

ในสงครามของประชาชนชั้นล่าง สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง บ่อยครั้งประชาชนชั้นล่างสามารถปลดแอกตนเองโดยการเอาชนะฝ่ายอักษะได้ โดยไม่อาศัยกองกำลังของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การปลดแอกเมืองปารีส การปลดแอกประเทศกรีซ หรือมลายู ซึ่งกระทำโดยกองกำลังของแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม แกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกตอนนั้น มองว่าภาระหลักคือการสนับสนุนรัสเซียภายใต้สตาลิน และการเคารพข้อตกลงที่สตาลินมีกับผู้นำตะวันตก ดังนั้นกองกำลังของประชาชนที่ปลดแอกตนเอง กลับยอมมอบอาวุธให้ศัตรูและสลายตัว ผลคือการ “กลับสู่สภาพปกติ” ของทุนนิยมในฝรั่งเศสและกรีซ และการ “กลับสู่สภาพปกติ” ของการเป็นอาณานิคมของมลายู

สำหรับสงครามเสื้อแดง แกนนำ นปช. ซึ่งบางคนเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต ก็มองว่า ภาระหลักของ นปช. คือการเป็นกองเชียร์ให้พรรคเพื่อไทยและทักษิณ และการสนับสนุนเป้าหมายของทักษิณและยิ่งลักษณ์ในการนำสังคมไทย “กลับคืนสู่สภาพปกติท่ามกลางความเหลื่อมล้ำและการขูดรีด” ดังนั้นทั้งๆ ที่มีการใช้วาจาสร้างภาพว่าจะไม่ “ทอดทิ้งกัน” แกนนำ นปช. ก็ค่อยๆ สลายขบวนการเสื้อแดง และหันหลังให้กับนักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษ 112 ไม่มีการรณรงค์อย่างเต็มที่ให้ลบผลพวงของรัฐประหาร ให้มีการยกเลิก 112 และให้มีการนำทหารและนักการเมืองประชาธิปัตย์มาขึ้นศาลแต่อย่างใด และเวลาก็ผ่านไปกว่าหนึ่งปีหลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งแล้ว

แต่ อย่าเข้าใจผิดว่า การออกมาต่อสู้ของประชาชนเสื้อแดงเป็นเรื่องสูญเปล่า อย่าเข้าใจผิดว่า การออกมาต่อสู้ของประชาชนไม่เคยได้อะไร อย่าเข้าใจผิดว่าเราต้องถูกแกนนำหลอกเสมอ

ถ้าเสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้ เราจะไม่มีกระแสสำคัญๆ ในสังคมไทยที่อยากปฏิรูปการเมืองจริงๆ เช่น การรณรงค์ของนิติราษฎร์หรือผู้ที่ต้องการจัดการกับกฏหมาย 112 และถ้าพวกเราไม่ได้ออกมาสู้ อำมาตย์ก็จะมั่นใจยิ่งกว่านี้ว่า ทำอะไรกับเราก็ได้ เรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็อาจไม่เกิดด้วย

การ ที่แกนนำ นปช. สามารถทำลายความฝันของเสื้อแดงในการปฏิรูปสังคมไทยและสามารถหักหลังวีรชนได้ ไม่น่าจะทำให้เราแปลกใจมากเกินไป ถ้าเราเข้าใจว่า เสื้อแดงก้าวหน้าบกพร่องในการสร้างองค์กรทางการเมืองที่อิสระจาก นปช. เหมือนกับที่ประชาชนก้าวหน้าสมัยสงครามโลก มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถสร้างองค์กรฝ่ายซ้ายที่อิสระจากพรรคคอมมิวนิสต์สายสตา ลินได้

การต่อสู้ของมวลชน... ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้... การเสียเลือดเนื้อของประชาชน... การเลือกตั้ง... การปรองดองของชนชั้นปกครองบนซากศพวีรชน... ฆาตกรลอยนวล... อำนาจอำมาตย์ถูกปกป้อง... พรรคการเมืองทำลายความฝันของประชาชน:  นั้นคืออ่างน้ำเน่าของการเมืองไทยในรอบห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา ถ้าเราอยากให้เรื่องแบบนี้จบสักที คนก้าวหน้าต้องรู้จักรวมตัวกันทางการเมืองในลักษณะที่อิสระจากพวก “ผู้ใหญ่” เราต้องมาร่วมกันสร้าง “พรรคสังคมนิยม”

พรรคสังคมนิยมมีหน้าที่ สร้างผู้ปฏิบัติการจากคนที่เข้าใจประเด็นการเมืองทางชนชั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการขยายความคิดนี้ไปสู่คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดกลางๆ ระหว่างความก้าวหน้ากับความล้าหลัง หรือระหว่างความเป็นซ้ายกับความเป็นขวา พรรคไม่ได้ตั้งเป้าหมายหลักในการทำงานกับคนที่ล้าหลังที่สุด ถูกกดขี่มากที่สุด หรือเข้าใจการเมืองน้อยที่สุดเพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่พร้อมจะเปลี่ยนความคิด ง่ายๆ นั้นคือสาเหตุที่พรรคฝ่ายซ้ายควรทำงานกับคนเสื้อแดง ก่อนที่ขบวนการนี้จะสูญหายไปหมดภายใต้นโยบายของ นปช. และเพื่อไทย

แต่ ถึงกระนั้น ถ้าจะมีการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งจะนำไปสู่เสรีภาพแท้ได้ การเปลี่ยนสังคมดังกล่าวต้องเป็นการกระทำของมวลชนส่วนใหญ่เอง จากล่างสู่บน ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มเล็กๆ หรือ "กองหน้า"

พรรคสังคมนิยมต้องยึด ถือผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม หรือพนักงานปกคอขาว และไม่ว่าจะเป็นคนจนที่เป็นชาวนา ลูกจ้างภาคเกษตร ชนกลุ่มน้อย หรือคนจนในเมือง พรรคต้องเป็นปากเสียงของผู้ถูกกดขี่ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และวิถีชีวิต

เราไม่ควรไปเสียเวลากับคนชั้นกลางเท่าไร เพราะในวิกฤตปัจจุบัน และในยุค 6 ตุลา คนชั้นกลางส่วนใหญ่ในไทยเลือกข้างของความป่าเถื่อน และทั่วโลกมักเป็นพลังสำคัญของกระแสฟาสซิสต์

พรรคจะต้องมี ประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาเป็นผู้ควบ คุมนโยบาย ผู้นำ และผู้แทนของพรรคตลอดเวลา พรรคต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกในอัตราก้าวหน้าเป็นหลัก คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมากและคนที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่นและตกเป็นเครื่องมือของคนมีเงิน และถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนทุกพรรค คือการเป็นพรรคของมวลชนจริงๆ การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน และผู้สนับสนุนพรรคจะไม่เข้ามาร่วมภายใต้นโยบายของพรรคเท่านั้น แต่จะได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน

พรรคสังคมนิยม ไม่ใช่พรรคประเภทบนลงล่างที่โกหกว่า “คุณเลือกเราเป็น ส.ส. แล้วเราจะทำให้คุณทุกอย่าง” ในระยะสั้นพรรคต้องไม่ตั้งเป้าหลักที่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เพราะรัฐสภาไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจแท้ในระบบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายทุน การจดทะเบียนพรรคจึงไม่สำคัญ อย่างไรก็ตามการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบปัจจุบันอาจเป็นโอกาสดีสำหรับการโฆษณาแนวคิดในอนาคต พรรคจะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการต่อสู้ แหล่งรวมของนักเคลื่อนไหวไฟแรง และเป็นเครื่องมือในการประสานงานและปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพกับคนจน เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยตามความไฝ่ฝันของเสื้อแดง

พูดง่ายๆ พรรคสังคมนิยมควรรับภาระในการต่อสู้ต่อไปของคนชั้นล่าง ท่ามกลางการหักหลังทรยศของพรรคเพื่อไทยและ นปช.

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปาหี่ ICC "คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC "



30 สิงหาคม 2555

โลกวันนี้ รายวัน
ปีที่ 13 ฉบับที่ 3368 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 30 สิงหาคม 2012
คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC

“แม้ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน จะแนะนำถึงการยื่นเรื่องเพื่อขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ไต่สวนหาผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 แต่เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่”

นั่นเป็นคำพูด ของนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของอาสาพยาบาล กมนเกด อัคฮาด ที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนาราม เป็นการส่งสัญญาณว่าเริ่มสิ้นหวังกับการให้ ICC รับเรื่องนี้เพื่อไต่สวนหาผู้สั่งการฆ่าประชาชน

การเดินทางไปกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหลักฐานข้อมูลเพิ่ม เติมต่อ ICC ของนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ล่วงเลยมากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ปฏิกิริยาจาก ICC ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร เว้นแต่เปิดช่องให้ยื่นข้อมูลหลักฐานเพิ่มได้เท่านั้น

ทั้งนี้ เพราะติดเงื่อนไขที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลเพื่อให้ ICC สามารถพิจารณาสำนวนคดีการสลายการชุมนุมได้

แม้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำการศึกษาเรื่องนี้ พร้อมให้คำมั่นว่าจะมีข้อสรุปเรื่องการรับรองเขตอำนาจศาลเสนอให้คณะรัฐมนตรี ในเร็ววันนี้

แต่ก็เป็นการเทคแอ็คชั่นไม่ให้เสียคะแนนจากคนเสื้อแดงเท่านั้น

ความหวังของญาติผู้สูญเสียที่ฝันว่าจะเห็น ICC ไต่สวนเรื่องนี้จึงยังห่างไกลจากความจริง

จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าปมปัญหาที่ทำให้ยังไม่สามารถยอมรับเขตอำนาจศาล ICC ได้เป็นเพราะ

1.ไทย ได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ค.ศ. 1998 เมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม เนื่องจากจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติอนุวัติพันธกรณีของธรรมนูญกรุงโรมก่อน เพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้

2.ไทยมีประเด็นอ่อนไหวที่ ต้องพิจารณาเกี่ยวกับข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งระบุถึงการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐเพื่อไม่ต้องรับผิด ทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรม

ในขณะที่มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติถึงการละเมิดมิได้ และการไม่อาจกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานะเป็นประมุขของรัฐ ไม่ว่าในทางใดๆ

3.ขณะนี้การดำเนินคดีต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด อยู่ในกระบวนการยุติธรรมของไทยแล้ว ตามหลักกฎหมายของธรรมนูญกรุงโรม ICC มีเขตอำนาจในฐานะศาลที่เสริมเขตอำนาจในทางอาญาของรัฐในกรณีที่รัฐนั้นเป็น ภาคีแล้ว จึงไม่สามารถรับคดีไว้พิจารณาได้

ถึงแม้ข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมจะระบุให้รัฐซึ่งมิได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมอาจยอมรับการ ใช้อำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญากรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียนของ ICC ก็ตาม

4.คณะกรรมการ พิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณา การเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมมีความเห็นว่า การเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในบางประเด็น ที่เป็นเรื่องสำคัญและอ่อนไหว โดยเฉพาะข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรมเรื่องการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐในการที่ จะไม่ต้องรับผิดชอบทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรมจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ภายในที่เกี่ยวข้อง

เช่น ประมวลกฎหมายอาญาเพื่อเพิ่มฐานความผิดร้ายแรงทั้ง 4 ฐานตามธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ อาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์, ต่อมนุษยชาติ, สงคราม, การรุกราน ให้เป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญาของไทย, พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำ พิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527, พระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เพื่อให้รองรับพันธกรณีภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมได้ครบถ้วนสมบูรณ์

สิ่ง เหล่านี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนแสดงเจตจำนงให้มีผลผูกพันหรือ ให้สัตยาบันตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ จึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการที่จะให้ ICC รับไต่สวนกรณี 98 ศพ

โดย เฉพาะหัวใจสำคัญที่ดูเหมือนรัฐบาลไม่กล้าแตะ คือการอ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับมาตรา 8 วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆนั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่าง ประเทศ

นี่คือเหตุผลว่าทำไมคดี 98 ศพ จึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ICC เสียที แม้เหตุการณ์จะล่วงเลยผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว

การเอาผิดคนสั่งฆ่าประชาชนจึงเป็นเพียงโวหาร วาทะทางการเมือง เพื่อรักษาน้ำใจคนเสื้อแดงเท่านั้น

แม้ แต่กระบวนการสอบสวนในประเทศที่มีการเรียกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เข้าให้ปากคำ

หรือการเรียก ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ และ ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด ทหารสังกัด ม.พัน 5 สองทหารประจำจุดซุ่มยิง หรือสไนเปอร์ เข้าให้ปากคำ ก็ไม่มีความหวังใดๆกับการเอาคนสั่งฆ่ามารับโทษ

กระบวนการทั้งหมดส่อ ไปในทิศทางที่ว่าไม่ได้มุ่งเอาผิดใคร แต่เป็นการมุ่งไปสู่การปรองดอง รอมชอม หรือเกี๊ยะเซียะ เพื่อล้างผิดทุกฝ่ายด้วยการนิรโทษกรรมเสียมากกว่า
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=15924

ที่มา thaienews

สัมภาษณ์ ‘พวงทอง ภวัครพันธุ์’ บทเรียน-ไม่รู้-ลืม? “สลายการชุมนุมปี 53”

หลังจากใช้เวลาเก็บข้อมูลและค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เป็นเวลา 2 ปี ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย-พ.ค. 53 (ศปช.) ก็ได้พิมพ์รายงานออกมาเป็นรูปหนังสือหนากว่าหนึ่งพันหน้าชื่อ ‘ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53’

ประวิตร โรจนพฤกษ์ แห่งหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น สัมภาษณ์ ผศ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ผู้ประสานงาน ศปช. และบรรณาธิการร่วมของรายงาน เกี่ยวกับข้อมูลที่ค้นพบและมุมมองของเธอ

ประวิตร: ศปช. ค้นพบข้อมูลอะไรที่อาจเปลี่ยนความเข้าใจต่อเหตุการณ์ปี 53 บ้าง?

พวงทอง: ค่อนข้างตกใจว่าคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสะเปะสะปะมาก คือคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ถูกลูกหลงเยอะมาก
ภาพใหญ่ที่มักเข้าใจคือความรุนแรงเกิดขึ้นหลังเผา [Central World และตึกอื่นๆ] แต่เราพบว่าปฏิบัติการทางทหารเกิดขึ้นตั้งแต่ 14 พฤษภาโดยเฉพาะสวนลุม บ่อนไก่ ราชปรารภ มีคน 11 คน [ตาย] ในวันเดียว ซึ่งพอมาอ่านบทความหัวหน้าควง นายทหารระดับเสนาธิการ เขียนลงในวารสารเสนาธิปัตย์ ซึ่งเขาวิเคราะห์ความสำเร็จของปฏิบัติการกระชับวงล้อมก็ทำให้เข้าใจว่าทำไม ความตายเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 คือมีการใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และนี่น่าจะเป็นสาเหตุให้คนถูกลูกหลง

ส่วนของชายชุดดำ มันไม่มีความชัดเจนว่าเขาเป็นใคร แม้รัฐบาล [อภิสิทธิ์] ก็ยังไม่มีปัญญาไปตามหาได้ และในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างว่ามีการใช้กำลังก่อให้เกิดการบาดเจ็บและ เสียชีวิตเพราะชายชุดดำยิงใส่ผู้ชุมนุมเอง แต่ ศปช.พบว่ามีการใช้อาวุธจริง [จากฝั่งทหาร] ตั้งแต่บ่ายวันที่ 10 แล้ว และมีคนบาดเจ็บก่อนที่ชายชุดดำจะโผล่มา

เรื่อง M79 เราไม่ได้เก็บข้อมูลตรงนี้ เพราะในที่สุดต้องไปพิสูจน์ตรงวิถีกระสุนด้วย…

รัฐบาลมักจะบอกว่าคนที่ตายเป็นผู้ก่อการร้ายแต่จากหลักฐานที่เรามี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเราไม่พบคราบเขม่าปืนในมือของผู้เสียชีวิตเลย คนจำนวนมากมีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ ผู้คนเหล่านี้ไม่ได้มีอาวุธร้ายแรงในมือ เพราะฉะนั้น การบอกว่าทหารต้องใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตนเองนั้นฟังไม่ขึ้น

แล้วกรณีสไนเปอร์?

สไนเปอร์เนี่ย ภาพคลิปต่างๆมากมายที่อยู่ในโลกออนไลน์เห็นว่าทหารจำนวนมากถือปืนที่มีกล้อง ส่อง ทำให้เกิดความแม่นยำในการยิง มันอธิบายว่าทำไมผู้เสียชีวิตเกือบ 30 เปอร์เซนต์ ถูกยิงที่หัว และถ้ารวมหน้าอกด้วยอีก 22 เปอร์เซนต์ มัน 50 เปอร์เซนต์… มันไม่ได้ยิงเพื่อป้องกันตนเอง

คิดว่าใครควรรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของทั้งสองฝ่าย?

คนที่สั่งการ คือหัวหน้าของรัฐบาล และผู้สั่งการ ศอฉ. รวมถึงผู้กำหนดยุทธศาสตร์ของกองทัพด้วย มันเป็นความผิดพลาดที่คุณเอาวิธีทางการทหารมาสลายการชุมนุมและควบคุมมันไม่ ได้

กลุ่มคุณถูกมองว่าเอียงแดงและมีธงอยู่แล้ว

เราก็ไม่แปลกใจกับข้อกล่าวหานั้น แต่สิ่งที่เราอยากให้สังคมพิจารณาคือข้อมูลที่เราเสนอ ในหลายกรณีมันชี้ชัดว่ารัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุและการสลายการชุมนุมไม่เป็น ไปตามขั้นตอนที่ศอฉ.กับรัฐบาลกล่าวไว้เลย
ต่อให้คุณมีอำนาจทางการทหารและกฎหมาย คุณก็ไม่สามารถละเมิดสิทธิการมีชีวิตของประชาชนที่เขาไม่มีอาวุธร้ายแรงใน การต่อสู้กับรัฐบาล และจะใช้ข้อกล่าวหาก่อการร้ายโดยรวมและให้ผู้ชุมนุมทั้งหมดรับผิดชอบความ รุนแรงทุกกรณีไม่ได้

คุณดูจะมองการเก็บข้อมูลเสนอข้อเท็จจริงของ คอป. กับคณะกรรมการสิทธิฯ ในแง่ลบ ทำไม?

คือ คอป. เราคิดว่าเราไม่เห็นความชัดเจนในการทำงานของเขา สองปีผ่านมาคิดว่าเขาไม่สามารถพิสูจน์ตนเองได้ว่าเขาค้นหาความจริง คิดว่าเขายังสับสนว่าความจริงจะเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง ส่วนกรรมการสิทธิฯ เราหวังว่าจะ apply (ใช้) หลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกันทุกฝ่าย ไม่ใช่เอาหลักสิทธิมาปกป้องรัฐและให้รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชนได้อย่างไม่ เลือกหน้า
[ผู้ชุมนุม] บางคนถูกขังฟรี ศาลยกฟ้อง กระบวนการยุติธรรมได้มีการดำเนินคดีกับคนเหล่านั้นแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังไม่มีใครถูกดำเนินคดีเลยแม้แต่คนเดียว

ดูเหมือนว่าทุกกลุ่มในสังคมจะมีข้อสรุปอยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในปี 53 คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

เราก็ไม่ได้คาดหวังว่าสังคมจะเปลี่ยนใจจากข้อสรุปที่มีอยู่ แล้ว แต่ว่าเราทำหน้าที่ในการที่จะรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้มากที่สุด ก่อนที่ข้อมูลเหล่านี้จะหายไปตามกาลเวลา ข้อมูลเหล่านี้มันช่วยยืนยันอย่างเป็นระบบว่ารัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุและ ละเมิดสิทธิในชีวิตประชาชนอย่างไร
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้าในวันข้างหน้ากระบวนการยุติธรรมจะสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ข้อมูลเหล่านี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์

การหยุดยั้งการใช้ความ รุนแรงจากรัฐต่อประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดชอบหรือ impunity จะหมดไปจากสังคมไทยไหม? ขึ้นอยู่กับกรณี เมษา-พฤษภา 53 เพียงไร?

หลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 ใหม่ๆ ซึ่งเราไม่สามารถยอมรับกับ culture of impunity ได้ แต่เราพยายามรวบรวมข้อมูลความจริงให้มากที่สุด ถ้าคุณจะเอาผิดกับผู้กระทำผิด ความจริงเป็น the first step เป็นขั้นแรกของกระบวนการในการที่จะเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
คือเราเห็นตัวอย่างในอดีต ไม่ว่าจะเป็น 6 ตุลา [2519] พฤษภา 35 ที่คนทำผิดลอยนวล ไม่เคยถูกเอามาลงโทษ

แปลว่าคุณไม่มั่นใจ?

ก็ไม่มีความมั่นใจ แต่เราก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉยไม่ทำอะไร และเราก็มีความหวังว่าถ้าเราไม่ยอมรับมัน มันก็จะถูกสั่นคลอน สิ่งที่เรากำลังทำคือ challenge (ท้าทาย) ไอ้ culture of impunity นี้



หมายเหตุ:บทสัมภาษณ์นี้ เผยแพร่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2555

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Top 10 List of Wealthiest Royals in 2012 : 10 ราชวงศ์ที่รวยที่สุดประจำปี 2012

Now we are going to talk about the Top 10 List of Wealthiest Royals in our Top 10 List. We make a list of Wealthiest Royals to introduce them with our audience. We hope this post can satisfy our audience. In the same this Top 10 List will be very informative. In our Top 10 List we never provide any false information.


1. Bhumibol Adulyadej: In the Top 10 List of Wealthiest Royals in 2012 we keep the name of Bhumibol Adulyadej in the 1st place. He is the member of esteemed Thai Royal family and currently is the Master of Thailand. 83 year old Bhumibol Adulyadej is currently the wealthiest Noble on the planet and along with this brand he is also the wealthiest royal on the planet. The approximated value of this vibrant royal is $30 billion dollars which makes him the wealthiest king on the planet.


2. Hassanal Bolkiah: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we put the name of Hassanal Bolkiah in the 2nd place. He is also the sultan of Brunei. The significant resources of earnings of Hassanal Bolkiah are from gas and oil businesses and the approximated value of this vibrant noble individual is above $20 Billion.


3. Abdullah bin Abdul-Aziz Al Saud: In our Top 10 List of Wealthiest Royals we put the name of Abdullah bin Abdul-Aziz Al Saud in the 3rd place. The approximated value of Master Abdullah is nearly about $ 18 billion dollars and the significant resources of his earnings are from oil market. He is also the master of the kingdom of Saudi Arabia.


4. Khalifa Bin Zayed Al Nahyan: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we keep the name of Khalifa Bin Zayed Al Nahyan in the 4th place. Khalifa Bin Zayed Al Nahyan is currently the Chief executive and president of UAE (United Arabic Emirates) and is regarded in one of the most major individualities of the nation with the approximated net value of $15 Billion.


5. Mohammed Bin Rashid Al Maktoum: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we keep the name of Mohammed Bin Rashid Al Maktoum in the 5th place. The approximated net value of Mohammad Bin Rashid Al Maktoum is $4.2 Billion giving him 5th spot on our top 10 wealthiest royals of 2012.


6. Hans Adam II: In our Top 10 List of Wealthiest Royals we put the name of Hans Adam II in the 6th position. Hans Adam II is the Knight in shining armor of Liechtenstein. The net value of his assets is about $4 billion.


7. Mohammed VI: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we keep the name of Mohammed VI in the 7th position. The approximated net value of Mohammed VI is $2.6 Billion giving him 7th spot on our top 10 wealthiest royals of 2012. He is also the king of Morocco.


8. Hamad Bin Khalifa Al Thani: He has done lot of progress for the wellbeing of his nation and his approximated net value is nearly $2.5 Billion giving him 8th spot on our Top 10 List of wealthiest royals of 2012. Hamad Bin Khalifa Al Thani is the judgment Amir of the state of Qatar.


9. Albert II: In the Top 10 List of wealthiest royals we keep the name of Albert II in the 9th place. Albert II is at this time the Knight in shining armor of Monaco. The net value of his assets is about $1 billion which keep his in the list.


10. Aga Khan IV: In the Top 10 List of wealthiest royals we put the name of Aga Khan IV in the 10th place. Aga Khan IV is one of the best individualizes on the planet and currently the Imam of Shia Imami Nizari Ismailia Muslims. The net value of his assets is about 800 million.

ที่มา alltop10list




วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ

ศปช.เปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ 933 หน้า รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เชื่อเป็นฉบับผู้สูญเสียที่ละเอียดสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ยังติดเข้าไม่ถึงข้อมูลรัฐ เบื้องต้นดูได้ที่ www.pic2010.org เตรียมปรับครั้งสุดท้ายก่อนพิมพ์จำหน่าย 1 ก.ย.ขณะที่ฉบับ คอป.ยังเงียบ ส่วน กสม.เสร็จแล้ว รอผ่านกรรมการชุดใหญ่



เว็บ www.pic2010.org มีอินโฟกราฟฟิคแสดงรายละเอียดผู้เสียชีวิตในจุดต่างๆ

19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53  หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น

ทั้งนี้ ศปช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกับจะเปิดให้ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ www.pic2010.org  นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุมปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้นเดือนก.ค.และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็มจะออกราว เดือน ส.ค.นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อ เดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้

พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึกข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบ และนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรือเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการเท่าที่มีการเผยแพร่และหามาได้ไว้ ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว

“นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสียง และมุมมองของประชานที่ตกเป็นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม  เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้เป็นสิ่งถูก กฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวัฒนธรรมการบูชาความปรองดองและความมั่นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล” พวงทองกล่าว


ภาพจากสไลด์นำเสนอของกฤตยา อาชนิจกุล


กฤตยา อาชวนิจกุล  อาจารย์ จากศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รายงาน ศปช.เป็นหนังสือเล่มแรกใน ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ให้รายละเอียดผู้เสียชีวิตเป็นรายๆ ไป เมื่อก่อนแม้มีการทำรายงาน ก็เป็นเพียงเชิงอรรถ เป็นฟุตโน้ตเล็กๆ ว่าใครตายจำนวนเท่าไร แต่งานนี้ต้องการบอกว่า เชิงอรรถนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การอำพราง ความอัปลักษณ์และความอำมหิต ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง คอป. ก็อิหลักอิเหลื่อ มีความขัดแย้งในตนเอง ในหน้าที่ค้นหาความจริงกับการปรองดอง ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ล้มเหลวในการทำหน้าที่

กฤตยา ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “ความตายที่พร่าเลือน” ซึ่งเป็นผลจากการชันสูตรพลิกศพ  และสามารถสรุปได้เลยว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงานการ ชันสูตรพลิกศพที่ละเอียด ที่มีอยู่ก็มีความหละหลวม และมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพบอกว่า ถูกทุบด้วยของแข็ง

“ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ เราขอเรียกร้องให้เปิดเผย เพราะในปี 2535 มีการนำเอกสารชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยสาธารณะ และสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการได้” กฤตยากล่าว

นอกจาก นี้กฤตยายังกล่าวอีกว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้นจึงเสนอให้ดีเอสไอโอนเรื่องกลับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้มี การไต่สวนการตาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ที่ผ่านมาดีเอสไอใช้เวลานานมาก จนถึงเดือนมกราคม 2554 ถึงยอมแถลงว่าการตายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าเป็นการกระทำกับ นปช.และกลุ่มเกี่ยวพัน  จำนวน 12 ราย กลุ่มสอง พบพยานแล้วว่าเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนแรกระบุว่ามี 13 ราย แต่เมื่อ 18 พ.ค.ที่ผ่านมาระบุว่ามี  22 ศพ  กลุ่มสาม สอบสวนแล้วแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด 64 ราย แบ่งเป็น 18 คดี



 

เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมงาน กล่าวว่า กลุ่ม นปช.ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ถือเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองตามครรลอง แต่สถานการณ์กลับพาไปสู่ความรุนแรง โดยความรุนแรงเริ่มต้นจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 เม.ย.จากเหตุการณ์ล้อมสภาของกลุ่ม นปช. ซึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็เป็นการจัดการที่เกินกว่าเหตุ และการใช้กฎหมายนี้นำไปสู่การใช้กำลังของหน่วยทหารจนเกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการประกาศ “ขอคืนพื้นที่” ในวันที่ 10 เม.ย.2553 ซึ่งเกิดการปะทะกัน ดันกันในพื้นที่โดยรอบราชดำเนิน  แต่ความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดเกิดขึ้นหลัง 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่มครึ่ง

เกษม กล่าวถึงปมปัญหาสำคัญเรื่อง “ชายชุดดำ” ซึ่งคนเสื้อแดงเห็นว่าเป็นฮีโร่มาช่วยในเวลาที่เพลี่ยงพล้ำ ขณะที่ ศอฉ.เห็นว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น เขาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความชัดเจนได้ และเป็นปริศนาภายในกองทัพเอง ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า ชายชุดดำเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ฉวยใช้สถานการณ์เพื่อสลายขั้วอำนาจในกองทัพ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนเสื้อแดงเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ทหารกับคนชุดดำยังไล่ล่ากัน ออกมานอกบริเวณปะทะ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตเพราะลูกหลงจากการปะทะ และจากหลักฐานชี้ชัดว่าถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

เกษมกล่าว ว่า สิ่งที่เห็นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงคือ คนเสื้อแดงก้าวพ้นจากข้อกล่าวหาว่าอยู่ในเงาของทักษิณ เขามีพลวัตรทางการเมืองของตนเองและมีการเรียกร้องความเป็นธรรม ยอมไม่ได้กับคนเจ็บคนตาย ทำให้หน่วยการเมืองต้องคล้อยตาม และพยายามจัดการเรื่องนี้

ขวัญระวี  วังอุดม
จากโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า การวิเคราะห์จากเอกสารทางการ เอกสารชันสูตรศพ มีข้อจำกัดที่เอกสารเหล่านี้อาจระบุข้อมูลคลาดเคลื่อน และศปช.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกระสุนปืน แต่ก็พยายามตรวจเช็คจากพยานในเหตุการณ์และญาติ โดยมีการสัมภาษณ์พยานเกือบ 80 คน ซึ่งถึงที่สุดรายงานนี้ควรนำมาเทียบดูกับฉบับของ คอป.ที่กำลังจะออกมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์

ขวัญระวี เสนอว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องสร้างความจริงให้ปรากฏ ไม่ว่าผ่านวิธีการไต่สวน ตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็นกลาง, นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ,ห้ามใช้ศาลทหาร หรือพิจารณาคดีลับ, สร้างหลักประกันว่ามาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะไม่มีอุปสรรค, ห้ามใช้โทษประหารชีวิต, ชดเชยเยียวยาอย่างทั่วถึง, ปฏิรูปกลไก สถาบันทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม
ทนายความอิสระ ที่ร่วมรวบรวมข้อมูลเรื่องการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมกล่าวว่า การรวมรวมข้อมูลยากมากเพราะไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการทำจดหมายขอข้อมูลไป บางหน่วยงานก็ไม่ให้เพราะถือว่าไม่ใช่คู่ความในคดี นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลจากผู้จับกุมต่างๆ ในหมู่ประชาชนเองก็เกิดสงสัยหวาดระแวงว่าอาจจะเป็น กอ.รมน. หรือเปล่าก็จะถูกปฏิเสธการให้ข้อมูลจากประชาชนด้วย

ในการ ชุมนุมที่เก็บข้อมูลหลังจากสลายการชุมนุมปี 2553 จนถึง เม.ย.2555 พบว่า ประชาชนที่ถูกจับกุมมี 1,857 คน ซึ่งบางคนไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย และจากจำนวนทั้งหมดถูกดำเนินคดี 1,763 คน โดยกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีคดีมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน โดยแยกลักษณะการฟ้องได้ 3 ลักษณะ คือ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ได้ฟ้องด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินร่วมกับความผิดอาญาฐานอื่น

ใน การดำเนินคดีมีการรวบรัด มีหลายคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ตัดสินคดีโดยลงโทษจำคุก 1 ปี แล้วจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นผิด ระเบียบ ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลย คำพิพากษาไม่ชอบก็ต้องกลับมาดำเนินคดีใหม่ เมื่อมาดำเนินคดีใหม่ก็ปัญหาคือ พยานโจทก์ที่ใช้ส่วนมากเป็นทหาร ต้องไปสืบพยานกันตามแหล่งที่อยู่ของทหารตามจังหวัดต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายจำนนในการต่อสู้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง

จาก การอ่านคำฟ้องหลายคดีพบว่า พยานหลักฐานหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. คือ ตีนตบ ธง นปช. หมวก ผ้าพันคอ พลุ ตะไล เป็นต้น

เสาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ที่ติดคุกอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับการประกันตัวอีก 22 คน โดยเธอระบุว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินคดีคือมีการซ้อม มีการจูงใจให้รับสารภาพ แต่ปัญหากระบวนการยุติธรรมนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีช่วงเสื้อแดงชุมนุม เพียงแต่การชุมนุมในทางการเมืองทำให้เห็นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลที่เติบโตมาจากหยาด เหงื่อและเลือดเนื้อของคนเสื้อแดงดำเนินการให้สิทธิประกันตัวแก่นักโทษการ เมืองเหล่านั้น

ที่มา prachatai

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่น้องเกด ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศแม้จะริบหรี่แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตรเรียกร้องรัฐบาลจริงใจ



แม่ น้องเกดเปิดใจ รู้ศาลอาญาระหว่างประเทศริบหรี่ แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตร แสงกนกกุลเรียกร้องรัฐบาลจริงใจจะให้สัตยาบันหรือจะประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลา อาญาระหว่างประเทศมีอำนาจเข้ามาพิจารณาย้องหลังหรือไม่ ก็ควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลี้ยงกระแสให้ความหวังกับคนเสื้อแดง

19 ส.ค. การเสวนาที่จัดขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการ ชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 2553 ในช่วงบ่าย นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของอาสาพยาบาลกมนเกด อัคฮาดที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนารามกล่าวถึงเหตุที่เธอต้องการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ ว่าแม้จะได้คำแนะนำจากนายโรเบิร์ต

อัมสเตอร์ดัม ทนายความว่า เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่ แต่ก็เพียงพอแล้วต่อความหวังที่จะไม่ให้คดีที่ลูกสาวเสียชีวิตจากการสลายการ ชุมนุมจะจบลงด้วยการนิรโทษกรรมเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับการสังหารหมู่ ประชาชนที่ผ่านมาในอดีต และพร้อมจะโหมไฟที่ริบหรี่ให้ลุกโชนขึ้น ความกังวลของเธอขณะนี้คือ รัฐบาลจะใช้คำว่าปรองดองมาครอบหัวให้ยอมรับการนิรโทษกรรม

โดยเธอกล่าวว่า เธอยืนยันต่อเจ้าหน้าที่ศาลอาญาระหว่างประเทศว่า แม้ครั้งนี้คนตายอาจจะไม่มาก แต่ถ้าย้อนพิจารณาประวัติศาสต์ของไทยจะพบว่าคนไทยตายไปหลายพันศพแล้วจากการ กระทำของรัฐ

วิธีการไปศาลาอาญาระหว่างประเทศริบหรี่แค่ไหน เพียงใด มีโอกาสไหม
ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายว่า วิธีการที่ไทยจะเข้าสู่กระบวนการศาลอาญาระหว่างประเทศมี 2ทาง ที่จะให้ไทยอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลฯ ได้ 1) คือ ไปลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งจะมีผลต้องบวก 60 วัน บวกวันที่ 1 ของวันถัดไปจากนั้น คือมีผลไปข้างหน้าไม่มีผลถอยไปข้างหลัง 2) อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ไม่ได้ลงสัตยาบันสามารถประกาศให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจย้อน หลังได้

กรณีที่สอง คือ (โกตดิวัวร์)ไอวอรี่โคสต์ ลงนามประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเมื่อ 18 เม.ย. 2003 เขียนยอมรับว่า ตามมาตรา 12 วรรค 3 ของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลไอวอรี่โคสต์ยอมรับให้เข้ามามีอำนาจตั้งแต่ 19 กันยายน 2002 จากนั้นมีการให้สัตยาบัน แล้วเมื่อปี 2010 เมื่อเปลี่ยนประธานาธิบดีคนใหม่ก็ประกาศซ้ำอีกรอบหนึ่ง สุดท้ายวันที่ 10 ก.พ. 2012 ให้ย้อนกลับไปสอบสวนตั้งแต่ 19 กันยายน 2002

อย่างไรก็ตาม การยอมรับเขตอำนาจศาลนั้นถอยไปไม่เกิน 1 ก.ค. 2545 ซึ่งเป็นวันที่ธรรมนูญกรุงโรมประกาศใช้
นายปิยบุตรกล่าวว่า หากถามเขาว่าจะให้เลือกทางไหน ถ้าพูดแบบฝันก็เอาทั้งสองทาง คือ หนึ่งประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลก่อน จากนั้นให้สัตยาบัณซ้ำอีกที แต่กรณีของไทย แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังไม่ได้ ถ้าให้หวังว่ารัฐบาลไทยจะทำทั้งสองอย่างยิ่งเป็นไปไม่ได้

นายปิยบุตรอธิบายต่อไปว่า เมื่อประกาศรับเขตอำนาจศาลแล้ว ศาลจะรับพิจารณาคดีของเราหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ซึ่งศาลมี
ฆ่าล่งเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ, สงคราม และการรุกราน

ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างระเทศเป็นศาลเสริม ศาลเสริมในที่นี่มาตรา 17 ธรรมนูญกรุงโรมก็เขียนไว้ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศของคุณต้องดำเนินการ ให้เสร็จครบถ้วนเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ แต่ธรรมนูญกรุงโรมก็ระบุลักษณะที่ศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะมีอำนาจเข้ามา พิจารณาคดีว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไม่มีเจตจำนงจะดำเนินคดี หรือไม่มีความสามารถในการดำเนินคดี

คดีที่วางบรรทัดฐานไว้คือคดีซูดานซึ่งไม่ได้เป็นรัฐสมาชิก แต่ไปสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้เพราะคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติให้ ส่งให้ แต่ของไทยโรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัมส่งคดีให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นกัน แต่หวังยากเพราะเมื่อเทียบซูดานนั้นมีคนตายจำนวนมาก

ส่วนคำว่า ไม่มีความสามารถหรือไม่มีเจตจำนงในการดำเนินคดีมีความหมาย เช่น ประเทศที่มีการนิรโทษกรรมบ่อยๆ แสดงว่าไม่มีเจตจำนง ส่วนคำว่าไม่มีความสามารถคือศาลไม่เป็นกลาง ไม่มีความน่าเชื่อถือ ถ้าเกิดเหตุการเช่นนี้ศาลเสริมก็มีอำนาจที่จะเข้ามาพิจารณาได้

จากเงื่อนไขเหล่านี้ เงื่อนไขการกระทำความผิด ต้องเป็นความผิดร้ายแรงอย่างยิ่ง ซึ่งแนวบรรทัดฐานที่ผ่านมามีคดีที่ได้พิพากษาไป 1 คดีที่วางแนวว่าร้ายแรงเพียงพอคือ มีขนาดใหญ่มาก และวิธีการที่กระทำความผิดเป็นวิธีการที่รุนแรงร้ายแรงอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็จะมาสู่การพิจารณาในประเด็นสุดท้ายคือ คนๆ หนึ่งถูกพิพากษาไปแล้วจะไม่ถูกพิพากษาซ้ำอีก

“ดังนั้นจะเห็นได้ว่าขึ้นตอนต่างๆ ที่จะไปสู่การพิจารณาของศาลาอญาระหว่างประเทศนั้นยากมาก แต่ถ้าจะไม่ทำอะไรเลยก็คงไม่ถูกต้อง และเมื่อผมได้ฟังจากผู้ได้รับผลกระทบแล้วมันสะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมของ ไทยไม่มีใครเชื่อถือ เขาจึงต้องไปฝันถึงสิ่งไกลตัวแม้มันจะริบหรี่

“เราต้องพยายามทำใหเรื่องของศาลอาญาระวห่าปงระเทศไม่ใช่เป็นหัวข้อเฉพาะคน เสื้อแดงเท่านั้น มันเป็นประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคลทุกคน เพราะไม่ว่านรัฐภายหน้าจะเป็นใครแต่ถ้าคิดจะทำความรุนแรงกับประชาชนก็จะฉุก คิดได้ถึงเขตอำนาจของศาล

“แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงกล่าวกันบ่อยๆ ว่ายังไม่ถึงเวลา ยังไม่พร้อม อ้างว่าเราต้องทำการศึกษาก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัฐ เป็นเหตุผลคลาสสิกเพื่อดึงเวลา เหตุผลประการที่สองคือ สี่ฐานความผิดนั้นประเทศไทยไม่เคบมีองค์ประกอบความผิดนี้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย เขาใช้ธรรมนูญกรุงโรมตัดสิน เหตุผลนี้ไม่สมบูรณ์”

ปิยบุตรวิพากษ์ว่าหตุผลอีกประการที่สำคัญคืออ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับ มาตรา 8 รธน.วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ ไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆ นั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ “วิธีอธิบายที่ง่ายที่สุดเลยว่า แล้ว 121 ประเทศที่ให้สัตยาบันมีประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในยุโรปทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์ก็ให้สัตยาบันทั้งหมด ญี่ปุ่น กัมพูชา ก็เช่นกัน” โดยนายปิยบุตรตั้งข้อสังเกตว่าประเทศที่ไม่ยอมลงนาม เพาะรู้สึกว่าวันข้างหน้าจะโดนหรือไม่ เช่น อเมริกา รัสเซีย

“การอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ต่างประเทศเขาก็ถามว่าประเทศคุณพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญหรือ ก็เรียนไปยังส่วนราชการต่างๆ อย่าอ้างเหตุผลมาตรา 8 เลยเพราะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์”

สถิติศาลอาญาระหว่างประเทศเพิ่งดำเนินคดี 7 กรณีจากสามพันกว่ากรณี
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากคดีที่ฟ้องร้องไปยังศาลฯ กว่าสามพันคดี มี 7 คดีเท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณา คือยูกานดา คองโก เป็นสมาชิก รัฐบาลส่งเอง เคนยา เป็นสมาชิก อัยการศาลอาญาระหว่าประเทศลงมาขอเปิดการสอบสวนเอง ลิเบีย และโกตดิวัวร์ ทั้งหมดเป็นประเทศอาฟริกา

อีกแปดกรณีกำลังอยู่ชั้นการไต่สวนเบื้องต้น มีเกาหลีใต้ มาลี ฮอนดูรัส จอร์เจีย โซมาลี เป็นต้น กรณีมาลี กับฮอนดูรัสพัวพันกับการรัฐประหารด้วย

ส่วนขั้นตอนของญาติฯ ที่ร้องโดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเป็นทนายนั้นจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน และเมื่อเป็นกฎหมายระหว่างประเทศก็พันกับการเมืองระหว่างประเทศ

“เราจะเห็นกรณีโกตดิวัวร์ ยื่นคำร้องปี 2002 กว่าจะพิจารณาคดีก็ปี 2012 ซึ่งประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามา ปนะเทศยุโรปหนุนหลังเกือบทั้งหมด

“สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลก็คือ น่าจะพูดกันตรงไปตรงาว่าไม่ลง หรือลง จะให้เขตอำนาจย้อนหลัง หรือจะให้สัตยาบัน ก็บอกมา แต่อย่าขายความฝันว่ายังศึกษาอยู่ แล้วคนเสื้อแดงที่สู้เรื่องนี้ ผมก็นับถือหัวจิตหัวใจ คือคนที่ไม่รู้จะหวังกับอะไร แล้วความหวังริบหรี่แบบนี้มันมีคุณค่ามหาศาลมากกว่าให้นักการเมืองเอาความ หวังที่ริบหนี่นี้โหนกระแสไปเรื่อยๆ”

ส่วนกรณีที่จะอาศัยช่องทางสัญชาติอังกฤษ ต้องมีการดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ประเทศอังกฤษก่อน ปัญหาคือใครจะไปดำเนินการดังกล่าว อีกส่วนหนึ่งคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คนทำเพียงคนเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นก็ต้องกลับไปที่ช่องทางการให้สัตยยาบันธรรมนูญกรุงโรม หรือประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี

ที่มา prachatai

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ "พลแม่นปืน" หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ "สไนเปอร์"


เปิด เอกสาร “ศอฉ.” เผยแนวทางปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อรักษาที่ตั้งสำคัญ จุดตรวจ ด่านตรวจ ของช่วงสลายชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53 ระบุหากมีผู้ก่อเหตุใช้อาวุธแล้วอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุม ให้เจ้าหน้าที่งดใช้อาวุธยกเว้นถ้าในหน่วยมี “พลแม่นปืน” ให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ และหากไม่สามารถยิงได้ สามารถร้องขอ “พลซุ่มยิง (Sniper)” จาก ศอฉ. ได้




18 ส.ค. 55 – ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้รับเอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. ในเวลานั้น


โดย เอกสารมีทั้งหมด 5 หน้า ใจความสำคัญคือการระบุแนวทางปฏิบัติ หากมี “ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์”

 


เอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ.

โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”



ต่อ มามี ที่ใบปะหน้าของเอกสาร กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) 18 เม.ย. 54 ดังกล่าว ในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53


โดยก่อนหน้านี้ ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะ เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง)


ต่อ มาเมื่อ 18 มี.ค 54 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)
สำหรับรายละเอียดเอกสาร  สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.55 มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในท้ายข่าว

00000000000

บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.
ที่ กห. 0407.45 (สยก.)/130 วันที่ 17 เม.ย. 53

เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่

เรียน ผอ.ศอฉ.
อ้างถึง 1. หนังสือ สยก.ศอฉ. ที่ กท. 0407.45 (สยก.)/13 ลง 8 เม.ย. 53
2. หนังสือ สยก.ศอฉ. ลับ - ด่วนที่สุด ที่ คห.0407.45 (สยก.)/106 ลง 15 เม.ย. 53


สิ่ง ที่ส่งมาด้วย แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่

1. ตามที่ รอง นรม./ผอ.ศอฉ. ได้กรุณาอนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญ และประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจในพื้นที่ นำไปใช้ยึดถือปฏิบัติ รายละเอียดตามอ้างถึง 1 นั้น

2. เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ได้มีกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าว สยก.ศอฉ. จึงได้พิจารณาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติโดยเพิ่มเติมและแก้ไขรายละเอียดการ ปฏิบัติฯ ตามข้อ 1 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้.-

2.1 แนวทางปฏิบัติทั่วไป ในหัวข้อการใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ได้เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับการป้องกันบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง ให้หน่วยกำหนดแนวห้ามผ่านเด็ดขาด โดยให้ทำเครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ และในหัวข้อการปฏิบัติภายหลังเกิดเหตุ ได้แก้ไขให้เจ้าหน้าที่ทำการปฐมพยาบาลผู้ก่อเหตุตามหลักมนุษยธรรม ภายหลังจากที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว

2.2 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีผู้ชุมนุมพยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดการปฏิบัติโดยให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้โล่และไม้พลอง ยาว เพื่อต้านทานการบุกรุก และเมื่อมีแนวโน้มจะต้านทานไม่อยู่ให้ใช้การฉีดน้ำ และ/หรือคลื่นเสียงได้ แต่ถ้าผู้ชุมนุมยังสามารถปีนรั้ว/เครื่องกีดขวาง/ฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้า มาได้ หากมีผู้บุกรุกมีจำนวนน้อยและไม่มีอาวุธ ให้เข้าทำการจับกุม หากมีจำนวนมาก ให้ใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง, กระสุนยาง และยิงเตือนตามลำดับและเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว ผู้ชุมนุมยังคงบุกรุกเข้ามาจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธตามสมควรแก่เหตุ โดยการใช้กระสุนจริงจาก ปลซ. และ ปลย. ตามลำดับ ทั้งนี้ หากผู้บุกรุกมีอาวุธเช่น มีด, ปืน, วัตถุระเบิด ฯลฯ และฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่สามารถข้ามขั้นตอนการใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง หรือกระสุนยาง ไปสู่การใช้กระสุนจริงได้ โดยในการใช้อาวุธกระสุนจริง ทั้งสองกรณี ผู้มีอำนาจตกลงใจสั่งการ คือ ผบ.หน่วยที่รับผิดชอบสถานที่นั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

2.3 แนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ในกรณีการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ: ได้เพิ่มเติมข้อความ ในกรณีพบผู้ต้องสงสัย ซึ่งไม่ยอมให้ตรวจค้น/จับกุม และกำลังจะหลบหนี ให้ทำการยิงเตือน, ติดตาม และสกัดจับ รวมทั้งใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุ

2.4 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุเตรียมใช้อาวุธ/วัตถุระเบิด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดในการเข้าจับกุม โดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธประจำกายเล็งไปยังผู้ก่อเหตุได้ และถ้าผู้ก่อเหตุพยายามหลบหนีให้ใช้เทคนิคการต่อสู้ระยะประชิด, การยิงเตือน และการใช้อาวุธยิงในจุดที่ไม่สำคัญของร่างกาย เพื่อหยุดการเคลื่อนที่ของผู้ก่อเหตุตามลำดับ

2.5 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้

3. สยก.ศอฉ. พิจาณาแล้วมีความเห็น ดังนี้

3.1 แนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2 ได้ปรับปรุงในรายละเอียดการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น โดยสอดคล้องกับการพัฒนาของสถานการณ์ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดโจมตีต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำให้เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและบุคคลอื่น รวมทั้ง ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นสมควรอนุมัติให้ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ ตามข้อ 1 และอนุมัติให้หน่วยที่เกี่ยวข้องใช้แนวทางการปฏิบัติในการ รปภ. ที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญฯ ตามข้อ 2 เป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป

3.2 สำหรับแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ ตามที่อ้างถึง 2 นั้น ได้กำหนดแนวทางการใช้อาวุธ และแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวปะปนมากับกลุ่ม ผู้ชุมนุม ซึ่งยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเห็นสมควรให้หน่วยยึดถือเป็น แนวทางปฏิบัติ ในการ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ. ได้ต่อไป

4. ข้อเสนอ เห็นสมควรดำเนินการตามการพิจารณาในข้อ 3 ดังนี้

4.1 ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ตามข้อ 1

4.2 อนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2
จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาอนุมัติตามเสนอในข้อ 4
(ลายมือชื่อ) พล.ท.อักษรา เกิดผล
หน.สยก.ศอฉ.




แนวทางการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่

1.แนวทางการปฏิบัติทั่วไป

1.1 แนวทางการปฏิบัตินี้ ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาที่ตั้ง หน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่บริเวณจุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ซึ่งอนุญาตให้กำลังพลสามารถใช้อาวุธประจำกายและอาวุธ ปืนพกได้ตามความจำเป็นของสถานการณ์

1.2 การใช้อาวุธในการป้องกันตนเอง และรักษาความปลอดภัยฯ ต้องการเป็นป้องกันอันตรายที่ใกล้จะมาถึง และเป็นอันตรายต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ก่อเหตุกำลังระเบิดใส่ กำลังเล็งปืนใส่ กำลังถือมีดเข้าทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

1.3 การป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ต้องเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น และสมควรแก่เหตุ รวมทั้งการใช้อาวุธนั้น ต้องใช้เท่าที่จำเป็น จากเบาไปหาหนัก และมีแจ้งเตือนการปฏิบัติกับผู้ก่อเหตุก่อนเสมอ

1.4 การใช้อาวุธจะไม่อนุญาตให้ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่กระจ่างชัด หรือการใช้อาวุธที่ปราศจากความแม่นยำ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องได้ เช่น การยิงกราด การยิงสุ่ม และการยิงที่ไม่เล็ง รวมทั้งไม่อนุญาตให้ใช้การยิงอัตโนมัติ โดยหากจะใช้อาวุธต้องทำการยิงทีละนัดเท่านั้น และห้ามใช้อาวุธเล็งศีรษะหรือส่วนสำคัญของร่างกายโดยเด็ดขาด

1.5 ให้หน่วยกำหนดแนวทางห้ามผ่านเด็ดขาดบริเวณที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งใช้เครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ

1.6 หากมีความจำเป็นในการใช้อาวุธแล้ว ต้องใช้ตามลำดับขั้น ดังนี้

ขั้น ที่ 1 แจ้งเตือนด้วยวาจา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีระดับความดังเสียงที่ผู้ก่อเหตุได้อย่างชัดเจน และกล่าวซ้ำหลายๆ ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้ผู้ก่อเหตุหยุดการกระทำดังกล่าว ... "หยุดนี่คือเจ้าหน้าที่"

ขั้นที่ 2 การยิงเตือนขึ้นฟ้า หรือเป็นการยิงในทิศทางที่ปลอดภัย

ขั้น ที่ 3 การใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและสมควร แก่เหตุ สรุปคือเป็นการยิงที่ไม่ประสงค์ให้ผู้ก่อเหตุเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทั้ง นี้ การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวอาจปฏิบัติข้ามการปฏิบัติเป็นขั้นที่ 2 หรือ 3 โดยทันที ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ประสบกับภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงและเป็นอันตรายต่อ ชีวิตของตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่


เหตุการณ์ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่อนุญาตให้ทำได้
ผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธวัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยหรือสถานที่สำคัญ 1) ใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุโดยสามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้
2) หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์แล้ว ให้งดเว้นการปฏิบัติยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้
3) ในกรณีที่หน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบังหน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้
หมายเหตุ:
1. เมื่อผู้ชุมนุมมีการรวมตัวที่บริเวณภายนอกที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญให้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้ผู้ชุมนุทราบว่า หากมีการบุกรุกเข้ามา เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนการปฏิบัติและการใช้อาวุธอย่างไร โดยให้มีการประกาศซ้ำหลายๆ ครั้ง

2. แนวทางการใช้อาวุธตามคำแนะนำฯ นี้ ไม่จำกัดสิทธิ์ในการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองและบุคคลอื่นจากการกระทำของ ผู้ก่อเหตุ ที่เป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ

3. กรณีประสบเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสให้เจ้าหน้าที่ที่ประสบเหตุสามารถใช้อาวุธ เพื่อระงับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งใดๆ

4. ห้ามใช้อาวุธยิงใส่ยานพาหนะต้องสงสัยใดๆ ที่ขับฝ่าด่านตรวจ/จุดตรวจ/จุดสกัด โดยให้จดจำเลขทะเบียนและลักษณะที่สำคัญแจ้งให้หน่วยในพื้นที่ใกล้เคียง (ทั้งทหาร - ตำรวจ) ดำเนินการสกัดให้หยุดและตรวจค้น เว้นแต่ได้รับแจ้งยืนยันแน่ชัดแล้วว่ายานพาหนะนั้นเป็นการหลบหนีของผู้ก่อ เหตุ จึงสามารถใช้อาวุธยิงโดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ เพื่อสกัดให้หยุดการเคลื่อนที่

5. ยานพาหนะที่จงใจขับพุ่งชนเพื่อฝ่าแนวต้านทานเข้ามาในที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ให้สามารถใช้อาวุธยิงเพื่อหยุดยานพาหนะนั้นได้โดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์ หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องประกาศให้ผู้ก่อเหตุทราบ ในลักษณะ "หยุด ถ้าไม่หยุดเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธ"

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทักษิณยังไม่สำนึกและไม่ยอมขอโทษคนเสื้อแดง



โดย วิญญาณวีรชน 


เมื่อทักษิณวีดิโอลิ้งค์ วันที่ 30 พ.ค. 2555 ที่งานพ้นโทษ ของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย บ้านเลขที่ 111  “ยังไมยอมขออภัยคนเสื้อแดง”

ในกรณีที่กล่าวดูถูกวีรชนและญาติที่สูญเสียให้เสียสละโดยบีบคั้นให้ รับเงินแล้วไม่เอาผิดฆาตกร ทักษิณแก้ตัวว่าสัญญาณเสียงไม่ดีจึงพูดไม่ครบ ทำให้คนเข้าใจผิด มีคนเสี้ยม (โทษคนฟัง) และไม่ครบทุกประเด็น

ทักษิณกล่าวโกหกว่าศักดินาและเปรมไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง กล่าวทั้งขณะอยู่ที่เขมร (ช่วงสงกรานต์) และงานรำลึกวีรชน ราชประสงค์ 19-05-55 คำโกหก ปลิ้นปล้อนและสับปลับเช่นนี้  “ทักษิณมิได้ขออภัยคนเสื้อแดงแต่อย่างใด”


ทักษิณบอกว่า “ถ้าตนได้กลับไทยแล้ว ตนจะพาเสื้อแดงเป็นพลังทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม” 

ทักษิณไม่ยอมกล่าวว่าต้องการพาคนเสื้อแดงเป็นพลังขับเคลื่อนทางการ เมือง เพราะทักษิณยืนยันในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

โดยทักษิณหลอกคนเสื้อแดงว่าจะให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2 เรื่อง คือ
1. ให้ตุลาการ รัฐบาลและนิติบัญญัติ  ยึดโยงประชาชน 
2. ประชาชนเป็นผู้ให้นโยบายนักการเมือง

ซึ่งคำพูดดังกล่าว “มันขัดแย้งกับระบอบที่ทักษิณกล่าวยกย่อง" ทักษิณเอาใครเป็นศูนย์กลางกันแน่ ถ้า ดูคำพูดและพฤติกรรมการขนเงินทองไปอวย ให้แก่ฝ่ายศัตรูประชาชนเสมอมา ย่อมคือ สิ่งที่ยืนยันว่า ทักษิณมิได้ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางจริง มีแต่ปากเท่านั้น” แม้แต่การปองดอง ทักษิณยังไม่สอบถามปรึกษาหารรือคนเสื้อแดงสักคำ

และ ที่สำคัญ ทักษิณไม่เคยเห็นหัวประชาชนว่าสามารถขับเคลื่อนการเมืองและประชาธิปไตยได้ จริงๆเลย มีแต่ให้ ”หยุดรอ” เพื่อรับฝีมือการบริหารระบอบทุนนิยมผูกขาดที่ตนชำนาญ และทักษิณอ้างว่าตนไม่ลืมบุญคุณคนแม้ให้น้ำเปล่าดื่มแก้วเดียวก็ไม่ลืม เพราะทักษิณมีความสามารถหาเงินแจกคนจนได้ครบแน่

นี่คือ ทัศนะของชนชั้นนายทุนที่ทนงตนคิดว่าโภคทรัพย์ที่ตนหาได้คือฝีมือตนเอง   โดยไม่สำนึกเลยแม้แต่น้อยว่า "ความมั่งคั่งมาจากแรงงานคนจน" (คนจนที่ถูกปล้นชิงจากศักดินาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน) ทักษิณไม่คิดจะปกป้องระบบการปล้นชิงเลย 

ทักษิณ ให้ลืมความเจ็บช้ำ อย่าย้อนอดีต นี่คือคำพูดของคนสารเลวคนนี้ และแม้ในปัจจุบันที่คนจนสร้างโภคทรัพย์และต้องการเอาทรัพย์ในอดีตและ ปัจจุบันคืนจากทุนผูกขาดศักดินา ทักษิณก็กลับพูดดูหมิ่นว่า คนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวทางการเมืองคือคนไม่มีทรัพย์ “ย่อมต้องมาเอา ไม่เสียสละ


ทักษิณเข้าใจว่าตนร่ำรวยแล้ว พอแล้ว มาเล่นการเมือง “เพื่อให้” ซึ่งไม่จริง  “เพราะความร่ำรวยของทักษิณและครอบครัวคือการกดขี่ขูดรีดและคอรัปชั่นผลผลิตและแรงงานคนจนภายใต้ระบอบทุนสวามิภักดิ์ต่อศักดินา”

ระบอบประชาธิปไตยที่ปราศจากศักดินาเหนือรัฐ  และการยึดทรัพย์ศักดินาคืนสู่สังคม พร้อมกับการสร้างกลไกสภาประชาชน สภาอาชีพ และสมัชชาผู้แทนต่างหากที่จะเป็นหลักประกัน ความอยู่ดีกินดี หาใช่ต้องรอทักษิณ “สุนัขรับใช้” คนนี้

ทักษิณเป็นได้พียงสุนัขบาดเจ็บที่รับใช้ศักดินา ที่ "แม้จะถูกเฆี่ยนตีจากเจ้าของเพียงใด มันก็เพียงร้องโหยหวนและยอมตาย หาใช่ต้องสู้แบบสุนัขจนตรอกไม่”

ทักษิณเสียเปรียบศักดินาไม่กี่คนแต่ได้เปรียบคนไทยอีกหลายสิบล้านคน ทักษิณมีทางออก มีทางหากิน ทักษิณจึงไม่กล้าเสียสละเปลี่ยนโครงสร้างสังคม เพราะทักษิณกลัวไม่ได้มั่งคั่ง ทักษิณดูถูกคนจนที่มาต่อสู้ว่า “มาเพื่อเอาประโยขน์”

ดังนั้น ทักษิณสุนัขรับใช้คนนี้ จึงให้โอวาทแก่ อดีตกรรมการพรรค 111 คน ที่เปรียบได้กับ “สุนัขขี้เรื้อน” ที่ถูกถีบ ถูกตี ถูกตัดสิทธิ์ แต่คนเหล่านั้นก็มิได้คิดต่อสู้เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างสังคมเลย เพราะคนเหล่านั้นมีทางเลือกที่จะรอรับใช้ศักดินา เพื่อความอยู่ดีกินดีของคนเหล่านั้น เพราะคนเหล่านั้นมีฐานะเหนือประชาชน


อย่าหวังว่า ทักษิณจะทดแทนบุญคุณประชาชน เพราะขนาดศักดินาที่หาความดีและบุญคุณมิได้ ทักษิณยังเลือกข้างศักดินา และมารังแกประชาชน ทั้งเอาภาษีไปประเคนให้ศักดินา ทรยศตำตาและหน้าด้านเป็นที่สุด